แนวทางการใช้สิทธิออกเสียงที่ประชุมผู้ถือหุ้น
1. บริษัทจัดการได้จัดให้มีแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว ดังนี้
1.1. คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้บริษัทจัดการต้องดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมในเรื่องที่มีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุน ได้แก่
1.1.1. ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน การจ่ายเงินปันผล
1.1.2. การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวม กิจการ การจ้างบริหารและการครอบงำกิจการ
1.1.3. การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการของบริษัท
1.1.4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัท เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การไม่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม การปรับโครงสร้างหนี้ และการออกหุ้นกู้ เป็นต้น
1.1.5. การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานของบริษัท
1.1.6. การทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้น หรือการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน
1.1.7. การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัท หรือวัตถุประสงค์ของบริษัท
1.1.8. การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท
1.1.9. การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของบริษัท
1.2. คณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารการลงทุน (Investment Policy Committee) เป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนและดำเนินการมอบหมายให้ผู้ที่มีความเหมาะสมไปใช้สิทธิออกเสียงตามที่คณะกรรมการบริหารการลงทุนกำหนด โดยเอกสารที่แสดงถึงการตัดสินใจในวาระต่างๆ ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร
1.3. ในการใช้สิทธิออกเสียงใดๆ คณะกรรมการบริหารการลงทุนจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผลประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการมีความขัดแย้งกัน คณะกรรมการบริหารการลงทุนสามารถใช้สิทธิออกเสียงให้แก่กองทุนแต่ละกองทุนได้อย่างอิสระ
1.4. การใช้สิทธิออกเสียงในกรณีที่กองทุน บริษัทจัดการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการบริหารการลงทุนจะต้องดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงอย่างเป็นอิสระ โดยยึดหลัก Arm’s Length Basis และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์โดยเคร่งครัด
1.5. คณะกรรมการบริหารการลงทุนจะมอบหมายให้ผู้จัดการกองทุนหรือบุคคลอื่นที่มีความเหมาะสมเป็นผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนไม่สามารถไปใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองได้ คณะกรรมการบริหารการลงทุนอาจพิจารณามอบหมายให้พนักงานในสายงานอื่นหรือบุคคลภายนอก เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์ อาสาสมัครของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กรรมการอิสระของบริษัทที่เรียกประชุมผู้ถือหุ้น ไปใช้สิทธิออกเสียงตามที่คณะกรรมการบริหารการลงทุนกำหนด
1.6. คณะกรรมการบริหารการลงทุนไม่สามารถมอบหมายให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในกรณีดังต่อไปนี้
1.6.1. การลงมติในเรื่องที่มีความสำคัญมากต่ออนาคตของบริษัทซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง รวมทั้งอาจได้รับทราบข้อมูลที่มีสาระสำคัญเพิ่มเติมซึ่งอาจบ่งบอกถึงอนาคตของบริษัท หรืออาจทำให้มีผลให้เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจใช้สิทธิออกเสียง โดยในการพิจารณาระดับความสำคัญของมตินั้นๆ ให้ขึ้นอยุ่กับดุลยพินิจของฝ่ายการลงทุนตราสารทุน
1.6.2. คณะกรรมการบริหารการลงทุนกำหนดให้การลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในลักษณะเป็นเงื่อนไข ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้เข้าประชุมจะต้องสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อจะได้ลงมติตามแนวทางที่คณะกรรมการบริหารการลงทุนได้กำหนดไว้แล้ว
1.7. การมอบหมายบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการกองทุนให้ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิออกเสียง คณะกรรมการบริหารการลงทุนจะต้องระบุด้วยว่า หากมีการแทรกวาระการประชุมอื่นที่ต้องใช้สิทธิออกเสียง แต่บริษัทไม่ได้แจ้งข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาก่อนการประชุมอย่างเพียงพอ ผู้รับมอบอำนาจให้ไปใช้สิทธิออกเสียงจะต้องออกเสียง “ไม่เห็นชอบ” ในวาระดังกล่าว
1.8. บริษัทจัดการจะจัดให้มีระบบงานในการตรวจสอบการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียง ซึ่งจะจัดเก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใช้สิทธิออกเสียง และเปิดเผยแนวปฏิบัติในการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงต่อผู้ลงทุนตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด
2. การดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงของกองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
2.1. กรณีที่กองทุนได้รับมอบหมายจากลูกค้าให้ไปใช้สิทธิออกเสียง ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับมอบหมายหรือได้รับมอบอำนาจจากลูกค้าให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงแทนลูกค้า บริษัทจัดการจะดำเนินการตามแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงข้างต้นเช่นเดียวกับกองทุนรวม ในกรณีของกองทุนส่วนบุคคล เมื่อบริษัทจัดการได้ดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงแล้วจะได้รายงานให้ลูกค้าทราบต่อไป ในกรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการจะแจ้งให้ลูกค้าทราบในรายงานประจำปีว่าลูกค้าสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงตามวิธีการที่บริษัทจัดการได้เปิดเผยไว้
2.2. กรณีที่ลูกค้าไม่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการไปใช้สิทธิออกเสียง
2.2.1. บริษัทจัดการจะแจ้งลูกค้าทราบถึงการประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียง รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงให้ลูกค้าทราบ และยินดีรับมอบหมายจากลูกค้าให้ไปใช้สิทธิออกเสียงแทนตามที่ลูกค้าประสงค์
