สำรวจเส้นทางสู่จุดหมายด้านความยั่งยืน

เอเชียมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ net zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงเกือบครึ่งหนึ่งของโลก การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศนั้นจะหมายถึงโอกาสในการออกตราสารหนี้ได้อีกมาก บริษัทในเอเชียซึ่งมีนวัตกรรมที่อยู่ในระบบนิเวศของรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียนยังนำเสนอโอกาสที่น่าสนใจให้กับผู้ลงทุนบนเวทีการแข่งขันเพื่อมุ่งสู่ net zero

เอเชียประสบความสำเร็จอยู่บ้างในระหว่างการประชุม COP27 แม้จะไม่สามารถยอมรับได้กับข้อตกลงที่ให้ลดการปล่อยมลพิษมากขึ้นหรือยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจนทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมหลายคนผิดหวัง โดยในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศ ได้มีการตกลงว่าจะจัดตั้งกองทุนเพื่อครอบคลุมความสูญเสียที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ และความเสียหายที่เกิดกับประเทศที่มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ เรื่องนี้อาจเป็นข่าวดีสำหรับบางประเทศในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์และไทย ซึ่งประสบกับเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงในปี 2022 ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายอย่างมากและทำให้วิถีชีวิตของผู้คนต้องหยุดชะงัก นอกจากนี้ กลุ่มประเทศพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐและญี่ปุ่น ประกาศว่าจะให้เงิน 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยอินโดนีเซียในการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินและร่นระยะเวลาของการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงสุดให้เร็วขึ้น 7 ปี มาอยู่ที่ปี 2030

การเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

มีการคาดกันว่าทั่วโลกมีความต้องการเงินทุนราว 4 ถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีนับตั้งแต่ทศวรรษนี้ในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งเอเชียมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าวเนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดถึง 5 ประเทศจากบรรดาประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด 10 อันดับแรกของโลก เอเชียเพียงแห่งเดียวอาจต้องใช้เงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเพื่อช่วยเหลือเซ็กเตอร์ที่ปล่อยคาร์บอนสูงอย่างเช่น การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง อสังหาริมทรัพย์ การเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ net zero ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายหลายประการสำหรับผู้ลงทุน

ตลาดตราสารหนี้ยั่งยืนของเอเชียจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งเงินทุนแก่รัฐบาลและธุรกิจต่างๆ ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน เราคาดว่าจะเห็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ออกตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อนำไปสร้างและปรับปรุงอาคารประหยัดพลังงาน ส่วนทางด้านบริษัทผลิตไฟฟ้าก็มีแนวโน้มที่จะระดมทุนเพื่อลงทุนในพลังงานหมุนเวียน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลและหน่วยงานกึ่งรัฐจะแสวงหาแหล่งเงินกู้เพื่อใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่มีคาร์บอนต่ำหรือเป็นศูนย์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคีรวมทั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาระดับนานาชาติก็สามารถสนับสนุนการออกตราสารหนี้ในประเทศได้โดยการค้ำประกันและให้การสนับสนุน ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านทุนในช่วงที่เปลี่ยนผ่านนั้น (green capex) จะมีส่วนประกอบของสินค้าโภคภัณฑ์ในสัดส่วนที่สูงมากซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดเกิดใหม่

สู่เป้าหมาย net zero

เอเชียเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบนิเวศพลังงานหมุนเวียน โดยมีจีนเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตระบบพลังงานแสงอาทิตย์และครองตลาดในห่วงโซ่อุปทาน EV ส่วนอินโดนีเซียก็กำลังวางแผนที่จะสร้างสวนอุตสาหกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในจังหวัดกาลีมันตันเหนือ (ใช้พลังงานจากน้ำและแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว) ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมสีเขียวที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งจะผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อะลูมิเนียมเขียว และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน นอกจากนี้ ในมาเลเซียก็มีหลายบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ทดสอบอัตโนมัติ (Automated Test Equipment) กลุ่มผู้รับจ้างประกอบและทดสอบ (Outsourced Assembly and Test industry) ซึ่งกำลังออกแบบระบบและอุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อตรวจจับความผิดปกติในสายการผลิต ซึ่งนอกจากการประหยัดกำลังคนและพลังงานแล้ว การตรวจจับข้อบกพร่องได้อย่างรวดเร็วยังช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมักจบลงด้วยการฝังกลบได้อย่างมาก ทั้งหมดนี้จึงเป็นการนำเสนอโอกาสอันน่าตื่นเต้นสำหรับผู้ลงทุน

ความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ที่ไม่ได้ดำเนินกิจการในเซ็กเตอร์ที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์หรือปล่อยคาร์บอนต่ำ ราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นในปี 2022 ทำให้บางบริษัทต้องทบทวนความต้องการพลังงานในอนาคตและพัฒนาแผนเพื่อจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ ในขณะที่เอเชียอาจยังเดินตามหลังตลาดพัฒนาแล้วในแง่ของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) รวมทั้งในแง่ของการลงทุนและการเปิดเผยข้อมูล แต่บริษัทในเอเชียหลายแห่งกำลังพยายามปรับปรุงแผนงานและนโยบายด้านความยั่งยืนของตน ทั้งนี้ นโยบายด้าน ESG ในเอเชียมีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่านับตั้งแต่ปี 20161

