การสอนลูกเรื่องเงินคืออะไร?

เรียนรู้วิธีสอนลูกเรื่องเงิน คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย

พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนรู้ว่าสักวันหนึ่ง เราก็ต้องเริ่มสอนลูกเรื่องการใช้เงิน แต่จะเกิดคำถามว่า เริ่มตอนไหน สอนยังไง และเรามีความรู้มากพอที่จะสอนลูกไหม ลองอ่านข้อแนะนำที่มีประโยชน์เพื่อสอนลูกๆ ของคุณ ในเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับเงิน และเสริมความรู้ของคุณในด้านนี้ไปพร้อมๆ กันสิ

what-is-money-parenting-why-is-it-important-0

คุณเคยได้ยินเรื่องสอนลูกเรื่องเงินไหม อย่าเพิ่งตกใจไปนะ เราไม่ได้พูดถึงการตามใจลูก หรือทำให้การสอนลูกกลายเป็นเรื่องเงินไปซะทั้งหมดหรอก ก่อนที่เราจะเริ่มอธิบาย ขอเล่าเรื่องให้ฟังสั้นๆ นะ

ฉันเป็นคุณแม่ลูกสาม วัย 35 ที่เชื่อว่า การปลูกฝังนิสัยทางการเงินที่ดีให้กับลูก เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะแบบนี้ เราจึงเริ่มให้ลูกเตรียมพร้อมตั้งแต่อายุสามขวบ และการได้เห็นลูกเรียนรู้จากเด็กด้วยกัน ก็เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆ

ตอนฉันยังเล็ก คุณพ่อเคยพูดประโยคจากนิยายเรื่องเดวิดคอปเปอร์ฟิลด์ ของชาลส์ ดิกเกนส์ ใจความประมาณว่า “ถ้าคุณมีรายได้ 20 ดอลลาร์ และมีรายจ่าย 19.98 ดอลลาร์ นั่นคือคุณเป็นสุข แต่ถ้ามีรายได้ 20 ดอลลาร์ และมีรายจ่าย 20.02 ดอลลาร์ คุณเป็นทุกข์แน่”

คุณพ่อพูดเรื่องนี้ให้ฟัง ตอนที่ฉันพยายามตามประสาเด็ก ที่จะหยิบยืมเงินค่าขนมในช่วงอนุบาลมาใช้ เพราะฉันอยากซื้อของชิ้นหนึ่งจากร้านหนังสือของโรงเรียนมากๆ แทนที่คุณพ่อจะยอมให้ตามที่ขอ ท่านกลับเสนอตัวเลือกให้ฉันดังนี้

  1. เก็บเงิน เมื่อมีเงินพอค่อยซื้อ
  2. ลดรายจ่ายที่ใช้ไปกับสิ่งอื่น
  3. ออมเงิน แล้วพ่อจะให้ค่าขนมเพิ่ม ขึ้นอยู่กับเงินที่ออมได้
  4. ทำงานเพื่อค่าขนมที่เยอะกว่าเดิม (หมายถึงออกแรงช่วยงานบ้านน่ะ)

และแน่นอน จะเอาเงินอั่งเปามาใช้ไม่ได้เด็ดขาด เงินจากอั่งเปาต้องเก็บไว้ใช้ยามยาก ซึ่งตอนแปดขวบ ฉันก็ไม่รู้หรอกนะว่า “ยามยาก” มันคืออะไร

ฉันสงสัยว่าทำไมมันถึงเป็นเรื่องใหญ่โตอะไรนักหนากับการให้เงิน ทั้งๆ ที่ก็เห็นอยู่ว่าคุณพ่อไม่ได้ขัดสนอะไร แต่พอฉันโตขึ้น ฉันก็เข้าใจ ตอนนี้ฉันเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว มีภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต้องจ่าย มีลูกต้องเลี้ยง ฉันอยากขอบคุณความรู้เรื่องการเงินในวัยเด็กจริงๆ

what-is-money-parenting-why-is-it-important-1

การสอนลูกเรื่องเงินคืออะไร

การสอนลูกเรื่องเงินคือการสอนลูกเรื่องการเงิน และสอนเรื่องความรับผิดชอบทางสังคม ที่มาพร้อมกับการใช้จ่ายเงิน

