บทสรุป

 

ความผันผวนของตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเรากำลังจะเข้าสู่ปี 2025 แต่ยังคงมีโอกาสที่จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น ในขณะเดียวกัน แม้ว่าเฟดไม่น่าปรับเปลี่ยนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินโดยอิงจากเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมาและความเสี่ยงจากการเตรียมเก็บภาษีนำเข้า ชี้ให้เห็นว่าความคาดหวังต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและมุมมองที่ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลดลงไปอยู่ที่ 3% นั้นดูเหมือนจะห่างไกลจากความเป็นจริงแล้ว

สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด

1. มีความผันผวนในทุกๆ ที่

ความผันผวนไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป แม้ว่าในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของปี 2024 ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าความผันผวนและความไม่แน่นอนของตลาดจะเพิ่มขึ้นต่อไปเมื่อเราก้าวเข้าสู่ปี 2025 แต่อย่างไรก็ตาม ความผันผวนนี้ยังเปิดโอกาสก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อตลาดหุ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน

สถานการณ์ในเอเชีย เริ่มจากญี่ปุ่นดูยังคงแข็งแกร่งในภาพรวมในมุมมองของเรา แม้ว่าความผันผวนของค่าเงินเยนจะสร้างทั้งแรงกดดันและแรงหนุนต่อบริษัทต่างๆ โดยในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เห็นได้ชัดจากกรณีการเกิดความผันผวนของราคาหุ้นในช่วงเวลาเพียง 48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ลงทุนที่ “รอดูสถานการณ์” ยังคงได้รับประโยชน์จากตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่แข็งแกร่งอย่างไม่น่าสงสัย เนื่องจากโอกาสฝั่งขาขึ้นที่มีอีกมากในอนาคต

ในขณะที่จีนนั้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดช่วยให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นจากไตรมาสสามสู่ไตรมาสสี่ แม้ว่าก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นจะมีผลงานที่ค่อนข้างน่าผิดหวังในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้สังเกตการณ์หลายคนคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมเพื่อชักจูงให้ผู้บริโภคที่ยังคงเน้นการออมเงินให้หันมาเข้าสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังช่วยให้จีนยังคงเป็นส่วนสำคัญใน "เวทีหารือของเอเชีย" ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากจีนมีน้ำหนักมากในดัชนีตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้ ความเป็นไปได้ในการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มนั้นดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ว่าจะเกิดขึ้น "เมื่อไหร่" มากกว่า “จะเกิดขึ้นหรือไม่" ซึ่งจีนได้มีการกระจายเส้นทางการค้าของตนไปยังยุโรปและเอเชียมากขึ้นตั้งแต่สมัยแรกของประธานาธิบดีทรัมป์ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าคิดมากกว่านั้นอาจเป็นโอกาสที่ตลาดจะเติบโตต่อไปได้ หากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์กระตุ้นให้จีนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศของตนเองมากยิ่งขึ้น

ส่วนที่อินเดีย สถานการณ์เป็นไปในทางตรงกันข้าม อินเดียเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของเอเชีย ตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นแบบ month on month ในทุกๆ เดือนตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสล่าสุด มีการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี ส่งผลให้ตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวลดลงราว 8% ในเดือนตุลาคม แต่ถึงกระนั้นการไหลเข้าของเงินลงทุนจากกองทุนรวมภายในประเทศยังคงอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นเสาหลักที่ค้ำตลาดมาได้อย่างต่อเนื่อง การปรับฐานของตลาดหุ้นอินเดียในครั้งนี้ อาจถูกมองว่าเป็นโอกาสสำหรับแนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้นของราคาหุ้นในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากมูลค่าที่สูงในอดีต ซึ่งรวมถึงปัจจัยหนุนจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางในอีกไม่กี่ไตรมาสข้างหน้า เศรษฐกิจของอินเดียยังคงอยู่ในสภาวะที่ดี และการมุ่งเน้นตลาดภายในประเทศอาจช่วยปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบของการกลับมาของประธานาธิบดีทรัมป์ได้ อินเดียนั้นยังคงได้เปรียบจากนโยบาย China +1 ซึ่งทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุน

