2021 Mid-Year Outlook : บนเส้นทางการฟื้นตัวที่แตกต่าง

แม้ว่าผู้ลงทุนจะมีมุมมองที่เป็นบวกอย่างมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องอย่ามองข้ามความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 โดย Ooi Boon Peng หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและ Kelvin Blacklock หัวหน้าที่ปรึกษาด้านพอร์ตการลงทุนของ Eastspring ได้ให้มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในอีกหกเดือนข้างหน้า

ประเด็นสำคัญ ได้แก่ :

  • การเติบโตทั่วโลกคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อประเทศต่างๆ เริ่มปูพรมฉีดวัคซีน
  • ธุรกิจการเงิน กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและวัสดุ มีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวแบบวัฏจักร
  • ธนาคารกลางสหรัฐจะดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะเห็นความชัดเจนว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงจะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องจากสภาวะดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
  • ความเสี่ยงที่สำคัญยังรวมถึงหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูง การดำเนินนโยบายที่ก้าวผิดขั้นตอน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบและภาษี

คำถามที่ 1 : แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในช่วง 6 เดือนข้างหน้าในมุมมองของคุณเป็นอย่างไร?

Boon Peng: เศรษฐกิจโลกดูมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2021 ด้วยแรงหนุนที่จะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงปี 2022 โดยที่หลายๆ ประเทศกำลังดำเนินการฉีดวัคซีนแม้ว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าก็ตาม

ในสหรัฐอเมริกา การฉีดวัคซีนยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันช่วยให้ GDP สหรัฐมีแนวโน้มสูงเกิน 6% สูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP ในระยะยาวที่อยู่ระดับ 1.5-2.0% การออกกฎหมายจัดสรรงบประมาณรวม (Consolidated Appropriation Act) มูลค่า 900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกฎหมายเพื่อการฟื้นฟูของอเมริกาปี 2021 (American Rescue Plan Act 2021) มูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะช่วยเพิ่มรายได้ครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน ตลาดการจ้างงานที่ดีขึ้นหมายความว่าผู้บริโภคสหรัฐมีแนวโน้มเต็มใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้านี้ ดังนั้นเราจึงอาจเห็นช่วงเวลาของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "สถานภาพพิเศษของสหรัฐ” (US exceptionalism) เมื่อการเติบโตของ GDP สหรัฐมีความเป็นไปได้ที่จะสูงกว่าที่อื่นๆ ในโลก

ในทางตรงกันข้าม ประเทศในเอเชียรวมถึงจีนกลับใช้มาตรการกระตุ้นทางการคลังด้วยความระมัดระวัง ซึ่งจนถึงขณะนี้จีนสามารถฟื้นตัวได้ดีจากภาวะการระบาดของ COVID-19 และทางการยังใช้การพิจารณาอย่างรัดกุมในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้ความระมัดระวังในการก่อหนี้และนำประเทศให้กลับมามีการบริหารจัดการหนี้ที่แข็งแกร่งมากขึ้น ข้อมูล ณ ช่วงเวลาที่จัดทำบทความ1 สถานการณ์ COVID-19 ได้ฉุดภาวะการเติบโตของเอเชีย ขณะการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ต่างๆ ของ COVID-19 และการติดเชื้อระลอกใหม่ได้ลดความหวังในการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง แม้ว่ามุมมองของเราที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตทั่วโลกจะยังคงเป็นไปในเชิงบวก แต่ผมก็ไม่มองข้ามความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ซึ่งผู้ลงทุนควรติดตามและประเมินสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างใกล้ชิดภายใต้ความคาดหวังที่สูงของผู้ลงทุนต่อแนวโน้มการเติบโตทั่วโลก

รูปที่ 1 : การออมส่วนเกิน (Excess savings) คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับ GDP (ประมาณการ)

2021-mid-year-outlook-l-Fig 1

คำถามที่ 2: สิ่งที่เรียกว่า “สถานภาพพิเศษของสหรัฐ” (US exceptionalism) มีนัยยะอย่างไรต่อหุ้น ตราสารหนี้ และค่าเงินของเอเชีย

