แสวงหาโอกาสในจังหวะที่ราคามีความคลาดเคลื่อนในญี่ปุ่น

มีความเป็นไปได้ว่าโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยขั้นรุนแรงของประเทศญี่ปุ่นนั้นได้สะท้อนอยู่ในราคาแล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานะงบดุลที่แข็งแกร่งในวันนี้อาจช่วยเพิ่มความสามารถของบริษัทญี่ปุ่นให้พร้อมรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ร่วงตกต่ำลงทั่วโลกจาก Covid-19 การเทขายแบบไม่เจาะจงเลือกเป้าหมาย โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของ Covid-19 ในปัจจุบันกลับได้นำเสนอโอกาสการลงทุนอันหลากหลายที่ตลาดลดทอนคุณค่าและมีการกำหนดราคาแบบที่ไม่สมเหตุสมผลในญี่ปุ่น

ผลกระทบในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอันเนื่องมาจาก Covid-19 ได้กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป มาตรการขั้นรุนแรงซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) และ “การกดเส้นกราฟให้แบนราบ” (flattening the curve) เพื่อลดผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศได้นำมาสู่ภาวะเศรษฐกิจโลกหยุดชะงัก และในที่สุดก็ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายเศรษฐกิจที่รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วิกฤตสุขภาพระดับโลกครั้งนี้จึงนับเป็นเรื่องท้าทายในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือสังคม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรงมากขึ้นในทุกประเภทสินทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งการตอบสนองของราคาในตลาดด้วยอารมณ์รุนแรง เป็นการสะท้อนถึงความไม่แน่นอนและความกลัวอย่างมากต่อสิ่งที่ไม่เคยรู้จัก

ตลาดรับรู้ปัจจัยเศรษฐกิจถดถอยขั้นรุนแรงและได้สะท้อนอยู่ในราคาแล้ว

มีสิ่งหนึ่งจากเหตุการณ์ที่ไม่เคยรู้จักซึ่งตลาดกำลังเผชิญอยู่ก็คือขนาดของผลกระทบที่มีต่อบริษัทต่างๆ อันเนื่องมาจากภาวะความตึงเครียดในทั้งห่วงโซ่อุปทานและความต้องการที่หดหายไปจากตลาด (ดูรูปที่ 1) โดยที่ความคาดหวังได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเพื่อสะท้อนสิ่งที่เคยไม่รู้จักมาก่อนนี้

รูปที่ 1a : ดัชนีคำสั่งซื้อในภาคธุรกิจบริการของญี่ปุ่น

Fig-1a-Japan-PMI

รูปที่ 1b : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่น

Fig-1b-Japan-consumer-confidence
 

ดังนั้น ความท้าทายที่ผู้ลงทุนเผชิญก็คือการประเมินและแยกแยะความแตกต่างระหว่างผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้นแบบชั่วคราวและสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างถาวร เราสังเกตเห็นว่าความเชื่อในเรื่องการกำหนดราคาของตลาดนั้นยังไม่ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างผลกระทบทั้งสองแบบดังกล่าว ดังนั้น การมุ่งเน้นของตลาดในมุมแคบจึงไม่ได้สะท้อนถึงความหลากหลายของผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้สภาพแวดล้อมนี้ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าตลาดได้รับรู้และเป็นปัจจัยที่สะท้อนอยู่ในราคาแล้วสำหรับสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุนแรง ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2 : ความน่าจะเป็นในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากตัวบ่งชี้หลากหลายสินทรัพย์

Fig-2-probability-of-recession

สนองด้วยการยอมจ่ายที่ราคาใดๆ เพื่อแลกกับความสบายใจต่อตัวเลขผลประกอบการที่จะออกมาในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในแต่ละช่วงเวลาจึงได้เห็นพฤติกรรมการลงทุนที่มีรูปแบบเดียวกันซึ่งได้ตีมูลค่าบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจแข็งแกร่ง (defensive) ในราคาแพง และรวดเร็วตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ดูรูปที่ 3

รูปที่ 3: ส่วนต่างระหว่างอัตราส่วนมูลค่าทางบัญชีต่อราคาหุ้นของ MSCI Japan Value และ MSCI Japan Growth

Fig-3-Japan-Value-vs-Growth

ในช่วงเวลาที่เกิดพฤติกรรมการกำหนดราคาแบบเกินระดับปกติไปมากและกระจายไปทั่วแบบไม่เลือกเป้าหมาย – ตลาดไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่น่าจะเป็นในระยะสั้นและในลักษณะวัฏจักร กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างถาวรและเป็นเชิงโครงสร้าง – มีแนวโน้มที่จะนำเสนอโอกาสในการลงทุนครั้งสำคัญ

งบดุลที่แข็งแกร่งอาจสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นในปัจจุบัน