2. สไตล์การลงทุนจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่ง

ในขณะที่ผู้เขียนอาจนึกย้อนกลับไปถึงอดีตเมื่อยังไม่เกิดการค้นพบมูลค่าของสินทรัพย์หรือ Price Discovery แกนหลักในการตัดสินใจจัดสรรสินทรัพย์ของผู้ลงทุนจำนวนมากยังคงอยู่ที่กระบวนการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นผ่านกลยุทธ์แบบ Passive (ลงทุนแบบติดตามดัชนี), Active (การบริหารการลงทุนเชิงรุก), Value (เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง), Growth (เน้นการเติบโต), Low Volatility (กลยุทธ์ลดความเสี่ยงจากความผันผวน) และกลยุทธ์อื่น ๆ

แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจดูขัดกับความคาดหมาย แต่การเลือกลงทุนในดัชนีแบบ Passive Index ก็มีความเสี่ยงเนื่องจากดัชนีเหล่านี้ถูกออกแบบให้พิจารณาจากราคาและขนาดของสินทรัพย์ในตลาด ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมักจะมีความบิดเบือนในตัวเอง ไม่ว่าด้านที่เป็นผลดีหรือผลเสียก็ตาม นั่นหมายความว่าวัฏจักรเศรษฐกิจมหภาคอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนที่เน้นการ "กระจายพอร์ตตามดัชนี" ได้โดยตรง และเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์อาจทำให้ผลกระทบเหล่านี้ยิ่งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภายใต้บริบทที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตที่ดี

การที่ประธานาธิบดีทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ซึ่งจะมาพร้อมกับนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงความไม่แน่นอนที่เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจจีนและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ ทั้งหมดนี้อาจสนับสนุนการลงทุนที่มีความหลากหลาย

มูลค่าตลาดหุ้นในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ยังคงดูน่าสนใจ แต่การทำความเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของบริษัทและผลกระทบที่อาจเกิดจากเศรษฐกิจมหภาคจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ลงทุน กลยุทธ์การลงทุนแบบ Low Volatility อาจช่วยสร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุนโดยลดความเสี่ยงขาลงในช่วงที่ตลาดผันผวน นอกจากนี้ การใช้กรอบการลงทุนแบบ Multifactor Lens ซึ่งพิจารณาปัจจัยหลากหลาย อาจช่วยลดความบิดเบือนที่เกิดจากโมเมนตัมและการเน้นไปที่หุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับดัชนีตลาด

รูปที่ 1 : อัตราความสำเร็จ (Hit Ratio) ของกลยุทธ์ Low Volatility ในการทำผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 12 เดือนของตลาด (12-Month Rolling Periods) ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2001 ถึงเดือนสิงหาคม 2024

รูปที่ 1 : อัตราความสำเร็จ (Hit Ratio) ของกลยุทธ์ Low Volatility ในการทำผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 12 เดือนของตลาด (12-Month Rolling Periods) ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2001 ถึงเดือนสิงหาคม 2024

แหล่งข้อมูล : Eastspring Investments, LSEG Datastream, * Bloomberg, ข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2001 ถึงเดือนสิงหาคม 2024 การใช้ดัชนีเป็นตัวแทนสำหรับผลการดำเนินงานในอดีตของสินทรัพย์หรือเซ็กเตอร์ใด ๆ มีข้อจำกัด และไม่ควรตีความว่าเป็นการบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานในอนาคตหรือผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกองทุน

3. เราจะใช้กลยุทธ์เดิมต่อไปในปี 2025 ได้หรือไม่?

เศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ความผันผวนของเงินเฟ้อ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย อาจสร้างสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยต่อตลาดตราสารหนี้

บรรยากาศที่เป็นบวกต่อการเปิดรับความเสี่ยงภายหลังการเลือกตั้งได้สนับสนุนให้ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนหรือสเปรดแคบลง ขณะที่สถานการณ์แบบ “Goldilocks” ซึ่งหมายถึงมุมมองต่อการเติบโตที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป พร้อมกับความเป็นไปได้ที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจสร้างความประหลาดใจในเชิงบวก และเงินเฟ้อที่เริ่มลดระดับลง กำลังสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อกลยุทธ์ “Carry Trades” แม้ว่ายุคของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากและมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอาจผ่านไปแล้ว แต่การตอบสนองของตลาดต่อค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ได้แสดงให้เห็นถึงความหวังในการได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและหลีกเลี่ยงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การทำกลับด้านของกลยุทธ์นี้ในบางสถานการณ์อาจนำมาซึ่งผลกระทบที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม

ปัจจัยบวกเชิงเทคนิคยังคงสนับสนุนตลาดตราสารหนี้เอกชน โดยเฉพาะจากการออกตราสารหนี้ที่มีจำนวนจำกัด อัตราผลตอบแทนพื้นฐานที่อยู่ในระดับสูง และความต้องการที่แข็งแกร่งจากผู้ลงทุนที่ถือเงินสดจำนวนมากในช่วงที่ผลตอบแทนจากการถือเงินสดลดลง แนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน มีน้ำหนักมากกว่าความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐที่มุ่งเป้าไปที่จีน ซึ่งช่วยเสริมมุมมองเชิงบวกต่อตลาดตราสารหนี้เอกชนในเอเชีย โดยการเคลื่อนไหวของราคาล่าสุดได้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในประเด็นนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยผลงานที่แข็งแกร่งที่ผ่านมาในปีนี้ อาจมีผู้ลงทุนบางส่วนต้องการล็อกกำไร ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับฐานเล็กน้อยในระยะสั้น โดยในปัจจุบันอาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสลับเปลี่ยนสินทรัพย์ลงทุน โดยออกจากตราสารหนี้เอกชนของจีนบางส่วนที่มีส่วนต่างหรือสเปรดแคบลง และมุ่งไปยังตราสารในภูมิภาคอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากนโยบายของสหรัฐที่มุ่งเป้าจีนน้อยกว่า

ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามยังรวมถึงความเป็นไปได้ที่ภาษีนำเข้าและการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะก่อให้เกิดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอาจทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐชันขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำนโยบายเหล่านี้มาใช้ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลใหม่ อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือมากกว่าหนึ่งปี แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสภาคองเกรส จึงยังคงเร็วเกินไปที่จะปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ เราพบว่ามีความสนใจอย่างมากในตลาดสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้หลังจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนหลังการเลือกตั้งในสหรัฐ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มในระยะแรกของตลาดที่ตอบสนองต่อการเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

4. ทิศทางต่อไปของเฟดในปี 2025

ความคาดหวังต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงไปอยู่ที่ 3% ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

ในขณะนี้ ความคาดหวังเกี่ยวกับการเก็บภาษีนำเข้าและการเพิ่มการใช้จ่ายทางการคลังยังคงเป็นเพียงการคาดเดา ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มที่จะไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายการผ่อนคลายทางการเงินโดยอิงกับการดำเนินการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น เฟดจึงน่าจะยังคงยึดตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงตัวชี้วัดในตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง อาจกระตุ้นให้เฟดปรับแนวทางนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น ทั้งในแง่ของเงื่อนเวลาและระดับอัตราดอกเบี้ยสุดท้าย (Terminal Rate) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น

หากมองไปที่การบริหารของทรัมป์ในทำเนียบขาวในปี 2025 ความคาดหวังของตลาดได้เปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่าเงินเฟ้ออาจกลับมาเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเผชิญอีกครั้งหรือไม่ โดยเฉพาะในบริบทที่มีการพูดถึงการกำหนดภาษีนำเข้าการลดภาษี และการปราบปรามแรงงานผู้อพยพ

รูปที่ 2 : Fed funds futures forward curves

รูปที่ 2 : Fed funds futures forward curves

แหล่งข้อมูล : LSEG Datastream, Eastspring Investments (Singapore) Limited การใช้ดัชนีเป็นตัวแทน เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในอดีตของสินทรัพย์หรือเซ็กเตอร์ใดๆ มีข้อจำกัด และไม่ควรตีความว่าเป็นการบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานในอนาคตหรือผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นของกองทุน ข้อมูลล่าสุดที่นำมาใช้ในรายงานนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2024

กรุณาดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.