แนวโน้มตลาดปี 2020 - ตราสารหนี้

Low Guan Yi ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนด้านตราสารหนี้ของ Eastspring Investments ประเทศสิงคโปร์ แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่หลายคนพูดถึงในเรื่องฟองสบู่ตราสารหนี้ ด้วยมุมมองที่เป็นบวกต่อพันธบัตรรัฐบาลในเอเชียโดยเฉพาะในประเทศที่ธนาคารกลางยังเหลือช่องว่างมากขึ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

1. ปี 2019 เป็นปีที่โดดเด่นสำหรับพันธบัตร ทำให้มีการพูดถึงในเรื่องฟองสบู่ คุณเห็นด้วยหรือไม่และอะไรคือความเสี่ยงหลักๆ สำหรับผู้ลงทุนตราสารหนี้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2020?

ผลงานที่แข็งแกร่งในปี 2019 สำหรับตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกและตลาดสินเชื่อได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ส่วนต่างที่แคบลงอีกสำหรับเครดิตสเปรดซึ่งเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกได้หนุนผลตอบแทนของตลาดสินเชื่อเช่นกัน ตลาดพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์ของเอเชียได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วคิดเป็นตัวเลขสองหลักเมื่อเทียบจากช่วงต้นปี ในขณะที่ตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในเอเชียยังได้รับผลตอบแทนที่ดีแม้จะเผชิญกับความอ่อนแอของสกุลเงินในภูมิภาค1

แม้ว่าจะไม่น่าเป็นไปได้ที่ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกจะทำผลตอบแทนได้เช่นเดียวกับปี 2019 ในหนึ่งปีข้างหน้านี้ แต่เราคิดว่าการพูดถึงปรากฏการณ์ฟองสบู่พันธบัตรเป็นสิ่งที่ด่วนสรุปจนเกินไป ประการแรก ธนาคารกลางสหรัฐเพิ่งหลุดออกมาจากวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งได้ขึ้นดอกเบี้ยไปครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2018 แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะลดลงอย่างรวดเร็วในปีนี้ แต่ยังคงอยู่เหนือระดับต่ำสุดในยุคหลังวิกฤติ นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกที่อยู่ในระดับต่ำนั้นเป็นลักษณะที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อที่ต่ำด้วยปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งอาจไม่รุนแรงเช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่น แต่ก็เป็นไปในทางที่คล้ายๆ กัน ทั้งนี้ภายใต้สภาวะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมด้วยสภาวะที่อ่อนแอของแรงส่งที่หนุนการเติบโต และการคาดการณ์เงินเฟ้อที่กำลังเปลี่ยนไปเนื่องจากเหตุการณ์ในระยะสั้น จะส่งผลให้ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายแบบผ่อนคลายต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผ่อนคลายทางนโยบายได้มีการดำเนินการหรือสะท้อนอยู่ในราคาตลาดแล้ว เราเห็นความเสี่ยงที่สำคัญสำหรับผู้ลงทุนตราสารหนี้ก็คือความผิดหวังในเรื่องนโยบาย สถานะนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่น้อยกว่าคาดอันเนื่องมาจากธนาคารกลางดำเนินนโยบายได้ช้ากว่าตลาด หรือโอกาสที่เกิดความประหลาดใจทางด้านบวกสำหรับข้อมูลด้านการเติบโต อาจทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในตลาดที่ให้ผลตอบแทนติดลบอย่างเช่น ยูโรโซนและญี่ปุ่น การรับรู้เรื่องโอกาสที่น้อยลงในการเดินหน้านโยบายอาจบั่นทอนความมีเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ในเวลาเดียวกัน ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลกหรือเศรษฐกิจหลักๆ ที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง อย่างเช่นจีน อาจนำมาสู่ภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงตลาดสินเชื่อทั่วโลก

2. คุณมองเห็นความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่? เรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อสถานะการลงทุนของคุณอย่างไร?

จากความเป็นไปได้ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ถึง 4 ครั้งในปี 2019 เราคาดว่าเฟดอาจจะผ่อนคลายนโยบายอย่างน้อยอีกหนึ่งครั้งในไตรมาส 1/2020 เศรษฐกิจสหรัฐที่ดีเกินคาดมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และอุปสรรคภาคการคลังที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2018 เริ่มที่จะลดลง ในขณะที่ความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังมีผลกระทบต่อภาคการลงทุนและยังคงเป็นแรงฉุดการเติบโต แม้ว่าข้อตกลงการค้าเบื้องต้นจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะสามารถกำจัดความไม่แน่นอนทางนโยบายออกไปได้ เนื่องจากความแตกต่างระหว่างความคาดหวังระหว่างสองประเทศในประเด็นที่ยังเป็นหัวข้อถกเถียง เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การถ่ายโอนเทคโนโลยี และการอุดหนุนอุตสาหกรรม ที่ยังคงมีขอบเขตที่กว้างมากและไม่น่าจะได้รับการแก้ไขในข้อตกลงระยะแรก การเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีนำเข้าในรอบถัดไปคาดว่าจะถูกระงับเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระยะแรก แต่อัตราภาษีก่อนหน้านี้ก็จะยังคงส่งผลกระทบต่อสภาวะการค้าอยู่ต่อไป