ปัจจัยหนึ่งที่ในตอนนี้อาจเป็นที่นิยมสำหรับบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งก็คือสุขภาพของงบดุลที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทั่วโลก การเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนด้วยงบดุลที่แข็งแกร่งอาจช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่บริษัทจะสามารถทนทานต่อผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ ในขณะที่บริษัทของสหรัฐตลอดช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มการก่อหนี้ภายใต้สภาพแวดล้อมอัตราดอกเบี้ยต่ำและเพิ่มผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นผ่านการซื้อคืนหุ้น แต่บริษัทญี่ปุ่นมักจะมีแนวทางแบบระมัดระวังมากกว่า ด้วยความพยายามในการปรับโครงสร้างระยะยาวรวมถึงการลดภาระหนี้ในงบดุลจึงทำให้มีเงินสดในระดับสูง ในปัจจุบันคาดว่าสัดส่วนประมาณ 52.6% ของหุ้นในดัชนี TOPIX (ไม่รวมภาคการเงิน) มีสถานะถือเงินสดสุทธิหรือ net cash เมื่อเทียบกับสัดส่วน 14.0% และ 16.5% ของ S&P500 ในสหรัฐ และ MSCI Europe ตามลำดับ ดูรูปที่ 4

รูปที่ 4 : สัดส่วนของบริษัทที่มีสถานะงบดุลเป็น net cash เปรียบเทียบระหว่างบริษัทในดัชนี TOPIX และตลาดหลักแห่งอื่นๆ

Fig-4-TOPIX-net-cash

มูลค่าหุ้นในตลาดญี่ปุ่นมีความน่าดึงดูดเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก

ข่าวร้ายมากมายที่เกิดขึ้นได้ถูกนำเข้ามารวมไว้อยู่ในการประเมินมูลค่าหุ้นของญี่ปุ่นซึ่งสะท้อนอยู่ในราคา ดังนั้น การเริ่มขั้นตอนประเมินมูลค่าจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนนี้

รูปที่ 5: อัตราส่วนราคาหุ้นต่อผลประกอบการที่เป็นเงินสดของญี่ปุ่นเทียบกับ MSCI World

Fig-5-Japan-price-to-cash

เรามองเห็นความเสี่ยงหลักสองประการภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ความเสี่ยงแรกสำหรับผู้ลงทุนก็คือความเสี่ยงของการจ่ายเงินมากเกินไปเพื่อแลกกับความแน่นอนที่ช่วยให้สบายใจหรือสามารถรับรู้ได้หากเลือกเข้าหาสินทรัพย์ที่ “ปลอดภัย” โดยไม่คำนึงถึงเรื่องราคา เราจัดการกับความเสี่ยงนี้ด้วยการมุ่งเน้นความสนใจไปยังบริษัทที่มีคุณค่าน่าดึงดูดที่สุด - สิ่งเหล่านี้มักถูกกำหนดราคาแบบที่ไม่เหมาะสมเพราะตลาดไม่ให้ความสนใจ ซึ่งถ้าหากย้อนไปดูสถานการณ์ในอดีต การที่สภาพแวดล้อมของตลาดมีความแปรปรวนอย่างมากคล้ายกับที่เรากำลังประสบอยู่ ได้นำเสนอโอกาสการลงทุนครั้งสำคัญที่สุดตามแนวทางของเรา

ความเสี่ยงหลักประการที่สองคือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่จะเกิดขึ้นในระยะใกล้จะแปรเปลี่ยนเป็นการลดลงของผลประกอบการอย่างถาวร หรือปัญหากระแสเงินสดหรือสภาพคล่องที่กลายเป็นปัญหาเรื่องความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ เราจัดการกับความเสี่ยงนี้ด้วยการทำ stress test หรือทำการทดสอบสมมติฐานด้านการประเมินมูลค่าเพื่อจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

อะไรคือ stress test และการทดสอบนี้จะช่วยในสภาพแวดล้อมของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงได้อย่างไร?

แม้ว่าการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่องต่อสมมติฐานของเราที่เกี่ยวกับแนวโน้มกำไรจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ แต่ตอนนี้เราได้หันมาให้ความสนใจมากขึ้นในเรื่องการประเมินความเสี่ยงที่ปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นอาจกลายเป็นประเด็นเรื่องความเพียงพอของเงินทุนที่อาจลบล้างความน่าเชื่อถือของแนวโน้มผลตอบแทนที่จะได้รับ

