ฉันจะช่วยลูกได้อย่างไร?

บทเรียนเรื่องเงินสำหรับลูก ที่นำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

ทักษะทางการเงินสำหรับลูกเริ่มได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเริ่มตั้งแต่อายุเท่านี้ ความรู้ของลูกก็จะมีแต่เพิ่มกับเพิ่ม เรื่องเงินก็เช่นเดียวกัน

5-things-that-parents-do-that-children-will-copy-fig-1

เราเคยพูดเล่นว่า พ่อของเราเป็นต้นไม้เงิน ไม่ต้องออมเงินหรือหาเงินหรอก ถ้าอยากได้ของเล่นสักชิ้นนะ ก็แค่ไปเขย่าต้นไม้เงินสูงใหญ่ต้นนี้ และแน่นอน ความจริงก็คือ เงินไม่ได้งอกออกมาจากต้นไม้

และอีกอย่างที่เป็นเรื่องจริงเหมือนกันก็คือ เด็กต้องเรียนรู้ความสำคัญของการออมเงิน คุณค่าของการบากบั่นทำงาน และผลที่เกิดจากการตอบแทนสังคม ยิ่งไปกว่านั้น ในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มันยิ่งจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เราต้องสอนลูกให้รู้ถึงอำนาจและคุณค่าที่แท้จริงของเงิน

แต่จะเริ่มตรงไหนดีล่ะ ลูกจะเข้าใจแนวคิดเรื่องเงินไหม แล้วจะทำยังไงเพื่อปลูกฝังนิสัยดีๆ ที่ลูกสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิตล่ะ

ทักษะทางการเงินในเด็ก

ก่อนอื่นเลย เรามีข่าวดีมากบอก คุณเองน่าจะเริ่มต้นได้สวยแล้วนะ ในการศึกษาเกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินในเอเชีย ที่จัดทำโดยอีสต์สปริง อินเวสต์เมนต์ส ซึ่งสำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองในเก้าประเทศกลุ่มอาเซียน พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง 95% เชื่อว่าการสอนลูกเรื่องเงิน ซึ่งคือการสอนให้ลูกรู้จักใช้เงินและจัดการเงินนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

พ่อแม่ผู้ปกครองแต่ละคนอาจจะมีรูปแบบการสื่อสารเรื่องนี้ที่ไม่เหมือนกัน หรือก็คือการสอนลูกเรื่องเงินที่ไม่เหมือนกันนั่นแหละ แต่นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเลย ในฐานะที่พ่อแม่ผู้ปกครองคือบุคคลต้นแบบคนแรกของลูก

เริ่มสอนลูกเรื่องเงินได้ตอนไหนล่ะ

โดยทั่วไปแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย (จำนวน 65% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม) สอนลูกเรื่องเงินตอนอายุสิบขวบหรือน้อยกว่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับตอนที่ลูกเริ่มไปโรงเรียนและการจัดการการเงินกลายเป็นสิ่งสำคัญ

แต่จริงๆ แล้ว ถ้าถามว่า “ควรสอนลูกตอนไหนดีล่ะ” ก็ขอตอบแบบง่ายๆ เลยว่า “ยิ่งสอนได้เร็วก็ยิ่งดี” เด็กอายุสามถึงห้าขวบสามารถเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับเงิน และคุณอาจจะทึ่งที่เห็นว่าลูกเข้าใจได้มากแค่ไหน

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่จัดทำโดยมันนีแอดไวซ์เซอร์วิซของสหราชอาณาจักร นิสัยทางการเงินถูกสร้างขึ้นตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ

money-lessons-for-children-that-will-last-a-lifetime-fig-1

สอนเรื่องคุณค่าของเงิน กระปุกออมสินยุคใหม่

ก่อนคุณจะบอกรายละเอียดที่ซับซ้อนของพอร์ตการลงทุนให้ลูกตัวน้อยฟัง จุดเริ่มต้นที่ดีก็คือกระปุกออมสินน่ารักหรือขวดโหลสำหรับเงินออม ผลสำรวจการสอนลูกเรื่องเงินชี้ว่า มีพ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชียทำแบบนี้แล้ว 47%