นั่นเท่ากับว่าจุดแข็งของภาคการบริโภคสหรัฐนั้นไม่อาจถูกประเมินในทางที่ต่ำเกินไป จากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง เศรษฐกิจสหรัฐยังควรได้รับการสนับสนุนจากสภาวะทางการเงินที่สภาพคล่องสูงและตลาดสินทรัพย์ที่สดใส เราคาดว่าเฟดจะอยู่ในสถานะเกาะติดข้อมูล แทนที่จะเข้ามามีส่วนโดยตรงในวัฏจักรการผ่อนคลายซึ่งทำอย่างเข้มข้นและในทันที อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของเราอุปสรรคต่อการเติบโตยังคงอยู่อย่างมีนัยสําคัญ เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะแย่ลงก่อนที่จะเริ่มมีเสถียรภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

เราจึงมีความโน้มเอียงไปให้น้ำหนักมากในเรื่องอายุเฉลี่ยของตราสารหรือ duration แต่ต้องตระหนักด้วยว่าสภาพแวดล้อมด้านการเติบโตและอัตราดอกเบี้ยยังสามารถผันผวนได้อย่างมากเนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายและภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกที่ยกระดับขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงยังคงเน้นในเรื่องความฉับไวและการปรับอายุเฉลี่ยตราสารในเชิงรุกหากอัตราผลตอบแทนแตะกรอบด้านบนหรือล่างในช่วงที่เราคาดการณ์ไว้

3. เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยดูจะยังคงอยู่ในระดับต่ำนานต่อไป ดังนั้น ผู้ลงทุนพันธบัตรจะหาสิ่งที่ให้คุณค่าสูงสุดได้จากที่ไหนบ้างในปี 2020?

ภาวะการโน้มเอียงไปยังอายุเฉลี่ยตราสารระยะยาวทั้งในส่วนอัตราดอกเบี้ยและพันธบัตรของเอเชียยังคงไม่เปลี่ยนแปลง จากมุมมองของเราที่ว่าธนาคารกลางในเอเชียมักดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการเติบโต ดังนั้นเราจึงมองทางด้านบวกต่อพันธบัตรรัฐบาลในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศที่ธนาคารกลางมีช่องว่างมากขึ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นั่นรวมถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอาจจะที่อินเดียด้วย

เมื่อความโดดเด่นทางเศรษฐกิจของสหรัฐค่อยๆ แผ่วลง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นในปี 2019 มีความเป็นไปได้ว่าจะอ่อนค่าลงแม้อัตราผลตอบแทนสหรัฐจะต่ำลง นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการถือครองสกุลเงินเอเชียที่จะดำเนินไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่างเช่นเงินรูปีอินเดีย และรูเปียห์อินโดนีเซีย การที่สกุลเงินท้องถิ่นอยู่ในสถานะที่จะแข็งค่าขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจในการเข้าซื้อพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของเอเชียที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพแวดล้อมการเติบโตที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่เปราะบาง จะทำให้เห็นการเกิดขึ้นของความเสี่ยงที่เป็นแบบเฉพาะ ทั้งในระดับประเทศและระดับภาคธุรกิจ ดังนั้นในขณะที่สภาพแวดล้อมอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไป เช่นเดียวกับสภาพคล่อง ยังคงอยู่ในสถานะที่เกื้อหนุน เราได้สังเกตเห็นว่าในปี 2019 ปัจจัยเฉพาะจะยังอาจส่งผลให้มีการสร้างผลงานที่แตกต่างกัน

4.คุณภาพของดัชนี US Investment Grade ของสหรัฐได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2008 แต่อัตราผลตอบแทนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงพอในการชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น เหตุการณ์นี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกันสำหรับภาคธุรกิจในเอเชียหรือไม่?

สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชนของเอเชียที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ พบว่าอัตราผลตอบแทนรวมทั้งหมดได้ปรับตัวลดลงสอดคล้องกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ นอกจากนี้ ผลประกอบการของบริษัทในเอเชีย รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิต ยังมีทิศทางอ่อนตัวลงท่ามกลางสภาพแวดล้อมการเติบโตที่ชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม เรายังคงเห็นอุปสรรคต่อแนวโน้มการโยกย้ายของตราสารทางเครดิตซึ่งอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ ตราสารทางเครดิตในรูปเงินสกุลดอลลาร์ของเอเชียกำลังเข้าสู่ช่วงของการเติบโตที่อ่อนแอลง ด้วยปัจจัยพื้นฐานโดยรวมของสินเชื่อที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปี 2015-2016 (หนี้สินสุทธิ / EBITDA อยู่ที่ 2.2 เท่าในเดือนมิถุนายน 2019 เทียบกับ 2.5 เท่าในเดือนธันวาคม 2016) ซึ่งเป็นเกราะป้องกันสำหรับภาคธุรกิจของเอเชียในการรับมือกับอุปสรรคที่ท้าทายทั้งหลาย นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่มีความระมัดระวังนับตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2019 ได้ทำให้เครดิตสเปรดของกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนสูงมีระดับที่กว้างมากขึ้น ในขณะที่สเปรดของกลุ่มที่มีอันดับเครดิตในระดับ investment grade โดยทั่วไปยังคงมีเสถียรภาพ สิ่งนี้ทำให้เครดิตสเปรดของเอเชียโดยทั่วไปอยู่ในช่วงเดียวกับกรอบการเคลื่อนไหวในอดีต ในขณะที่สเปรดของกลุ่มบริษัทที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงได้กลับไปสู่ระดับที่ใกล้กับช่วงปลายปี 2018 เมื่อภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงพุ่งสูงขึ้น ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1: สเปรดที่กว้างขึ้นของพันธบัตรเอเชียผลตอบแทนสูง (HY) เทียบกับ investment grades (IG) เป็นโอกาสในการเข้าถือเพื่อลงทุนได้อย่างน่าสนใจ2

guan-yi-interview-chart-1

ดังที่กล่าวมาข้างต้น เราไม่เห็นการประเมินมูลค่า หรือค่าความเสี่ยงที่ตึงตัวอย่างมากในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราตระหนักดีว่าความต้องการรีไฟแนนซ์ของผู้ออกตราสารในเอเชีย โดยเฉพาะผู้ออกตราสารของจีน คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในปีที่กำลังจะมาถึง โดยคาดว่าจะมีการออกพันธบัตรจีนในรูปสกุลเงินดอลลาร์มูลค่าราว 120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เรามองว่าตลาดน่าจะยังคงสามารถดูดซับซัพพลายของพันธบัตรที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาผู้ออกตราสารในเอเชียสามารถออกตราสารใหม่ได้เฉลี่ยปีละ 231 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ซัพพลายที่จะออกมาในตลาดยังอาจจำกัดภาวะการตึงตัวของ สเปรดที่อาจเกิดขึ้นได้

5.พันธบัตรผลตอบแทนสูงหรือ High yield bonds นั้นได้รับประโยชน์โดยตรงจากปรากฏการณ์การตามล่าหาผลตอบแทนทั่วโลก คำถามก็คือแล้วยังมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่?

จากการพิจารณาปัจจัยทางมหภาค เราเชื่อว่าการเลือกถือลงทุนในพันธบัตรอย่างรอบคอบโดยทำผ่านพันธบัตรผลตอบแทนสูงยังอาจช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนได้ ในขณะที่การเติบโตทั่วโลกคาดว่าจะยังคงไม่สดใส แต่ภาวะถดถอยทั่วโลกยังไม่ได้เป็นกรณีฐานของเราเมื่อพิจารณาถึงการสนับสนุนทางนโยบายที่มีความเป็นไปได้และความแข็งแกร่งในประเทศที่มีหลากหลาย และเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องมีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุน ทำให้การถือพันธบัตรเพื่อการลงทุนน่าจะยังคงหนุนผลตอบแทนพันธบัตรต่อไป

อย่างไรก็ตาม ความหวั่นไหวที่เกิดจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย และแรงกดดันที่เกิดขึ้นอาจยังส่งผลให้เกิดความผันผวนและการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นในตลาด เหตุผลนี้จึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนแนวทางที่ต้องเลือกสรร โดยหลีกเลี่ยงเครดิตที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการเติบโตที่ชะลอตัวและที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านเงินทุนที่เพิ่มขึ้น

Sources:
1 JP Morgan JACI Indices, Bloomberg, October 2019
2 Bloomberg, JPMorgan; based on JPMorgan Asian Credit Index (JACI) composite and sub-indices as of 1 November 2019. Please refer to www.eastspring.com/reference-index-list for more details on the indices.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.