เรากำลังดำเนินการในขั้นตอน stress test เพื่อทดสอบความสามารถของบริษัทต่างๆ ในการจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินงานในระยะยาว เราทดสอบด้วยการแบ่งเป็นกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระดับกระแสเงินสด การเข้าถึงเงินทุน ผลกระทบที่จะมีต่อการก่อหนี้ในงบดุล และโอกาสลดทอนสัดส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder dilution) เรากำลังตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในด้านความสามารถของบริษัทที่มุ่งเน้นไปยังตัวขับเคลื่อนในการทำกำไรที่สำคัญๆ ตลอดจนความสามารถและความเต็มใจของผู้บริหารในการตอบสนองภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงและท้าทายเป็นอย่างมาก

ในการวิเคราะห์ของเรา เรากำลังมองหาสิ่งที่จะทำให้เข้าใจว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นได้สะท้อนปัจจัยใดไปบ้างแล้ว เราทดสอบว่าเราจะได้รับสิ่งชดเชยที่มากกว่าผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้หลายทาง ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงประเภท tail risks ที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่มีความรุนแรง

สิ่งสำคัญที่สุดคือเรากำลังมองหาลักษณะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับแนวโน้มสมมติฐานที่มีความเป็นไปได้ในการให้ผลลัพธ์แบบสองทาง ซึ่งอาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทและนอกกรอบการลงทุนของเรา ยกตัวอย่างเช่นสถานการณ์ที่เจ้าหนี้หรือหน่วยงานของรัฐเข้ามาชี้นำเรื่องความอยู่รอดของบริษัทที่มีประเด็นความกังวลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ภาระมาตกอยู่กับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

แม้ว่าการวิเคราะห์ของเราจะมีรายละเอียดมาก แต่นั่นไม่ได้หมายถึงความพยายามที่จะคาดการณ์ทิศทางผลประกอบการ การตัดสินใจของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของการคาดการณ์แต่อย่างใด เรื่องนี้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะผลลัพธ์ในระยะสั้นนั้นมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก

การกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังและการเงินทั่วโลกครั้งประวัติการณ์ เข้ามาช่วยสนับสนุนภายใต้สภาพแวดล้อมของความถดถอย

การผสานนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากทั้งภาคการคลังและการเงินจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดูรูปที่ 6 ซึ่งครั้งสุดท้ายที่เศรษฐกิจโลกเคยมีมาตรการกระตุ้นทางการคลังในระดับนี้คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยก่อนหน้าที่สหรัฐจะมีมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งลงนามเป็นกฎหมายเมื่อปลายเดือนมีนาคม ก็ได้มีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกสะสมรวมกันแล้วกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้มีการประกาศมาตรการทางเศรษฐกิจของตัวเองในเดือนเมษายนซึ่งรวมถึงการใช้จ่ายทางการคลัง ที่รวมสินเชื่อและการค้ำประกัน เป็นมูลค่า 108.2 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็น 19.6% ของ GDP

รูปที่ 6 : มาตรการสนับสนุนด้านการคลังครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตามการประกาศของภาครัฐจนถึงปัจจุบัน

Fig-6-fiscal-support

นอกเหนือจากมาตรการทางการคลัง ธนาคารกลางญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมได้ยกระดับการซื้อกองทุนประเภท exchange traded funds (ETFs) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (J-REITs) ต่อมาในเดือนเมษายนธนาคารกลางได้เพิ่มมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติม โดยระบุว่าจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลไม่จำกัดจำนวน และเพิ่มการซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในญี่ปุ่นในขณะนี้จึงเป็นการสนับสนุนมาตรการทางการคลัง โดยผ่านวิธีที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นการทั่วไป ซึ่งบางทีปรากฏการณ์นี้อาจทำให้เกิดการตระหนักว่า QE ในแบบที่ไม่มีการกระตุ้นทางการคลังนั้น ไม่เพียงพอที่จะส่งผลช่วยสนับสนุนการเติบโตในเชิงมูลค่า

ท้าทายระดับความชอบเสี่ยงอันมุ่งมั่นในตลาด ภายใต้สภาวะการเติบโตที่เป็นอยู่

นอกเหนือจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกในปัจจุบัน ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการจ่ายเงินมากเกินไปเพื่อแลกกับความแน่นอนที่ช่วยให้สบายใจหรือสามารถรับรู้ได้ ซึ่งเป็นเวลานานกว่าทศวรรษแล้วที่เราได้เผชิญกับแนวโน้มของนโยบายทั่วโลกที่สะท้อนถึงภาวะการคุมเข้มทางการคลังร่วมกับมาตรการ QE - ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีลักษณะของภาวะเงินฝืด ความพยายามดังกล่าวได้เร่งระดับอัตราการเติบโตทั่วโลกในปัจจุบันภายใต้แนวโน้มระยะยาวที่มีอัตราการขยายตัวต่ำ เงินเฟ้อต่ำ และอัตราดอกเบี้ยต่ำ

