อีสท์สปริง อินเวสเมนท์ ได้จัดทำเอกสารไวท์เปเปอร์ร่วมกับบริษัทพรูเด็นเชียล ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อหาวิธีการจัดสรรสินทรัพย์และแนวทางการลงทุนเชิงลึกสําหรับทั้งเจ้าของสินทรัพย์และผู้จัดการสินทรัพย์

ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าของสินทรัพย์นั้น รายงานได้สรุปแนวทางของบริษัทแม่ของเราที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน แนวทางนี้ได้ย้ำถึงความสําคัญของการพิจารณาอุตสาหกรรมที่เผชิญอุปสรรคในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและตลาดเกิดใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของข้อตกลงปารีสในเรื่องความรับผิดชอบร่วมในระดับที่แตกต่าง หรือ CBDR (Common But Differentiated Responsibilities) ขณะที่ในระดับผู้จัดการสินทรัพย์ รายงานนี้ได้เสนอกรอบการทํางานสําหรับการสร้างพอร์ตการลงทุนที่ร่วมลดโลกร้อน (climate transition portfolio)

เปลี่ยนมุมมองการลงทุน รับมือโลกร้อน : ทำไมต้องคิดใหม่?

การระดมทุนเพื่อลดช่องว่างทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นสิ่งสําคัญในการบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการรับรู้อย่างเต็มที่ถึงศักยภาพของตลาดทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะโซลูชั่นด้านการลดโลกร้อนที่มีอยู่ในระดับบริษัทไม่สามารถวัดความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างโซลูชั่นในปัจจุบันเช่น มาตรฐานการจัดกลุ่มการเงินยั่งยืน (Sustainable Finance Taxonomies) ได้กําหนดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถดำเนินการได้ แต่ประโยชน์หลักๆ คือการเอื้อต่อการจัดหาเงินทุนของโครงการ ทั้งนี้ มีแนวทางจากหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรม เช่น Climate Bond Initiative (CBI) และ Glasgow Financial Alliance for Net Zero (GFANZ) ซึ่งได้กำหนดทิศทางไว้แต่ยังขาดรายละเอียดและข้อมูลเชิงตัวเลขเพื่อวัดความคืบหน้าในระดับบริษัท

โซลูชั่นด้านข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปยังบริษัทที่ดำเนินการลดการปล่อยมลพิษหรือบริษัทที่ให้บริการโซลูชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่เดิมแล้ว กองทุนประเภทนี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 61% ของสินทรัพย์กองทุนภูมิอากาศทั่วโลก ส่วนที่เหลืออีก 39% มุ่งเน้นไปที่บริษัทต่างๆ ที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ 73% ของกองทุนกลุ่มนี้เป็นกองทุนแบบ passive funds ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยมลพิษเป็นหลัก1

เราต้องตระหนักให้มากกว่าการมุ่งเน้นที่การลดการปล่อยมลพิษเท่านั้นหรือเพียงแค่บริษัทที่มุ่งเรื่องการจัดหาโซลูชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งความท้าทายคือการชี้ชัดได้ว่าบริษัทใดที่ดำเนินการอย่างสอดคล้องหรือมีความคืบหน้าอย่างแท้จริงในเรื่องแนวทางการเงินยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ และยังรวมถึง :

  • สร้างความมั่นใจได้ว่าเกิดการมีส่วนร่วมของบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงบริษัทที่ปล่อยมลพิษสูง
  • เมื่อพิจารณาถึงแง่มุมทางสังคมของการเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสม นั่นหมายความว่าความคืบหน้าในด้านสภาพภูมิอากาศไม่ควรละเลยในเรื่องสิทธิมนุษยชน

กรอบแนวคิดสร้างพอร์ตลงทุนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรอบแนวคิดนี้ได้นําเสนอแนวทางปฏิบัติสำหรับการสร้างพอร์ตการลงทุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับบริษัท ซึ่งได้ดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับการใช้ประโยชน์จากโอกาสของการเปลี่ยนแปลงและกําลังจัดการกับการปล่อยมลพิษ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการการเปลี่ยนผ่านด้านแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของอุตสาหกรรม (เช่น Climate Bonds' Initiative) และองค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านของมาตรฐานการเงินยั่งยืน การผนึกระหว่างการมีส่วนร่วมและการรายงานตลอดทุกช่วงของวงจรการลงทุน ทำให้แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมสามารถนําไปใช้ได้ในระดับตลาดทุน ด้วยการอาศัยทั้งผู้จัดการสินทรัพย์และเจ้าของสินทรัพย์

องค์ประกอบสำคัญของกรอบแนวคิด ประกอบด้วย:

  • การคัดกรองพอร์ตการลงทุนแบบผสมผสาน : เครื่องมือคัดกรองที่รวบรวมข้อมูลจากผู้ให้บริการอิสระหลายราย เพื่อวัดโอกาสการเปลี่ยนผ่านและความพยายามในการลดการปล่อยมลพิษ
  • การมีส่วนร่วมและการติดตาม : การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทต่างๆ กำลังบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านและคำนึงถึงปัจจัยทางสังคม
  • การรายงาน : มีความโปร่งใสและความรับผิดชอบผ่านการรายงานความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ

กรณีศึกษา: Just Transition Portfolio ของอีสท์สปริง อินเวสเมนท์

รายงานฉบับนี้นำเสนอกรณีศึกษาของ Just Transition Portfolio ของอีสท์สปริง อินเวสเมนท์ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พอร์ตการลงทุนนี้มีเป้าหมายในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยมลพิษสูงและนำกรอบการคัดกรองที่นำเสนอมาใช้ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมทางสังคม การใช้กรอบแนวคิดนี้ส่งผลให้ได้บริษัทประมาณ 1,000 แห่ง ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ามีความครอบคลุมเพียงพอทั้งในแง่อุตสาหกรรมและตลาดสำหรับพอร์ตการลงทุนในตลาดทุนแบบ cross-strategies ทั้งนี้ เมื่อทดสอบด้วยข้อมูล ESG จากหน่วยงานบุคคลที่สาม (ณ เดือนพฤษภาคม 2024) พบว่าพอร์ตการลงทุนนี้ในภาพรวมมีระดับการปล่อยมลพิษที่ต่ำกว่าและมีคะแนนด้านสังคมและธรรมาภิบาลที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีตลาดในภาพกว้าง

1 Morningstar, 2024, การลงทุนในยุคของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: สรุปปี 2023

ข้อมูล คำแนะนำบทวิเคราะห์ และการแสดงความเห็นต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และให้ความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้นโดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นการชักชวนหรือชี้นำให้ซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่างๆ ตามที่ระบุหรือถูกกล่าวถึงไว้ในเอกสารฉบับนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ทีมงานไม่อาจยืนยันและรับรองความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นได้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ทีมงานไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายในรายได้ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการนำ ข้อมูล ข้อความ ความเห็น และ/หรือบทสรุปต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ

ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ บลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ดังนั้น บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เอกสารควรใช้คู่กับหนังสือชี้ชวน

การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้

แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสขาดทุนได้ การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน