กระหายความสำเร็จในแบบอินเดีย

ในขณะที่เมืองทางตะวันตกอาจมองว่าบริการเดลิเวอรี่ส่งอาหารกลางวันเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความศิวิไลซ์ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องประสิทธิภาพและความยั่งยืนของบริการปิ่นโตเดลิเวอรี่อย่าง ‘dabbawallahs’ จากเมืองมุมไบ

ในทุกๆ วัน จะมีพนักงานเดลิเวอรี่ประมาณ 4,000 คน มารับปิ่นโตจากครอบครัวต่างๆในช่วงสายๆ เพื่อส่งให้พนักงานออฟฟิศโดยทางรถไฟและจักรยาน และเก็บปิ่นโตเปล่ากลับในช่วงบ่าย

การใช้ปิ่นโตที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งถูกจัดส่งโดยจักรยานและระบบขนส่งสาธารณะ หมายถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำและการสร้างขยะที่มีปริมาณน้อยมากในประเทศที่ทิ้งพลาสติกมากกว่า 25,000 ตันต่อวัน1

คนส่งปิ่นโตที่แสนทรหดเหล่านี้ ฝ่าฟันการจราจรบนถนนที่วุ่นวายในเมืองมุมไบ พร้อมถือปิ่นโตที่ทำจากโลหะมากมาย เพื่อเตรียมจัดส่งให้กับพนักงานออฟฟิศมากถึง 200,000 คนในแต่ละวัน ซึ่งมีอัตราความผิดพลาดเพียง 1 ใน 16 ล้าน 2 ความสำเร็จนี้ดึงดูดความสนใจของบริษัทโลจิสติกส์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง FedEx ในการค้นหาความลับที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพวกเขา

อุตสาหกรรม ซึ่งดำเนินมายาวนานกว่า 125 ปีนี้ยังคงเติบโต แม้จะมีอุปสรรคด้านการจราจรและความแออัดในยุคปัจจุบัน สิ่งที่ดีมากของวิถีการบริหารงานของอินเดียที่เรียกว่า ‘Jugaad’ คือการที่ธุรกิจถูกสร้างขึ้นบนความยั่งยืน เติบโตโดยปราศจากเทคโนโลยี และกำลังสอนบริษัทโลจิสติกส์ซึ่งมีเทคโนโลยีทันสมัย ว่าทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ

วิถีการบริหารงานแบบ Jugaad ซึ่งเน้นความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการเติบโตด้านต่างๆ ของเศรษฐกิจอินเดีย TMBAM Eastspring มองหาโอกาสและความเป็นไปได้ในบริษัทอินเดียที่มีการเติบโตอย่างอยู่เสมอ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1725

แหล่งข้อมูล:
1 https://www.fepc.or.jp/english/nuclear/necessary/index.html
2 https://www.theguardian.com/world/2012/sep/14/japan-end-nuclear-power
3 https://www.wartsila.com/twentyfour7/energy/space-based-solar-power-fact-or-fiction
4 https://www.mofa.go.jp/ic/ch/page25e_000147.html