สรุปสภาวะตลาด ประจำเดือนพฤษภาคม

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นโลก (MSCI ACWI Index) ปรับตัวขึ้น 4.15% ขณะที่ดัชนีความผันผวน (VIX Index) ล่าสุดก็ปรับลดลงมาต่ำกว่าระดับ 30% จากที่เคยสูงกว่า 80% ในเดือนมีนาคม โดยการลดลงของดัชนีความผันผวนสะท้อนอารมณ์หรือ Sentiment ของผู้ลงทุนที่ดีขึ้น หรืออีกนัยยะก็คือ ความ Panic ของผู้ลงทุนเริ่มลดลงบ้างแล้ว

ระดับดัชนีที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นการสะท้อนมุมมองอนาคตของผู้ลงทุน ซึ่งเป็นการมองลักษณะ Forward-looking รวมถึงในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการคลาย Lockdown ของแต่ละประเทศ เพื่อให้กิจกรรมทางศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้ ซึ่งส่งผลต่อความหวังที่ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี รวมถึงความหวังที่บริษัทยาบางแห่งเริ่มมีการทดสอบวัคซีนในระดับคลินิคแล้ว ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนเริ่มมีความหวังในประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้มาตรการต่างๆจากทางการ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางการเงินหรือการคลังที่ลดผลระทบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้สินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นมาในช่วงเดือนพฤษภาคม

ตราสารทุน

ในแง่ของตราสารทุน ปัจจัยสำคัญในช่วงเดือนพฤษภาคมที่หนุนตลาดหุ้นก็คือ การที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทำการเปิดเมือง (Re-opening) ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว โดย 50 รัฐของสหรัฐอเมริกาเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ครบทุกรัฐแล้ว

ในยุโรปเองก็เช่นกัน รัฐบาลฝรั่งเศสยกเลิกการปิดพรมแดนเพื่อให้แรงงานต่างด้าวและนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆในยุโรปสามารถเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว นอกจากนี้แล้ว ความคืบหน้าของวัคซีนต้าน COVID-19 ก็เป็นอีกแรงหนุนที่สำคัญ หลายบริษัทได้ออกมาประกาศความคืบหน้าของการทดลองวัคซีน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Moderna ที่ระบุว่าวัคซีน mRNA-1273 มีความปลอดภัย และตอบสนองได้ดีในการทดลองในช่วงแรก โดย Moderna จะเริ่มการทดลองในขั้นต่อไปในเดือนก.ค. อีกปัจจัยหนุนที่สำคัญคือ การที่ธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดเงินเข้าตลาดการเงิน ซึ่งเมื่อประกอบกับอารมณ์ของนักลงทุน (Sentiment) ที่ดีขึ้นแล้วปัจจัยนี้ทำให้ผู้ลงทุนมีพฤติกรรมที่เรียกว่า “Searching-for-yields” มากขึ้น คือ แสวงหาผลตอบแทนที่สูงโดยหันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

ส่วนปัจจัยกดดันที่เริ่มจะเห็นการเร่งตัวของความรุนแรงคือ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่เริ่มกลับมาเป็นที่พูดถึงบ่อยครั้ง หลังจากเหตุการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้คะแนนความนิยมของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ลดลง ประกอบกับการที่ทรัมป์เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งหากดูผลสำรวจโพลแต่ละแห่งได้มีการทำออกมา ผลส่วนใหญ่ปรากฎว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์มีคะแนนเป็นรองนายโจ ไบเดนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต ทำให้ทรัมป์ต้องเร่งดึงคะแนนความนิยมนั้นกลับขึ้นมาให้ได้ นอกจากต้องเร่งกลับมาเปิดเมืองแล้ว อีกสิ่งที่เขาทำก็คือ การเพิ่มความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาว่า จีนจงใจปล่อยเชื้อไวรัสครั้งนี้ การห้ามบริษัทที่ใช้ชิปของสหรัฐฯทำธุรกิจร่วมกับบริษัท Huawei และล่าสุดสว.สหรัฐได้ผ่านร่างกฎหมายว่าอาจทำให้หุ้นบริษัทจีนถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯได้ ส่วนอีกปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการระบาดของ COVID-19 ที่ระบาดหนักในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Countries) อย่างบราซิล, อิหร่าน, แอฟริกา, อินเดีย และเม็กซิโก

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ปรับตัวขึ้นประมาณ 4.53% ในเดือนพฤษภาคม ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรง ยอดขายบ้านใหม่ของเดือนเมษายนที่สามารถขยายตัวจากเดือนมีนาคม 0.6% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ -21.9% อย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ ตัวเลขผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนแม้จะมีกำไรหดตัวประมาณ 7-8% แต่โดยรวมแล้วก็ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์