Boon Peng: นอกเหนือจากการกระตุ้นทางการคลังขนานใหญ่ที่กำลังช่วยผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐแล้ว สถานภาพพิเศษของสหรัฐยังขึ้นอยู่กับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ปัจจุบันเฟดมีมุมมองที่เป็นกลางต่อทิศทางเงินเฟ้อในระยะยาวและเห็นความจำเป็นในการคงนโยบายเดิมต่อไปจนกว่าการเติบโตของสหรัฐจะอยู่ในสถานะที่มั่นคงและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความชัดเจนว่ารัฐบาลเอเชียได้ใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการดำเนินมาตรการกระตุ้นทางการคลัง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียจะตัดสินใจคุมเข้มนโยบายก่อนหน้าเฟด นั่นหมายความว่าตลาดหุ้นและตราสารหนี้ในเอเชียน่าจะยังได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและการซื้อสินทรัพย์

ด้านค่าเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มที่ไม่ชัดนัก แม้มุมมองที่พบเห็นบ่อยก็คือเงินดอลลาร์น่าจะถูกหนุนจากแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งของสหรัฐ อย่างไรก็ตาม การมองมุมบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐนั้นได้สะท้อนอยู่ในราคาสินทรัพย์เป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยเฟดยังไม่น่าจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยได้อีกสักระยะ นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นทางการคลังที่สำคัญยังส่งผลให้ภาวะขาดดุลแฝดหรือ twin deficits ของสหรัฐลดลงอีกด้วย หากมองอย่างสมดุลแล้ว ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ผมคาดว่าค่าเงินเอเชียบางสกุลจะกลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในระยะกลาง โดยในระยะสามถึงหกเดือนข้างหน้า เรามีมุมมองบวกต่อค่าเงินหยวนของจีน วอนเกาหลี และดอลลาร์สิงคโปร์

คำถามที่ 3 : หลังจากที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเกิดความผันผวน คุณปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนของคุณอย่างไร?

Kelvin: เรายังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้นโลก ซึ่งในภาพรวมเราชอบสหรัฐมากกว่าตลาดเกิดใหม่ (EMs) เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ยังดำเนินต่อไป ขณะตลาดอย่างเช่นอินเดียและลาตินอเมริกา (LATAM) ยังต้องดิ้นรนเพื่อรับมือ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยฉุดรั้งที่ดูรุนแรงขึ้นซึ่งมาจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ EMs แต่ละแห่งไม่เท่ากันจากความอ่อนแอที่มีมากกว่าตลาดในกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ เรายังปรับลดมุมมองของเราต่ออายุตราสารเฉลี่ย (duration) ของสหรัฐ เนื่องจากความคาดหวังของผู้ลงทุนที่ตั้งไว้สูงสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

นโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายยังคงดำเนินต่อไปและเป็นเสาหลักที่ช่วยสนับสนุนตลาดสินทรัพย์ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงการอัดฉีดเงินสดโดยตรงสู่ผู้บริโภคกำลังช่วยเพิ่มรายได้ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้จริงของภาคครัวเรือนซึ่งหมายถึงการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค ดีมานด์ในภาคส่วนนี้จึงยังมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งซึ่งสอดคล้องกับการที่บริษัทต่างๆ ได้รายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาด

จากสถานการณ์ของสินทรัพย์เสี่ยงดังกล่าวทำให้เราให้ความสำคัญกับตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงมากกว่าตราสารในระดับ investment grade แต่ก็ไม่ได้มองเป็นบวกเท่าไหร่นักต่อตราสารหนี้ที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของประเทศ (sovereign bonds) เรารู้สึกว่าอัตราเงินเฟ้อไม่ใช่สาเหตุของความกังวลในทันที เพราะการเพิ่มขึ้นของระดับราคาเมื่อเร็วๆ นี้ได้รับผลกระทบจากการเปิดประเทศเพียงชั่วคราว และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มโลหะและน้ำมัน ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าวอาจไม่ได้บ่งชี้ถึงการเป็นแนวโน้มที่จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าจะกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปัญหาคอขวดด้านซัพพลายที่เกี่ยวข้องกับ COVID นั้นยังคงอยู่ ซึ่งถ้าพิจารณาจากกลุ่มหุ้นต่างๆ แล้ว เรายังคงให้น้ำหนักไปยังกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวแบบวัฏจักร เช่น ธุรกิจการเงิน กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและวัสดุ

รูปที่ 2 : อัตราส่วนการปรับคาดการณ์ผลประกอบการทั่วโลก (รายสัปดาห์)

2021-mid-year-outlook-l-Fig 1

คำถามที่ 4 : ดูเหมือนว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนที่เฟดจะเปิดเผยมุมมองล่วงหน้า (Fed’s Guidance) สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับผู้ลงทุน?

