Highlight of the Week

ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักที่เรียกว่า Core CPI ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเติบโตเดือนต่อเดือนที่น้อยที่สุดในรอบสามปีโดยได้แรงหนุนหลักจากจากการชะลอตัวของเงินเฟ้อด้านที่อยู่อาศัยที่ร้อนแรงมานาน ขณะที่ดัชนีรวมหรือ CPI หดตัวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันเบนซินที่ถูกลง

การขยายสินเชื่อของจีนในเดือนมิถุนายนยังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดแม้จะมีการฟื้นตัวตามฤดูกาล ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังเผชิญกับแรงกดดันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกู้ยืมของทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในเดือนเดียวกันในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าความต้องการสินเชื่อที่อ่อนแอนั้นเกิดจากความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ

ภาพรวมการลงทุนในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ภาพรวมการลงทุนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี Fear & Greed Index ปิดที่ระดับ 56 จุดในโซน Greed จากที่ระดับ 52 จุดในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าโดยมีการเกิดการ rotation ออกจากหุ้น 7 นางฟ้าที่ปรับตัวขึ้นมาเยอะ ไปยังหุ้นส่วนที่เหลือมากขึ้นหลังอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯชะลอตัวลงต่อเนื่องส่งผลให้ตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนกันยายน ด้านตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวกลับมาขึ้นได้หลังตลาดรับข่าวผลการเลือกตั้งฝรั่งเศส ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมาทำ All Time High ได้อีกครั้งหลังการอ่อนค่าของเยนหนุนหุ้นในกลุ่มส่งออก อย่างไรก็ตามในวันศุกร์มีสัญญาณว่าทางการของญี่ปุ่นได้มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินอีกครั้ง ในฝั่งของหุ้นจีนฟื้นตัวต่อหลังจากหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์ได้เข้มงวดกฎเกณฑ์ในการทำ Short Selling และ high-frequency trading

ตลาดหุ้นโลก

การเริ่มลดดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาดของ Fed กดดันทั้งค่าเงินและนโยบายการเงินหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามเรามองว่านักลงทุนจะให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนมากกว่าจำนวนครั้งหรือความเร็วในการลดดอกเบี้ย ซึ่งเศรษฐกิจในประเทศตะวันตกยังแข็งแรงและมีเสถียรภาพ อีกทั้งเริ่มเห็นประเทศขนาดใหญ่ อาทิ ยุโรป กล้าที่จะลดดอกเบี้ยก่อนสหรัฐฯ ทำให้เรามีมุมมองเป็นบวกกองทุนสไตล์ blended ที่มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์หากเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เช่น ธนาคาร สินค้าอุปโภคบริโภค และเราชอบกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งกำไรยังเติบโตได้ดีจากแรงหนุนเฉพาะตัวจากเทรนด์ความต้องการ AI

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

เรามองว่าจำนวนครั้งในการลดดอกเบี้ยของ Fed เป็นเพียงแค่ Noise ระยะสั้น และตลาดหุ้นจะให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนเป็นหลัก โดยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯยังแข็งแกร่งและมีโอกาสเกิด No Landing สูง อีกทั้งกำไรบริษัทจดทะเบียนยังแข็งแกร่งจากแนวโน้มความต้องการ AI ซึ่งสหรัฐฯเป็นผู้เล่นหลักใน supply chain นอกจากนั้นเงินเฟ้อและภาคแรงงานที่ชะลอมากกว่าคาดในช่วงกลางปี ช่วยให้โอกาสการลดดอกเบี้ยในปี 24 กลับมา ทำให้เรายังชอบหุ้นสหรัฐฯต่อเนื่อง นอกจากนั้นการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามายังเป็นปัจจัยหนุนจากแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงหาเสียง แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน

ตลาดหุ้นยุโรป

ตลาดหุ้นยุโรปถูกกดดันจากประเด็นการเมืองทำให้ตลาดผันผวนในระยะสั้น แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวประกอบกับที่ ECB เริ่มเข้าสู่ช่วงลดดอกเบี้ยก่อนหน้าสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ขณะที่ Valuation ยังค่อนข้างถูก ร่วมกับคาดการณ์กำไรที่เริ่มถูกปรับขึ้น ทำให้เรามีมุมมองเป็นบวกกับหุ้นยุโรป แนะนำทยอยสะสม

