สัญญาณเชิงบวกจากข้อมูลในไตรมาสแรกของจีน

ปี 2020 เป็นปีแห่งประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนถึงขณะนี้ ภาวะ Lockdownทั่วโลกในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเพื่อรับมือกับ COVID-19 ได้ส่งผลฉุดให้เศรษฐกิจดำดิ่งลงและตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนอย่างหนัก จีนประสบกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสแรก แต่กลับมีข่าวที่เป็นสัญญาณแห่งความหวังก็คือ การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่นั้นได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคม โดยมีภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

เศรษฐกิจจีนหดตัวตั้งแต่เริ่มต้นปี 2020 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปี เป็นเพราะผลจากการระบาดของ coronavirus และถือเป็นการสิ้นสุดยุคของการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ดำเนินมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970s โดยในไตรมาสแรกนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนลดลง 6.8% เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ -5.0% 1

แม้ว่าตัวเลข GDP จะออกมาน่าผิดหวังไปบ้าง แต่ตลาดหุ้น A-share ของจีนกลับมีความแข็งแกร่งแบบผิดคาดในวันที่มีการเปิดเผยข้อมูล (17 เมษายน 2020) โดยดัชนี CSI 300 เพิ่มขึ้นมาประมาณ 1% ซึ่งหากพิจารณาในรายละเอียดก็จะพบว่าผลงานที่มีความแข็งแกร่งนั้นได้รับการช่วยเหลืออย่างมากจากแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามข้อมูลที่ปรากฏในเดือนมีนาคม ซึ่งรวมถึงกิจกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้

การเติบโตของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์

ประเด็นที่เป็นไปตามคาดการณ์ก็คือการที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกแสดงถึงความอ่อนแอในทุกภาคส่วน เนื่องจากการระบาดครั้งใหญ่ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจหยุดชะงักและความล่าช้าในการกลับมาทำงาน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในเดือนมีนาคมได้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วงตลอดสองเดือนแรกของปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังอยู่ในทิศทางกลับสู่ภาวะปกติ ดังที่แสดงในรูปที่ 1 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีน (FAI) ในเดือนมีนาคมลดลง 9.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (y-o-y) ซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการหดตัว 24.5% y-o-y ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นฐานการเปรียบเทียบแบบ y-o-y :

  • ภาคการผลิตยังคงซบเซา โดยในเดือนมีนาคมยังปรับตัวลดลงเป็นตัวเลขสองหลักอีก 20.6%
  • การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุน ช่วยให้อัตราการหดตัวลดลงเหลือ 8%
  • การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังมีแนวโน้มทางด้านลบ โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1.2%

รูปที่ 1: อัตราการเติบโตของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

positive-signs-from-china-Fig1

สถิติเพิ่มเติมในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมนี้ ยกตัวอย่างเช่น ตัวเลขการหดตัวแบบ y-o-y ของจำนวนโครงการที่เริ่มก่อสร้างและยอดขายในภาคอสังหาริมทรัพย์ ลดลงเหลือ 10% และ 14% ตามลำดับในเดือนมีนาคม - ซึ่งต่ำกว่าอัตราการหดตัว 45% และ 40% ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ (ดูรูปที่ 2) นอกจากนี้ ในรายงานที่ชี้ถึงสัญญาณบวกมากขึ้นอย่างจำนวนชั้นที่สร้างเสร็จของอาคารที่กำลังก่อสร้างในเดือนมีนาคม ลดลงแค่เพียง 0.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวของกิจกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์

รูปที่ 2 : อัตราการเติบโตของจำนวนโครงการที่เริ่มก่อสร้างและยอดขายในภาคอสังหาริมทรัพย์

positive-signs-from-china-Fig2

การฟื้นตัวของกิจกรรมในภาคการลงทุนในเดือนเมษายนจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากการกลับมาเริ่มต้นทำงานและการเร่งผลักดันมาตรการออกพันธบัตรพิเศษโดยรัฐบาลท้องถิ่น ความคืบหน้าดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมรัฐบาลกลางจึงยังคงมีความระมัดระวังและงดเว้นท่าทีที่จะต่ออายุนโยบายเชิงรุกในเดือนหลังๆ

แนวโน้มด้านนโยบาย: มาตรการควบคุมในภาคอสังหาริมทรัพย์จะผ่อนคลายลงหรือไม่?

