บทสรุป

 

แม้ว่าเฟดจะมีเหตุผลอยู่พอควรในการผ่อนคลายนโยบายเพื่อจัดการให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงแบบ “soft landing”แต่การชะลอตัวที่รุนแรงมากขึ้นอาจเกิดขึ้นได้หากเฟดดำเนินการช้าเกินไป

สภาวะตลาด

หุ้น : ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนสิงหาคม แม้จะมีการลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงต้นเดือนซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการรวมถึงการกลับสถานะในธุรกรรม Carry Trade ของเงินเยน ข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐที่ออกมาย่ำแย่ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ และความไม่สงบทางการเมืองทั่วโลก การปรับตัวลดลงเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้นก่อนที่ตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐออกมาลดลง มีความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการกลับมาสนใจธุรกรรม Carry Trade อีกครั้ง หุ้นของตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.7% ซึ่งเป็นผลงานที่เหนือกว่าหุ้นในตลาดเกิดใหม่ (EM) ที่เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนภายใน DM มีตลาดหุ้นยุโรปเป็นผู้นำกลุ่ม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.0% ในขณะที่หุ้นสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.4% ตลาดหุ้นอาเซียนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น โดยเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่ 8.1% มากกว่าทั้งตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น (2.4%) และตลาดเกิดใหม่ ส่วนตลาดหุ้นจีน MSCI China ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1.0%

ตราสารหนี้ : ตลาดตราสารหนี้โลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและตลาดแรงงานของสหรัฐที่ชะลอตัวเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน คำกล่าวของประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์ ที่เมืองแจ็คสันโฮล ชี้ถึงการเปลี่ยนไปสู่การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป ตราสารหนี้รวมทั่วโลกเพิ่มขึ้น 2.4% โดยที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.3% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี ลดลง 18 bps มาที่ 3.91% ส่วนตราสารหนี้ Investment Grade ของสหรัฐ และตราสารหนี้เสี่ยงสูง (High Yield bonds) ทำผลงานเป็นบวก 1.5% และ 1.6% ตามลำดับ ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ทำผลงานได้ดี โดยเพิ่มขึ้น 2.3% จากปัจจัยสนับสนุนคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ลดลงและเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า

ภาพรวมเศรษฐกิจ

การเติบโต : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั่วโลกที่จัดทำโดย J.P. Morgan ยังคงอยู่เหนือระดับ "50" เป็นเวลา 10 เดือนติดต่อกัน ซึ่งชี้ถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเป็นไปในทิศทางบวก ความอ่อนแอของภาคการผลิตยังคงเห็นได้จากข้อมูลในเดือนสิงหาคม แม้ว่าจะถูกชดเชยด้วยภาคบริการที่ยังคงแข็งแกร่ง ข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคหลักส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าที่คาดไว้ ซึ่งสะท้อนถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจในภาพรวม ในมุมมองของเรา โมเมนตัมของการเติบโตทั่วโลกกำลังชะลอตัวลง ตลาดแรงงานของสหรัฐที่อ่อนแอลงน่าจะจำกัดการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในระยะยาว ซึ่งค่าจ้างนับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงต่อแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐ ดังนั้น อุปสงค์ของสหรัฐในฐานะตัวขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตทั่วโลก จึงมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อไป

อัตราเงินเฟ้อ : ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งชะลอตัวลงจาก 2.9% ในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมถือเป็นการเพิ่มขึ้นแบบ year-on-year ที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 อย่างไรก็ตาม ราคาที่อยู่อาศัยและบริการอื่นๆ ยังคงอยู่สูง เรายังเฝ้าติดตามสภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มค่าจ้างสำหรับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แม้ว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในฝั่งอุปทานอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (เช่น ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรง) เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเข้าใกล้เป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐที่ 2% เนื่องจากตลาดแรงงานของสหรัฐที่อ่อนแอลงส่งผลฉุดอุปสงค์โดยรวมและเศรษฐกิจสหรัฐ

นโยบายการเงิน : เมื่อพิจารณาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ชะลอตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เฟดและตลาดดูมีแนวโน้มมุ่งความสนใจไปยังตลาดแรงงาน เนื่องจากระดับการจ้างงานสูงสุดก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของเฟดในอีกด้านหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น ขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงน่าจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสภาวะถดถอยในตลาดแรงงานของสหรัฐ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย แม้ว่าเฟดจะมีเหตุผลอยู่พอควรในการผ่อนคลายนโยบายเพื่อจัดการให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงแบบ “soft landing” แต่การชะลอตัวที่รุนแรงมากขึ้นอาจเกิดขึ้นได้หากเฟดดำเนินการช้าเกินไป

ดาวน์โหลดรายงานเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สำคัญ

Interesting reads

Know more
มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนธันวาคม

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนธันวาคม

23 ธ.ค. | Vis Nayar

ข้อมูลที่ออกมาไม่สอดคล้องกันและความกังวลต่อการเติบโตของจีนกำลังถูกลดแรงกดดันลงด้วยมาตร ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 9 - 13 ธ.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 9 - 13 ธ.ค. 67

09 ธ.ค.

Beige Book ชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตกว่าเดิมเล็กน้อย มุมมองต่อกิจกรรมทางเศรษฐ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 2 - 6 ธ.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 2 - 6 ธ.ค. 67

02 ธ.ค.

Bloomberg มองเศรษฐกิจอินเดียกำลังตามดอกเบี้ย ดัชนีเศรษฐกิจที่ใช้คาดการณ์การเติบโตของ G ...

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนพฤศจิกายน

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนพฤศจิกายน

22 พ.ย. | Vis Nayar

ความผันผวนของตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเรากำลังจะเข้าสู่ปี 2025 แต่ยังคงมีโอกาสที่จะส ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 18-22 พ.ย. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 18-22 พ.ย. 67

18 พ.ย.

นักลงทุนปรับคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย อีก 25 จุดในเดือนหน้า หล ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ประจำวันที่ 11-15 พ.ย. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ประจำวันที่ 11-15 พ.ย. 67

11 พ.ย.

อัตราเงินเฟ้อ CPI ของจีน ลดลงมาอยู่ที่ 0.3% จาก 0.4% ในเดือนกันยายนเมื่อเทียบเป็นรายปี ...

รีพับลิกันชนะแบบเบ็ดเสร็จ: ผลกระทบต่อเอเชียและตลาดเกิดใหม่

in insights

รีพับลิกันชนะแบบเบ็ดเสร็จ: ผลกระทบต่อเอเชียและตลาดเกิดใหม่

08 พ.ย.

ผลการเลือกตั้งที่พรรครีพับลิกันชนะเสียงข้างมากน่าจะนำไปสู่การเพิ่มกำแพงภาษี , อัตราผลต ...

การกลับมาอีกครั้งของทรัมป์

in insights

ตราสารทุน

การกลับมาอีกครั้งของทรัมป์

07 พ.ย.

โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 2 พรรครีพับลิกันครองเสีย ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 4-8 พ.ย. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 4-8 พ.ย. 67

04 พ.ย.

GDP ไตรมาส 3/24 ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เล็กน้อย แต่ก็ยังคงแสด ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-25 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-25 ต.ค. 67

21 ต.ค.

กนง. หักปากกาเซียน ลดดอกเบี้ย 0.25% กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 2.25% ผ ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.