บทสรุป

 

สภาวะตลาดแรงงานของสหรัฐจะเป็นสิ่งกำหนดว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วแค่ไหน เราเชื่อว่าเฟดยังมีโอกาสในการใช้นโยบายผ่อนคลายและพยายามทำให้การชะลอตัวลงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือ soft landing

สภาวะตลาด

หุ้น : ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนกรกฎาคมปิดในแดนบวก แม้ว่าความผันผวนจะเกิดขึ้นจากหุ้นเทคโนโลยีที่ปรับตัวลง ระบบออนไลน์ล่มซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก การเปลี่ยนไปถือหุ้นขนาดเล็กมากขึ้น และข้อจำกัดในการขายสินค้าเทคโนโลยีให้กับจีน ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้น +1.3% ตลาดพัฒนาแล้ว +1.8% ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่ทำผลงานตามหลัง (+0.4%) เนื่องจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไต้หวัน (-4.1%) จีน (-1.2%) และเกาหลีใต้ (-0.5%) ส่วนตลาดเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น +0.2% ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้สร้างความประหลาดใจด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ลงจาก 2.5% มาที่ 2.3% สำหรับตลาดหุ้นอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้น 4.1%

ตราสารหนี้ : อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลดลงตลอดทุกช่วงของ yield curve ในเดือนกรกฎาคม โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 2 ปีลดลง 42 basis points มาปิดตลาดที่ 4.29% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปีลดลง 27 basis points มาปิดที่ 4.09% ซึ่งจากอัตราผลตอบแทนที่ลดลง ส่งผลให้ดัชนีตราสารหนี้รวมทั่วโลก (Bloomberg Barclays Global Aggregate Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.8% ในขณะที่ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (Bloomberg Barclays US Treasury Index) เพิ่มขึ้น 2.2% ดัชนีตราสารหนี้เสี่ยงสูงของสหรัฐ (ICE BofA US High Yield Index) ปรับตัวขึ้น 2.0% ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคมดัชนีตราสารหนี้เอกชนในเอเชีย (J.P. Morgan Asia Credit Index) เพิ่มขึ้น 1.3% เนื่องจากทั้งตราสารหนี้เสี่ยงสูง (High Yield) และตราสารหนี้ระดับ investment grade ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจ

การเติบโต : ดัชนีชี้วัดผลผลิตอย่าง J.P. Morgan Global PMI Composite Output Index ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 เป็นเวลานานเก้าเดือนติดต่อกัน ซึ่งชี้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นบวก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการชะลอตัวลง โดยในส่วนของคำสั่งซื้อใหม่ด้านการผลิตลดลงต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกในไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ และ Economic surprise index (ESI) ก็กำลังลดลงเช่นกัน ในขณะที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจในภาพกว้างออกมาต่ำกว่าคาดในภูมิภาคหลักๆ ทั้งนี้ แม้ว่ายอดค้าปลีกของสหรัฐจะออกมาดีเกินคาดในเดือนกรกฎาคม แต่ในมุมมองของเรา ตลาดแรงงานสหรัฐที่อ่อนแอลงอาจจำกัดการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและการใช้จ่ายของผู้บริโภค และในที่สุดก็จะส่งผลฉุดอุปสงค์ของสหรัฐซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

อัตราเงินเฟ้อ : แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีสัญญาณผ่อนคลายลงในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021 ส่วน Core CPI เพิ่มขึ้น 3.2% จากปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 เรายังคงติดตามสภาวะตลาดแรงงานและขอบเขตการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างสำหรับประเมินความเสี่ยงเงินเฟ้อ แม้ว่าความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านอุปทานอาจเกิดขึ้นเนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (เช่น ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น) เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐที่อ่อนแอลงจะส่งผลฉุดอุปสงค์โดยรวม

นโยบายการเงิน : เมื่อพิจารณาตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงและข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐที่อ่อนแอกว่าคาดในเดือนกรกฎาคม ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการลดดอกเบี้ยนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าตลาดแรงงานสหรัฐจะถดถอยลงเร็วแค่ไหน เพราะหากเฟดดำเนินการช้าเกินไปก็อาจเกิดการชะลอตัวที่ดิ่งลงลึกมากขึ้น แม้ว่างบดุลของผู้บริโภคและภาคบริษัทจะยังอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าเฟดยังมีโอกาสในการใช้นโยบายผ่อนคลายและพยายามทำให้การชะลอตัวลงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือ soft landing

กรุณาดาวน์โหลดรายงานเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงหลัก

Interesting reads

Know more
มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 26 - 30 ส.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 26 - 30 ส.ค. 67

26 ส.ค.

Jackson Hole ชี้ชัดสหรัฐฯ เตรียมลดดอกเบี้ย นาย J.Powell ผู้ว่าฯ Fed กล่าวในแถลงการณ์หล ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 19 - 23 ส.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 19 - 23 ส.ค.67

19 ส.ค.

ตัวเลขเศรฐกิจสหรัฐฯภาพรวมยังผสม กราฟด้านบนแสดงถึงดัชนี Economic Surprise ของสหรัฐฯที่ช ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 13 – 16 ส.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 13 – 16 ส.ค.67

14 ส.ค.

ธนาคารกลางอินเดียยังคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิม ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) คงดอกเบี้ยไว้ที่ 6.5% ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 5 – 9 ส.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 5 – 9 ส.ค. 67

05 ส.ค.

อัตราการว่างงานสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับ 4.25% ในเดือน ก.ค. จากคาดการณ์เฉลี่ยนักวิเคราะห์ที่ ...

Big Tech ถูกเทขายหลังผลประกอบการ 2 นางฟ้าน่าผิดหวัง
Big Tech จะหมดรอบหรือแค่ปรับฐาน?

in insights

ตราสารทุน

Big Tech ถูกเทขายหลังผลประกอบการ 2 นางฟ้าน่าผิดหวัง Big Tech จะหมดรอบหรือแค่ปรับฐาน?

25 ก.ค.

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงแรง โดยดัชนั S&P500 ปรับตัวลง 2.3% และ Nasdaq100 ปรับตัวลง 3.7%

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 22-26 ก.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 22-26 ก.ค.67

22 ก.ค.

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 รายเป็น 243,000 รายในสัปดาห์สิ้น ...

สหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป กดดันหุ้น Semi ร่วงยกแผง

in insights

ตราสารทุน

สหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป กดดันหุ้น Semi ร่วงยกแผง

18 ก.ค.

ฝ่ายบริหารของไบเดนกำลังพิจารณาใช้ข้อจำกัดทางการค้าที่เข้มงวดที่สุดต่ออุตสาหกรรมชิปเพื่ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่  15 - 19 ก.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 15 - 19 ก.ค. 67

15 ก.ค.

ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักที่เรียกว่า Core CPI ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 8 -  12 ก.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 8 - 12 ก.ค.67

08 ก.ค.

การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 2.06 แสนตำแหน่งสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 190,000 ตำแห ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่  24 28 มิ.ย.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 24 28 มิ.ย.67

24 มิ.ย.

PMI สหรัฐฯร้อนแรงต่อเนื่อง ดัชนี PMI สหรัฐฯประจำเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการ ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.