2.2.2. ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ดำเนินการแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการประชุมและได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงอย่างครบถ้วนแล้ว หากลูกค้าประสงค์จะให้บริษัทจัดการดำเนินการออกเสียงแทน แต่ลูกค้าดำเนินการล่าช้าและไม่สามารถส่งหนังสือมอบอำนาจและเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทจัดการได้ทันกับการประชุมที่จะมีขึ้น บริษัทจัดการจึงไม่สามารถไปทำหน้าที่ออกเสียงในที่ประชุมแทนลูกค้าได้และไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าละเลยการดำเนินการดังกล่าว โดยบริษัทจัดการจะได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงข้างต้นไว้ในเอกสารที่ส่งไปถึงลูกค้าเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้นด้วย
3. แนวทางการใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องต่างๆ โดยสังเขป
3.1. พิจารณาการออกเสียง เห็นด้วย/รับทราบ เมื่อ
3.1.1. เป็นวาระปกติ การบริหารกิจการของบริษัทเป็นปกติ เช่น การรับรองหรือให้สัตยาบันการประชุม/ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การจ่ายเงินปันผลตามข้อบังคับของบริษัท ฯลฯ
3.1.2. เป็นวาระพิจารณา ซึ่งมีผลดีและเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นรายย่อยและส่วนรวมเป็นสำคัญ
3.2. พิจารณาการออกเสียง ไม่เห็นด้วย เมื่อ
3.2.1. เป็นวาระปกติ แต่มีความผิดปกติจากการบริหารกิจการ เช่น มีการตั้งข้อสังเกตจากผู้สอบบัญชี ฯลฯ
3.2.2. เป็นวาระพิจารณา ซึ่งไม่เป็นผลดีและไม่เป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นรายย่อยและส่วนรวม เช่น การแก้วัตถุประสงค์ของบริษัทจนไม่สอดคล้องกับธุรกิจเดิม การขออนุมัติการก่อหนี้จนบริษัทมีความเสี่ยงทางการเงินสูง ฯลฯ
3.2.3. เมื่อเป็นวาระที่ผู้บริหารเสนอพิจารณาในที่ประชุมโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า
3.2.4. เป็นวาระสำคัญที่มีผลต่อผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท แต่ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ
3.2.5. เป็นวาระที่ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยกับสังคมโดยรวม
3.3. การรับรองงบการเงิน ผลการดำเนินงาน การจ่ายปันผล
3.3.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ผู้ตรวจสอบบัญชีแสดงความเห็นในลักษณะที่มีเงื่อนไขในสาระสำคัญ หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับงบการเงิน หรือมีส่วนใดที่แสดงข้อมูลไม่ถูกต้อง
3.3.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่มีการจ่ายเงินปันผลไม่สอดคล้องกับนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
3.4. การแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
3.4.1. ไม่เห็นชอบ หากคณะกรรมการบริหารการลงทุนมีความเห็นว่า คณะกรรมการบริษัทขาดคุณสมบัติและมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น มีประวัติต้องโทษ มีการทุจริต ปกปิดข้อมูล กีดกันผู้ถือหุ้นใช้สิทธิเรียกประชุมวิสามัญ เพิกเฉยกับเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น ฯลฯ
3.4.2. ไม่เห็นชอบในกรณีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ โดยไม่ได้รับข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณา เช่น ประสบการณ์ การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น การถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
3.4.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่กรรมการเข้าประชุมน้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนครั้งที่ประชุมในรอบปีที่ผ่านมา ยกเว้น ในกรณีที่กรรมการท่านนั้นเข้ามาดำรงตำแหน่งไม่เต็มรอบปี หรือในกรณีมีการควบรวมบริษัทระหว่างปีบัญชี
3.4.4. ไม่เห็นชอบในกรณีกำหนดตำแหน่งประธานกรรมการและ CEO เป็นบุคคลเดียวกัน
3.4.5. ไม่เห็นชอบในกรณีของการแต่งตั้งกรรมการอิสระที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่สำนักงาน ก.ล.ต. แนะนำ เช่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ปรึกษาที่บริษัทหรือผู้บริหารระดับสูงใช้บริการอยู่ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใหญ่ หรือมีความสัมพันธ์อื่นใดที่เห็นได้ชัดว่าอาจทำให้ขาดความเป็นอิสระ เป็นต้น
3.4.6. ไม่เห็นชอบในกรณีของการแต่งตั้งกรรมการอิสระเกิน 3 วาระ หรือ 9 ปีติดต่อกัน เว้นแต่ คณะกรรมการสรรหาได้แจ้งว่ามีกระบวนการเสนอชื่อกรรมการทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ไม่มีผู้เสนอรายชื่อกรรมการอิสระเข้ามา และคณะกรรมการสรรหาได้พิจารณาและกลั่นกรองรายชื่อแล้วเห็นควรให้กรรมการที่ครบวาระ สามารถกลับเข้ารับตำแหน่งได้ โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการตามที่มีกำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือข้อบังคับของบริษัทฯ หรือมีการให้ความเห็นชอบของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากไม่มีการแต่งตั้งอาจก่อให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารงานให้เป็นไปด้วยดี
3.5. การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการของบริษัท
3.5.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่กำหนดค่าตอบแทนโดยที่ไม่เปิดเผยจำนวนเงิน
3.5.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่การจ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการ เกินความเหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ ผลงาน และผลการดำเนินงานของบริษัท
3.5.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ให้ประโยชน์กับบุคคลส่วนน้อยหรือบางกลุ่มโดยไม่แสดงเหตุผลอันสมควร
3.5.4. ไม่เห็นชอบในกรณีการจ่ายโบนัสให้กรรมการในปีที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุน ยกเว้นมี เหตุผลอันควร
3.6. การแต่งตั้ง / ถอดถอนผู้ตรวจสอบบัญชี และการเห็นชอบค่าสอบบัญชี
3.6.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยค่าสอบบัญชี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
3.6.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ได้รับความเห็นชอบจากตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงาน ก.ล.ต.