มันคือวิธีที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองอย่างเรา ส่งต่อทัศนคติและความคิดเรื่องการเงินไปสู่ลูก โดยหวังว่าสิ่งนี้จะส่งผลต่อความสำเร็จทางการเงินของลูก

ทำไมการสอนลูกเรื่องเงินถึงสำคัญนัก

การคุยกับลูกเรื่องเงินเป็นสิ่งสำคัญ การบริหารเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก อย่างเช่น การจัดการเงินค่าขนมในช่วงปิดเทอม ดังนั้นจึงไม่มีทางหนีเรื่องนี้ได้เลย

ทักษะการบริหารเงินจะมีประโยชน์อย่างมาก ในตอนที่ลูกของคุณ โตพอที่จะมีปัญหาทางด้านการเงินให้กังวลจริงๆ

การพูดคุยกับลูกเรื่องเงิน และการปลูกฝังวิธีการที่ถูกต้องตั้งแต่ยังเล็ก เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้มั่นใจว่า ลูกของคุณจัดการเรื่องการเงินเป็น สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ก็คือการเตรียมตัวให้ลูกพร้อมรับมือกับอนาคตภายภาคหน้า

พ่อแม่ผู้ปกครองสนใจประเด็นไหน

อีสต์สปริง อินเวสต์เมนต์ส สำรวจข้อมูลในหัวข้อการสอนลูกเรื่องเงินในเอเชีย ในกลุ่มคน 10,000 คน จากเก้าประเทศในเอเชีย พบว่า 95% ของพ่อแม่ผู้ปกครอง เชื่อว่าการสอนลูกเรื่องการใช้เงินและบริหารเงิน เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงเรื่องการสอนลูกเรื่องเงิน ค่าความมั่นใจโดยเฉลี่ยของพ่อแม่ผู้ปกครอง อยู่ที่ 0.65 (จากคะแนนเต็มหนึ่ง ที่แปลว่ามั่นใจสุดๆ) ประเด็นที่พ่อแม่ผู้ปกครองกังวลก็คือ

  • ไม่รู้วิธีสอนลูกเรื่องเงินให้ประสบความสำเร็จ
  • อยากได้ข้อมูลความรู้ ข้อมูลเชิงลึก และเครื่องมือที่จะช่วยแนะนำลูกได้ดีขึ้น
  • อยากรู้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองคนอื่นๆ ทำอะไร เพื่อที่จะได้เรียนรู้และแบ่งปันคำแนะนำในการสอนให้ประสบความสำเร็จ

ผลที่ได้ก็คือ บ่อยครั้งที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่รู้ว่าตนเองประสบความสำเร็จแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไม่มีตัวบ่งชี้ว่าสิ่งที่ทำไป ได้ผลมากน้อยแค่ไหน

คำแนะนำ 5 ข้อ สำหรับการสอนลูกเรื่องเงิน

นี่คือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เริ่มต้นได้ดีในการสอนลูกเรื่องเงิน

what-is-money-parenting-why-is-it-important-2

1. เริ่มตั้งแต่ยังเล็ก

ผลการวิจัยชี้ว่า วัยที่เหมาะจะเริ่มสอนลูกเรื่องนี้ก็คือ ตอนลูกอายุสามขวบ พออายุได้สี่หรือห้าขวบ คุณก็อธิบายความสำคัญของนิสัยการใช้จ่ายที่ดี และพออายุเจ็ดขวบ ก็เริ่มให้ลูกมีบัญชีเงินออมได้

2. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

คุณคือครูคนแรกและครูที่ดีที่สุดของลูก เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีปัญหาด้านการเงิน ก็ไม่ควรใช้เงินฟุ่มเฟือยเกินไป เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วยการชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนให้ตรงเวลา และคอยดูรายจ่ายอยู่เสมอ