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังถูกกดดันจากการที่ BoJ ส่งสัญญาณต้องการเข้มงวดนโยบายการเงินขึ้น แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอและเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ทำให้ BoJ ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมออกไป อย่างไรก็ดีการขึ้นค่าแรงสูงที่สุดในรอบ 30 ปีหลังการประชุม Shunto ประกอบกับเงินเยนที่อ่อนแอเกินที่รัฐควบคุมได้ ทำให้เรากังวลว่า BoJ อาจต้องเริ่มดำเนินการบางอย่างเพื่อควบคุมสภานการณ์ เราจึงมีมุมมองเป็นกลางกับหุ้นญี่ปุ่น

ตลาดหุ้นจีน

ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมาจากปัจจัยหนุนด้าน Sentiment อย่างนโยบายของภาครัฐที่เอื้อประโยชน์ให้กับตลาดหุ้น ประกอบกับ Fund Flow ทั้งจากในและต่างประเทศไหลเข้ากลุ่ม H-shares พร้อมกัน อย่างไรก็ตามเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวเริ่มเบาบางลงหลังตัวเลขเศรษฐกิจยังคงซบเซาทำให้นักลงทุนชะลอการเข้าเก็งกำไร เราจึงแนะนำขายทำกำไรบางส่วน และรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจจีนก่อนจะเข้าสะสมเมื่อตลาดปรับฐานเสร็จสิ้นในรอบนี้

ตลาดหุ้นอินเดีย

เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ไม่ถูกปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลงหลังสหรัฐฯมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาด จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่งและความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศกับสหรัฐฯที่หนุนการลงทุน ขณะที่ผลการเลือกตั้งเป็นไปตามคาดโดย Modi ได้เป็นนายกฯสมัยที่ 3 แม้ว่าจะได้ที่นั่งในสภาน้อยกว่าผลโพล แต่เรามองว่าจะไม่กระทบต่อนโยบายพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการดึงดูดต่างชาติเข้าลงทุน ซึ่งส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น แนะนำทยอยสะสม

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ยังคงมีแรงกดดันจากการที่รัฐบาลเข้าปราบปรามการทุจริตและการปั่นหุ้น จนนำมาซึ่งการเปลี่ยน ปธน. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอันดับ 2 ของประเทศเป็นคนใหม่ อย่างไรก็ดีการแทรกแซงของรัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานระดับสากล และรัฐบาลยังประกาศจุดยืนที่จะพาตลาดหุ้นเข้าสู่ดัชนี Emerging Market ทำให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นเริ่มแสดง sentiment เชิงบวกอีกครั้งตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังขยายตัวอย่างในระดับปานกลาง แนะนำขายทำกำไรบางส่วน และถือครอง

ตลาดหุ้นไทย

เรามองว่าตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันในหลายมิติ ทั้งจากเศรษฐกิจซบเซา ประเด็นการเมืองอย่างนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่ล่าช้า และ 3 คดีการเมืองของนายกฯเศรษฐา ทักษิณ และยุบพรรคก้าวไกล ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ นอกจากนี้กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังถูกปรับลดลงต่อเนื่องสวนทางกับเอเชียที่เริ่มถูกปรับขึ้นในเดือน พ.ค. แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน

ตราสารหนี้โลก

ตราสารหนี้ต่างประเทศมีความน่าสนใจลดลงตามแนวโน้มดอกเบี้ยที่เข้าสู่ช่วงขาลงช้าและน้อยกว่าที่คาด ขณะที่โอกาสทำกำไรจาก Spread Play หรือส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างหุ้นกู้และพันธบัตรหายไปอย่างรวดเร็วจากโอกาสเกิด No Landing ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการลดดอกเบี้ยที่ช้าลงส่งผลกระทบต่อ Hedging Cost ในสกุลเงินบาท/ดอลลาร์ให้ราคาสูงขึ้นอีกด้วย เราจึงมีมุมมองเป็นกลางกับตราสารหนี้โลก อย่างไรก็ดีเรามองว่ากลุ่มพันธบัตรรับรู้ข่าวร้ายมากเกินไป แนะนำสะสมกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ อาทิ ES-GF เพื่อเสริมพอร์ตการลงทุน

