Our Key Takeaways

 
  • ฝ่ายบริหารของไบเดนกำลังพิจารณาใช้ข้อจำกัดทางการค้าที่เข้มงวดที่สุดต่ออุตสาหกรรมชิปเพื่อจำกัดความสามารถในการผลิตชิปของจีน หลังจากมาตรการก่อนหน้านี้ยังทำได้ไม่ตามเป้าหมาย และจีนยังคงเดินหน้าพัฒนาชิปขั้นสูงต่อไปได้
  • มาตรการดังกล่าวมีชื่อว่า Foreign Direct Product Rule หรือ FDPR โดยกฎ FDPR จะอนุญาตให้สหรัฐกำหนดการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในต่างประเทศที่ใช้เทคโนโลยีของอเมริกาแม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • เป้าหมายหลักจะมุ่งเป้าไปที่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์/เครื่องจักรผลิตชิปอย่าง ASML และ Tokyo Electron ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีลูกค้ารายใหญ่เป็นจีน โดยมีสัดส่วนรายได้จากจีนถึง 49% และ 44% ตามลำดับ
  • อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทผู้ผลิตชิปอื่นๆอย่างเช่น NVIDIA, TSMC, AMD หรือ INTEL
  • นอกจากนี้จุดประสงค์ของสหรัฐฯน่าจะเป็นการกดดันไม่ให้ ASML และ Tokyo Electron เข้าไปบำรุงรักษาเครื่องผลิตชิป DUV ที่จีนกักตุนไว้ก่อนหน้าที่มาตรการคว่ำบาตรจะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปีนี้มากกว่าการห้ามขายสินค้าให้จีนโดนสิ้นเชิง ทำให้ผลกระทบต่อรายได้จะค่อนข้างจำกัด
  • ขณะที่แนวคิดของการใช้กฎ FDPR ยังถูกต่อต้านจากหลายฝ่ายๆ ตั้งแต่บริษัทที่ได้รับผลกระทบโดยตรง รัฐบาลเนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตชิปของสหรัฐฯอีกเช่นกัน
  • ขณะที่ไบเดนเองยังเผชิญความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งกับพันธมิตร และความสัมพันธ์ทางการฑูต เนื่องจากพันธมิตรมีโอกาสไม่ทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯเนื่องจาก สหรัฐฯกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และมีโอกาสที่ ไบเดน จะไม่ได้เป็นประธานาธิบดีต่อในสมัยที่ 2
  • ดังนั้นเรามีมุมมองว่าตลาดอ่อนไหวกับประเด็นดังกล่าวมากเกินไป ประกอบการรายได้และกำไรของอุตสาหกรรมชิปยังคงอยู่บนเส้นทางการเติบโตอย่างแข็งแกร่งจากการมาของ AI แนะนำ Buy On Dip หุ้นสหรัฐฯบางส่วน เช่น กองทุน ES-USBLUECHIP และ ES-USTECH เนื่องจากไม่มีการลงทุนใน ASML และ Tokyo Electron

ทำไมการผลิตชิปถึงสำคัญ

ชิปคอมพิวเตอร์เป็นห้องเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจดิจิทัล และความสามารถที่เพิ่มขึ้นของชิปคอมพิวเตอร์ช่วยให้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น Generative AI ที่มีศักยภาพในเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ บทบาทที่สำคัญของชิปคอมพิวเตอร์ได้มีความเด่นชัดมากขึ้นไปอีกเมื่อการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสส่งผลกระทบต่อการผลิตชิปในเอเชีย ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีทั่วโลกตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่อุปกรณ์เหล่านี้กลายเป็นจุดสนใจของการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก

ขณะที่ Intel ที่เคยมุ่งเน้นไปที่การผลิตชิปเพื่อใช้เอง แต่ตอนนี้กำลังพยายามแข่งขันกับ TSMC และ Samsung ในธุรกิจการผลิตให้กับลูกค้าเช่นกัน

