เริ่มเห็นสัญญาณของการสร้างฐานทำจุดต่ำสุด… แม้พายุข้างหน้ายังรออยู่

ด้วยประสิทธิภาพของมาตรการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ การสนับสนุนทางนโยบายที่แข็งแกร่ง การผ่อนคลายข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง ตลอดจนปัจจัยด้านมูลค่าตลาดที่ถูกลง ถือเป็นการปูทางให้เริ่มต้นกระบวนการสร้างฐานทำจุดต่ำสุด ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายเดือนเหมือนเช่นในอดีต

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (coronavirus) ลุกลามไปทั่วโลก ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงให้วิกฤตสุขภาพระดับโลกเข้ามาเป็นความท้าทายทั้งเศรษฐกิจโลก และตลาดการเงิน

กิจกรรมทั่วโลกทรุดตัวลงอย่างมากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา หลังจากมีการล็อคดาวน์ในหลายประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวร่วงลงทั้งในตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ นักวิเคราะห์ต่างปรับลดประมาณการกำไรลง โดยสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีคุณภาพสูงสามารถทำผลงานได้ดีกว่า เนื่องจากกระแสเงินแสวงหาแหล่งสินทรัพย์ปลอดภัยและการที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าได้ส่งผลกระทบฉุดสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ ส่วนทางด้านสภาพคล่องอยู่ในสภาวะตึงตัวในทุกประเภทสินทรัพย์ โดยตลาดพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงของสหรัฐและเอเชีย เป็นหนึ่งในกลุ่มสินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงที่สุดท่ามกลางความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ที่ปะทุขึ้น

สัญญาณแห่งความหวัง

ท่ามกลางความไม่แน่นอนทั้งในเรื่องของระยะเวลาในการล็อกดาวน์ ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ และกลยุทธ์ทางออกที่เป็นไปได้ เราได้เห็นสัญญาณแห่งความหวังดังต่อไปนี้ :

ประสิทธิภาพของมาตรการล็อคดาวน์

มาตรการควบคุมการสัญจรของผู้คน หากมีการปฏิบัติอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้สามารถควบคุมภาวะการระบาดได้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นยอดผู้เสียชีวิตจำนวนมากในสเปนและอิตาลี

จีนได้แสดงให้เห็นว่ามาตรการปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบนั้นใช้ได้ผล และจะช่วยให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนที่เป็นตัวเลขทางการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 52.0 ในเดือนมีนาคม 2020 จากที่ร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 35.7 ในเดือนก่อนหน้า ภายหลังจากที่หลายบริษัทกลับมาดำเนินกิจการต่อ ขณะที่ในส่วนของดัชนีคำสั่งซื้อนอกภาคการผลิต (non-manufacturing Purchasing Managers’ Index) ฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ 51.8 เพิ่มขึ้น 21.7 จุดจากเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการขยายตัวของภาคขนส่ง การค้าปลีก และภาคธนาคาร

นโยบายสนับสนุนที่เข้มแข็ง

ผู้กำหนดนโยบายซึ่งมีบทเรียนมาจากปี 2008 ตัดสินใจดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตการเงินยกระดับความรุนแรงขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และกลับมาเดินหน้ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ขยายหน้าต่างธุรกรรม Swap และล่าสุดก็ได้ฟื้นโครงการ Commercial Paper Funding Facility (CPFF) การทำงานที่ราบรื่นของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (commercial paper) ที่เป็นแหล่งทุนสำหรับปล่อยสินเชื่อรถยนต์ จำนอง และให้สินเชื่อแก่บริษัทต่างๆ นั้น เท่ากับเป็นการช่วยเหลือค้ำจุนครอบครัว ธุรกิจ และการจ้างงาน

ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป มาตรการกระตุ้นทางการคลังมีสัดส่วนถึง 10% และ 5% ของ GDP ตามลำดับ มาตรการกระตุ้นทางการคลังที่ดำเนินการในหลายประเทศถือว่าเกินกว่าระดับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลก (ยกเว้นจีน) ดูรูปที่ 1 ในฝั่งของผู้กำหนดนโยบายในเอเชียเองก็ต่างตอบสนองด้วยมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และการกระตุ้นทางการคลังอย่างเต็มที่ โดยมาตรการประเภทหลังนั้นมีสัดส่วนอยู่ระหว่าง 0.2% ถึง 10% ของ GDP ของแต่ละประเทศ ซึ่งถ้าดูที่เอเชีย จะพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีความโดดเด่นจากมาตรการล่าสุดที่เป็นแพ็คเกจทางการคลังมูลค่ามหาศาลที่มีสัดส่วนถึงเกือบ 20% ของ GDP