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs ไทย

ไทยยังคงถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยระดับสูงซึ่งคาดว่าแบงก์ชาติจะยังไม่รีบผ่อนคลายตามมุมมองที่ขัดแย้งกับรัฐบาล ประกอบความอ่อนแอของเศรษฐกิจกดดันภาคอสังหาฯ ขณะที่ REITs สิงคโปร์ถูกกดดันด้วยการเข้มงวดนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก ทำให้เรามุมมองเป็นกลางต่อ Global REITs

ทองคำ

เรามีมุมมองเป็นกลางกับทองคำเนื่องจาก Real Yield ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง และเศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะ soft landing นอกจากนี้สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางยังมีท่าทีผ่อนคลายลงจากการเสียชีวิตของผู้นำอิหร่าน แนะนำคงสัดกส่วน

คำเตือน

  • ข้อมูล คำแนะนำบทวิเคราะห์ และการแสดงความเห็นต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และให้ความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้นโดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นการชักชวนหรือชี้นำให้ซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่างๆ ตามที่ระบุหรือถูกกล่าวถึงไว้ในเอกสารฉบับนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ทีมงานไม่อาจยืนยันและรับรองความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นได้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ทีมงานไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายในรายได้ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการนำ ข้อมูล ข้อความ ความเห็น และ/หรือบทสรุปต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ
  • ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ บลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ดังนั้น บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เอกสารควรใช้คู่กับหนังสือชี้ชวน
  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
  • แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสขาดทุนได้ การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน

Interesting reads

Know more
มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 26 - 30 ส.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 26 - 30 ส.ค. 67

26 ส.ค.

Jackson Hole ชี้ชัดสหรัฐฯ เตรียมลดดอกเบี้ย นาย J.Powell ผู้ว่าฯ Fed กล่าวในแถลงการณ์หล ...

มุมมองการลงทุน ประจำเดือนสิงหาคม

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุน ประจำเดือนสิงหาคม

22 ส.ค.

สภาวะตลาดแรงงานของสหรัฐจะเป็นสิ่งกำหนดว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วแค่ไหน เราเชื่อว ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 19 - 23 ส.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 19 - 23 ส.ค.67

19 ส.ค.

ตัวเลขเศรฐกิจสหรัฐฯภาพรวมยังผสม กราฟด้านบนแสดงถึงดัชนี Economic Surprise ของสหรัฐฯที่ช ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 13 – 16 ส.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 13 – 16 ส.ค.67

14 ส.ค.

ธนาคารกลางอินเดียยังคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิม ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) คงดอกเบี้ยไว้ที่ 6.5% ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 5 – 9 ส.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 5 – 9 ส.ค. 67

05 ส.ค.

อัตราการว่างงานสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับ 4.25% ในเดือน ก.ค. จากคาดการณ์เฉลี่ยนักวิเคราะห์ที่ ...

Big Tech ถูกเทขายหลังผลประกอบการ 2 นางฟ้าน่าผิดหวัง
Big Tech จะหมดรอบหรือแค่ปรับฐาน?

in insights

ตราสารทุน

Big Tech ถูกเทขายหลังผลประกอบการ 2 นางฟ้าน่าผิดหวัง Big Tech จะหมดรอบหรือแค่ปรับฐาน?

25 ก.ค.

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงแรง โดยดัชนั S&P500 ปรับตัวลง 2.3% และ Nasdaq100 ปรับตัวลง 3.7%

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 22-26 ก.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 22-26 ก.ค.67

22 ก.ค.

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 รายเป็น 243,000 รายในสัปดาห์สิ้น ...

สหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป กดดันหุ้น Semi ร่วงยกแผง

in insights

ตราสารทุน

สหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป กดดันหุ้น Semi ร่วงยกแผง

18 ก.ค.

ฝ่ายบริหารของไบเดนกำลังพิจารณาใช้ข้อจำกัดทางการค้าที่เข้มงวดที่สุดต่ออุตสาหกรรมชิปเพื่ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 8 -  12 ก.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 8 - 12 ก.ค.67

08 ก.ค.

การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 2.06 แสนตำแหน่งสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 190,000 ตำแห ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่  24 28 มิ.ย.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 24 28 มิ.ย.67

24 มิ.ย.

PMI สหรัฐฯร้อนแรงต่อเนื่อง ดัชนี PMI สหรัฐฯประจำเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการ ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.