หากดูเฉพาะในเอเชีย ผู้ลงทุนยังใช้แนวทางที่สมดุลมากขึ้นเมื่อพิจารณาปัจจัยด้าน ESG โดยเปลี่ยนจากแนวทางที่กำหนดข้อยกเว้น ไปสู่แนวทางแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราเห็นโอกาสสำหรับการมีส่วนร่วมมากขึ้นในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลเพื่อขับเคลื่อนคุณค่าระยะยาวของบรรดาบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งจากรายงานวิจัยของ MSCI ESG พบว่ามีบริษัทญี่ปุ่นเพียง 10% เท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับเป็น ESG Leaders (การจัดอันดับ ESG ที่ AAA, AA) ซึ่งตามหลังบริษัทในยุโรปอยู่มาก

แนวทางแบบมีส่วนร่วมได้รับความนิยมสูงกว่าแนวทางที่กำหนดข้อยกเว้น (เอเชีย ญี่ปุ่น และจีน)

charting-sustainability-pathways-fig1

บทบาทสำคัญของเอเชียในการซื้อขายคาร์บอน

ความต้องการคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ประกาศเจตจำนงในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือปล่อยคาร์บอนเหลือศูนย์ โดยจากการศึกษาของ McKinsey พบว่าความต้องการชดเชยคาร์บอนทั่วโลกถูกวางเป้าหมายให้เติบโต 15 เท่าภายในปี 2030 และ 100 เท่าภายในปี 2050 ทั้งนี้ มาตรการทั่วโลกเพื่อกระตุ้นให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น การสร้างมาตรฐาน และการตรวจสอบรายละเอียดของโครงการคาร์บอนเครดิต จะช่วยพัฒนาตลาดคาร์บอนที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในการประชุม COP27 กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอนอย่าง Global Carbon Trust ได้เห็นชอบในการจัดทำสัญญาที่เป็นมาตรฐานสำหรับคาร์บอนเครดิต การติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานของโครงการโดยบุคคลที่สาม รวมถึงมีกระบวนการให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาสำหรับโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมาย

เอเชียสามารถมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายคาร์บอน โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความพยายามที่จะขยายระบบนิเวศการชดเชยคาร์บอนของเอเชียด้วยการจัดตั้ง Climate Impact X ซึ่งเป็นศูนย์กลางและตลาดซื้อขายคาร์บอนระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ในสิงคโปร์ในปี 2021 ขณะที่ฮ่องกงยังเปิดตัวแพลตฟอร์มการซื้อขายคาร์บอนในเดือนตุลาคม 2022 ส่วนมาเลเซียก็ได้แสดงความมุ่งมั่นในลักษณะที่คล้ายกัน สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบยังเอื้อต่อการเติบโตของตลาดการชดเชยคาร์บอน โดยทางการสิงคโปร์อนุญาตให้ใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อนำมาชดเชยไม่เกิน 5% ของภาษีคาร์บอนที่จะต้องจ่าย

ในขณะเดียวกัน ระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มีคุณภาพสูงของเอเชียนั้นหมายความว่าเอเชียมีสัดส่วนที่มากกว่า 50% ของการชดเชยคาร์บอนจากธรรมชาติ (ใช้พืช ต้นไม้ ดิน หรือมหาสมุทร เพื่อกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศ) อยู่ภายในภูมิภาค ซึ่งอาจทำให้เอเชียเป็นผู้จัดหาการชดเชยคาร์บอนทางธรรมชาติรายใหญ่ ราคาเฉลี่ยของการชดเชยคาร์บอนนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในช่วงปี 2020 ถึง 2021 ด้วยการชดเชยคุณภาพสูงทางธรรมชาติที่มีค่าพรีเมี่ยมสูงกว่า 200% ที่ USD8/tCOe2 ดังนั้น บริษัทในเอเชียที่สามารถจัดหาการชดเชยคุณภาพสูงนี้จะได้รับประโยชน์จากราคาชดเชยที่เพิ่มขึ้นแม้ว่าทรัพยากรและความรู้เฉพาะทางจะมีความจำเป็นในการพัฒนาโซลูชั่นที่อิงกับธรรมชาติ (รวมถึงการอนุรักษ์ การขยายพื้นที่และการฟื้นฟูป่า การจัดการป่าไม้ พื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้า) ทั้งนี้ มีเพียงการชดเชยคาร์บอนที่มีคุณภาพสูงเท่านั้นที่จะสามารถชดเชยการปล่อยมลพิษในส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถลดได้ และทำให้บริษัทต่างๆ สามารถปฏิบัติตามเจตจำนงในการมุ่งสู่ net zero ได้ดียิ่งขึ้น การดำเนินการดังกล่าวอาจช่วยเพิ่มอันดับ ESG ได้ในระยะยาวแม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นก็ตาม

ผลกระทบด้านการลงทุน

charting-sustainability-pathways-fig2

คณะผู้จัดทำ:

Joanne Khew, Rong Ren Goh, Bryan Yeong, Steven Gray, Sundeep Bihani, Samuel Hoang

Sources:
1 ข้อมูลรวบรวมโดย Goldman Sachs Global Investment Research ; ข้อบังคับและการแก้ไขเพิ่มเติมด้าน ESG ในตลาดทุนระหว่างเดือนมกราคม 2000 ถึงเดือนสิงหาคม 2021
2 Carboncredits.com live carbon price: https://carboncredits.com/carbon-prices-today/

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.