Boon Peng: ณ ช่วงเวลาที่จัดทำบทความนี้2 ตลาดได้รับรู้ปัจจัยการปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 basis points (bp) ในช่วงปลายปี 2022 และเพิ่มขึ้นอีก 25 bp ภายในสิ้นปี 2023 การสะท้อนอยู่ในราคาดังกล่าวไม่ได้ถือว่าตลาดมีมุมมองที่ aggressive มากเกินไปแม้ว่าจะแรงกว่าจุดยืนของเฟดในการที่จะ "ไม่ทำอะไรเลย" สำหรับการดำเนินนโยบายตลอดทั้งปี 2023 ผมเชื่อว่าเฟดอาจตัดสินใจคุมเข้มนโยบายเพียงครั้งเดียวในปี 2023 แม้ว่าเฟดจะแสดงความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจแต่ก็ต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดและอัตราเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกัน กำลังแรงงานส่วนเกินในสหรัฐอเมริกาก็ยังคงอยู่ในระดับสูง หากพิจารณาถึงกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของเฟดแล้ว เงินเฟ้อที่ต่ำในปี 2020 ยังเปิดโอกาสให้เฟดสามารถใช้นโยบายแบบผ่อนคลายได้ต่อไป การที่ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐล่าสุดขยับขึ้นค่อนข้างมากส่วนหนึ่งเนื่องมาจากผลกระทบของฐานที่ต่ำ ซึ่งเฟดจะยังติดตามแนวโน้มแรงกดดันด้านราคาต่อไปและจะต้องใช้เวลานานต่อไปอีกระยะเพื่อให้แน่ใจว่าการเพิ่มขึ้นของราคาโดยส่วนใหญ่เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว

การเปลี่ยนใจของตลาดที่คาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจเกิดจากความผิดหวังต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็นเพราะความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใหม่จาก COVID-19 หรือจากการที่ตัวเลข GDP ไม่สามารถบรรลุได้ตามความคาดหวังที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปีของสหรัฐ เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 bp นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 มาอยู่ที่ 1.65-1.70%3 ซึ่ง ณ ระดับดังกล่าว พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐได้นำเสนอคุณสมบัติในการเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงหรือ safe haven ที่เหมาะสมสำหรับพอร์ตการลงทุน

Kelvin: เรากำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในเรื่องการตอบสนองของเฟดต่อสัญญาณเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เฟดมีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะปล่อยให้เศรษฐกิจสหรัฐ "เครื่องร้อน" และยอมให้เงินเฟ้อสูงเกินเป้าหมายที่ 2% ได้บ้างแต่ยังสอดคล้องกับนโยบายเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดฟิวเจอร์สได้เริ่มเก็งถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในปี 2022

ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อัตราเงินเฟ้อไม่ใช่สาเหตุของความกังวลในทันที เราคิดว่าเฟดยังต้องการข้อมูลเข้ามายืนยันเพิ่มเติมสำหรับโอกาสการเพิ่มขึ้นอย่างถาวรของอัตราเงินเฟ้อ และการปิดช่องว่างของผลผลิตก่อนที่จะส่งสัญญาณถึงความจำเป็นว่าต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ถึงกระนั้น หากเฟดตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายดอกเบี้ยก็จะมีการแจ้งเตือนอย่างชัดเจนล่วงหน้าและกระแสของการปรับขึ้นดอกเบี้ยก็จะมีแนวโน้มลดลง ความเสี่ยงในการเพิ่มต้นทุนทางการเงินก่อนที่เศรษฐกิจจะสามารถ "หลุดพ้น" ผลกระทบของภาวะการระบาดใหญ่ได้อย่างแท้จริงนั้นถือเป็นอุปสรรคที่ยากในการผ่านพ้นไปได้ อย่างไรก็ตาม

เรามีความระมัดระวังเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อเชิงโครงสร้างในระยะยาวที่อาจเป็นปัจจัยฉุดตลาดในบางช่วง แต่นั่นก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้

ผู้ลงทุนอาจรู้สึกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสัญญาณอันตรายจากเงินเฟ้อและเห็นว่าจำเป็นต้องตอบสนองในทันที อย่างไรก็ตาม เราต้องการเตือนให้ใช้ความระมัดระวังเนื่องจากผลกระทบจากสัญญาณลวงของฐานที่ต่ำเมื่อดูเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 และให้รอสัญญาณข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นจากแนวโน้มความต้องการผู้บริโภคและการตอบสนองจากเฟด

รูปที่ 3 : แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป้าหมายของเฟด (Implied Fed Funds Target Rate)

2021-mid-year-outlook-l-Fig 1

คำถามที่ 5: ระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้นดูเหมือนว่าจะกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในขณะที่การฟื้นตัวค่อยๆ มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น อยากทราบว่าผลกระทบที่มีต่ออันดับเครดิตของประเทศ การผิดนัดชำระหนี้ และกลยุทธ์ตราสารหนี้คืออะไร?

Boon Peng: การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มาจากรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากมาตรการทางการคลังที่จำเป็นในการบรรเทาสภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตใน EMs บางแห่ง เช่น อินเดีย ผู้ลงทุนจึงต้องดำเนินการคัดเลือกสินทรัพย์ที่อยู่ภายใน EMs และมีความยืดหยุ่นในกระบวนการจัดสรรพอร์ตลงทุนไปยังเซ็กเตอร์ต่างๆ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนรับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคแต่มีความผันผวนต่ำกว่า

ระดับหนี้ภาครัฐที่สูงขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเติบโตและส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นหากมีเงินเฟ้อเข้ามาเป็นอุปสรรค การเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงและเป็นไปอย่างต่อเนื่องจะทำให้นโยบายคุมเข้มทางการเงินของธนาคารกลางเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและสร้างความท้าทายในเรื่องการชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ผลกระทบสองด้านที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและการซื้อสินทรัพย์โดยเฟดและธนาคารกลางยุโรปควรเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อตลาดตราสารหนี้

หากพิจารณาเฉพาะภาคธุรกิจ เราไม่คิดว่าการผิดนัดชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นมากในระยะสั้น เนื่องจากเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นซึ่งจะช่วยคุมเครดิตสเปรด แม้ว่าการวิเคราะห์เครดิตแบบเข้มงวดและกลยุทธ์การคัดเลือกยังคงเป็นกุญแจสำคัญ เราคาดว่าอัตราการผิดนัดชำระในตลาดตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงในเอเชียหรือ Asian High Yield bond จะยังคงทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง แต่ก็คาดว่าการผิดนัดชำระหนี้จะยังอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ มูลค่าที่น่าดึงดูดของตลาด Asian High Yield bond ประกอบกับอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นและอายุเฉลี่ยตราสารที่สั้นลง ได้สร้างข้อเสนอที่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้ลงทุนที่กำลังแสวงหาผลตอบแทนแม้ว่าอาจต้องก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความผันผวนในปัจจุบัน

การผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้แบบออนชอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประเทศจีน เนื่องจากรัฐบาลพยายามที่จะลดการก่อหนี้สุทธิในระบบและลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือ moral hazard ในตลาดตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานที่รัฐเป็นเจ้าของโดยรัฐบาลนั้นน่าจะได้รับการประเมินเป็นรายกรณี ด้วยเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใดๆ ที่จะกระทบต่อระบบการเงิน

คำถามที่ 6 : นอกเหนือจากเรื่องเงินเฟ้อแล้ว อะไรคือความเสี่ยงสำคัญที่ตลาดต้องเผชิญในระยะ 12 เดือนข้างหน้าและถัดจากนั้น?