ตลาดหุ้นจีน A-share (CSI 300) ค่อนข้างทรงตัวที่ -1.16% ส่วนหุ้นจีน H-share (HSCEI Index) ปรับตัวลง - 4.78% ในเดือนพฤษภาคม ปัจจัยกดดันหลักก็คือ ภาวะความไม่สงบในฮ่องกงที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากการประชุมสภาประชาชนจีน (NPC) ช่วงวันที่ 22-28 พฤษภาคม จีนได้เสนอกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้ฮ่องกงต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งการกระทำที่แสดงถึงการแบ่งแยกดินแดน การล้มล้างอำนาจหรือการปกครองของรัฐบาลกลาง หรือการกระทำใดๆโดยกองกำลังต่างชาติที่เข้ามาแทรกแซงในฮ่องกงจะถือว่าเป็นผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้ว ผลจากการประชุมที่สร้างความประหลาดใจตลาดก็คือ การเลือกที่จะไม่ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ปี 2020 ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 โดยให้เหตุผลว่า จีนกำลังเผชิญกับปัจจัยที่คาดการณ์ไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นระบาด COVID-19 หรือสงครามการค้ากับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกคือ การที่จีนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการรักษาเสถียรภาพการจ้างงานโดยตั้งเป้าหมายที่จะสร้างงานใหม่ในเขตเมืองมากกว่า 9 ล้านตำแหน่ง

SET Index ในช่วงเดือนพฤษภาคมให้ผลตอบแทนประมาณ 3.16% แม้จะถูกกดดันบ้างของปัจจัยนอกประเทศและตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงมีการประกาศ พรก. ฉุกเฉินฯ ออกไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ดี ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ถือว่าต่ำมากและบางวันก็ไม่มีการติดเชื้อเพิ่มเลย ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากทางรัฐบาลค่อยๆผ่อนปรนมาตรการ Lockdown เป็นระยะ รวมถึงการที่ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 0.5% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมถึงมติสภาได้อนุมัติพรก.3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อใช้เป็นงบประมาณด้านการคลังและเครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานช่วงสภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19

Fig-3-JLL-Research-emerging-opportunities

ตราสารหนี้

ตลาดตราสารหนี้โดยรวมดูดีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ตลาดมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นและมีความผันผวนลดลง ทั้งตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน เช่น Mortgage-backed security (MBS) เป็นต้น เส้นความชันของพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ (Yield Curve) มีความชันมากขึ้น สะท้อนถึงมุมมองเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนหรือตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) เริ่มกลับมาแคบลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนว่าผู้ลงทุนเริ่มคลายความกังวลและกลับเข้ามาซื้อตราสารหนี้กลุ่มนี้มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ประกาศใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลดดอกเบี้ยถึง 0% การเข้าซื้อพันธบัตรและ MBS (QE) แบบไม่จำกัด หรือแม้กระทั่งโครงสร้างที่ FEDจะเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชนทั้งคุณภาพสูง (Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ (High Yield) หลังจากผลกระทบ COVID-19 และล่าสุดประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวล และ Minute ชี้ว่า FED จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มี แม้กล่าวว่าจะยังไม่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่ผู้ลงทุนในตลาดก็มองว่ามีความเป็นไปได้อยู่ (สะท้อนผ่าน Fed Fund Futures) เป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดตราสารหนี้ลดความตึงตัวลง

ภาวะตราสารหนี้ของไทยนั้นถือว่ามีความคล้ายกับสหรัฐฯตรงที่สภาพคล่องเริ่มกลับเข้าสู่ปกติ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและยาวปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งจาก กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0.5% และอีกปัจจัยหนุนตลาดที่สำคัญคือ มาตรการเพิ่มเติมต่างๆของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ MFLF และ BSF อย่างไรก็ตาม การที่หลายบริษัทเอกชนมีการออกหุ้นกู้ในปริมาณที่สูงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับยังคงมีสัญญาณว่านักลงทุนยังคงมีความกังวลอยู่บ้าง ส่งผลให้ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) ยังคงกว้างอยู่

Fig-3-JLL-Research-emerging-opportunities

สินทรัพย์ทางเลือก

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยรวมทั่วโลก ปรับตัวขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้ง REIT ไทยและสิงคโปร์ โดยมีปัจจัยหนุนเดียวกันกับหุ้น เช่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นจากการเริ่มเปิดเมืองมาก เป็นต้น และอีกปัจจัยหนุนสำคัญของกลุ่มนี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจากการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก และคาดการณ์ที่ว่าจะคงต่ำในลักษณะนี้ไปอีกสักระยะ ทำให้ผู้ลงทุนหันมาสนใจกลุ่ม Yield Play ที่ให้ปันผลดี