ด้านล่างของห่วงโซ่อุปทาน มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตสิ่งที่เรียกว่า “ชิปแอนะล็อก หรือ analog chip” ซึ่งบริษัทต่างๆ เช่น Texas Instruments Inc และ STMicroelectronics NV เป็นผู้ผลิตชั้นนำของส่วนประกอบเหล่านี้ที่ทำสิ่งต่างๆ เช่น ปรับพลังงานภายในสมาร์ทโฟน ควบคุมอุณหภูมิ และเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า

ซึ่งนี่คือพื้นที่ที่จีนกำลังตั้งเป้าที่จะลงทุนมหาศาลเพื่อเพิ่มการผลิตและแย่งส่วนแบ่งตลาด แม้ว่าจะถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงเครื่องจักรจำนวนมากที่จำเป็นในการผลิตชิ้นส่วนที่ล้ำสมัยมากขึ้นก็ตาม

เหตุใดชิปจึงมีความสำคัญมาก

ชิปคือ สิ่งที่จำเป็นในการประมวลผลและทำความเข้าใจกับข้อมูลจำนวนมหาศาล ที่กำลังก้าวเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันในฐานะเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจ ชิปนั้นทำขึ้นจากวัสดุกึ่งตัวนำหรือวงจรรวมที่ทำจากวัสดุที่สะสมอยู่บนแผ่นซิลิคอน สามารถทำหน้าที่ได้หลากหลาย

“ชิปหน่วยความจำ หรือ memory chip” ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลนั้นค่อนข้างเรียบง่ายและมีการซื้อขายเหมือนกับสินค้าโภคภัณฑ์ ขณะที่ “โลจิกชิป หรือ Logic Chip” ซึ่งใช้รันโปรแกรมและทำหน้าที่เป็นสมองของอุปกรณ์นั้นมีความซับซ้อนและมีราคาแพงกว่า

การเข้าถึงส่วนประกอบต่างๆ เช่น เครื่องเร่งความเร็วAI H100 ของ Nvidia Corp. ได้เชื่อมโยงกับความมั่นคงของชาติและความมั่งคั่งของบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google และ Microsoft Corp. ของ Alphabet Inc. ในขณะที่พวกเขาแข่งขันกันเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์และแย่งกันเป็นผู้นำในสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นอนาคตของการประมวลผล

อย่างไรก็ตามแม้กระทั่งอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันก็ยังต้องพึ่งพาชิปมากขึ้น การกดปุ่มแต่ละครั้งในรถยนต์ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ยังต้องใช้ชิปง่ายๆเพื่อแปลงการสัมผัสนั้นให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ทั้งหมดจำเป็นต้องมีชิปเพื่อแปลงและควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าอีกเช่นกัน

เหตุใดจึงมีการต่อสู้แย่งชิงการผลิตชิป

เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลกส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันเป็นไต้หวันและเกาหลีใต้ที่ครองการผลิตชิป ขณะที่จีนก็เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในการสร้างชิปที่ตนเองต้องใช้ด้วยตัวเองมากขึ้น นั่นทำให้อุตสาหกรรมชิปกลายเป็นจุดสนใจของวอชิงตัน ในขณะที่พยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในเอเชีย และจัดการกับสิ่งที่วอชิงตันระบุว่าเป็นข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติ

โดยสหรัฐฯกำลังใช้มาตรการควบคุมการส่งออกและภาษีเพื่อควบคุมความทะเยอทะยานด้านชิปของจีน นอกจากนี้ยังจัดสรรเงินจำนวนมหาศาลของรัฐบาลเพื่อนำการผลิตชิปกลับมาที่สหรัฐฯ ซึ่งช่วยลดการพึ่งพาโรงงานบางแห่งในเอเชียตะวันออกที่เป็นอันตราย ขณะที่ประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ เช่น เยอรมนี สเปน อินเดีย และญี่ปุ่น ก็กำลังเดินตามแนวทางของสหรัฐฯเช่นกัน

ใครเป็นผู้ควบคุมอุปทาน?