ในสภาพแวดล้อมที่การเติบโตเป็นสิ่งหายาก หุ้นที่อยู่ในวิสัยมองเห็นความมั่นคงทางรายได้และเรื่องราวของการเติบโตในระยะยาวจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ความพยายามในการแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปตัวเงินได้อย่างทันทีทันใดนั้นเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ว่าจะท้าทายความเชื่อที่แน่วแน่ต่อการกำหนดราคาในตลาด การเปลี่ยนแปลงในครั้งใดๆ ที่ยังไม่ได้ถูกกำหนดราคาโดยตลาดคือความเป็นไปได้ที่การเติบโตในเชิงมูลค่าและเงินเฟ้อจะสูงขึ้น การประสานกันของมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมีศักยภาพในการส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์ของตลาดสำหรับการเติบโตในเชิงมูลค่าและความเชื่ออันมุ่งมั่นต่อการกำหนดราคา

ในสถานการณ์ที่มีการเติบโตเชิงมูลค่าสูงขึ้นและเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น บรรดาบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจแข็งแกร่งและราคาแพงลิ่วต่างได้รับค่าพรีเมียมที่สูง เนื่องจากแนวโน้มผลประกอบการที่จะออกมาดีในระยะสั้น เช่นเดียวกับบริษัทเทคโนโลยีที่กำไรมีโมเมนตัมด้านการเติบโตสูง อย่างไรก็ตาม ค่าพรีเมียมนั้นอาจหายไปได้อย่างรวดเร็ว

กรอบความเป็นไปได้ของอัตราการเติบโตทั่วโลกในแต่ละรูปแบบนั้นมีขอบเขตกว้างไกลกว่าความเชื่ออย่างมุ่งมั่นในเรื่องการกำหนดราคาในตลาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเหล่านี้ทั้งในรูปของแนวทางการลงทุนและหุ้นที่ถูกกำหนดให้มีมูลค่าสูง ต่างไม่มีเกราะป้องกันจากผลกระทบที่มีต่อห่วงโซ่อุปทานของตนเองและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป หรือการสร้างความประหลาดใจในตลาด

ความเสี่ยงมีการโน้มเอียงไปทางด้านลบเป็นอย่างมากสำหรับกลุ่มบริษัทดังกล่าวที่กระแสรายได้ในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับแนวโน้มด้านมูลค่า ซึ่งจะเกิดความแตกต่างกับบริษัทที่มีราคาแพงมากและมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดในตลาด ในปัจจุบันมูลค่าสำหรับแนวทางการลงทุนที่เน้นการเติบโตสามารถเทียบเคียงได้กับจุดสูงสุดในช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยีเมื่อปี 2000 ดูรูปที่ 7

รูปที่ 7: อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีของ MSCI Japan Growth Index เทียบกับ MSCI Japan Value Index*

Fig-7-Japan-price-to-book

เราได้นำเสนอข้อมูลมานานสักระยะแล้วว่าน้ำหนักของความน่าจะเป็นได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนของปรากฏการณ์ที่รุนแรงเหล่านี้ ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะเกิดอาการ 'ประหลาดใจ' มากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในระดับเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เมื่อมูลค่าอยู่ในขอบเขตที่เกินกว่าระดับปกติไปอย่างมาก

ยึดมั่นอยู่กับกระบวนการของเรา

เราทราบถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างหลากหลายจาก COVID-19 ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อสังคมและเศรษฐกิจโลก แต่แทนที่จะพยายามคาดการณ์ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ เราได้มุ่งเน้นไปยังการแยกแยะความแตกต่างระหว่างความน่าจะเป็นที่ผลกระทบต่อบริษัทนั้นจะเป็นเพียงชั่วคราวหรือเกิดขึ้นอย่างถาวร เราติดตามแนวโน้มสมมติฐานของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาน้ำหนักความน่าจะเป็นตามที่เราเห็นว่ามีความเหมาะสม และจะไม่พยายามคาดการณ์แนวโน้มของผลประกอบการ การกระทำเช่นนี้เป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างที่มีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลลัพธ์ในระยะสั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตความไม่แน่นอนเหมือนเช่นในปัจจุบัน เราเชื่อว่าการมุ่งเน้นไปยังเรื่องการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนนั้นจะสร้างข้อได้เปรียบที่แตกต่างในระยะยาวให้แก่เรา เพื่อชี้ถึงโอกาสครั้งสำคัญเมื่อเกิดภาวะความคลาดเคลื่อนในการกำหนดราคาดังเช่นในวันนี้ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าของเราได้ในระยะยาว

วิธีการลงทุนในกองทุนของ Eastspring

โปรดระบุตลาดของคุณเพื่อเลือกกองทุนที่น่าสนใจ

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 21st April 2020.
2 Refinitiv Datastream. As of 21st April 2020.
3 JP Morgan Asia Credit Non-Investment Grade Index

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.