3.6.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
3.6.4. ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทเกินกว่า 7 รอบปีบัญชีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ และหากกลับมาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีใหม่ ควรเว้นช่วงการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทอย่างน้อย 5 รอบปีบัญชีติดต่อกัน ยกเว้นผู้สอบบัญชีรายเดิมนั้นเป็นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน
3.7. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) หรือการออกหุ้นกู้
3.7.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเพิ่มทุน การลดทุน การออก Warrant หรือการออกหุ้นกู้
3.7.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนหรือการออก Warrant โดยไม่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมหรือการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและส่งผลให้เกิด Dilution เกิน 20% ยกเว้นการเพิ่มทุนนั้นมีเหตุผลอันสมควร
3.7.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนหรือการออก Warrant โดยไม่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม หรือการออกหุ้นกู้แปลงสภาพมีการกำหนดราคาขายหุ้นหรือราคาแปลงสภาพต่ำกว่าราคาตลาดตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์ในขณะนั้น (ประกาศเดือน ส.ค. ปี 2563 ให้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 7 - 15 วัน นับจากวันที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท) หรือราคาอื่นที่มีเหตุผลสมควร
3.7.4. ไม่เห็นชอบในกรณีที่วิธีการจัดสรรหุ้นที่เหลือจากการจองซื้อของผู้มีสิทธิไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่สนใจทุกฝ่าย
3.7.5. ไม่เห็นชอบการในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนที่ทำให้มีการแบ่งชั้นของผู้ถือหุ้น หรือกระทำการใด ๆ ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ถือหุ้น เช่น ให้สิทธิในการออกเสียงไม่เท่ากัน
3.7.6. ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการซื้อหุ้นคืนจนทำให้ Free Float ต่ำกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (ปัจจุบันอยู่ที่ 20%)
3.8. การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานบริษัท (Employee stock option plan หรือ ESOP)
3.8.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่แผนการให้ ESOP ไม่เปิดเผยเรื่องการ Dilution
3.8.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่แผนการให้ ESOP ทั้งแผนส่งผลให้เกิด Dilution เกิน 5%
3.8.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นแผนในลักษณะที่จะให้ ESOP ทุกปี โดยแต่ละปีให้ ESOP เกิน 1% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท
3.8.4. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ ราคาแปลงสภาพของ ESOP ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของตลาดตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์ในขณะนั้น (ประกาศเดือน ส.ค. ปี 2563 ให้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 7 - 15 วัน นับจากวันที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท) หรือราคาอื่นที่มีเหตุผลสมควร
3.8.5. ไม่เห็นชอบในกรณีที่การขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้สิทธิ เช่น ราคาแปลงสภาพ สัดส่วนการแปลงสภาพ หรือขยายระยะเวลาการแปลงสภาพ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
3.8.6. ไม่เห็นชอบในกรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาที่สามารถขายหุ้น / Warrant ที่ได้จาก ESOP ครั้งแรกได้น้อยกว่า 1 ปี
3.8.7. ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและ/หรือพนักงานซึ่งเกินกว่าสมควรที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อกองทุนในฐานะผู้ถือหุ้น
3.9. การทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น หรือการทำรายการที่เกี่ยวข้องกัน
3.9.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่มีการทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น หรือการทำรายการที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน
3.9.2. ไม่เห็นชอบในกรณีการทำธุรกรรมนั้น ไม่ใช่ธุรกรรมหรือการดำเนินธุรกิจปกติ หรือไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติของบริษัท เว้นแต่จะมีเหตุผลและความจำเป็นชี้แจงอย่างชัดเจน
3.9.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่รายการนั้นเกิดประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีโอกาสทำให้บริษัทเสียหาย
3.10. การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขาย หรือให้เช่ากิจการ
3.10.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยถึงรายละเอียดของการได้มาหรือการจำหน่ายทรัพย์สิน การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ เช่น วัตถุประสงค์ ที่มา ราคา เป็นต้น
3.10.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ต้องใช้ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินแต่ไม่มีการเปิดเผยความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน หรือที่ปรึกษาทางการเงินไม่เห็นด้วย
3.10.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ลักษณะของรายการ เป็นการทำรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติของบริษัท โดยที่ไม่มีการชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นอย่างชัดเจน
3.11. การควบรวมกิจการ การครอบงำกิจการ การลงทุนในกิจการอื่น หรือการจ้างบริหาร
3.11.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยวัตถุประสงค์ เหตุผล และรายละเอียดของความจำเป็นในการควบรวมกิจการ การครอบงำกิจการ การลงทุนในกิจการอื่น หรือการจ้างบริหาร
3.11.2. ไม่เห็นชอบในกรณีการควบรวมกิจการ การครอบงำกิจการ หรือการลงทุนในกิจการอื่น ที่ไม่มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน หรือที่ปรึกษาทางการเงินไม่เห็นด้วย
3.11.3. ไม่เห็นชอบในกรณีที่การควบรวมกิจการ การครอบงำกิจการ หรือการลงทุนในกิจการอื่น ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติของบริษัท โดยที่ไม่มีการชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นอย่างชัดเจน