ตอบง่ายๆ ว่าใช่ แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าในแต่ละเมืองจะมีการปรับปรุงเป้าหมายใหม่ แทนที่จะดำเนินการผ่อนคลายแบบครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ

แม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งจะผ่อนปรนหลายนโยบายสำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่หลายๆ แห่งกลับระงับใช้อย่างรวดเร็ว นั่นแสดงให้เห็นว่าจุดยืนด้านนโยบายในระยะยาวยังคงอยู่ที่ 'บ้านเพื่อการอยู่อาศัย ไม่ใช่เพื่อเก็งกำไร' การปรับลดดอกเบี้ยแบบไม่สมดุลของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท Loan Prime Rate (LPR) จากการการปรับลดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปีลง 20 basis points (จาก 4.05% เป็น 3.85%) และปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว 5 ปีลง 10 basis points (จาก 4.75% เป็น 4.65%) ได้ส่งผลกระทบต่อสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย2 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าการผ่อนคลายนโยบายในด้านการซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศนั้นไม่น่ามีความเป็นไปได้

พัฒนาการดังกล่าวไม่ได้หมายความว่านโยบายด้านอสังหาริมทรัพย์จะมีการคุมเข้มเหมือนอย่างเช่นในปีที่แล้ว แต่เป็นความจริงที่เรียบง่ายนั่นก็คือ เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันในฝั่งขาลงมากขึ้น และรัฐบาลท้องถิ่นจะถูกกระตุ้นให้ดำเนินการทดสอบผลกระทบของมาตรการด้านที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลาง ในขณะเดียวกัน การผ่อนคลายทางการเงินที่มากขึ้น การปล่อยวงเงินสินเชื่อที่ง่ายขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง จะประสานกันส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อกิจกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่?

แรงฉุดที่น่าจะเกิดขึ้นจากภาคการส่งออกนั้นยังคงไม่ปรากฏชัด เนื่องจากประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่เริ่มมาตรการ Lockdown ในเดือนมีนาคม ดังนั้น ข้อมูลการส่งออกในไตรมาสแรกจึงยังไม่ได้ทำให้เห็นภาพรวมของผลกระทบจากการดำดิ่งลงของเศรษฐกิจโลก โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมมีข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการที่แสดงให้เห็นว่ามีการยกเลิกคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าผลกระทบจากภายนอกที่มีต่อภาคส่งออกนั้นน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

การที่รัฐบาลกลางกำหนดวาระเรื่อง 'การจ้างงาน' ไว้เหนือภารกิจ 'เสถียรภาพ 6 ด้าน' และ 'ความมั่นคง 6 ประการ' จึงดูเหมือนว่า 'การจ้างงาน' น่าจะเข้ามาแทนที่ 'การเติบโตของ GDP' ในการพิจารณาวาระเร่งด่วนทางเศรษฐกิจอย่างค่อนข้างแน่นอนแล้วในปีนี้ แม้ว่าอัตราการว่างงานในเมืองมีแนวโน้มลดลงในเดือนมีนาคม มากกว่าการลดลงที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ แต่กลุ่มส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้นยังคงถูกกดดัน อัตราการว่างงานที่เป็นไปได้ว่าจะสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ภาคครัวเรือนรวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจ ดังนั้น ข้อมูลในอนาคตจากทั้งภาคการส่งออกและตลาดแรงงาน จะเป็นตัวช่วยชี้วัดถึงความรวดเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนต่อไป

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 China’s National Bureau of Statistics.
2 Reuters: China cuts key rate for second time this year, more easing likely, 20 April 2020.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.