ฝ่าพายุอย่างแข็งแกร่งด้วยพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชีย

แม้จะมีความผันผวนในระยะสั้น แต่เราเชื่อว่ามูลค่าพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียได้เข้าสู่ระดับที่น่าสนใจ หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ลงทุนที่มีกรอบการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว

การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของ Covid-19 พร้อมๆ กับสถานการณ์การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน ได้สร้างความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลกเมื่อเดือนมีนาคม ความผันผวนของตลาดเพิ่มขึ้นขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบหลายปี แม้แต่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐก็ไม่สามารถรอดพ้นจากความผันผวนไปได้ โดยในเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียวธนาคารกลางสหรัฐได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมากถึง 150 เบสิสพอยต์ (bps) ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.3% ก่อนที่จะพุ่งขึ้นมาอยู่ ณ ระดับ 1.2% เนื่องจากสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ลดลง ในขณะที่ผู้ลงทุนต่างต้องการถือเงินสดเพิ่มมากขึ้น

ในสถานการณ์นี้ พันธบัตรที่อยู่ในรูปสกุลเงินหลักของเอเชีย โดยเฉพาะพันธบัตรที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งถ้าเทียบตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมาพบว่าพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียลดลง 12%1 ในขณะที่พันธบัตรระดับ investment grade ของเอเชียลดลง 4%2 การลดลงของตลาดพันธบัตรผลตอบแทนสูง นำโดยกลุ่มตราสารที่มีค่าเบต้าสูงกว่าอย่างเช่น ตราสารหนี้ภาคเอกชนในอินโดนีเซีย เป็นต้น นอกจากนั้น ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยได้รับผลกระทบจากการดิ่งลงของราคาน้ำมัน และความกังวลเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

มูลค่าเริ่มปรากฏให้เห็น

เราเห็นว่าการเคลื่อนไหวของราคาล่าสุดในตลาดตราสารหนี้ของเอเชียนั้น เป็นไปอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ ซึ่งในช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลก หรือ Global Financial Crisis (GFC) จะใช้เวลาประมาณ 15 เดือนที่ Credit Spreads (ส่วนต่างอัตราผลตอบแทน) ของตราสารภาคเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูงของเอเชีย ได้เคลื่อนจากระดับที่อยู่แคบสุดขึ้นมาอยู่เหนือ 900 bps ขณะเดียวกัน ในช่วงวิกฤตหนี้ยุโรปจะพบว่าใช้เวลานาน 8 เดือนที่เครดิตสเปรดจะขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันนั้น แต่สำหรับสถานการณ์แรงขายในปัจจุบันได้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารภาคเอกชนผลตอบแทนสูงของเอเชียจะเพิ่มขึ้นมาอยู่สูงกว่า 900 bps จากระดับต่ำสุดขึ้นมาที่สูงสุด

ปัจจุบันพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึงเกือบ 10%3 ในขณะที่สภาวะตลาดที่กำลังดำเนินอยู่มีความแตกต่างและความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความรวดเร็วของการเทขายในขณะนี้จึงทำให้เกิดคำถามว่าการปรับฐานเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากเกินไปหรือไม่ ในขณะเดียวกัน Credit Spreads ของตราสารภาคเอกชนผลตอบแทนสูงของเอเชียยังไม่ขึ้นมาถึงจุดสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลก แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยในครั้งสุดท้ายที่ Credit Spreads เพิ่มขึ้นมาถึงระดับเหล่านี้ก็คือในช่วงวิกฤตหนี้ยุโรป ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1 : JACI High Yield Corporate spreads (basis points)4

weathering-through-the-storm-chart-01

ณ ระดับปัจจุบัน ตราสารภาคเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูงของเอเชียได้สะท้อนอยู่ในราคาแล้วถึงการมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่า 10% (สมมติอัตราการฟื้นตัวอยู่ที่ 20%) ดูรูปที่ 2 ปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงเกินความจริงเมื่อดูจากขนาดความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วง GFC ซึ่งข้อมูลในปีนั้นพบว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารที่ให้ผลตอบแทนสูงของเอเชียอยู่ที่ประมาณ 9% เท่านั้น

รูปที่ 2: JACI High Yield Corporate Spread – Implied annual default rate5

weathering-through-the-storm-chart-02

Credit Spreads ของเอเชียจะกว้างขึ้นถึงระดับไหน?