3.11.4. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของบุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้ว่าจ้างเข้ามาช่วยบริหาร และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการว่าจ้าง
3.12. การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัทหรือวัตถุประสงค์ของบริษัท
3.12.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยวัตถุประสงค์และผลดีผลเสียที่ได้ของการเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัท หรือวัตถุประสงค์ของบริษัท
3.12.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่การเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับธุรกิจเดิม โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่เกิดประโยชน์กับบริษัทและผู้ถือหุ้น
3.13. การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ / ข้อบังคับของบริษัท
3.13.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ / ข้อบังคับ
3.13.2. ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ / ข้อบังคับก่อนที่จะมีการแก้ไขและข้อความที่ประสงค์จะแก้ไขให้ทราบก่อน
3.14. การจำกัดความรับผิดชอบของกรรมการ และการเพิ่มเงินชดใช้ค่าเสียหายให้กรรมการบริษัท
3.14.1. ไม่เห็นชอบในกรณีที่บริษัทเสนอให้ลดหรือจำกัดความรับผิดของกรรมการ หรือเสนอให้กรรมการไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ หากมีความเสียหายจากการกระทำผิดพลาดในหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่
3.15. วาระเรื่องอื่นๆ
3.15.1. ไม่เห็นชอบหรืองดออกเสียงในกรณีที่วาระเรื่องอื่นๆ ที่มิได้มีการแจ้งเป็นการล่วงหน้า
3.15.2. ไม่เห็นชอบหรืองดออกเสียงในกรณีที่วาระเรื่องอื่นๆ ไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ
3.16. กรณีอื่นๆ
3.16.1. ในกรณีมีวาระการประชุมที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น การใช้สิทธิออกเสียงจะต้องผ่านการพิจารณาผลดีผลเสียโดยคณะกรรมการบริหารการลงทุน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยและผู้ถือหน่วยของกองทุนเป็นสำคัญ
3.17. อนึ่ง คณะกรรมการบริหารการลงทุนอาจจะใช้สิทธิออกเสียงในแนวทางที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ได้ หากมีสถานการณ์หรือเหตุการณ์หรือข้อมูลอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าการใช้สิทธิออกเสียงในแนวทางอื่นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยและผู้ถือหน่วยของกองทุนมากกว่า ทั้งนี้ มติจากการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารการลงทุนถือเป็นที่สุด
ฝ่ายบริหารการลงทุน
เมษายน 2566
- รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนรวม TMBAM Eastspring ปี 2563
- รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ TMBAM Eastspring ปี 2563
- รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนรวม TMBAM Eastspring ปี 2564
- รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ TMBAM Eastspring ปี 2564
- รายละเอียดการใช้สิทธิออกเสียงคัดค้านหรืองดออกเสียงในนามกองทุน Thanachart Fund Eastspring ปี25653
- รายละเอียดการใช้สิทธิออกเสียงคัดค้านหรืองดออกเสียงในนามกองทุน Thanachart Fund Eastspring ปี2564
- รายละเอียดการใช้สิทธิออกเสียงคัดค้านหรืองดออกเสียงในนามกองทุน Thanachart Fund Eastspring ปี2565
- รายงานสรุปการใช้สิทธิออกเสียง Thanachart Fund Eastspring ปี 2563
- รายงานสรุปการใช้สิทธิออกเสียง Thanachart Fund Eastspring ปี 2564
- รายงานสรุปการใช้สิทธิออกเสียง Thanachart Fund Eastspring ปี 2565
- รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนรวม TMBAM Eastspring ม.ค. 2565 จนถึง ก.ค. 2565
- รายงานสรุปเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงแทนกองทุนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ TMBAM Eastspring ม.ค. 2565 จนถึง ก.ค. 2565
- รายงานสรุปการใช้สิทธิออกเสียง บลจ.อีสท์สปริง ส.ค. 2565 จนถึง ธ.ค. 2565
- รายงานสรุปการใช้สิทธิออกเสียง บลจ.อีสท์สปริง ประจำปี 2566
- รายงานสรุปการใช้สิทธิออกเสียง บลจ.อีสท์สปริง ประจำปี 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน ธันวาคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน พฤศจิกายน 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน ตุลาคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กันยายน 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน สิงหาคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กรกฎาคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน มิถุนายน 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน พฤษภาคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน เมษายน 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน มีนาคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กุมภาพันธ์ 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน มกราคม 2567
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน ธันวาคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน พฤศจิกายน 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือนตุลาคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กันยายน 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน สิงหาคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กรกฎาคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน มิถุนายน 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน พฤษภาคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน เมษายน 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน มีนาคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กุมภาพันธ์ 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน มกราคม 2566
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน ธันวาคม 2565
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน พฤศจิกายน 2565
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน ตุลาคม 2565
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กันยายน 2565
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน สิงหาคม 2565
- บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เดือน กรกฎาคม 2565