3. เริ่มจากสิ่งเล็กๆ

ให้ลูกเริ่มจากเงินค่าขนมติดตัวเล็กๆ น้อยๆ และผลักดันให้ลูกหาเงินเพิ่ม ช่วยให้ลูกเข้าใจขีดจำกัดทางการเงินของตนเอง สิ่งนี้ยังจะช่วยสอนลูกให้รู้จักประหยัดอดออมอีกด้วย

4. ให้ลูกลงแรง

คุณคงไม่อยากให้ลูกโตขึ้น แล้วมาตั้งคำถามว่า ทำไมต้องทำงานเพื่อสิ่งที่เคยได้มาฟรีๆ ด้วยล่ะ แทนที่จะให้เงินค่าขนมฟรีๆ การให้ทำเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น จัดเตรียมโต๊ะกินข้าวเพื่อหาเงินค่าขนม ก็สามารถช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องเงินได้ เด็กที่ทำงานเพื่อหาเงินจะเห็นคุณค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้ และนี่จะช่วยลบจินตนาการที่ว่าเงินงอกออกมาจากต้นไม้ หรือหล่นลงมาจากฟ้าด้วย

5. ช่วยให้ลูกเก็บออม และทำให้เงินออมงอกเงย

ตอนที่ลูกยังเด็กมากๆ ให้เริ่มจากกระปุกออมสิน แนะนำให้ลูกหยอดกระปุกให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอลูกเข้าเรียนชั้นประถม ให้ลูกมีบัญชีเงินออมและอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าต้องทำอะไรบ้างกับบัญชีนี้

คุณสามารถปูแนวคิดเรื่องการลงทุนด้วยก็ได้ โดยการให้เงินสมทบเพิ่มเติมสำหรับเงินออมของลูก เริ่มต้นจากการออมสัก 50 ดอลลาร์ก็ได้ และเมื่อลูกเข้าสู่ช่วงก่อนวัยรุ่น ก็อาจจะพัฒนาเรื่องนี้ โดยการอธิบายเรื่องดอกเบี้ยทบต้น

เช่นเคย การทำให้ดูเป็นตัวอย่างนั้นสำคัญ คุณควรมีขวดโหลออมเงินและให้ลูกเห็นตอนที่คุณหยอดเงินใส่ลงไป ตอนออกไปซื้อของนอกบ้าน ก็สอนให้ลูกตัดสินใจอย่างชาญฉลาด และแยกแยะความแตกต่างของราคา

ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

นี่เป็นคำแนะนำเบื้องต้น แต่การสอนลูกเรื่องเงิน มันไม่มีสูตรตายตัวที่จะเหมาะกับทุกคน ถ้าคุณอยากรู้เกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินให้มากกว่านี้ ลองทำแบบทดสอบดูสิ เพื่อดูว่าคุณเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแบบไหน และรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับคุณ

คุณยังสามารถหาความรู้ด้านการจัดการการเงินเพิ่มเติมได้ ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ของอีสต์สปริงเรื่องการสอนลูกเรื่องเงิน หรือติดต่อเพื่อหาผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงิน

ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการสอนลูกเรื่องเงิน ตัวคุณเองถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและความรู้ด้านการเงิน ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ลูกของคุณประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิต

รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมตามบุคลิกลักษณะของคุณ

การวิเคราะห์โดยละเอียด ลิงก์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาล่าสุด

Sources:
1 http://www.goodwealthonline.com/the-rules-of-responsible-financial-parenting/
2 http://www.goodwealthonline.com/the-rules-of-responsible-financial-parenting/
3 https://www.remembertowater.com/7-tips-for-good-financial-parenting/
4 https://www.opploans.com/oppu/articles/money-habits-parents-should-start-modeling/
5 https://windgatewealth.com/six-ways-to-teach-your-kids-about-saving-money/

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.