ในขณะที่ลูกยังเด็ก บทเรียนที่คุณอยากให้ลูกเรียนรู้ก็คือ ให้ลูกรู้ว่าเงินเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ และนั่นเป็นเหตุผลให้คิดก่อนที่จะซื้อของ

ในการสอนเรื่องนี้ คุณอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกระปุกออมสินให้มันดูทันสมัยสักหน่อยนะ โดยให้มีขวดโหลสามอันแทน แล้วให้ลูกเขียนแปะแต่ละใบว่า “อดออม” “ใช้จ่าย” และ “แบ่งปัน”

ขวดที่เขียนว่า “อดออม” จะสอนให้ลูกรู้ว่าการออมเงินนั้นสนุกและคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการเอาเงินทั้งหมดไปซื้อของเล่นและไอศกรีม ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาสำหรับผู้ใหญ่เหมือนกันนะ

ขวดโหลที่เขียนว่า “ใช้จ่าย” เป็นสิ่งที่สอนลูกให้รู้จักอำนาจของเงิน เมื่อลูกรู้ว่าเงินมีอำนาจที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการและความจำเป็น ลูกก็จะเรียนรู้ว่าเงินมีประโยชน์แค่ไหน

ท้ายที่สุด ขวดโหลที่เขียนว่า “แบ่งปัน” ขวดนี้ทำให้ลูกเรียนรู้บทเรียนสำคัญ อย่างเช่น ตำแหน่งแห่งหนของตัวเองในชุมชน หรือบ่อยครั้งก็จะเรียนรู้ว่า ยิ่งให้ก็ยิ่งได้

มีบทเรียนเรื่องเงินที่นำไปใช้ได้ตลอดชีวิตอีก

ขวดโหลทั้งสามเป็นแค่จุดเริ่มต้น ยังมีอีกหลายทางเพื่อสอนลูกเรื่องเงิน ถ้าคุณสามารถทำเรื่องเงินให้เป็นสิ่งปกติในชีวิตของลูกได้ มันจะเป็นประโยชน์กับทั้งลูกและตัตวคุณในอนาคต เหมือนกับการลงทุนอย่างชาญฉลาดเลย

ช่วงทารกและช่วงอนุบาล

  1. ให้ค่าขนมลูก คุณเริ่มให้ค่าขนมลูกได้ตอนที่ลูกเข้าเรียน หรือให้ตอนอายุน้อยกว่านั้นก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเยอะแยะมากมายอะไร จุดประสงค์ของการให้เงินค่าขนมตั้งแต่อายุยังน้อย ก็เพื่อให้ลูกคุ้นชินกับการมีเงินติดตัว
  2. เล่นสวมบทบาท ในช่วงเวลาเล่นของลูก ลองจำลองว่าอยู่ที่ร้านอาหารและทำเป็นจ่ายค่าอาหารดู ไม่ก็เล่นจำลองการไปซื้อของข้างนอก หรือจะให้ลูกนั่งตักแล้วซื้อของผ่านทางออนไลน์ไปด้วยกันก็ได้นะ

ช่วงประถมฯ

  1. วิชางบใช้จ่ายเบื้องต้น พอลูกของคุณเข้าเรียนชั้นประถมฯ คุณอาจจะให้ค่าขนมลูกก้อนใหญ่สำหรับใช้ทั้งสัปดาห์ หรือจะให้เป็นรายเดือนก็ยังได้ ถ้าคุณคิดว่าลูกจัดการไหวนะ การทำแบบนี้จะสอนให้ลูกจัดการงบใช้จ่าย และถ้าเกิดว่าลูกของคุณใช้วันเดียวหมดละก็ แข็งใจไว้นะ อย่าให้ลูกยืมเงิน
  2. เปิดบัญชีธนาคาร การสำรวจเกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินทำให้เห็นว่า พ่อแม่ผู้ปกครอง 48% เปิดบัญชีออมเงินให้ลูกแล้ว นี่เป็นวิธีง่ายๆ ในการสอนลูกช่วงวัยเด็ก ให้รู้จักวิธีทำให้เงินงอกเงย
  3. ตั้งเป้าหมาย สิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกคุณออมเงินมากที่สุด ก็คือเป้าหมายส่วนตัวของลูกคุณเอง เราแค่คอยดูว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้จริง ถ้าเป้าหมายของลูกออกจะแพงไปนิด ก็ลองใช้แผนอัดฉีด อย่างเช่น ลูกออมเงินได้เท่าไหร่ ก็จะสมทบให้อีกเท่าตัว นี่เป็นวิธีง่ายๆ ในการสอนลูกว่า การออมเงินทำให้เงินเพิ่มพูน
  4. เปลี่ยนงานบ้านให้เป็นเงิน สอนลูกของคุณให้เห็นค่าของการบากบั่นทำงาน ด้วยการกำหนดมูลค่าทางการเงิน ให้กับงานบ้านที่ทำอยู่ในบ้าน นี่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการให้เด็กเรียนรู้วิธีหาเงินด้วยตัวเอง และพ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย 33% ก็ใช้วิธีนี้