แม้จะมีความผันผวนในระยะสั้น แต่เราเชื่อว่ามูลค่าพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียได้ถึงระดับที่น่าสนใจหากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ลงทุนที่มีกรอบการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยนับตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2005 ผู้ลงทุนที่เข้าตลาดที่ระดับ Spreads สูงกว่า 800 bps จะได้รับผลตอบแทนรวมเฉลี่ย 16% ต่อปี อิงจากวิธีการลงทุนแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี6

ยิ่งไปกว่านั้น เราเชื่อว่ามีความแตกต่างที่สำคัญซึ่งทำให้สถานการณ์ตลาดในปัจจุบันไม่เหมือนเมื่อครั้ง GFC ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้บ่งชี้ว่า Spreads ของพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะกลับสู่ระดับที่เคยเห็น ณ ช่วงเวลาที่สุกงอมที่สุดของ GFC การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของผู้ลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งก่อนปี 2008 ผู้ลงทุนชาวเอเชียคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า 50% ที่ถือพันธบัตรของภูมิภาค แต่ในวันนี้ มีการกระจายให้กับผู้ลงทุนในเอเชียคิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของการออกพันธบัตรใหม่ ดูรูปที่ 3 เราเชื่อว่าฐานผู้ลงทุนขนาดใหญ่ในเอเชียอาจช่วยบรรเทาแรงขายจากกองทุนข้ามชาติหรือผู้ลงทุนประเภทเก็งกำไรนอกภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาจขายการลงทุนที่ไม่ใช่ benchmark ในพอร์ตการลงทุนของพวกเขาออกไปได้อย่างรวดเร็วกว่า ความคุ้นเคยของผู้ลงทุนเอเชียต่อภูมิภาคและผู้ออกพันธบัตร ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการขายแบบที่ไม่ได้มีการไตร่ตรองเมื่อเห็นสัญญาณแรกที่ชี้ถึงความอ่อนแอของตลาด

รูปที่ 3: สัดส่วนราว 80% ของตราสารหนี้ภาคเอกชนของเอเชีย ถือโดยผู้ลงทุนที่มีฐานอยู่ภายในภูมิภาค7

weathering-through-the-storm-chart-03

ในด้านเศรษฐกิจมหภาค เราตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับระยะเวลาและความรุนแรงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 แต่ก็มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจาก GFC วิกฤตในครั้งนั้นเป็นปัญหาเชิงระบบที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน อันเกิดจากการล่มสลายของระบบการเงินจนส่งผลกระทบลุกลามมาสู่ภาคเศรษฐกิจจริง ซึ่งมาในวันนี้ ธนาคารทั่วโลกต่างมีการพึ่งพาการก่อหนี้ลดน้อยลงและมีระบบการควบคุมที่ดีขึ้นมาก

การชะลอตัวลงอย่างรุนแรงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบันเป็นผลมาจากมาตรการกักกันผู้คนทั้งแบบบังคับและเลือกที่จะปฏิบัติเอง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาคธุรกิจและครัวเรือน ทั้งนี้ ระดับความตึงเครียดที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจและครัวเรือน ตลอดจนลักษณะของการฟื้นตัวนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของไวรัสที่กำลังดำเนินอยู่

เรายังคงคาดหวังว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของไวรัสที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงชั่วคราว

และอาจมีการฟื้นตัวได้เมื่อเราเห็นสัญญาณเข้าควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศเศรษฐกิจหลักๆ รัฐบาลทั่วโลกได้ออกมาตรการทางนโยบายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการระบาด สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้หลายๆ บริษัทฟันฝ่าความท้าทายทั้งหลายในระยะสั้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการทางการคลังระยะที่ 3 มูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการโอนเงินสดไปยังภาคครัวเรือนโดยตรง ตลอดจนการเปิดตัวโครงการให้กู้ยืมและปล่อยสินเชื่อที่มีรัฐบาลค้ำประกันให้แก่ภาคธุรกิจ