การผลิตชิปกลายเป็นธุรกิจที่ล่อแหลมและผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยโรงงานแห่งใหม่มีราคาสูงกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ แถมยังต้องใช้เวลาหลายปีในการสร้างและต้องดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงต่อวันจึงจะทำกำไรได้ ด้วยขนาดการลงทุนที่มหาศาลทำให้จำนวนบริษัทที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยและมีเงินทุนเหลือเพียง 3 แห่งเท่านั้น ได้แก่ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. (TSMC), Samsung Electronics Co. ของเกาหลีใต้ และ Intel Corp. ของสหรัฐอเมริกา

TSMC และ Samsung ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตชิป หรือ foundry โดยจะให้บริการผลิตจากให้กับบริษัทต่างๆทั่วโลก ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกต้องพึ่งพาการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตชิปที่ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในไต้หวัน

ขณะที่ Intel ที่เคยมุ่งเน้นไปที่การผลิตชิปเพื่อใช้เอง แต่ตอนนี้กำลังพยายามแข่งขันกับ TSMC และ Samsung ในธุรกิจการผลิตให้กับลูกค้าเช่นกัน

ด้านล่างของห่วงโซ่อุปทาน มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตสิ่งที่เรียกว่า “ชิปแอนะล็อก หรือ analog chip” ซึ่งบริษัทต่างๆ เช่น Texas Instruments Inc และ STMicroelectronics NV เป็นผู้ผลิตชั้นนำของส่วนประกอบเหล่านี้ที่ทำสิ่งต่างๆ เช่น ปรับพลังงานภายในสมาร์ทโฟน ควบคุมอุณหภูมิ และเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า

ซึ่งนี่คือพื้นที่ที่จีนกำลังตั้งเป้าที่จะลงทุนมหาศาลเพื่อเพิ่มการผลิตและแย่งส่วนแบ่งตลาด แม้ว่าจะถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงเครื่องจักรจำนวนมากที่จำเป็นในการผลิตชิ้นส่วนที่ล้ำสมัยมากขึ้นก็ตาม

special-report-240718-graph-1

สงครามชิปเป็นยังไงบ้าง?

แม้ว่าจีนจะใช้จ่ายมากมาย แต่ผู้ผลิตชิปของประเทศยังคงพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และเทคโนโลยีต่างประเทศอื่นๆ ขณะที่การเข้าถึงอุปกรณ์ที่ออกแบบและผลิตชิปในต่างประเทศก็ลดน้อยลง

