สรุปสภาวะตลาด ประจำเดือนกรกฎาคม

“กรกฎาคม” เป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่2 ของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก่อน ซึ่งดัชนีหุ้นโลก (MSCI ACWI Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.14% แต่ในขณะที่ดัชนีความผันผวนของตลาดหุ้น S&P500 (VIX Index) ในเดือนกรกฎาคมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 27% ลดลงจากค่าเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนที่ระดับ 31.12% บริษัทจดทะเบียนใน S&P500 ได้มีการประกาศผลกำไรในไตรมาสที่ 2 ออกมาแล้วประมาณกว่า 300 บริษัท หรือคิดเป็นประมาณ 60% โดย Earnings Surprise ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ประมาณ 22% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ลงทุนนั้นมีความกังวลที่ลดลง

แต่ในขณะที่การประกาศผลกำไรในไตรมาสที่ 2 ของประเทศไทยนั้น ออกมาแล้วเพียง 13 บริษัท หรือ คิดเป็นประมาณ 2% ของจำนวนหุ้นใน SET Index ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดย Earning Surprise นั้นออกมาไม่ดีอย่างที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 22% ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ประกาศผลกำไรออกมาไม่ดีอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้

ส่วนผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลง(ราคาขึ้น) และสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง “ทองคำ” ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX ปรับตัวขึ้นประมาณ 9%

ภาพการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทั่วโลกในเดือนกรกฎาคมเป็นไปในลักษณะของการซื้อขายเชิง Sentiment (บรรยากาศการลงทุน) จากข่าวที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องวัคซีน COVID - 19 และเรื่องข้อพิพาทสหรัฐฯ-จีน มากกว่าปัจจัยเชิงพื้นฐานที่เกิดขึ้น อีกทั้งประเด็นเรื่องของการระบาด COVID – 19 รอบที่2 ของแต่ละประเทศทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยมีแรงซื้อกลับเข้ามา รวมถึงสภาพคล่องที่ค่อนข้างล้นระบบ จึงส่งผลให้สินทรัพย์เกือบทุกประเภทปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนนี้

ตราสารทุน

ประเด็นข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ - จีน ยังคงเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันตลาดอยู่เป็นระยะ ล่าสุดทางสหรัฐฯได้ออกคำสั่งให้จีนปิดสถานกงสุลที่เมืองฮิวสตันและอาจจะสั่งปิดสถานกงสุลของจีนในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ส่วนทางจีนก็ได้มีการตอบโต้กลับเช่นกัน โดยออกคำสั่งให้สหรัฐฯปิดสถานกงสุลสหรัฐฯที่เมืองเฉินตู

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ออกมาผสมผสานกัน เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดลงสู่ระดับ 92.6 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 98.3 ในเดือนมิถุนายน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 94.5 ขณะที่ตัวเลข GDP ไตรมาส 2/2020 เบื้องต้นออกมาที่ -32.9% (QoQ) เป็นการหดตัวรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการจัดเก็บข้อมูล แต่ดีกว่าที่การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ -34.1% (QoQ)  โดยการหดตัวในไตรมาสนี้เป็นการหดตัว 2 ไตรมาสต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1/20 ที่ -5.0% (QoQ) ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ และจากสถิติในอดีตหากเกิดเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯภายในช่วงเวลา 2 ปีก่อนมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งในสมัยแรกจะไม่ได้รับเลือกตั้งในสมัยที่ 2

asian-financials-bracing-for-challenges-Fig1

ในส่วนของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0 - 0.25% รวมถึงมีการขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ภาคเอกชนออกไปอีก 3 เดือน (Corporate Bonds) จากเดิมที่จะสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน ขยายไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่จะช่วยเหลือคนว่างงานที่จำนวน 600 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ได้หมดอายุลงแล้วในวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยที่ทางพรรครีพับรีกันต้องการให้เงินชดเชยแก่ผู้ว่างงานที่จำนวน 200 ดอลลาร์/สัปดาห์ ขณะที่ทางพรรคเดโมแครต ต้องการให้ชดเชยผู้ว่างงานที่จำนวน 600 ดอลลาร์/สัปดาห์ ทำให้ทั้งสองพรรคยังหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้