- Thanachart Fund Eastspring เดือน มิถุนายน 2565
- Thanachart Fund Eastspring เดือน พฤษภาคม 2565
- TMBAM Eastspring เดือน มิถุนายน 2565
- TMBAM Eastspring เดือน พฤษภาคม 2565
- Thanachart Fund Eastspring เดือน มกราคม – เมษายน 2565
- Thanachart Fund Eastspring เดือน มกราคม – ธันวาคม 2564
- TMBAM Eastspring เดือน มกราคม – เมษายน 2565
- TMBAM Eastspring เดือน มกราคม – ธันวาคม 2564
จรรยาบรรณและระเบียบข้อบังคับทั่วไป
พนักงานของบริษัททุกคนจะต้องรับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และระเบียบข้อบังคับทั่วไปของบริษัทอย่างเคร่งครัดดังต่อไปนี้
1. ระเบียบการลงทุนในหลักทรัพย์ของพนักงาน
- ระเบียบการลงทุนในหลักทรัพย์นี้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้พนักงานทุกคนถือปฏิบัติโดยพนักงานจะต้องเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทจัดการทราบ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทจัดการเป็นผู้บริหารอยู่
1.1 การลงทุนในหลักทรัพย์
- พนักงานทุกคนจะเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง
1.2 บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน
- พนักงานจะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ให้กับส่วนกำกับและควบคุมภายในของบริษัทจัดการเพื่อการตรวจสอบทุกๆ ปี และในกรณีที่พนักงานมีการซื้อขายหลักทรัพย์ พนักงานจะต้องขออนุมัติทำรายการตามเกณฑ์ที่บริษัทจัดการกำหนดก่อน และจะต้องส่งหรือจัดให้มีการส่งรายงานการทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานนั้นๆ ให้กับส่วนกำกับและควบคุมภายในของบริษัทจัดการเพื่อการตรวจสอบทุกๆ เดือน
1.3 การรายงานการถือครองหลักทรัพย์
- การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุมัติจากบริษัทจัดการ
- ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
- ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน
- ไม่ซื้อขายก่อนกองทุน หรือซื้อขายหลักทรัพย์ใดในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนของกองทุน
1.4 หลักเกณฑ์ปฏิบัติทั่วไป
- พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หมายถึง พนักงานที่ล่วงรู้ข้อมูลการลงทุนของกองทุน ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ และพนักงานในฝ่ายจัดการลงทุน ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ส่วนบัญชีกองทุน
- และผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในของกองทุนที่ยังไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไปได้ บริษัทจัดการกำหนดให้พนักงานในกลุ่มดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การควบคุมดูแลซึ่งจะควบคุมการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
- บัญชีรายชื่อหลักทรัพย์ต้องห้าม (Restricted Securities) : ห้ามพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนซึ่งได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในของกองทุนทำการซื้อขายหลักทรัพย์ต้องห้าม
1.5 หลักเกณฑ์ปฏิบัติเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
- ห้ามพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเข้าลักษณะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีรายชื่อหลักทรัพย์ต้องห้าม ในช่วงเวลาที่กำหนดจนกว่าจะมีการแจ้งยกเลิกรายชื่อหลักทรัพย์ดังกล่าวออกจากบัญชีต้องห้ามเป็นลายลักษณ์อักษร
1.6 หลักทรัพย์ที่ปรากฎอยู่ในบัญชีรายชื่อหลักทรัพย์ต้องห้าม
- ระยะเวลาต้องห้าม (Cooling Off Period) ห้ามพนักงานซื้อขายหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 วันทำการก่อนและหลังจากที่กองทุนของบริษัทจัดการทำการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นๆ
1.7 หลักเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับพนักงาน
2. ระเบียบข้อบังคับอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงาน
- พนักงานจะต้องรักษาข้อมูลการลงทุน ข้อมูลทางบัญชีของการลงทุนและรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน โดยถือเป็นความลับ ไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลอื่นไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
2.1 การรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ (Confidentiality)
- ห้ามพนักงานให้ข่าวสารข้อมูลแก่บุคคลภายนอก ในนามบริษัทจัดการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการ และการให้ข่าวสาร จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และเป็นไปตามหลักการและเหตุผล
2.2 การรายงานและการเปิดเผยข้อมูล
- พนักงานจะต้องรับทราบข้อห้ามต่างๆ ของบริษัทจัดการ และหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทจัดการ และเปิดเผยการกระทำใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ แก่บริษัทจัดการ
2.3 มาตราการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- บริษัทจัดการไม่สนับสนุนให้พนักงานรับงาน หรือรับตำแหน่งใดจากภายนอก เช่น กรรมการที่ปรึกษา เป็นต้น พนักงานที่มีความประสงค์ดังกล่าว จะต้องได้รับการอนุมัติจากบริษัทจัดการก่อน
2.4 กิจกรรมภายนอกของพนักงาน
- บริษัทจัดการมีนโยบายไม่สนับสนุนให้พนักงานรับของขวัญ หรือค่าตอบแทนอื่นใดจากผู้เกี่ยวข้องในทางธุรกิจไม่ว่าในกรณีใดๆ และห้ามพนักงานรับของขวัญ ทั้งในรูปของเงินสด สิ่งของ หลักทรัพย์และหรือสิทธิประโยชน์พิเศษใดๆ
- รวมถึงการรับเลี้ยงรับรองจากผู้เกี่ยวข้องในทางธุรกิจ ยกเว้น กรณีหลีกเลี่ยงไม่ได้และราคาไม่สูง ซึ่งพนักงานที่จำเป็นต้องรับเลี้ยงใดๆ หรือจำเป็นต้องรับของขวัญที่มีมูลค่ามากกว่า 3,000 บาท จะต้องรายงานกับส่วนกำกับและควบคุมภายในของบริษัท
- เพื่อให้บริษัทพิจารณาส่งคืนหรือดำเนินการอื่นใดที่เหมาะสมต่อไป
2.5 การรับของขวัญหรือค่าตอบแทนอื่นๆ
- การให้ของขวัญและการให้การเลี้ยงรับรองใดๆต้องเป็นการให้อย่างเปิดเผยไม่ปกปิด เป็นการให้ในนามบริษัทไม่ใช่ในนามของพนักงาน การให้ของขวัญต้องไม่เป็นของขวัญที่อยู่ในรูปของเงินสด โดยประเภทและมูลค่าของขวัญต้องมีความเหมาะสมและถูกต้องตามกาลเทศะ ทั้งนี้บริษัทจะหลีกเลี่ยงการให้ของขวัญกับลูกค้าหรือคู่ค้าในช่วงระหว่างที่บริษัทเข้าเสนอการประกวดราคากับลูกค้าหรือคู่ค้าดังกล่าว นอกจากนี้การให้ของขวัญและการให้การเลี้ยงรับรองต้องไม่เป็นการกระทำโดยตั้งใจเพื่อครอบงำ ชักนำ หรือตอบแทนบุคคลใดๆ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบใดๆ หรือเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือหรือผลประโยชน
2.6 การให้ของขวัญและการให้การเลี้ยงรับรอง
- บริษัทจัดการเน้นให้พนักงานทุกคน ยึดมั่นในการปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัท จัดการ ได้จัดให้มีหน่วยงานดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ โดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า" ส่วนกำกับและควบคุมภายใน (Compliance Unit)" ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ ปฏิบัติหน้าที่โดยขึ้น ตรงต่อประธานคณะกรรมการของบริษัทจัดการ หน่วยงานนี้มีหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและกฎระเบียบของบริษัทจัดการ ตลอดจนจรรยาบรรณโดยเคร่งครัด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ ทบทวนและตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
- เมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่า พนักงานคนใดได้มีการปฏิบัติที่เป็นการละเมิด ฝ่าฝืนกฎระเบียบและ จรรยาบรรณ บริษัทจัดการฯ จะตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษพนักงาน โดยส่วนกำกับและควบคุมภายในเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯ นั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการฯ จะดำเนินการสอบสวนพนักงานดังกล่าวโดยละเอียด ในกระบวนการสอบสวนนั้น พนักงานมีสิทธิในการแสดง หรือให้ข้อมูลในส่วน ของพนักงานเองอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นคณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็น หรือลงโทษ พนักงาน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯจะใช้ดุลยพินิจในการตัดสินโทษพนักงานนั้น ขึ้นอยู่กับความร้ายแรง และเจตนาของการกระทำในแต่ละกรณี และมีอำนาจลงโทษตั้งแต่ ตักเตือน พักงาน ไม่ปรับเงินเดือน หรือเลิกจ้าง
2.7 การกำกับดูแล และตรวจสอบ
- บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ยึดมั่นที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ให้ความสำคัญในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทจัดการทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานทางการ และสังคมโดยรวม และมีแนวทางที่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณ ยึดถือการดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับของทางการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทมีความโปร่งใสและปราศจากการทุจริต คอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ รวมถึงป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ อันจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม และความเสียหายต่อบริษัทจัดการ และต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุม และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นภายในและภายนอกบริษัทจัดการ โดยมีการกำหนดนโยบายรวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ มาโดยตลอด เช่น จรรยาบรรณพนักงาน (Code of Conduct) การป้องกันปราบปรามการทุจริต การห้ามให้หรือรับสินบน การให้หรือรับของขวัญ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง ทั้งกับหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรือทางธุรกิจ เป็นต้น
- นโยบายการต่อต้านการติดสินบน และการทุจริต (- Anti-Bribery & Corruption Policy )
- นโยบายฉบับนี้เป็นนโยบายหลักของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด (“บริษัท”) ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททุกฝ่าย ประกอบด้วย ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้า เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานทางการ และสังคมโดยรวม โดยมีแนวทางที่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและปราศจากการทุจริต คอร์รัปชั่น ในทุกรูปแบบ
- นโยบายฯ ฉบับนี้กำหนดขึ้นโดยครอบคลุมถึงกรรมการและพนักงานของบริษัทในการปฏิบัติงาน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยบริษัทจะไม่ยอมให้มีการให้ หรือรับสินบน หรืออามิสสินจ้าง หรือผลตอบแทน ทั้งกรรมการและพนักงาน จะต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในการให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการของบริษัทและผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบหลักการและแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายนี้ รวมถึงให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้พนักงานยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักการที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับของพนักงาน (Code of Conduct) ของบริษัท รวมถึง มีบทลงโทษสำหรับพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้
1. วัตถุประสงค์
- เพื่อให้บริษัทมีนโยบายหลักที่ชัดเจนในการป้องกันและต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ มีการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และป้องกันมิให้มีการหาผลประโยชน์ในหน้าที่โดยมิชอบ
- เพื่อให้กรรมการ พนักงาน ยึดถือปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด รวมถึงตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการป้องกันและรับผิดชอบในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นมิให้เกิดขึ้นภายในบริษัท
- เพื่อให้การตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นไปอย่างรัดกุมรอบคอบและเหมาะสม
- เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- เพื่อให้บริษัท มีแนวนโยบายปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นของกลุ่ม Prudential ตามมาตรฐานต่อต้านการคอร์รัปชั่น ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
-
พันธกิจของบริษัทในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชั่น ผู้บริหารของบริษัทยึดมั่นในการสื่อสารข้อความที่ชัดเจนไปยังพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททุกฝ่ายว่าการติดสินบนและการทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ในการดำเนินธุรกิจ
กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบและเป็นแบบอย่างในการสร้างวัฒนธรรมที่โปร่งใส ปลอดภัย และไว้วางใจภายในองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่ามีกระบวนการและทรัพยากรเพียงพอในการการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผลของนโยบายนี้
2. ขอบเขตของนโยบาย
- ครอบคลุมแนวทางการต่อต้านการติดสินบนและการทุจริตในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นของกลุ่ม Prudential
- เป็นแนวทางปฏิบัติให้ กรรมการ และพนักงานทุกระดับของบริษัทในเรื่องการต่อต้านการติดสินบนและการทุจริต
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและต่อต้านการติดสินบนและการทุจริตในทุกหน่วยงานภายในบริษัท
3. นโยบาย
- บริษัทต้องดำเนินตามขั้นตอน เพื่อป้องกันการให้สินบนโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น รวมถึงพิจาราณาถึงความซับซ้อนของกิจกรรม กระบวนการต่างๆ ต้องมีความชัดเจน ปฏิบัติและเข้าถึงได้ ตลอดจนการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิผล
- ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท มุ่งมั่นที่จะป้องกันการติดสินบนโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมวัฒนธรรมภายในองค์กร และแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และกระต้นให้พนักงานปฏิบัติตามแนวทางอย่างจริงจัง
- บริษัทประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี หรือบ่อยกว่านั้น จะดำเนินการบันทึกการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมของธุรกิจ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง และบรรเทาความเสี่ยงที่เหลืออยู่
- ใช้ขั้นตอนการตรวจสอบ วิเคราะห์สถานะ (due diligence) ความเหมาะสม และตามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือบุคคลที่ดำเนินการ หรือผู้ให้บริการ หรือผู้ดำนินการแทนบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงในการติดสินบน
- มีการสื่อสารและการฝึกอบรม เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่านโยบายและขั้นตอนการป้องกันการติดสินบนยังคงมีประสิทธิผล พนักงานในบริษัทเข้าใจทั่วทั้งองค์กร โดยการฝึกอบรม จะเป็นขั้นพื้นฐานภาคบังคับสำหรับพนักงานทุกคน พนักงานเข้างานใหม่ และฝึกอบรมขั้นสูง สำหรับพนักงานที่มีความเสี่ยงสูง และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคคลภายนอกที่มีความเสี่ยงสูง
- การติดตาม และตรวจสอบ รวมถึงการทบทวนขั้นตอน การควบคุมมาเพื่อป้องกันการให้สินบนโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง และทำการปรับปรุงเมื่อจำเป็น
- บริษัทมีแนวทางข้อห้าม และข้อจำกัดของความเสี่ยงสูงในการติดสินบนและการทุจริต เช่น ไม่จ่ายเงินพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อจูงใจ หรือเร่งรัดการปฏิบัติงานประจำ ไม่ให้หรือรับของขวัญ เงินล่วงหน้า หรือสิ่งมีค่าใดๆที่ทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เป็นต้น
INFORMATION UPDATE
This document is important and requires your immediate attention
The U.S. Executive Order 14032 (“E.O.”) that was issued on 3 June 2021 prohibits transactions by U.S. Persons [The term “United States person” in the E.O. means any United States citizen, lawful permanent resident, entity organized under the laws of the United States or any jurisdiction within the United States (including foreign branches), or any person in the United States.] with effect from 2 August 2021 in:
(a) publicly traded securities of designated Chinese Military-Industrial Complex Companies ("CMIC") set out in the Non-SDN Chinese Military-Industrial Complex Companies List (“NS-CMIC List”) held by the Office of Foreign Assets
Controls (“OFAC”); and
(b) publicly traded securities that are derivative of the CMICs or are designed to provide investment exposure to the CMICs.
As a matter of group policy, we take all reasonable steps to comply with applicable U.S. OFAC regulations and E.O. requirements. Importantly, please note that:
- Eastspring Asset Management (Thailand) Co., Ltd is not a U.S. Person; and
- Eastspring Asset Management (Thailand) Co., Ltd range of mutual funds and unit trusts (“Eastspring Asset Management (Thailand) funds”) are not U.S. Persons, nor are they eligible for investment by U.S. Persons.
Some Eastspring Asset Management (Thailand) funds may hold and continue to engage in any transaction relating to any purchase or sale of publicly traded securities, or any publicly traded securities that are derivatives of such securities or are designed to provide investment exposure to such securities of any CMIC listed on the NS-CMIC List.
Any U.S. Person who may have inadvertently invested into Eastspring Asset Management (Thailand) fund must review its status and compliance obligations as a matter of priority and take all necessary steps to ensure that it shall remain in compliance of any applicable laws and regulations. This also applies to any appointed distributor of the Eastspring Asset Management (Thailand) funds or financial intermediaries who may have inadvertently invested into Eastspring fund on behalf a U.S. Person or allowed a U.S. Person to invest into Eastspring Asset Management (Thailand) fund.
In view of the fluidity of the situation as seen from the frequency of updates by OFAC, Eastspring will keep itself updated of the latest developments, and evaluate and fine-tune our response as appropriate. As the situation continues to evolve, and further guidance is issued, our response may be updated accordingly. Investors in the Eastspring Asset Management (Thailand) funds are hereby reassured that such products will continue to be managed in the best interest of investors.
i The term “United States person” in the E.O. means any United States citizen, lawful permanent resident, entity organized under the laws of the United States or any jurisdiction within the United States (including foreign branches), or any person in the United States.
