ครึ่งปีหลัง จับตา! ทรัมป์, เทคฯ, ทอง

ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระลอกที่ 2,3,4.. ในแต่ละประเทศ ยังคงเป็นความกังวลของทุกภาคส่วน ที่คาดว่าหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้แต่ละประเทศมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างพยายามป้องกัน และจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น

นอกจากการระบาด COVID-19 ที่จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนมีความผันผวนแล้ว ซึ่งในช่วงหลังของปีนี้ หากถามผู้ลงทุนว่า นอกจากเรื่อง COVID-19 แล้ว อะไร? ที่สามารถส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนของผู้ลงทุนได้? เชื่อได้ว่าเรื่องของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐฯ ที่มีคาแรคเตอร์ค่อนข้างแตกต่างจากประธานาธิบดีที่เคยดำรงตำแหน่งในอดีต รวมทั้งเมื่อมีการเคลื่อนไหวทางด้านนโยบาย หรือ ทางสื่อสังคมออนไลน์ มักส่งผลให้การลงทุนค่อนข้างผันผวน และสินทรัพย์ลงทุนที่มาแรงและน่าจับตาในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้น “ทองคำ และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี” ที่ทำผลงานได้โดดเด่น ท่ามกลางเศรษฐกิจที่หดตัวจากการแพร่ระบาด COVID -19 ซึ่งเชื่อได้ว่าผู้ลงทุนหลายท่านที่ได้ลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ไปแล้ว รวมถึงที่กำลังรอจังหวะจะเข้าลงทุน อาจจะต้องศึกษาข้อมูลและกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนให้เหมาะสม

โดนัลด์ ทรัมป์ : ทวีตเดียวสะเทือนทั้งโลก

“ทรัมป์” ผู้สร้างปรากฎการณ์ทวีตเดียวสะเทือนทั้งโลก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ทรัมป์ มักจะมีการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องต่างๆด้วยการทวีตข้อความ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ซึ่งการทวีตของทรัมป์นั้น ทำให้ผู้ลงทุนต่างตีความกันไปในด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อภาวะการลงทุน และในช่วงปลายปี 2019 นักวิเคราะห์หลายแห่งต่างคาดการณ์ว่า ทรัมป์ มีโอกาสได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในปี 2020 ต่ออีกสมัย

ถึงแม้ทรัมป์จะมีบุคลิกที่แตกต่างจากผู้นำคนก่อนของสหรัฐฯอยู่บ้าง แต่หากไปดูเศรษฐกิจสหรัฐฯในขณะนั้น ถือว่าดีทีเดียว โดยอัตราการว่างงานในสหรัฐฯต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1969 และหากดูผลตอบแทนดัชนี S&P500 ตั้งแต่ปี 1928 โดยเฉลี่ยแล้วในปีที่ 3 ของวาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี(วาระ 4ปี) มักจะเป็นปีที่ดีที่สุดสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯมาตลอด โดยเฉลี่ยปีที่ 3 ของวาระนั้น S&P500 มีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนอยู่ที่ 12.81% แต่ในปีที่3 ของการดำรตำแหน่งของทรัมป์ S&P500 ทำผลตอบแทนได้ถึง 28.6% และดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนมากกว่า 50% นับตั้งแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในเดือน พ.ย. 2016 จงถึงต้นปี 2020

Trump_Gold_Tech_Article_Graph_01

แต่นั้นคือ เหตุการณ์ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 ในปีนี้ ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบัน ทรัมป์กำลังตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากผลสำรวจของเอบีซีนิวส์และ Ipsos ระบุว่า มีประชาชนเพียง 34% ที่ยอมรับผลงานการรับมือกับ COVID-19 ของทรัมป์ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจคะแนนความนิยมระหว่าง ทรัมป์ และ ไบเดน ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป ซึ่งคะแนนความนิยมของทรัมป์ จากเว็บไซต์ realclearpolitics ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2020