  • สหรัฐฯ ได้บังคับใช้กฏควบคุมการส่งออกที่เข้มงวดมากขึ้นในปี 2023 สำหรับชิปและอุปกรณ์การผลิตชิปที่ล้ำสมัยที่สุด เพื่อหยุดยั้งจีนจากการพัฒนาขีดความสามารถที่วอชิงตันมองว่าเป็นภัยคุกคามทางทหาร เช่น Supercomputer และ AI นอกจากนี้ ยังได้กดดันพันธมิตรให้จำกัดจีนไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงที่รองลงมาที่เรียกว่า เครื่อง immersion deep-ultraviolet (DUV) ขณะเดียวกันก็เคลื่อนไหวเพื่อจำกัดการนำเข้าชิปจากจีนอีกเช่นกัน
  • จีนสามารถกักตุนเครื่องจักร DUV ได้จำนวนมากก่อนที่ข้อจำกัดการส่งออกเริ่มบังคับใช้ ขณะที่ในเดือนกรกฎาคม 2024 วอชิงตันได้กดดันพันธมิตรให้มีการสั่งห้ามผู้ผลิตอุปกรณ์การผลิตชิป เช่น ASML Holding NV และ Tokyo Electron Ltd. จากการให้บริการและซ่อมแซมเครื่องจักรเหล่านั้น
  • บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของจีน รวมถึง Huawei Technologies Co. ถูกจัดให้อยู่ใน US Entity List ซึ่งหมายความว่าซัพพลายเออร์เทคโนโลยีชิปของอเมริกาจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน ถึงจะสามารถขายให้สินค้าให้กับบริษัทที่อยู่ในบัญชีดำเหล่านี้ได้
  • นักการเมืองสหรัฐฯตัดสินใจว่าพวกเขาจำเป็นต้องทำมากกว่าแค่หยุดยั้งจีน พระราชบัญญัติชิปและวิทยาศาสตร์ปี 2022 ได้จัดสรรเงินช่วยเหลือโดยตรงจำนวน 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมถึงการกู้ยืมและการค้ำประกันเงินกู้มูลค่า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นฟูการผลิตชิปของอเมริกา
  • จีนเองก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ โดย Huawei กำลังสร้างโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นความลับทั่วประเทศจีน ซึ่งเป็นเครือข่ายการผลิตเงาที่จะเป็นช่องโหว่ให้บริษัทที่ถูกขึ้นบัญชีดำหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และส่งเสริมความทะเยอทะยานทางเทคโนโลยีของประเทศ โดยในปี 2023 Huawei ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ขับเคลื่อนโดยชิปประมวลผลที่ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยี 7 นาโนเมตร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าที่กฎของสหรัฐอเมริกาอนุญาต
  • สหภาพยุโรปได้จัดทำแผนมูลค่า 4.63 หมื่นล้านดอลลาร์ของตนเองเพื่อขยายกำลังการผลิตในท้องถิ่น คณะกรรมาธิการยุโรปประมาณการว่าการลงทุนภาครัฐและเอกชนในภาคนี้จะมีมูลค่ารวมกว่า 1.08 แสนล้านดอลลาร์ โดยเป้าหมายคือการเพิ่มผลผลิตของกลุ่มเป็น 2 เท่า และเป็น 20% ของตลาดโลกภายในปี 2030
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ อินเดียอนุมัติการลงทุนที่ขับเคลื่อนโดยกองทุนรัฐบาลมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการเสนอราคาของ Tata Group เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปรายใหญ่แห่งแรกของประเทศ
  • ในซาอุดิอาระเบีย กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะกำลังจับตาดู "การลงทุนขนาดใหญ่" ที่ไม่ระบุรายละเอียด เพื่อเริ่มต้นความทะเยอทะยานของราชอาณาจักรในด้านชิป ในขณะที่พยายามกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจออกไปนอกเหนือจากการขายน้ำมัน
  • กระทรวงการค้าของญี่ปุ่นได้รับเงินทุนประมาณ 2.53 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับแคมเปญชิปที่เปิดตัวในปี 2021 โดยโครงการจะประกอบไปด้วยโรงงานของ TSMC สองแห่งทางตอนใต้ของคุมาโมโตะ และโรงงานอีกแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของฮอกไกโด ซึ่งบริษัท Rapidus Corp. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะผลิต Logic Chip ขนาด 2 นาโนเมตรจำนวนมากใน 2027

อะไรคือความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อการผลิตชิปทั่วโลก?

ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงส่วนใหญ่ของโลก และชิปรุ่นรองๆอีกจำนวนมากเช่นกัน โดยจีนได้อ้างสิทธิ์ในเกาะแห่งนี้ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งเพียง 100 ไมล์ว่าเป็นดินแดนของตนเองมานานแล้ว และขู่ว่าจะรุกรานเพื่อป้องกันเอกราชของตนเอง ขณะที่สหรัฐฯสัญญาว่าจะปกป้องไต้หวันหากเป็นเช่นนั้น

สงครามอาจทำให้ TSMC ยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตชิปของไต้หวันถูกตัดขาดจากลูกค้าทั่วโลก โดยบริษัทเกือบจะสร้างโมเดลธุรกิจ “foundry” ขึ้นมาเพียงลำพัง (การสร้างชิปที่ออกแบบโดยผู้อื่น) ซึ่งลูกค้ารายใหญ่อย่าง Apple Inc. สร้างรายได้และยอดขายมหาศาลให้กับ TSMC เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม และตอนนี้ทั้งโลกก็พึ่งพาในสิ่งนี้ ซึ่งทำให้ TSMC ได้แซงหน้า Intel ในแง่ของรายได้ในปี 2022 ดังนั้นการทดแทนความยิ่งใหญ่และทักษะของ TSMC อาจต้องใช้เวลาหลายปีและมีค่าใช้จ่ายมหาศาล

เกิดอะไรขึ้นกับ ASML แม้ผลประกอบการจะดีกว่าคาด

ASML Holding NV ปรับตัวลงแรงเนื่องจากโอกาสที่สหรัฐฯจะใช้ข้อจำกัดที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการดำเนินธุรกิจในจีน ซึ่งได้บดบังข่าวการเติบโตของปริมาณการสั่งซื้อของบริษัทสัญชาติดัตช์ในไตรมาสที่แล้ว.