และยิ่งไปกว่านั้น

  1. คุยเรื่องเงินในระดับสูงขึ้นไปอีก พอลูกของคุณเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ให้ปรับการคุยเรื่องเงินที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว พัฒนาให้สมกับวัยที่โตขึ้น กระตุ้นให้ลูกของคุณออมเงินด้วยการสอนให้รู้จักกับพลังของดอกเบี้ยทบต้น คุณอาจจะลองทำตัวเป็นธนาคารก็ได้ ให้ลูกเอาเงินมาฝากไว้ที่คุณ แล้วหลังจากครบกำหนด คุณก็คืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย
  2. สนับสนุนให้ลูกมีงานเสริม ไม่กำหนดว่าต้องเป็นงานไหน ลูกของคุณทำงานในร้านอาหารจานด่วน เสิร์ฟอาหาร หรือพนักงานดูแลร้านก็ได้ ประเด็นอยู่ที่การสอนให้ลูกวัยรุ่นของคุณรู้ว่า ทุกงานมีศักดิ์ศรีเหมือนกัน
  3. การลงทุนจำลอง ผลลัพธ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการ หลังจากสอนลูกเรื่องเงินก็คือ ให้ลูกรู้วิธีการทำให้เงินงอกเงย และถ้าคุณเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแบบนี้ คุณก็สามารถสอนลูกวัยหนุ่มสาวให้ลงในทุนในหุ้นด้วยการทดลองก่อน ให้ลูกเขียนลงกระดาษ ใส่ตัวเลขจำลองการลงทุนจากหุ้นจริงๆ แล้วคอยติดตามพอร์ตการลงทุนของลูกและให้รางวัลตอบแทนถ้าลูกทำได้ดี พอลูกพร้อมแล้ว ก็ให้เริ่มลงทุนจริง โดยเริ่มจากเงินจำนวนน้อยๆ ก่อน

บทเรียนเรื่องเงินสามารถเริ่มตอนลูกยังเล็กมากๆ ได้ และควรจะพัฒนาไปตามระดับวุฒิภาวะของลูก จากการสั่งสอนอย่างสม่ำเสมอของคุณ ลูกของคุณจะได้เรียนรู้วิธีที่เหมาะสมในการจัดการเงิน และพร้อมสำหรับชีวิตในวัยผู้ใหญ่

6.ไม่คุยเรื่องเงินเลย

พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนเลือกที่จะไม่คุยเรื่องเงินกับลูกเลย

สิ่งที่ลูกได้ยิน

ถ้าคุณไม่พูดอะไรเลย ลูกคุณก็จะถูกปล่อยให้ตีความเอาเองว่ามันหมายความว่ายังไง ลูกอาจจะมีความคิดและค่านิยมผิดๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อมุมมองและวิธีจัดการเงินเมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่

คุณควรพูดอะไรแทน

เมื่อไม่พูดเรื่องเงินกับลูก ผลลัพธ์แบบที่เลวร้ายน้อยที่สุดก็คือ ถือว่าพลาดโอกาสสอนลูกในเรื่องที่สำคัญ ส่วนแบบที่เลวร้ายที่สุดคือ มันอาจจะทำให้มีค่านิยมผิดๆ เกี่ยวกับเงิน ดังนั้นให้คุณใช้เวลาสอนลูกเรื่องเงินโดยใช้คำพูดที่เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกมีค่านิยมที่ดีและเป็นบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริงตลอดชีวิต

รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมตามบุคลิกลักษณะของคุณ

การวิเคราะห์โดยละเอียด ลิงก์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาล่าสุด

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.