Trump_Gold_Tech_Article_Graph_02

เว็บไซต์ realclearpolitics มีการรวบรวมผลสำรวจแต่ละแห่งปรากฏว่า คะแนนค่าเฉลี่ยนายไบเดนอยู่ที่ 49.4 ขณะที่ ทรัมป์ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 42.0 ซึ่งไบเดนมีคะแนนความนิยมมากกว่าทรัมป์ถึง 7.4 จุด ทำให้ทรัมป์ต้องเร่งเรียกคะแนนความนิยมกลับคืนมา และสิ่งที่ทรัมป์มักจะใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อเรียกคะแนนนิยมกลับคืนมา นั้นก็คือ การปลุกกระแสชาตินิยมให้กับชาวอเมริกัน โดยมีเป้าหมายหลัก คือ “จีน” ซึ่งเป็นประเทศที่สหรัฐฯขาดดุลการค้ามากที่สุดรวมถึงประเทศต่าง ๆที่สหรัฐฯขาดดุลการค้าก็พลอยโดนหางเลขไปด้วย

แปลว่าหลังจากนี้ จะเริ่มเห็นนโยบายของทรัมป์ที่อาจสร้างประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาเช่น การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจจากที่หดตัวอยู่แล้ว ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดกันไว้ ย่อมทำให้เกิดความผันผวนต่อการลงทุนต่อจากนี้

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี : เทรนด์เปลี่ยนโลก

“หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี” ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ สองสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้โดดเด่น ต้องยกให้ทองคำและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ทำผลตอบแทนได้ดีเป็นผลมาจากการล็อคดาวน์ของแต่ละประเทศ ทำให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวเองให้มาเป็นดิจิทัลมากขึ้น หลายธุรกิจมีการเปลี่ยนรูปแบบจากการขายผ่านหน้าร้าน มาเป็นการขายออนไลน์มากขึ้น ขณะที่การทำงานแบบ Work From Home ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำงานจากที่บ้าน เช่น Notebook , IPAD และโปรแกรมที่ต้องใช้ในการทำงานด้านออฟฟิศเช่น Microsoft, Adobe รวมถึงโปรแกรมที่ใช้ในการประชุมทางไกล อย่าง Zoom และ Microsoft Teams เป็นต้น

ซึ่งหากไปดูผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของกลุ่ม Big Tech ที่ออกมาไม่ว่าจะเป็น Facebook, Amazon, Apple ล้วนออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ ทำให้ราคาหุ้นทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีเพียงแค่ Google ที่ผลประกอบการออกมาแย่กว่า จากรายได้จากการโฆษณาที่หดตัวลง แต่หากดูรายได้จาก Cloud Service ของ Google เพิ่มขึ้นกว่า 40% สะท้อนการเติบโตของตลาดดิจิทัลได้อย่างชัดเจน

Trump_Gold_Tech_Article_Graph_03

ในช่วงที่เหลือของปีนั้น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอาจยังต้องเผชิญกับความผันผวน ทั้งนี้จากผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ทำผลงานได้ดีไม่ว่าจะเป็น หุ้นเทคโนโลยีอย่างดัชนี Nasdaq ของสหรัฐฯทำผลตอบแทนได้ 21.94% ขณะที่ดัชนี Chinext ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น Nasdaq ของจีน ทำผลตอบแทนได้ถึง 57.55% และ กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีโลกอย่างดัชนี MSCI World Tech ทำผลตอบแทนได้ 23%

จากผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ขึ้นมาค่อนข้างสูง อาจจะมีโอกาสถูกขายทำกำไรออกมาบางส่วน ทำให้ราคามีโอกาสย่อตัวลงในระยะสั้นได้ ประกอบกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่กำลังถูกตรวจสอบจากทางรัฐบาลสหรัฐฯ “ประเด็นเรื่องการผูกขาดในอุตสาหกรรม” รวมทั้งอีกหนึ่งประเด็นร้อนแรงของบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีนที่ตกเป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ จากข้อกล่าวหาของสหรัฐฯที่ว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนเป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ทำให้บริษัทเทคโนโลยีจากจีนมีความเสี่ยงจากการถูกแบน รวมถึงการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ จึงส่งผลให้ในระยะสั้นในบางช่วงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแค่หุ้นเทคโนโลยีจากสหรัฐฯและจีน แต่รวมถึงกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกอีกด้วย อาจจะอ่อนไหวต่อข่าวเชิงลบเนื่องจากราคาที่ขึ้นมาสูง “แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนั้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ก็ยังถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องในระยะยาว” ดังนั้น ผู้ลงทุนที่กำลังหาจังหวะในการเข้าลงทุนอาจจะต้องศึกษารายละเอียด รวมถึงประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเองประกอบการลงทุนด้วย

ทองคำ : สินทรัพย์ที่เป็นมิตรกับข่าวเชิงลบทางเศรษฐกิจ

“ทองคำ” ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดสินทรัพย์หนึ่งในปีนี้ และถูกพูดถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้ในช่วงครึ่งปีแรก จนทำให้ผู้ลงทุนหลายท่านเกิดคำถามในใจว่า ทองคำจะขึ้นต่อไปได้อีกหรือไม่? ทองคำแพงเกินไปแล้วหรือยัง? ควรมีทองคำติดพอร์ตไว้หรือควรจะขายทำกำไรออกไปก่อน? ก่อนที่เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนว่าปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนทองคำในช่วงที่ผ่านมามีอะไรบ้าง จากนั้นเราจะมาประเมินมุมมองของทองคำในระยะต่อไปข้างหน้า ความเสี่ยงหรือกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) ที่เป็นไปได้ของการลงทุนในทองคำ และจะปิดท้ายด้วยคำแนะนำการลงทุน

Trump_Gold_Tech_Article_Graph_04

ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของทองคำโดยปกติแล้วจะขึ้นอยู่กับ

1. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) ซึ่งก็คือ อัตราดอกเบี้ยทั่วไปลบด้วยอัตราเงินเฟ้อคาดหวัง (ปกติจะใช้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลที่หักเงินเฟ้อคาดหวังอายุ 10 ปี) โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีปันผล ผู้ลงทุนจะเริ่มหันมาถือทองคำมากขึ้นเมื่อพันธบัตรรัฐบาลให้อัตราดอกเบี้ยหักด้วยเงินเฟ้อแล้วต่ำมากหรือติดลบ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ10 ปีให้ผลตอบแทนที่ 1% แต่เงินเฟ้อคาดการณ์อยู่ที่ 0.8% แปลว่า ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเหลือเพียง 0.2% หรือพูดอย่างง่ายคือ หากสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรมีผลตอบแทนที่แท้จริงต่ำมากเท่าไหร่ ผู้ลงทุนก็จะเลือกหันไปถือทองคำมากขึ้น

Trump_Gold_Tech_Article_Graph_05

2. อีกหนึ่งตัวแปรที่มักจะสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงก็คือ ค่าเงินดอลลาร์ และปริมาณเงินในระบบ (M2 Money Supply) เนื่องจากเมื่ออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลง ความน่าสนใจของการถือครองดอลลาร์ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

3. ความไม่แน่นอนของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ (Uncertainty) สังเกตได้เมื่อความผันผวนของตลาดการเงินสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ลงทุนจะหันมาถือทองคำเนื่องจากเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ทีมีความปลอดภัย

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทั้ง 3 ปัจจัยหลักมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากกว่า 30% ซึ่งในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ที่ราคาปรับตัวขึ้นมากว่า 13 % จะสังเกตได้ชัดเจนว่าปัจจัยที่หนุนราคาทองคำก็คือ ดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นหลัก สะท้อนได้ผ่านค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว และปริมาณเงินในระบบที่สูงขึ้นมากจากการอัดเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (QE) รวมถึงธนาคารกลางหลักทั่วโลก