ขณะที่ความคืบหน้าเกี่ยวกับการผลิตวัคซีน COVID-19 กับองค์การอนามัยโลก เพื่อเดินหน้าทดลองในคนทั่วไปแล้ว 27 ตัว ส่วนการทดสอบระยะที่ 3 มีประมาณ 6 ตัว โดยภาพรวมในเดือนกรกฎาคมดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นประมาณ 5.51%

ขณะที่ฝั่งยุโรปผู้นำจาก 27 ชาติของสหภาพยุโรป (EU) ได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูวงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร ผ่านการระดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้ เพื่อช่วยเยียวยาเศรษฐกิจยุโรป จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ส่วนเม็ดเงินในกองทุนฟื้นฟูดังกล่าวประกอบด้วยเงินกู้และเงินให้เปล่าในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า โดยเงินกู้นั้นจะชำระเงินคืนด้วยเงินรายได้จากการเก็บภาษี ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟูประกอบด้วย 3.90 แสนล้านยูโรเพื่อเป็นเงินให้เปล่าแก่ประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากCOVID-19 ส่วนอีก 3.60 แสนล้านยูโรจะนำไปปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของยุโรปก็ออกมาแบบผสมผสาน โดยดัชนี Markit PMI Composite อยู่ที่54.8 ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ที่ 51.1 ขณะที่ GDP ไตรมาส 2/2020 เบื้องต้นออกมาที่ -12.1% (QoQ)  และผลตอบแทนดัชนี Euro Stoxx600 ในเดือนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ 1.11%

ในฝั่งของจีนนั้นคณะกรรมการกำกับการธนาคารและการประกันภัยของจีน (CBIRC) ได้อนุญาตให้บริษัทประกันชีวิตและธนาคารเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้สูงสุดเป็น 45% จากเดิมที่ 30% ซึ่งเป็นการปลดล็อคเงินเข้าสู่ตลาดหุ้นจีน ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2563 ขยายตัว 3.2% ซึ่งฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่หดตัวลง 6.8% ในไตรมาส 1 ขณะที่ PMI ของจีนอยู่ที่ 51.1 ดีกว่าที่คาดที่ระดับ 50.7 และผลตอบแทนในดัชนี MSCI China ปรับตัวขึ้นประมาณ 8.89%

ในส่วนของไทยนั้นได้มีการเปิดลงทะเบียนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมถึงมีการคลายล็อคดาวน์ในระยะที่ 6 ในส่วนของการต่อพรก.ฯฉุกเฉินนั้นได้มีการต่ออายุออกไปอีก 1 เดือน จากเดิมจะหมดอายุสิ้นเดือนกรกฎาคม และในส่วนของค่าเงินบาทเป็นที่น่าจับตาจากประเด็นที่ทาง UBS มีการรายงานว่าประเทศไทยอาจถูกขึ้นบัญชี Watchlist ในฐานะที่เป็นประเทศแทรกแซงค่าเงิน และในเดือนที่ผ่านมาค่าเงินบาทไทยค่อนข้างผันผวน ซึ่งก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายนค่าเงินบาทแข็งค่า 2.8% จาก 31.8 ต่อดอลลาร์ มาอยู่ 30.9 ต่อดอลลาร์ ซึ่งล่าสุดในระหว่างเดือนกรกฎาคม ค่าเงินบาทอ่อนค่ามาแตะระดับ 31.8 บาท/ดอลลาร์ และกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 31.17 ช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม และขณะที่ผลตอบแทนSET Index นั้นปรับตัวลดลงประมาณ 0.78%

asian-financials-bracing-for-challenges-Fig2

ตราสารหน

ตลาดตราสารหนี้โดยรวมของสหรัฐฯดีขึ้น ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้กลุ่มคุณภาพดี (Investment Grade) รวมถึงกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง (High Yield) เส้นความชัน (Yield Curve) ของตราสารแต่ละประเภทปรับตัวลดลง รวมถึงส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เอกชนทั้งในกลุ่มคุณภาพดี (Investment Grade) และกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง (High Yield) เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) ยังคงแคบลงอย่างต่อเนื่องจาก Sentiment เชิงบวกมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ประกาศใช้จำนวนเงินสำหรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเดือนละ 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมไปถึงตราสารที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (MBS) เดือนละ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงมีการขยายระยะเวลาโครงการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องต่างๆออกไปอีก 3 เดือน

