ยกระดับมาตรการคุม ADR : ข่าวดีสำหรับฮ่องกง

การใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นต่อ ADRs ของจีน ท่ามกลางสถานการณ์ที่กลับมาตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน จะช่วยเร่งกระแสการเข้าจดทะเบียนแบบควบสองตลาดหรือ dual listing ในตลาดฮ่องกง ขณะผลกระทบทางด้านราคาต่อ ADRs ของจีนที่มีอยู่นั้นอาจเลือนหายไปอย่างน่าแปลกใจ

วุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของบริษัทโฮลดิ้งจากต่างประเทศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2020 ซึ่งเป็นการคุมเข้มมากขึ้นในตราสารประเภท American Depositary Receipts หรือ ADRs กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ในสหรัฐต้องรับรองว่าไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลต่างประเทศ โดยบริษัทอาจถูกระงับหรือเพิกถอนออกจากตลาดหากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตรวจสอบโดยคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการบัญชีของบริษัทมหาชน หรือ PCAOB เป็นระยะเวลาสามปีติดต่อกัน

การเข้าจดทะเบียนในตลาดสหรัฐถือเป็นวิธีการระดมทุนที่นิยมกันในหมู่บริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน นั่นเป็นเพราะว่าการมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในประเทศตน กฎหมายฉบับนี้หากผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและลงนามโดยประธานาธิบดีทรัมป์แล้วก็อาจส่งผลให้ ADRs ของจีนถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ เนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลกรุงปักกิ่งกีดกันมิให้ PCAOB ดำเนินการตรวจสอบประวัติทางบัญชีของบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในจีนและฮ่องกง

ไม่แปลกใจ

กฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจนักเนื่องจากมีการหารือเกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่เข้มงวดมากขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีแรงกระตุ้นซึ่งได้แก่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐกับจีนที่เพิ่มขึ้นก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐ (และภายหลังการระบาดของโคโรนาไวรัส) รวมถึงเรื่องอื้อฉาวทางด้านบัญชีล่าสุดในกรณีของ Lukin Coffee ที่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐซึ่งได้เข้ามาเป็นปัจจัยกระตุ้นเพิ่มเติมด้วย

มีหลายบริษัทของจีนที่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐอย่างเช่น อาลีบาบา ได้หันมาจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงเมื่อปีที่แล้วเพื่อขยายฐานนักลงทุนและลดความเสี่ยง ซึ่งการผ่านกฎหมายในวุฒิสภาเมื่อเร็วๆ นี้ มีแนวโน้มที่จะบีบให้บริษัทอื่นๆ ดำเนินการในแบบเดียวกัน

ผลกระทบที่เลือนหาย

ปัจจุบันมีตราสาร ADRs ของจีนจำนวน 233 หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐฯ (เฉพาะการระดมทุนในตลาดแรกหรือ primary listings) โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 3.3% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของสหรัฐและ 8% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของจีนทั้งหมด

โดยในบรรดาตราสาร ADRs นั้น มีบริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของอยู่ประมาณ 11 แห่ง1 ซึ่งอาจได้รับผลกระทบหากข้อเสนอด้านกฎหมายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทขนาดใหญ่ของจีนบางแห่ง เช่น Petrochina, Sinopec และ China Life Insurance จะถูกบังคับให้ถอน ADRs ของตนออกจากตลาด แต่นั่นก็ไม่น่าจะมีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัทเหล่านี้

ยกตัวอย่างเช่น ADRs ของ Petrochina ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.9% ของจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด และมีตราสารที่จดทะเบียนอยู่ในฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วน 52.1% ส่วน ADRs ของ China Life คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.1% ของจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด และมีตราสารที่จดทะเบียนอยู่ในฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วน 41.3%

ผลกระทบด้านราคาต่อ ADRs นั้นอาจอยู่เพียงแค่ระดับปานกลางเท่านั้น โดยมีการประเมินว่าผู้ลงทุนสหรัฐถือตราสาร ADRs ของจีนอยู่ประมาณ 350 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณหนึ่งในสามของตราสาร ADRs ทั้งหมด

ตามสมมติฐานนั้น อาจจะใช้เวลานานกว่า 200 วันที่ผู้ลงทุนสหรัฐจะลดการถือครอง ADRs ได้ครบทั้งหมด2 และถ้าหากออกมาเป็นกฎหมายแล้วก็อาจมีระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงนาน 3 ปีนับจากวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้เพื่อให้บริษัทที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม โดยช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้จะสามารถช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสภาพคล่องในตลาดและราคาหุ้นได้อีก

ผลกระทบด้านราคาของ ADRs ที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของในบางบริษัทนั้นอาจถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง ยกตัวอย่างในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่ามูลค่าการซื้อขาย ADRs ต่อวันของ China Life และ PetroChina เฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ ในทางกลับกันที่ตลาดฮ่องกงในช่วงเวลาเดียวกันพบว่ามีมูลค่าการซื้อขายต่อวันของ China Life และ PetroChina เฉลี่ยอยู่ที่ 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ3

การเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากตลาดอาจทำให้เกิดปัญหามากขึ้นสำหรับบริษัทเทคโนโลยีบางแห่งที่การจดทะเบียนในตลาดสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนที่สูงหากเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด แต่ถ้าหากพิจารณาถึงช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านนาน 3 ปี บริษัทเหล่านี้ซึ่งจดทะเบียนในปี 2018 อาจยังพอมีเวลาสำหรับการเจรจาต่อรอง / การปรับเปลี่ยนใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดีสำหรับฮ่องกง

การใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นต่อ ADRs ของจีน ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐกับจีนนั้น มีแนวโน้มที่จะเร่งกระแสการเข้าจดทะเบียนแบบควบสองตลาด (dual listing) ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงมากยิ่งขึ้น การจดทะเบียนของบริษัทที่มีชื่อเสียงด้วยโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ new economy ยังสามารถช่วยกระตุ้นมูลค่าการซื้อขายในตลาด ยกตัวอย่างเช่น Alibaba ซึ่งการจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.3% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของฮ่องกง แต่มีการซื้อขายสูงถึง 3-4% ของมูลค่าการซื้อขายรวมในตลาดในช่วง 90 วันที่ผ่านมา4

ในฮ่องกงเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศว่าดัชนี Hang Seng จะยอมรับบริษัทเข้าจดทะเบียนแบบ secondary listing และมีสิทธิในการออกเสียงแบบหลายระดับเป็นครั้งแรก ซึ่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 14 ปีนี้จะอนุญาตให้บริษัทต่างๆ อย่างเช่น Alibaba ถูกเข้ามารวมอยู่ในดัชนี ซึ่งจะช่วยให้ฮ่องกงกลายเป็นจุดหมายที่น่าดึงดูดในการเข้าจดทะเบียนมากยิ่งขึ้นสำหรับบรรดาบริษัทเทคโนโลยีของจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐในอนาคต

แนวโน้มการเข้าจดทะเบียนแบบควบสองตลาดถือเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อฮ่องกง หลังจากจำนวนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPOs) ลดลงอย่างมากในปีนี้ สำหรับปี 2020 จะนับเป็นครั้งแรกในรอบหกปีที่ฮ่องกงไม่ได้ติดอันดับหนึ่งในสามของการเป็นศูนย์กลางไอพีโอของโลก แต่ด้วยแนวโน้มที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจเข้ามาพลิกเปลี่ยนสถานการณ์ได้

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 US-China Economic Security Review Commission in 2019.
2 Goldman Sachs. Assuming that US investors account for 1/3 of the ADRs’ ADT.
3 As of 22 May 2020.
4 As of 22 May 2020.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.