กนง.ส่งสัญญาณเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน คาดอาจจะหนักกว่าวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง

  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสที่2 และเริ่มเห็นการฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3
  • อุตสาหกรรมหลักของไทยทั้งการท่องเที่ยวและการส่งออกหดตัวหนักกว่าที่คาดการณ์ และมีความไม่แน่นอนสูง
  • คาดว่าคงอัตราดอกเบี้ยฯไว้ที่ 0.5% ในช่วงที่เหลือของปี แต่อาจปรับลดได้อีก 0.25% หากการฟื้นตัวไม่เป็นตามคาด และประสิทธิภาพด้านนโยบายทางการเงินเริ่มลดลง ต้องใช้กลยุทธ์ด้านการคลังควบคู่ไปด้วย

แนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกรวมถึงไทยถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสที่2 และเริ่มเห็นการฟื้นตัวในไตรมาสที่3

24 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.5% โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 รุนแรงกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ก็มีการประเมินว่านโยบายทางการเงินนั้นผ่อนคลายมาตั้งแต่ต้นปี รวมถึงมาตรการทางการคลังของรัฐบาล และมาตรการด้านการเงิน และสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้

The-mpc-sent-an-uncertain-economic-signal-fig1

หากวิเคราะห์ตามการประเมินตัวเลขของ ธปท. จะเห็นได้ว่ามีการส่งสัญญาณออกมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด โดยเริ่มจากการลดอัตราดอกเบี้ยฯในการประชุมฉุกเฉินในเดือนมีนาคม และล่าสุดขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เพื่อรักษาระดับเงินกองทุนในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงให้ธนาคารพาณิชย์มีการทำ Stress Test โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจในอนาคต ล่าสุด ธปท.ได้ปรับลดตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจและตัวเลขอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ปรับลดลง จะมีเพียงการลงทุนภาครัฐเท่านั้นที่คาดว่าจะขยายตัวเป็นบวกที่ระดับ 5.8% เท่าคาดการณ์เดิม ซึ่งจาก Bloomberg Consensus จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่3 ของปีนี้ ซึ่งหากเทียบกับช่วงวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งปี 2541 ตัวเลข GDP ของไทยหดตัวลง -7.60% แต่ในปีนี้คาดว่าตัวเลข GDPจะหดตัวลงถึง -8.1% ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจไทยหดตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

The-mpc-sent-an-uncertain-economic-signal-fig2

อุตสาหกรรมหลักของไทยทั้งการท่องเที่ยวและการส่งออกหดตัวหนักกว่าที่คาดการณ์ และยังมีความไม่แน่นอนสูง

จากการระบาดของ COVID -19 ทั่วโลก ส่งผลกระทบการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทยอย่างรุนแรง ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะติดลบ 10.3% ซึ่งลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ติดลบ 8.8% และคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าไทยเพียง 8 ล้านคนเท่านั้น ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 15 ล้านคน นั้นหมายความได้ว่าผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมหลักของเศรษฐกิจไทยพร้อมใจกันไม่ทำงาน ในส่วนด้านการส่งออก ถึงแม้การควบคุมการระบาดของไทยจะทำได้ดีมาก แต่ประเทศคู่ค้าที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการสินค้ายังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร

The-mpc-sent-an-uncertain-economic-signal-fig3

ในด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงต้องติดตามว่า Travel Bubble ที่ถูกคาดหวังว่า จะมาเป็นโมเดลใหม่ของการท่องเที่ยวที่จะมีการนำเข้าพิจารณาในช่วงปลายเดือนมิถุนายน จะสามารถผ่านการพิจารณาและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศการแพร่ระบาดรุนแรง รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และเงื่อนไขที่สำคัญคือ เมื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแล้วจะต้องไม่ทำให้ประเทศไทยกลับมามีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดซ้ำ

The-mpc-sent-an-uncertain-economic-signal-fig4

คาดว่าคงอัตราดอกเบี้ยฯไว้ที่ 0.5% ในช่วงที่เหลือของปี แต่อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯได้อีก 0.25% หากการฟื้นตัวไม่เป็นตามคาด หากการฟื้นตัวไม่เป็นตามคาดและประสิทธิภาพด้านนโยบายทางการเงินเริ่มลดลง ต้องใช้กลยุทธ์การคลังควบคู่ไปด้วย

The-mpc-sent-an-uncertain-economic-signal-fig5

มองว่า กนง.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยฯไว้ที่ระดับ 0.5% จนถึงสิ้นปี หากเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวตามคาดการณ์คือ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะต้องมีมาตรการอื่นๆจากทางการคลังเข้ามาเพิ่มเติม รวมถึงอาจต้องมีมาตรการอื่นๆเพื่อสกัดค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนเกินไปที่ส่งผลต่อการส่งออกที่ชะลอตัวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพื่อรักษา Policy Space เอาไว้ในยามจำเป็นมากกว่านี้

The-mpc-sent-an-uncertain-economic-signal-fig6

ซึ่งหากมาตรการอื่นไม่เป็นผลและแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินเอาไว้ คาดว่า กนง.อาจลดอัตราดอกเบี้ยฯอีก 1 ครั้ง หรือประมาณ 0.25% หากจำเป็น แต่สิ่งที่น่าติดตามต่อมาคือ ประสิทธิภาพของนโยบายทางการเงินที่ลดลงและค่อนข้างจำกัด เพราะต้องไม่ลืมกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยฯเป็นเพียงส่วนหนึ่งของของการลดต้นทุนทางการเงิน แต่ในส่วนของภาคธนาคารพาณิชย์ก็อาจต้องเข้มงวดในการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น รวมถึงเงินเฟ้อของไทยเรายังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยเรายังอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งส่งผลให้เงินทุนอาจยังไหลเข้าและทำให้ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าถึงแม้จะมีการลดอัตราดอกเบี้ย

นี่คืออาจจะเป็นสัญญาณที่มองว่าเศรษฐกิจไทยอาจใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าที่คาดการณ์และอาจยังคงเผชิญกับความท้าทายจากหลายด้าน และเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทางหน่วยงานกลางทั้งภาคการเงินและการคลังอาจจะต้องใช้มาตรการต่างๆที่มีประกอบกัน

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.