ฝ่ายบริหารของ Biden กำลังพิจารณาใช้ข้อจำกัดทางการค้าที่เข้มงวดที่สุด หากบริษัทต่างๆรวมถึง ASML ยังคงให้สิทธิ์แก่จีนในการเข้าถึงเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง Bloomberg News รายงานเมื่อวันพุธก่อนที่บริษัทจะประกาศผลประกอบการไตรมาสที่สอง

สหรัฐฯกำลังตั้งเป้าไปที่ ASML ซึ่งผูกขาดในการผลิตเครื่องจักรที่ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยที่สุด ในขณะที่สหรัฐฯกำลังสร้างแรงกดดันให้หยุดยั้งความก้าวหน้าของจีนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ส่งผลให้ราคาหุ้นร่วงลง แม้ว่าบริษัทรายงานว่ายอดจองเพิ่มขึ้น 54% ในไตรมาส 2 จากสามเดือนก่อนหน้าเป็น 5.57 พันล้านยูโร (6.1 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้

ขณะที่ ASML คาดว่ายอดขายในไตรมาสปัจจุบันจะอยู่ระหว่าง 6.7 พันล้านถึง 7.3 พันล้านยูโร ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 7.5 พันล้านยูโร นอกจากนี้บริษัทยืนยัน guidance ก่อนหน้านี้ว่า ยอดขายจะทรงตัวในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2025

อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมการเข้าถึงชิปก่อนหน้านี้ที่มุ่งเป้าไปที่การส่งออกของ ASML ไปยังจีนไม่ได้กระทบต่อความต้องการจากจีน โดยจีนคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ของ ASML ในไตรมาส 2 และยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 21% จากช่วงก่อนหน้า โดยปักกิ่งได้ซื้อชุดอุปกรณ์รุ่นเก่าที่ไม่ถูกกีดกันโดยข้อจำกัดเพื่อผลิตเซมิคอนดักเตอร์ประเภทที่ล้ำสมัยมากขึ้น

special-report-240718-graph-1

“ปัจจุบันเราเห็นการพัฒนาที่แข็งแกร่งใน AI ซึ่งผลักดันการฟื้นตัวและการเติบโตของอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เหนือกว่ากลุ่มตลาดอื่นๆ” Christophe Fouquet ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวในแถลงการณ์

ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจจากลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ ASML ช่วยสนับสนุนความต้องการอุปกรณ์ของบริษัท โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. กล่าวว่ายอดขายในไตรมาสที่สองเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2022 โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของ AI ที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุน Data Center ทั่วโลก ส่งผลให้ยอดขายไปยังไต้หวันเพิ่มขึ้น 290 ล้านยูโรในไตรมาสนี้ เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์ขั้นสูงก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ไตรมาสที่แล้วถือเป็นไตรมาสแรกของ ASML ภายใต้การบริหาร Fouquet ซึ่งเข้ามารับช่วงต่อเมื่อ Peter Wennink เกษียณในเดือนเมษายน โดยเขาพยายามสร้างสมดุลระหว่างการกดดันของสหรัฐฯเพื่อควบคุมการส่งออกสำหรับจีน และความจำเป็นต้องขายอุปกรณ์ในตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทต่อไป

โดยแรงกดดันของสหรัฐฯ ที่จะชะลอความก้าวหน้าของปักกิ่งในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เนเธอร์แลนด์สั่งห้ามการส่งออกเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของ ASML ซึ่งก็คือ DUV lithography เมื่อต้นปีนี้

อย่างไรก็ตาม ASML ยังคงให้บริการเครื่องที่ซื้อมาก่อนหน้าที่จะมีข้อจำกัดต่างๆจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งทำให้ฝ่ายบริหารของ Biden ได้บอกกับพันธมิตรว่ากำลังพิจารณาใช้กฎ Foreign Direct Product Rule ซึ่งช่วยให้สหรัฐฯ สามารถกำหนดการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากต่างประเทศซึ่งใช้เทคโนโลยีของอเมริกาแม้เพียงเล็กน้อย หากแนวทางปฏิบัติดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป ตามรายงานของ Bloomberg