ธนาคารกลางสหรัฐได้ออกหลายมาตรการเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมและจัดหาสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด ส่วนในเอเชียก็ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างเร่งด่วน ซึ่งในบางประเทศได้ปรับลดดอกเบี้ยลงจนทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีการดำเนินมาตรการทางการคลังในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วย

ประสบการณ์ของจีนในการจัดการกับไวรัสยังทำให้เราคาดหวังว่าอุปสรรคต่อการเติบโตซึ่งแม้จะรุนแรงแต่ก็อาจเป็นเพียงชั่วคราวหากสามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะนี้เรากำลังเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนค่อยๆ กลับมาเดินหน้าต่อ การใช้พลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นรวมทั้งยอดขายอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนกิจกรรมในภาคก่อสร้างก็ได้กลับมาเริ่มดำเนินการต่อเช่นกัน

แม้ว่าจะเป็นที่ถกเถียงกันว่าความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือไม่ ข้อมูลในอดีตแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ว่าตราสารหนี้ของเอเชียจะขึ้นนำการฟื้นตัวก่อนตลาดหุ้น เหมือนอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในช่วง GFC รูปที่ 4 แสดงให้เห็นว่าตลาดพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชีย นำหน้าตลาดหุ้นอยู่ถึง 3 เดือน ดัชนี S&P 500 ลดลงสู่จุดต่ำสุดในเดือนมีนาคม 2009 ในขณะที่พันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเร็วกว่ามาก นั่นคือในเดือนพฤศจิกายน 2008

รูปที่ 4: S&P 500 เทียบกับ JACI High Yield corporate index8

weathering-through-the-storm-chart-04

วิกฤตน้ำมัน?

นอกเหนือจากผลกระทบของ Covid-19 แล้ว ผู้ลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับการลดลงอย่างมากของราคาน้ำมันหลังจากมีการตัดสินใจของซาอุดิอาระเบียที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนอาจกังวลมากเกินไปจากข่าวที่เกิดขึ้น โดยตราสารหนี้ของธุรกิจน้ำมันและก๊าซคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า 2% ของตลาดพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียโดยรวม9 ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วน 12% ของสหรัฐอยู่มาก

หากดูระดับการเปิดรับความเสี่ยงต่อตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวเทียบกับพันธบัตรผลตอบแทนสูงที่เป็น Benchmark ของสหรัฐ 10 ดังนั้น ผลกระทบโดยตรงจากการลดลงของราคาน้ำมันต่อตลาดพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชียโดยรวม จึงคาดว่ายังอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้

ถ้าดูในระดับเศรษฐกิจมหภาค ภูมิภาคเอเชียมักจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากหลายประเทศเป็นผู้นำเข้าสุทธิในสินค้าพลังงาน ดูรูปที่ 5 ในขณะที่ราคาน้ำมันที่ลดลงในรอบนี้อาจไม่ช่วยหนุนการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเหมือนอย่างที่เคยเป็นในอดีต เนื่องจากกิจกรรมทางสังคมถูกงดเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ตาม การลดลงของต้นทุนน้ำมันจะช่วยเพิ่มเงินกองทุนให้แก่ภาครัฐ เปิดทางให้บางรัฐบาลมีอำนาจทางการคลังเหลือไว้ใช้รับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของไวรัส

รูปที่ 5: ผลกระทบต่อ GDP (%) จากการลดลงของราคาน้ำมันเบรนท์ จาก 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สู่ 35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล11

weathering-through-the-storm-chart-05

ความแตกต่างด้านเครดิตยังเป็นกุญแจสำคัญ

เราคาดว่าความผันผวนจะยังคงอยู่ในระดับสูงในระยะสั้น เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่อ่อนแอ ความกังวลต่อการเติบโต และแรงขายจากผู้ลงทุนที่ถูกเรียก Margins ซึ่งส่งผลฉุดตลาดพันธบัตรผลตอบแทนสูงของเอเชีย ขณะที่การชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้เกิดกระแสการปรับลดอันดับเครดิต ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ที่อ่อนแอและมีกำหนดชำระในระยะเวลาอันใกล้อาจต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินทุน

ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ เราเชื่อว่าการติดตามอย่างใกล้ชิดของผู้ออกตราสารของเราในเรื่องแนวโน้มผลประกอบการและการเข้าถึงสภาพคล่อง รวมถึงการทดสอบภาวะตึงเครียดต่อสมมติฐานเหล่านี้ (stress testing) ล้วนมีความสำคัญ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของตลาดโดยรวมจะยังคงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ในช่วงปีข้างหน้า ด้วยตัวเลขอัตราการผิดนัดชำระที่เพิ่มขึ้นเพียงระดับปานกลางจากการคาดการณ์ของตลาดที่ 2-3% ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้จะลดลงได้บางส่วนเนื่องจากมีมาตรการสนับสนุนทางนโยบายดังที่กล่าวไปแล้ว เช่นเดียวกับความต้องการทางการเงินที่ยังสามารถบริหารจัดการได้สำหรับผู้ออกตราสารส่วนใหญ่ที่อยู่ภายใต้การพิจารณาของเรา

สำหรับผู้ลงทุนระยะยาว มีสิ่งสำคัญเมื่อเกิดการขายแบบที่ไม่ได้มีการไตร่ตรองอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือการสร้างจุดเข้าที่น่าดึงดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทผู้ออกตราสารซึ่งเราเชื่อว่ามีความสามารถในการฟันฝ่าความท้าทายในปัจจุบันไปได้ ดังนั้น เรามีแนวโน้มที่จะเพิ่มค่าเบต้าเข้าไปในพอร์ตโฟลิโอในขณะที่ทำการคัดเลือกเพิ่มตราสารหนี้ที่เรามองว่าถูกขายออกมามากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น เราได้ปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องสำหรับพันธบัตรผลตอบแทนสูงของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่เรามีมุมมอง overweight ซึ่งเรายังคงพอใจกับแนวโน้มปัจจัยพื้นฐาน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าสัญญาณการฟื้นตัวของยอดขายในภาคอสังหาริมทรัพย์และกิจกรรมในภาคก่อสร้างของจีนเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์ไวรัสสามารถทรงตัวได้และมีมาตรการที่เข้ามาช่วยสนับสนุน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงต่างเปิดเผยตัวเลขยอดขายบ้านรายสัปดาห์ที่ออกมาดีขึ้น นอกจากนี้ เรายังไม่เห็นความเสี่ยงในการรีไฟแนนซ์จะเกิดขึ้นในระยะใกล้นี้เนื่องจากผู้ออกตราสารส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนในด้านความต้องการรีไฟแนนซ์มาก่อนล่วงหน้าแล้วอย่างน้อยจนถึงไตรมาสที่สามของปีนี้ ในขณะเดียวกัน สถานการณ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายในประเทศก็บรรเทาลงด้วยเช่นกัน

วิธีการลงทุนในกองทุน Eastspring โปรดระบุตลาดของคุณเพื่อเลือกกองทุนที่น่าสนใจ

โปรดเลือกรายการในวิดเจ็ตแบนเนอร์เพื่อแสดงบทความ

Sources:
1 Bloomberg. As of 27 March 2020.
2 Bloomberg. As of 27 March 2020.
3 Bloomberg. As of 27 March 2020.
4 Source: Eastspring Investments, Bloomberg, JPMorgan, March 2020, based on weekly data.
5 Eastspring Investments, Bloomberg, JPMorgan, 27 March 2020, based on weekly data.
6 Using historical JPMorgan Asia Credit – Non-Investment Grade index spreads over treasuries as a proxy, from end September 2005 to 27 March 2020, using weekly data.
7 Bloomberg, EMDB, Morgan Stanley Research. Data as of 31 December 2019.
8 Bloomberg, Eastspring Investments. March 2020.
9 JPMorgan Asia Credit Non-Investment Grade Index
10 ICE BofAML US High Yield Index.
11 JPMorgan estimates, 13 March 2020; GDP weighted, assumes no changes to existing subsidies/tax policies.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.