Kelvin: การพูดถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับความต้องการผู้บริโภคที่ฟื้นตัวและผลประกอบการของภาคธุรกิจที่แข็งแกร่ง ทำให้มุมมองต่อสินทรัพย์เสี่ยงในกรณีฐาน (base case) ของเรายังคงเป็นบวก อย่างไรก็ตาม เราตระหนักดีว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการที่อาจเข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวในปัจจุบัน

ต้นทุนภาระหนี้ของประเทศที่สูงขึ้นซึ่งแตกต่างจากหนี้ของภาคธุรกิจอาจกลายเป็นปัญหาในอนาคตหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน การดำเนินนโยบายแบบก้าวผิดขั้นตอนโดยธนาคารกลางหรือรัฐบาลที่ตัดสินใจถอนนโยบายกระตุ้นทางการเงินและการคลังก่อนกำหนดก็จะสร้างความเสียหาย การลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือถอนกลับมาตรการจะต้องมีการสื่อสารเป็นอย่างดีและมีเหตุผลมากเพียงพอ

สำหรับภาคธุรกิจ มีความจำเป็นต้องติดตามในเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบและภาษีที่ไม่เอื้ออำนวยในสหรัฐซึ่งอาจพุ่งเป้าไปยังบริษัทขนาดใหญ่ทางเทคโนโลยีและธนาคาร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหาเสียงของพรรคเดโมแครตก่อนการเลือกตั้ง นอกจากนี้ เราคิดว่าบริษัทที่ไม่สามารถปรับโมเดลธุรกิจของตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะได้รับผลกระทบ ส่วนบริษัทที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาและใช้กลยุทธ์เชิงรุกในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์

มองไปข้างหน้า เราเห็นว่าเรื่อง ESG และพฤติกรรมภาคธุรกิจแบบยั่งยืนมีความสำคัญอย่างยิ่ง บริษัทที่ไม่สามารถปฏิบัติให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้จะได้รับผลกระทบจากชื่อเสียงที่เสียหาย ราคาหุ้นที่ลดลง และต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น

Qคำถามที่ 7: ในปี 2020 พบเงินไหลเข้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์สู่กองทุน ESG และแนวโน้มดังกล่าวกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณประเมินสถานการณ์นี้อย่างไร?

Kelvin: ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนึ่งในประเด็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุนและให้มีส่วนร่วมที่มากขึ้นกับวงการบริหารจัดการสินทรัพย์นั่นก็คือการผสานรวมนโยบายและหลักการด้าน ESG ทีมงานของเราได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนาของเจ้าของสินทรัพย์และรับปฏิบัติตามแนวนโยบายที่ลูกค้าเราต้องการ

บริษัทแม่ของเรา Prudential Plc ได้เริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่นั่นคือ Group ESG Strategy และประเด็นสำคัญที่ควรทราบก็คือเป้าหมายใหม่ในการเป็น "net zero" ภายในปี 2050 ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ร่วมมือกับบริษัท Prudential Plc ในการริเริ่มพัฒนาโครงการลงทุน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเข้มข้นของคาร์บอนในพอร์ตการลงทุน ณ ทุกช่วงเวลา โดยที่ Prudential มีอำนาจควบคุมโดยตรงเหนือกระบวนการจัดการลงทุน โครงการนี้มุ่งเน้นไปยังการจัดการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายและสนับสนุนโอกาสการลงทุนที่เกิดขึ้น

การเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและการมีส่วนร่วมนับเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ Group ESG Strategy ยังช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เหมาะสมสำหรับตลาดเกิดใหม่ Prudential มีความมุ่งมั่นในการเข้าร่วมการประชุม “Net Zero Asset Owner Alliance” ซึ่งจัดโดยสหประชาชาติ ในฐานะการเป็นเครือข่ายของผู้ลงทุนสถาบันที่มีเป้าหมายในการลดคาร์บอนในพอร์ตการลงทุนของตน โดย Eastspring ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนากลยุทธ์การลงทุน ESG ที่เน้นภูมิภาคเอเชียซึ่งมีความละเอียดรอบด้านและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 13 May 2021
2 13 May 2021
3 As at 14 May 2021.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.