ทั้งนี้บริษัทกล่าวว่ายอดขายในจีนมากถึง 15% ในปีนี้จะได้รับผลกระทบจากกฎควบคุมการส่งออกที่บังคับใช้ในเดือนมกราคม ขณะที่ ASML ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ขายเทคโนโลยีอัลตราไวโอเลตขั้นสูงสุด (EUV) ให้กับจีน

ฝ่ายบริหารของไบเดนต้องการทำอะไร

ฝ่ายบริหารของ Biden ซึ่งเผชิญกับการตอบโต้การปราบปรามชิปในจีน ได้บอกกับพันธมิตรว่ากำลังพิจารณาใช้ข้อจำกัดทางการค้าที่เข้มงวดที่สุด หากบริษัทต่างๆ เช่น Tokyo Electron Ltd. และ ASML Holding NV ยังคงให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงต่อไป

สหรัฐฯ กำลังพิจารณาว่าจะบังคับใช้มาตรการที่เรียกว่า Foreign Direct Product Rule หรือ FDPR เพื่อกดดันประเทศพันธมิตรหรือไม่ ผู้ที่คุ้นเคยกับการสนทนาล่าสุดกล่าว โดยกฎ FDPR จะอนุญาตให้สหรัฐฯกำหนดการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในต่างประเทศที่ใช้เทคโนโลยีของอเมริกาแม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การเคลื่อนไหวดังกล่าวซึ่งพันธมิตรมองว่าเข้มงวด จะถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมการทำธุรกิจในจีนของบริษัท Tokyo Electron ของญี่ปุ่น และ ASML ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งผลิตเครื่องจักรที่ผลิตชิปซึ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและขายให้กับจีน โดยทางสหรัฐฯได้นำเสนอแนวคิดนี้ต่อเจ้าหน้าที่ในโตเกียวและกรุงเฮกว่าเป็นผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นไปได้มากขึ้นหากทั้ง 2 ประเทศไม่เข้มงวดมาตรการด้วยตนเอง ตามผู้ขอไม่เปิดเผยตัวตนเนื่องจากการหารือเป็นเรื่องส่วนตัว

หุ้นใน Tokyo Electron ร่วงลง 7.5% เมื่อวานนี้ ขณะที่ผู้ให้บริการอุปกรณ์ชิปรายอื่นๆ เช่น Lasertec Corp. และ Screen Holdings Co. ก็ติดอันดับหนึ่งในหุ้นที่ปรับตัวลงแรงที่สุดเช่นกัน ขณะที่ราคาของหุ้น ASML ปรับตัวลดลง 11% แม้ว่าบริษัทจะรายงานยอดการจองในไตรมาส 2 ที่ดีกว่าที่คาด โดยมูลค่าตลาดหายไปถึง 4.27 หมื่นล้านยูโร (4.67 หมื่นล้านดอลลาร์) นับเป็นการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020

หุ้นของ Applied Materials Inc., Lam Research Corp. และ KLA Corp. ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ชิปรายใหญ่ที่สุดในอเมริกา 3 ราย ก็ร่วงลงเช่นกันในวันพุธ โดย Applied Material ซึ่งใหญ่ที่สุดใน 3 ชื่อนี้ ปรับตัวลดลงมากถึง 7.8% ซึ่งเป็นการร่วงลงระหว่างวันเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน.

special-report-240718-graph-1

อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารของไบเดนอยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบ เนื่องจากบริษัทในสหรัฐฯรู้สึกว่าข้อจำกัดในการส่งออกไปยังจีนได้ลงโทษพวกเขาอย่างไม่ยุติธรรมและกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน พันธมิตรมองว่ามีเหตุผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายเมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯอยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่เดือน

เป้าหมายคือ การโน้มน้าวพันธมิตรที่ได้จำกัดการจัดส่งอุปกรณ์สำคัญบางส่วนไปแล้ว ให้จำกัดความสามารถของบริษัทของตนในการให้บริการและซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ถูกจำกัดที่มีอยู่แล้วในจีน (ซึ่งบริษัทสหรัฐฯถูกห้ามไม่ให้ดำเนินการในตอนนี้อยู่แล้ว) นอกจากนี้สหรัฐฯกำลังชั่งน้ำหนักการคว่ำบาตรเพิ่มเติมต่อบริษัทชิปของจีนบางแห่งตามที่ Bloomberg ได้รายงานก่อนหน้านี้