ภาวะตราสารหนี้ของไทยช่วงเดือนมิถุนายนมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใกล้เคียงกับช่วงเดือนพฤษภาคม อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนระยะยาวโดยรวมปรับตัวลง ส่วนหนึ่งสะท้อนมุมมองของนักลงทุนที่ยังระมัดระวังและ Wait & See ความคืบหน้าของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ COVID -19 ที่เห็นตัวเลขเพิ่มขึ้นในไทยและต่างประเทศ การส่งออก ท่องเที่ยว และค่าเงิน เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ ส่วนภาพรวมของตราสารหนี้ภาคเอกชนช่วงเดือนกรกฎาคมถือว่าดีขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) สูง สะท้อนผ่านส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) ของกลุ่มคุณภาพสูงที่เริ่มกลับมาแคบลงเล็กน้อย แสดงถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นของนักลงทุน

asian-financials-bracing-for-challenges-Fig2

สินทรัพย์ทางเลือก

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยรวมทั่วโลกปรับตัวขึ้น Global REIT +3.33% ขณะที่ REIT ไทยปรับตัวลดลง (SETPREIT Index) -6.10% ส่วนเหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ REIT ไทยปรับตัวขึ้นมามากในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม จึงทำให้เกิดการเทขายทำกำไรในกลุ่มนี้ ประกอบกับช่วงเดือนกรกฎาคมที่ตลาดไม่ได้มีปัจจัยเชิงบวกมากนัก แต่มีปัจจัยกดดัน เช่น ตัวเลขการผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในไทย

ทองคำปรับตัวขึ้น 9.01% ในเดือนกรกฎาคม และเป็นการทำจุดสูงสุดใหม่ หรือ All Time High ซึ่งเป็นผลมาจากการการที่ผู้ลงทุนมีความกังวลจากประเด็นข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากทั้งสองประเทศมีการสั่งการให้มีการปิดสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศของตนในบางเมือง ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนเริ่มมีความกังวลว่าในระยะถัดไปอาจส่งผลต่อการค้า และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวท่ามกลางการระบาดCOVID -19 ซึ่งอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์

เดือนกรกฎาคมราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น โดยสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวขึ้น 2.55% ขึ้นมาปิดที่ $40.27 ถึงแม้ว่าการประชุมกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตรหรือโอเปคพลัสได้มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะชะลอการลดกำลังการผลิตน้ำมันลงจาก 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน เป็น 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้เดือน ส.ค.นี้ จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 63 หลังจากที่อุปสงค์การใช้น้ำมันเริ่มฟื้นตัว

asian-financials-bracing-for-challenges-Fig2

มุมมองสำหรับเดือนสิงหาคม

ในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่น่าจับตา เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการประกาศผลประกอบการของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละด้านที่ทางผู้จัดทำนโยบายได้มีการใช้ไปก่อนหน้านี้ทั้งด้านการเงินและการคลัง ว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงใด รวมถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆที่ต้องจับตา

1) การประชุม กนง. ของไทย
2) การประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส2/2563
3) การประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต
4) การประชุมใหญ่พรรครีพับริกัน

คำแนะนำการลงทุน

ตราสารทุนในประเทศจีนยังคงน่าสนใจ เนื่องจากเศรษฐกิจที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ชัดเจน ขณะที่ในฝั่งหุ้นโลกและสหรัฐฯ สามารถทยอยสะสมได้เมื่อมีการย่อตัว ขณะที่หุ้นกลุ่มเติบโต เช่น กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มสื่อสาร, กลุ่มสุขภาพ และกลุ่มอีคอมเมิร์ซ ยังเติบโตต่อได้ และในกลุ่มตราสารหนี้นั้น ให้น้ำหนักตราสารหนี้เอกชนในระดับ Investment Grade มากกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่กลุ่ม Yield Play ไม่ว่าจะเป็น REITs/Infrastructure มองว่าควรมีอยู่ในพอร์ตในภาวะดอกเบี้ยต่ำ และสินทรัพย์ปลอดภัยควรมีอยู่ในพอร์ตไม่เกิน 10-15% เพื่อกระจายความเสี่ยงเนื่องจากราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.