2020 Mid-Year Outlook: มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในจีน

จีนเป็นประเทศแรกที่กลับมาเปิดเศรษฐกิจของตนได้ใหม่อีกครั้งหลังผ่านพ้นช่วงของการล็อกดาวน์ แต่ในขณะที่ยังมีหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้น Michelle Qi หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการลงทุน ประจำสำนักงานนครเซี่ยงไฮ้ ได้ชูประเด็นที่ควรพิจารณาไว้ห้าประการสำหรับผู้ลงทุนในตลาด A Share ของจีน

ประเด็นสำคัญต่างๆ รวมถึง :

  • เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปี 2020 แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง
  • ปัจจัยขับเคลื่อนเชิงโครงสร้างของจีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งได้แก่การบริโภคภายในประเทศ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร
  • ตลาดหุ้น A-share ของจีน มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้
  • คุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลงจะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทั้งระบบ (systemic risks)
  • ความเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ ความต้องการที่อ่อนแอในต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนที่แย่ลง

คำถามที่ 1 : แนวโน้มเศรษฐกิจจีนในช่วง 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้าเป็นอย่างไร?

จากมาตรการล็อกดาวน์หรือการปิดเมืองทั่วประเทศเพื่อรับมือกับเหตุการณ์การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนหดตัวในไตรมาสแรกของปี 2020 ซึ่งถือเป็นการเกิดขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้เริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 นั่นเพราะมาตรการควบคุมผู้คนที่ประสบความสำเร็จตลอดจนนโยบายสนับสนุนด้านต่างๆ ดังนั้น เราคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงเดินหน้าสู่ภาวะปกติในปีนี้ เรายังเชื่อว่าจะได้เห็นการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาคการเงินและการคลังเพิ่มเติม ตามที่ได้มีการนำเสนอในที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) เมื่อไม่นานมานี้

NPC ตั้งงบประมาณขาดดุลมากขึ้นในปี 2020 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 3.6% ต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 2.8% ในปี 2019 การขยายตัวทางการคลังโดยรวมจะยิ่งเพิ่มขึ้นหากเราพิจารณาการออกพันธบัตรรัฐบาลพิเศษ วงเงิน 1 ล้านล้านหยวน และพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นพิเศษ วงเงิน 3.75 ล้านล้านหยวน ซึ่งมูลค่ารวมคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่า 10% ของ GDP

NPC ยังต้องการเห็น "การเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น" สำหรับการขยายตัวของภาคการเงินและสินเชื่อ เราจึงคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นและลดอัตราการสำรองเงินสด (required reserve ratio) ซึ่งจะเกิดขึ้นตามมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า มาตรการเหล่านี้ประกอบกับการกลับมาเริ่มต้นทำงานจะช่วยให้การฟื้นตัวของจีนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อตลาดแรงงานภายหลังภาคการส่งออกของจีนชะลอตัวลง เราคาดว่า GDP ของจีนจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปี 2020 แม้ว่าจะเป็นอัตราการเติบโตที่ช้าลงมาอยู่ที่ประมาณ 3% อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายผู้บริโภคยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว นั่นจึงมีผลทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อจะยังคงไม่กระเตื้องขึ้น

คำถามที่ 2 : นับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 แรงขับเคลื่อนในระยะยาวของจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

ภาวะการระบาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอย่างมีนัยสำคัญ แต่นั่นก็ไม่น่าจะบั่นทอนแรงขับเคลื่อนเชิงโครงสร้างของประเทศ ซึ่งแรงขับเคลื่อนดังกล่าวรวมถึงการตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้นและต้นทุนการดูแลสุขภาพที่ไม่แพง โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การจัดตั้งระบบประกันสุขภาพสาธารณะเป็นแรงกระตุ้นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งปลุกจิตสำนึกด้านสุขภาพให้ดีขึ้นและมีบริการดูแลสุขภาพในราคาที่ประชาชนทั่วไปสามารถจ่ายได้ เราคาดว่ารัฐบาลจะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขในยุคหลังการระบาด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาก็เป็นอีกหนึ่งแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและยกระดับอุตสาหกรรม เราคาดว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจีนและการมีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นในระยะยาว ซึ่งสภาวะเช่นนี้จะเป็นทั้งการสร้างโอกาสและความท้าทายให้แก่อุตสาหกรรม