กระแสตอบรับเป็นอย่างไร

ตัวแทนของ ASML ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสนทนาดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ(NSC: National Security Council) และ สำนักงานอุตสาหกรรมและความมั่นคงของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (BIS: Bureau of Industry and Security) ขณะที่โฆษกหญิงของ Tokyo Electron กล่าวว่าบริษัทไม่อยู่ในฐานะที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์”

ส่วนโฆษกของ NSC ซึ่งให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีในเรื่องความมั่นคง กล่าวว่า ลักษณะของการประชุม “ไม่ได้สะท้อนถึงการหารือที่เรามีกับหุ้นส่วนและพันธมิตรของเรา” ขณะที่ตัวแทนของ BIS ไม่มีความคิดเห็นในทันที

หลิน เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวเมื่อวันพุธที่งานแถลงข่าวในกรุงปักกิ่งว่า สหรัฐฯ “ทำให้การค้ากลายเป็นการเมืองและแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติ” นอกจากนี้หลินยังกล่าวอีกว่า “ประเทศที่เกี่ยวข้อง” ควร “ต่อต้านการบีบบังคับอย่างแน่วแน่ และร่วมกันรักษาคำสั่งการค้าระหว่างประเทศที่ยุติธรรมและเปิดกว้าง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ระยะยาวของพวกเขาเอง”

ผู้ผลิตอุปกรณ์ชิปในอเมริกา ได้แก่ Applied Materials, Lam และ KLA ได้กดดันกรณีดังกล่าวในการประชุมหลายครั้งล่าสุดกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯตามข้อมูลของผู้ที่คุ้นเคยกับสถานการณ์ โดยพวกเขาแย้งว่านโยบายการค้าในปัจจุบันกำลังส่งผลย้อนกลับ และสร้างความเสียหายแก่บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถหยุดยั้งความก้าวหน้าของจีนได้มากเท่ากับที่รัฐบาลสหรัฐฯคาดหวังไว้

แต่บริษัทก็ไม่ต้องการให้ฝ่ายบริหารใช้ FDPR พวกเขากลัวว่ามาตรการดังกล่าวจะยั่วยุให้ญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ให้ต่อต้านและหยุดความร่วมมือ นอกจากนี้ธุรกิจต่างๆทั่วโลกก็จะมีแรงจูงใจมากขึ้นในการลดการพึ่งพาผลิตภัณฑ์ของอเมริกาออกจากห่วงโซ่อุปทานของตนเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดใหม่ที่อาจเกิดขึ้นเช่นกัน

เจ้าหน้าที่รัฐบาลในโตเกียวได้กล่าวไปแล้วว่า พวกเขาจะไม่บังคับใช้ความพยายามดังกล่าว ขณะที่ตัวแทนกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น เช่นเดียวกับกระทรวงการค้าต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ตัวแทนจาก Applied Materials, Lam และ KLA ก็ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเช่นกัน

อีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกผลักดันโดยอุตสาหกรรมชิปของสหรัฐฯคือ การขยายเกณฑ์สำหรับสิ่งที่เรียกว่า unverified list ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่กำหนดให้บริษัทต่างๆต้องขอใบอนุญาตเพื่อส่งออกเทคโนโลยีที่ถูกจำกัดบางอย่าง อย่างไรก็ตามบริษัทชิปในสหรัฐฯไม่ได้แนะนำให้เพิ่ม ASML และ Tokyo Electron เข้าไปในรายการโดยอัตโนมัติ แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งสัญญาณว่าทั้งคู่อาจต้องเผชิญกับการควบคุม หากพวกเขายังคงให้บริการแก่ลูกค้าชาวจีนต่อไป โดยที่สหรัฐฯถือว่ามีความเสี่ยงด้านความมั่นคงของชาติ