รูปที่ 1: มาตรการกระตุ้นทางการคลังทั่วโลก สูงเกินระดับที่เกิดขึ้นในปี 20081

signs-of-bottoming-pic1

สภาพคล่องอยู่ในระดับที่ดีขึ้น

การผนึกกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการตอบสนองจากทั้งนโยบายการเงินและการคลังทั่วโลกได้บรรเทาแรงกดดันด้านสภาพคล่องทั่วทุกตลาด เราได้เห็นอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนลดลง ต้นทุนของผู้ให้กู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศลดลง และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนทั่วโลกแคบลง การที่เฟดกลับมาเข้าซื้อพันธบัตรของบริษัทสหรัฐระดับ investment grade ส่งผลให้พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงในสหรัฐและเอเชียต่างได้รับอานิสงส์จากผลบวกที่กระจายอย่างทั่วถึง ขณะความผันผวนในตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

เราเชื่อว่าการผ่อนคลายอุปสรรคด้านสภาพคล่องอาจช่วยจำกัดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคในครั้งนี้ ที่จะส่งผลอย่างรุนแรงมากเกินกว่าที่จะเป็นการชะลอตัวตามวัฏจักร

มูลค่าที่ถูกลง

การประเมินมูลค่าด้วยอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี ชี้ให้เห็นว่าการปรับฐานได้สร้างโอกาสสำหรับผู้ลงทุนระยะยาว อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีของ MSCI USA นั้น ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยในระยะยาว ขณะที่ตัวเลขของ MSCI Asia Pacific ex Japan กำลังเข้าใกล้จุดต่ำสุดของปี 2008 ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2: MSCI Asia Pacific ex Japan – อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี2

signs-of-bottoming-pic2

อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในระดับปัจจุบันยังดูน่าสนใจ สเปรดของพันธบัตรตลาดเกิดใหม่เมื่อเทียบกับพันธบัตรเอกชนสหรัฐระดับ investment grade นั้นค่อนข้างกว้างเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีต แต่นั่นก็ยังต้องมีข้อควรระวังในบางด้านเมื่อผู้ออกตราสารของละตินอเมริกาหลายๆ รายที่อยู่ใน Emerging Market Bond Index กำลังเผชิญกับสภาวะการชะลอตัวของกิจกรรมทั่วโลก และสถานการณ์ล่าสุดก็คือ “การที่ราคาน้ำมันลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์”

เส้นทางสู่การสร้างฐานทำจุดต่ำสุด

ตลาดหุ้นและพันธบัตรตอบรับทางด้านบวกต่อการดำเนินนโยบายตอบสนองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีการผ่อนลงบ้างก่อนหน้าที่จะปรับตัวลง เราเชื่อว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างฐานทำจุดต่ำสุดซึ่งอาจใช้เวลานานหลายเดือนเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต

ณ ขณะนี้ เรายังคงสถานะมุมมองที่เป็นกลางต่อหุ้นในพอร์ตการลงทุนแบบผสมผสานหลายสินทรัพย์ของเรา ในขณะที่ปัจจัยด้านมูลค่ามีความน่าสนใจ แต่ตัวชี้วัดทางเทคนิคที่เราติดตามซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ของเราที่ชื่อ “LOGOs” ได้ส่งสัญญาณที่ไม่ชัดเจนนัก ในขณะเดียวกันตัวชี้วัดทางด้านพื้นฐาน เช่น ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ แนวโน้มการปรับคาดการณ์ผลประกอบการหุ้น และมาตรวัดความเสี่ยงในระดับมหภาค ยังคงย่ำแย่และจะเป็นอุปสรรคต่อตลาดหุ้นในระยะถัดไป เราจำเป็นต้องเห็นความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ก่อนที่เราจะมั่นใจได้ว่าการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นหนล่าสุดนั้น…จะเป็นการฟื้นตัวอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม เราใช้ประโยชน์จากภาวะความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์อันเกิดจากความผันผวนในระดับสูง ซึ่งเรามีทางเลือกที่สามารถที่มาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพอร์ตการลงทุนของเรา

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 Various news agencies, Brookings, IMF and BCA Research. Loan guarantees are excluded if there is a specific amount in the news. As of 30 April 2020.
2 Refinitiv Datastream. Eastspring Investments. IBES estimates. 30 March 2020.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.