การบริโภคภายในประเทศของจีนนั้นมีสัดส่วนที่สูงกว่า 70% ของ GDP1 ท่ามกลางกระแสการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ โดยก่อนที่จะเกิดการระบาดนั้น การจับจ่ายเพื่อบริโภคออนไลน์ได้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในบรรดาเมืองชั้นนำของประเทศ ดังแสดงในรูปที่ 1 ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ได้โปรโมทการบริการจัดส่งถึงบ้านกันอย่างมาก ซึ่งภาวะการระบาดได้เพิ่มอัตราการเข้าถึงร้านค้าออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนที่อายุมากขึ้น แนวโน้มนี้อาจดำเนินต่อไปหลังจากจบเหตุการณ์การระบาดครั้งใหญ่นี้ เราคาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของจีนในอนาคตจะเติบโตขึ้น เนื่องจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่ยังคงใช้วิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การทำ live streaming และการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้ค้าปลีกต่างสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในเมืองชั้นนำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรดาเมืองในระดับรองลงมาและพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก การเปลี่ยนผ่านจากกิจกรรมแบบออฟไลน์มาเป็นออนไลน์นั้น ทำให้บริการออนไลน์ต่างๆ เช่น เกม การสตรีมคอนเทนต์ประเภทสื่อและการศึกษา จะยังคงเติบโตต่อไปด้วยจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลาการใช้งานนานขึ้น และมีอัตราการเปลี่ยนจากผู้ใช้มาเป็นผู้ซื้อ (conversion rates) เพิ่มมากขึ้น

รูปที่ 1 : จำนวนนักช้อปออนไลน์ในจีนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

China-Fig 1-online-China

คำถามที่ 3 : จากความผันผวนของตลาดในช่วงครึ่งปีแรก คุณสำรวจตลาดด้านการลงทุนอย่างไร?

เรามองเห็นโอกาสในฝั่งขาขึ้นสำหรับตลาดหุ้น A-share ของจีนในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 เราเชื่อว่ามูลค่าตลาดในปัจจุบัน (ซึ่งอยู่ที่ประมาณค่าเฉลี่ยในอดีต) ได้มีการสะท้อนอยู่ในราคาแล้วสำหรับความคาดหวังในการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการคลังและการเงินเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม หากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องตามที่ฉันคาด ผลประกอบการของบริษัทที่ดีขึ้นจะเข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นได้อีก แต่ในอีกด้านหนึ่ง ดีมานด์จากต่างประเทศที่เปราะบางรวมถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นยังน่าจะเป็นแหล่งที่มาของความเสี่ยงที่สำคัญในฝั่งขาลง ปัจจัยเหล่านี้ได้ย้ำเตือนให้เราหมั่นตรวจสอบผลกระทบของการระบาดที่มีต่อผลประกอบการของบริษัท และมีความชอบในบริษัทต่างๆ ที่มีลักษณะดังนี้ :

  1. 1) หุ้นที่ไม่ได้พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลักหรือมีจำกัด และอาจได้รับประโยชน์จากนโยบายผ่อนคลายในประเทศ เช่นบางบริษัทที่อยู่ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่มสินค้าผู้บริโภค และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  2. 2) หุ้นที่ได้รับประโยชน์จากภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก เช่นบางบริษัทในธุรกิจเฮลท์แคร์
  3. 3) ผู้นำกลุ่ม ซึ่งมีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ได้อย่างแข็งแกร่งเพื่อรับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
  4. 4) บริษัทที่ปรับตัวได้ช้ากว่าตลาดหรือ Laggards ที่คาดว่าจะฟื้นตัวไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลกที่กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้งในแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่ต้องเผชิญกับภาวะการหยุดชะงักของซัพพลายเชนหรือถูกกระทบน้อย

รูปที่ 2: อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิคาดการณ์ของตลาด เปรียบเทียบรายอุตสาหกรรม (หุ้นทั้งหมดในตลาด A-Share ของจีน)