มุมมองการลงทุน

มาตรการที่ฝ่ายบริหารของไบเดนได้มีการพูดถึงล่าสุดนั้น จะเน้นไปที่กลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตชิปในต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งในทีนี้คือ ASML และ Tokyo Electron ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีรายได้หลักมาจากจีน โดยทางด้าน ASML มีสัดส่วนถึง 49% และ Tokyo Electron มีสัดส่วนถึง 44% ทำให้ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทได้รับผลกระทบมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม เราเห็นสัญญาณว่าท่าทีของสหรัฐฯนั้น ยังเป็นความต้องการกดดันให้ทั้ง 2 บริษัทลดการให้บริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์และเครื่องจักรขั้นสูงที่ขายไปก่อนหน้าที่มาตรการจำกัดการส่งออกจะมีผลบังคับใช้มากกว่า แต่ไม่ได้จะเป็นการควบคุมการขายอุปกรณ์ไปยังจีนเพิ่มเติมแต่อย่างใด ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมีไม่เยอะ

นอกจากนี้เองเรายังเห็นการต่อต้านจากหลายๆฝ่ายไม่ให้ใช้มาตรการ FDPR อีกเช่นกัน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะขัดแย้งกับพันธมิตรของตนเอง และมีความเสี่ยงที่พันธมิตรอาจจะไม่ตอบรับด้วยเช่นกัน เนื่องจากสหรัฐฯกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และไบเดนมีโอกาสที่จะไม่ได้ไปต่อในสมัยที่ 2

ทำให้เรามีมุมมองว่าตลาดอ่อนไหวกับประเด็นดังกล่าวมากเกินไป ประกอบการรายได้และกำไรของอุตสาหกรรมชิปยังคงอยู่บนเส้นทางการเติบโตอย่างแข็งแกร่งจากการมาของ AI แนะนำ Buy On Dip หุ้นสหรัฐฯบางส่วน เช่น กองทุน ES-USBLUECHIP และ ES-USTECH เนื่องจากไม่มีการลงทุนใน ASML และ Tokyo Electron

Interesting reads

Know more
มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-25 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-25 ต.ค. 67

21 ต.ค.

กนง. หักปากกาเซียน ลดดอกเบี้ย 0.25% กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 2.25% ผ ...

มุมมองการลงทุนประจำเดือนตุลาคม

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนประจำเดือนตุลาคม

21 ต.ค.

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังจะมาถึงได้สร้างความเสี่ยงให้กับตลาด ซึ่งความผันผว ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 14-18 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 14-18 ต.ค. 67

15 ต.ค.

เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงกว่าคาด ดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐฯประจำเดือนกันยายนเติบโตสูงกว่าคาดการณ์โดย ...

กรอบแนวคิดการลงทุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

in insights

กองทุนรวมผสม

กรอบแนวคิดการลงทุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

11 ต.ค.

การระดมทุนเพื่อลดช่องว่างทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นสิ่งสําคัญในการบรรลุเป้าหมายขอ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 7-11 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 7-11 ต.ค. 67

07 ต.ค.

รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ประจำเดือนกันยายนแข็งแกร่ง อย่างน่าทึ่งในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่อ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 30 ก.ย. – 4 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 30 ก.ย. – 4 ต.ค. 67

30 ก.ย.

PBoC เปิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) เปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐ ...

มาตรการล่าสุดของรัฐบาลจีน เปลี่ยนเกมในตลาดได้จริงหรือ?

in insights

ตราสารทุน

มาตรการล่าสุดของรัฐบาลจีน เปลี่ยนเกมในตลาดได้จริงหรือ?

27 ก.ย.

จีนประกาศมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ซึ่งนับเป็นการผ่อนคลายนโยบายที่ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 23 - 27 ก.ย. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 23 - 27 ก.ย. 67

23 ก.ย.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีมติ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง ...

มุมมองการลงทุนประจำเดือนกันยายน

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนประจำเดือนกันยายน

20 ก.ย.

แม้ว่าเฟดจะมีเหตุผลอยู่พอควรในการผ่อนคลายนโยบายเพื่อจัดการให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงแบบ &ldq ...

Fed ออกตัวแรงลดดอกเบี้ย 0.5% สกัด Recession

in insights

ตราสารทุน

Fed ออกตัวแรงลดดอกเบี้ย 0.5% สกัด Recession

19 ก.ย.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯมีมติ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0 ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.