ทองคำปรับตัวขึ้น 2.52% ในเดือนพฤษภามคม เป็นผลจากการที่ผู้ลงทุนคลายความกังวลและกล้าที่จะเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น (Risk-on) ประกอบกับราคาที่ขยับขึ้นมามากในช่วงก่อน จึงมีการขายทำกำไรสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ

น้ำมันเป็นสินทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นได้ดีที่สุดในบรรดาทุกสินทรัพย์ช่วงเดือนพฤษภาคม โดยสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวขึ้น 88.38% จากราคาประมาณ $18 ปรับตัวขึ้นมาที่ $30 กว่า นอกจากปัจจัยหนุนเรื่องการ Re-opening ทั่วโลก และเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้สั่งการให้ซาอุดี อารามโค ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนมิ.ย. นอกเหนือจากที่ได้ปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส

Fig-3-JLL-Research-emerging-opportunities

มุมมองตลาดในเดือนมิถุนายน

เดือนมิถุนายนคาดว่า จะยังคงเป็นอีกเดือนที่มีความผันผวนพอสมควร เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างยังคงอยู่และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความกังวลต่อผู้ลงทุน สิ่งสำคัญที่ต้องจับตามอง ก็คือ

  • ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยล่าสุดทางสหรัฐฯอาจยกเลิกสถานะพิเศษของฮ่องกงที่ได้สิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีการค้ากับสหรัฐ เพื่อตอบโต้การที่จีนเสนอกฎหมายให้กฎหมายความมั่นคงของฮ่องกง มองว่าความผันผวนจากปัจจัยนี้จะเข้ามากระทบบรรยากาศการลงทุนเป็นระยะๆจนถึงช่วงก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน
  • การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก หลังจากเริ่มมีการคลาย Lockdown มากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์การระบาดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Countries) เช่น บราซิล อินเดีย ยังพบการระบาดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) วันที่ 9-10 มิถุนายน รวมถึงธนาคารกลางสำคัญอื่นๆ เช่นยุโรป (ECB) ในวันที่ 4 มิถุนายน และอังกฤษในวันที่ 18 มิถุนายน โดยติดตามการส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยและแนวทางการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
  • นโยบายการคลังของรัฐบาลทั่วโลก ติดตามมาตรการเพิ่มเติมของสหรัฐฯและการโหวตร่างกฎหมายเงินช่วยเหลือขนาด 3 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯที่เรียกว่า “Heroes Act” ของวุฒิสภาสหรัฐฯที่น่าจะมีขึ้นเร็วๆนี้ ส่วนของยุโรป ติดตามการเสนอจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Recovery Fund) มูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกยุโรป 27 ประเทศในการประชุม European Council Summit วันที่ 18-19 มิ.ย. ก่อนมีผลบังคับใช้
  • การประชุม OPEC ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17-18 มิถุนายนนี้ ซึ่งตลาดมีความหวังว่าจะขยายเวลาลดปริมาณการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปจนถึงปลายปี 2020

คำแนะนำการลงทุน

แนะนำให้ผู้ลงทุนเน้นมุมมองการลงทุนระยะยาว ลงทุนอย่างระมัดระวัง กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยหนึ่งในความเสี่ยงตลาดที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้คือ ระดับมูลค่าของตลาดหุ้นทั่วโลก (Valuation) ปัจจุบันที่ค่อนข้างแพง ตลาดอาจเปราะปางและมีโอกาสย่อตัวในระยะสั้นได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรใช้จังหวะที่ตลาดผันผวนและปรับตัวลงในการทยอยเข้าลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดี มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตลาดหุ้นจีน ตราสารหนี้บริษัทเอกชนคุณภาพดีในประเทศพัฒนาแล้ว กลุ่ม REITs และโครงสร้างพื้นฐานโดยรวมทั่วโลกมีความน่าสนใจ

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 Eastspring Investments, quoting Paxel from a conference call on 25 April 2020.
2 McKinsey & Company COVID-19 Indonesia Consumer Pulse Survey 10 – 12 April 2020. N = 722, sampled a weighed to match Indonesia’ general population of 20+ years.
3 Google, Temasek, Bain & Company: e-Conomy SEA 2019 Report. P. 21.
4 Google and Temasek, May 2016, e-conomy SEA: Unlocking the $200 billion Digital Opportunity in Southeast Asia, page 7.
5 CLSA Research: Indonesia logistics, citing Frost and Sullivan, 14 November 2019.
6 Econsultancy: Not offering same-day delivery? You could be losing customers, 14 December 2015.
7 CLSA Research, 19 November 2019.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.