China-Fig-2-PE-market

เราจะมุ่งไปให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของปัจจัยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้า 'ระยะที่หนึ่ง' (Phase One trade agreement) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ สหรัฐจะปรับลดภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีน ขณะทางฝั่งจีนก็ได้ตกลงที่จะซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐเพิ่มขึ้น และเปิดตลาดบริการทางการเงินเพื่อให้ธุรกิจสหรัฐเข้าไปแข่งขัน รวมทั้งยกเว้นการเก็บภาษีเพิ่มเติมสำหรับสินค้าบางรายการที่จีนนำเข้าจากสหรัฐ การเจรจาที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นคาดว่าจะมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติให้ได้ตามที่สัญญาไว้ในข้อตกลง Phase One ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติสุขภาพโลก

คำถามที่ 4 : การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในจีนจะสร้างความเสี่ยงต่อทั้งระบบหรือไม่?

เราคาดว่าจะเห็นแรงกดดันที่มีต่อคุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงินจีน เนื่องจากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) อาจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค หลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดการว่างงานมากขึ้นและฉุดรายได้ภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงอาจลดลงได้อย่างมากเนื่องจากระบบการเงินมีการตั้งสำรองและระดับเงินทุนที่เพียงพอ อัตราส่วน NPL ของจีนนั้นดูยังคงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้และธนาคารต่างๆ ก็ยังคงสามารถรองรับความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดูรูปที่ 3

รูปที่ 3 : อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio)

China-Fig-3-NPL-coverage

นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ได้อัดฉีดสภาพคล่องให้มีความเพียงพอและปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ขณะฝั่งรัฐบาลก็ได้เฝ้าติดตามในเรื่องการก่อหนี้หรือการกู้ยืมในสัดส่วนสูงด้วยความเข้มงวดตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อลดความเสี่ยงที่มีต่อทั้งระบบ

คำถามที่ 5 : ความเสี่ยงหลักๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินของจีนในช่วง 12 เดือนข้างหน้าคืออะไร?

ความเสี่ยงประการแรกคือ การที่สินค้าส่งออกจีนต้องเผชิญกับภาวะความต้องการทั่วโลกที่อ่อนแอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงาน แม้ว่าการส่งออกของจีนจะกระเตื้องขึ้นได้ในเดือนเมษายน แต่นั่นอาจเป็นเพราะผลพวงจากคำสั่งซื้อที่ถูกเลื่อนมาจากช่วงก่อนหน้า เช่นเดียวกับความต้องการสินค้าทางการแพทย์และความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากซัพพลายหยุดชะงักในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก การที่ PMI สำหรับคำสั่งสินค้าส่งออกที่อ่อนแอในเดือนเมษายนนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าความต้องการจากต่างประเทศยังคงซบเซา

ความเสี่ยงถัดมาก็คือการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายมากเกินไป ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดการก่อหนี้ หรือกู้ยืมในระดับสูงขึ้น กระตุ้นการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์และสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว จีนนั้นมีบทเรียนจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2008-09 ที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ทำให้ประเทศมีอัตราส่วนหนี้สินเพิ่มขึ้นจาก 150% ต่อ GDP มาเป็น 253% ต่อ GDP ในเดือนกันยายน 2018 แต่ในครั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายของจีนได้ใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากประเด็นความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนที่จะยกระดับและขยายขอบเขตเกินกว่าเรื่องทางการค้า โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐได้กำหนดข้อบังคับใหม่ต่อ Huawei เพื่อจำกัดความสามารถของบริษัทในการใช้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ของสหรัฐอเมริกาในการออกแบบและผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในต่างประเทศ กฎใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตต่างประเทศหลายรายที่ขายสินค้าให้แก่ Huawei และบริษัทในเครือ ซึ่ง ณ ช่วงเวลาที่เขียนบทความนี้สถานการณ์ดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน แต่ก็ไม่สามารถเพิกเฉยต่อเรื่องผลกระทบที่จะบั่นทอนระดับการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน

ความเสี่ยงประการสุดท้ายนั้นก็คือ การกลับมาระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งอาจจะส่งผลฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจได้อีกครั้ง

Sources:
1 McKinsey Global Institute: China and the world, July 2019. P. 48

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.