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนอีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้บริหารจัดการลงทุน ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องบริหารจัดการเงินลงทุน เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า และด้วยหน้าที่ดังกล่าว บริษัท หลักทรัพย์ จัดการกองทุนอีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เชื่อว่าการที่กิจการที่ บริษัท หลักทรัพย์ จัดการกองทุนอีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เข้าไปลงทุน มีกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนของ ลูกค้าด้วยการลงนามท้ายหนังสือนี้ บริษัท หลักทรัพย์ จัดการกองทุนอีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอประกาศความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ที่ออกโดย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (fiduciary duty) และบทบาทหน้าที่ของ บริษัท หลักทรัพย์ จัดการกองทุนอีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ดังต่อไปนี้
- จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีกระบวนการในการตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ (Actively) โดยมีประเด็นเรื่องกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของบริษัทที่ไปลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจและติดตามด้วย
- มีการเพิ่มระดับการติดตามบริษัทที่ลงทุน กรณีเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติข้อ 3 ไม่เพียงพอ
- จัดให้มีการเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียงต่อลูกค้า
- ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติตาม I Code เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- เปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในเว็บไซต์ และในรายงานประจำปี (ถ้ามี) ตามแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป
ประกาศรับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I Code) คลิกดูรายละเอียด
นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน คลิกดูรายละเอียด
- รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน บลจ.อีสท์สปริง ประจำปี 2566
- รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน บลจ.อีสท์สปริง ประจำปี 2565
- รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนThanachart Fund Eastspring ประจำปี 2561 – 2564
- รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนTMBAM Eastspring ประจำปี 2561 - 2564
- บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ได้กำหนดนโยบายบริษัทเรื่อง การออกและเสนอขายกองทุนรวมและการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรมฉบับนี้ให้เป็นนโยบายที่มีความสำคัญ โดยมุ่งหวังให้ กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรของบริษัทให้ความสำคัญในการออกและเสนอขายกองทุนรวมโดยคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญตามหลักธรรมมาภิบาลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (Product Governance) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่อการลงทุนในตลาดทุนผ่านกองทุนรวม และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมในระยะยาวต่อไป และเพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องและเป็นไปตามที่ประกาศของหน่วยงานทางการกำหนด บริษัทได้กำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการออกและเสนอขายกองทุนรวม และการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม และให้มีการดำเนินการควบคุม ดูแล ติดตาม และตรวจสอบ ตลอดจนมีการทบทวนความเหมาะสมในเรื่องดังกล่าวเป็นประจำ
- นอกจากนี้ บริษัทกำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามนโยบายการออกและเสนอขายกองทุนรวมและการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม ควบคู่กับนโยบายการเสนอขายและให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุน เพื่อให้การออกผลิตภัณฑ์กองทุนรวม การเสนอขาย ตลอดจนการให้บริการแก่ลูกค้ากองทุน มีความเป็นธรรมโดยคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของลูกค้าตามหลักธรรมมาภิบาลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (Product Governance) และ หลัก Fair Dealing ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน และลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการออกกองทุน รวมถึงการเสนอขายกองทุนที่ไม่เหมาะสมหรือผิดประเภทให้แก่ลูกค้า ทั้ง mis-selling หรือ mis-buying
- วัตถุประสงค์และพันธกิจ
- บริษัทต้องมีการกำหนดนโยบายและมาตรการของบริษัทในเรื่องการออกและเสนอขายกองทุนรวมและการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญตามหลักธรรมาภิบาลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (Product Governance) และหลัก Fair Dealing ควบคู่กับการเสนอขายและให้บริการผลิตภัณฑ์ที่เป็นหน่วยลงทุนแก่ลูกค้ากองทุน โดยต้องดำเนินงานโดยยึดถือประโยชน์ของลูกค้าหรือผู้ลงทุนเป็นสำคัญ
- บริษัทต้องมีโครงสร้างการบริหารจัดการ นโยบาย ระบบงานเพื่อรองรับการออกและเสนอขายกองทุนรวมและการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม ตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด หรือหน่วยงานทางการอื่น
- บริษัทจะดำเนินการออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า/ผู้ลงทุนได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า/ผู้ลงทุนเป็นสำคัญ
- ตัวกลางและคนขายเข้าใจลักษณะสำคัญและความเสี่ยงของกองทุนรวมและผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายของกองทุนรวม
- ผู้ลงทุนเข้าใจในลักษณะสำคัญและความเสี่ยงของกองทุนรวมอย่างแท้จริงก่อนการตัดสินใจลงทุน
- บริษัทมีการติดตามดูแลกองทุนรวม และการทำหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างต่อเนื่อง หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไป
- นโยบายการออกและเสนอขายกองทุนรวมและการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม มีสาระสำคัญดังนี้
1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (product development) บริษัทมีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่เหมาะสม โดยมีการกำหนดผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายของกองทุนรวมที่จะออกและเสนอขาย มีกระบวนการในการออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่มั่นใจว่ากองทุนรวมถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ และมีการทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนการออกและเสนอขาย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทจัดการเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของกองทุนรวมดังกล่าวอย่างแท้จริงก่อนการเสนอขาย และมั่นใจว่าผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายจะได้รับผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายได้ โดยมีกระบวนการดังนี้
- การกำหนดกลุ่มผู้ลงทุนเป้าหมาย (Identification of target market)
- การออกแบบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (product design)
- การทดสอบผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (product testing)
2. การคัดเลือกตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน และการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กองทุนรวม (distributor selection and communication) บริษัทมีการคัดเลือกตัวกลางที่เหมาะสม รวมทั้งมีแนวทางการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมและผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายไปยังตัวกลางที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ตัวกลางเข้าใจถึงลักษณะและความเสี่ยงของกองทุนรวมที่เสนอขาย และสามารถเสนอขายกองทุนรวมแก่ผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง มีวิธีการสื่อสารข้อมูลกับผู้ลงทุนที่มั่นใจได้ว่า ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารรถทำความเข้าใจกองทุนรวมก่อนการตัดสินใจลงทุนได้ รวมทั้งมีระบบงานรองรับการขายและให้บริการกรณีที่บริษัทมีการขายและให้บริการหน่วยลงทุนตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยนโยบายการเสนอขายและให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุน
3. การติดตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและการทำหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุน (product and distributor monitoring) บริษัทมีวิธีการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเพื่อให้มั่นใจว่า กองทุนรวมยังคงมีความเหมาะสมกับผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมาย และมีวิธีการติดตามการทำหน้าที่ของตัวกลางในการเสนอขายหน่วยลงทุนที่มั่นใจว่าได้มีการขายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมาย และผู้ลงทุนมีความเข้าใจในกองทุนรวมก่อนการตัดสินใจลงทุน