มุมมองต่อไปข้างหน้าในช่วงครึ่งปีที่เหลือของทองคำ มองว่าในกรณีฐาน (Base Case) ราคาของทองคำอาจปรับตัวขึ้นได้อีกเล็กน้อยจากระดับราคาปัจจุบัน และมีความผันผวนที่สูง เนื่องจากแรงหนุนของทั้งสองปัจจัยหลัก ธนาคารกลางสหรัฐฯยังมีแนวโน้มอัดฉีดเงินอย่างต่อเนื่องจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวชัดเจน ด้านการคลังก็ยังจะแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม เหล่านี้อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อคาดหวังปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย และค่าเงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าได้อีก อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากหากวิเคราะห์จากเงินทุนสำรองของธนาคารกลางทั่วโลกจะพบว่าสกุลเงินดอลลาร์คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% จากทั้งหมด และเชื่อว่าสกุลเงินดอลลาร์ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางทั่วโลกยังให้ความสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจาก sentiment เชิงลบจากประเด็นเรื่องของ COVID -19 ระลอกสอง และข้อพิพาทระหว่างสหรัฐกับจีนที่อาจรุนแรงขึ้น รวมถึงการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน

ส่วนความเสี่ยงหรือกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) ที่เป็นไปได้ที่จะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น กรณีที่สภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีกว่าคาด หรือหากอัตราเงินเฟ้อคาดหวังทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เหล่านี้อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยทั่วไปของพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางถึงยาวปรับตัวสูงขึ้นได้ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับตัวเพิ่มขึ้นกดดันราคาของทองคำ อย่างไรก็ตาม มองว่าหากเกิดกรณีนี้ขึ้น อัตราดอกเบี้ยทั่วไปจะไม่ปรับตัวขึ้นสูงมากนักเนื่องจากระดับของหนี้สินและการขาดดุลทางการคลังที่สูงของรัฐบาลสหรัฐฯที่จะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ธนาคารกลางสหรัฐฯมีแนวโน้มเข้ามาช่วยซื้อและกดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ได้สูงจนเกินไป

อีกกรณีที่เป็นไปได้คือ หากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ COVID -19 หรือเรื่องของประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงเมื่อมีการค้นพบวัคซีนป้องกัน COVID -19 ก็อาจส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลงได้เช่นกัน แต่มุมมองในกรณีฐาน (Base Case) มองว่าความเสี่ยงเหล่านี้มีแนวโน้มคงอยู่ต่อไป

สำหรับคำแนะนำการลงทุนในทองคำ ผู้ลงทุนพอร์ตประกอบด้วยสินทรัพย์หลากหลายประเภท โดยเฉพาะพอร์ตที่มีสินทรัพย์เสี่ยงหรือหุ้นในสัดส่วนที่สูง มองว่าควรมีทองคำติดพอร์ตประมาณ 10-15% เพื่อกระจายความเสี่ยงหากเกิดกรณีที่สินทรัพย์เสี่ยงเกิดแกว่งตัวรุนแรง ส่วนสำหรับผู้ลงทุนก็เน้นการลงทุนในทองคำโดยเฉพาะหรือเพื่อการเก็งกำไร เราก็มองว่าการถือต่อไป หรือทยอยขายทำกำไรบางส่วนเป็นสิ่งที่เหมาะสมเนื่องจากราคาทองคำปรับตัวขึ้นมามากในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับมุมมองที่ราคาอาจปรับตัวขึ้นต่อได้อีกเล็กน้อย และมีแนวโน้มผันผวนสูง “ดังนั้นในสภาวะที่หลายสินทรัพย์คาดการณ์ได้ยากและมีความผันผวนสูง การทำ Asset Allocation ตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ลงทุนในการกระจายความเสี่ยง รวมถึงช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนได้เป็นอย่างดี”

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.