แนวโน้มตลาดปี 2020 - กลยุทธ์เชิงปริมาณ

Ben Dunn ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน ด้านกลยุทธ์เชิงปริมาณที่ Eastspring Investments ประเทศสิงคโปร์ เน้นการประเมินมูลค่าที่น่าสนใจของหุ้นผันผวนต่ำในเอเชีย โอกาสสำหรับกลยุทธ์เชิงปริมาณในประเทศจีน ตลอดจนประโยชน์จากการเปิดรับการผสมผสานปัจจัยอันหลากหลาย

1. ดัชนี MSCI Minimum Volatility ซึ่งครอบคลุมทั่วโลกรวมถึงเอเชียแปซิฟิกที่ไม่รวมญี่ปุ่น ไม่สามารถเอาชนะดัชนีตลาดในภาพที่ใหญ่กว่าในปี 2019 นั่นหมายความว่า ปัจจัยความผันผวนต่ำนั้นมีประสิทธิภาพค่อนข้างน้อยในปีนี้ แล้วอะไรคือ สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้ ?

ผลงานที่ไม่ดีนักของดัชนี Minimum Volatility นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนตุลาคม ได้รับแรงผลักดันจากผลกระทบของกลุ่มธุรกิจและปัจจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยแบบเฉพาะเจาะจงของหุ้น โดยสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดเป็นตัวแทนที่ค่อนข้างน้อยของหุ้นขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในเกณฑ์มาตรฐานความผันผวนขั้นต่ำ แม้ว่าหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่แข็งแกร่งในปี 2019 แต่ก็มีความผันผวนสูง ดัชนีความผันผวนขั้นต่ำในบริบททั่วทั้งโลกและเอเชีย จะช่วยลดระดับความผันผวนโดยรวมอย่างมีนัยยะ ซึ่งแสดงให้เห็นจากตารางด้านล่าง

รูปที่ 1 ดัชนีความผันผวนขั้นต่ำช่วยลดความผันผวนโดยรวมในปี 20191

ben-dunn-interview-chart-1

ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำอาจแตกต่างจากภาพตลาดโดยรวม อันเนื่องมาจากปัจจัยเฉพาะของแต่ละประเทศอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งผลกระทบเป็นรายหุ้น ขณะกลยุทธ์ความผันผวนต่ำมีแนวโน้มที่จะเป็นเกราะป้องกันของตลาดมากยิ่งขึ้น

ในขณะที่เราตระหนักว่ากลยุทธ์ความผันผวนต่ำ สามารถมีบทบาทในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (เช่น การค้นหาคุณลักษณะการเป็นเกราะป้องกันเพื่อเตรียมพร้อมรับความผันผวน) แต่การจัดสรรสินทรัพย์ควรทำด้วยความคิดที่มองไปในระยะยาว เช่นเดียวกับความเข้าใจที่ว่า ผลตอบแทนในระยะสั้นอาจแตกต่างไปจากตลาด (และเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง) อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว กลยุทธ์ความผันผวนต่ำมีแนวโน้มที่จะทำได้อย่างสอดคล้องและโดยทั่วไปจะดีกว่าตลาดในภาพใหญ่ แต่มีความผันผวนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

2. จากความผันผวนของตลาดในปี 2019 ผู้ลงทุนจึงมองหาหุ้นที่มีลักษณะเป็นเกราะป้องกันที่ดีกว่า ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ หุ้นที่มีความผันผวนต่ำมีราคาแพงไปแล้วหรือไม่?

เราพบเห็นข้อมูลที่มากขึ้นที่แสดงถึงช่องว่างของการประเมินมูลค่าที่กว้างขึ้นในหุ้นประเภท defensive/ความผันผวนต่ำ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ตัวอย่างเช่น ดัชนีความผันผวนขั้นต่ำของ MSCI ในสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปแล้วจะมีการซื้อขายในระดับพรีเมียมสำหรับอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) เล็กน้อย (น้อยกว่า 10%) เทียบกับดัชนีหลักที่ครอบคลุมกว้างขึ้น (MSCI US) ค่าพรีเมียมนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 30% ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และในทำนองเดียวกัน ในยุโรปดัชนีความผันผวนขั้นต่ำของ MSCI ก็ซื้อขายที่ระดับพรีเมียม 20% เทียบกับดัชนีหลักที่เกี่ยวข้อง (MSCI Europe) จากค่าพรีเมียมที่เคยมีส่วนต่างน้อยในอดีต

อย่างไรก็ตาม เราไม่เห็นปรากฏการณ์นี้ในทุกตลาด ในความเป็นจริง ถ้าดูที่ตลาดเอเชียแปซิฟิคไม่รวมญี่ปุ่น พบว่าค่าพรีเมียมของความผันผวนขั้นต่ำแบบมาตรฐานในอดีตซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15% ได้หดหายไปในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2 หุ้นผันผวนต่ำในเอเชียมีราคาถูก2

ben-dunn-interview-chart-2

การพิจารณาเรื่องการประเมินมูลค่าเป็นส่วนสำคัญของแนวทางความผันผวนต่ำของเรา โดยในสถานการณ์ที่ตลาดมีการจ่ายแพงเกินไปสำหรับหุ้น defensive เราต้องการที่จะหาหุ้นที่เป็นทางเลือก มีประโยชน์เรื่องการกระจายความเสี่ยงที่คล้ายกัน แต่มีราคาน่าดึงดูดยิ่งขึ้น

3. ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2020 ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อปัจจัยความผันผวนต่ำอย่างไรในอดีต?

หุ้น defensive มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ดังนั้นความคาดหวังของตลาดในการปรับลด (หรือปรับขึ้น) อัตราดอกเบี้ยของเฟดมีผลบางอย่างต่อผลตอบแทนสำหรับปัจจัยความผันผวนต่ำ เราสังเกตว่าอัตราผลตอบแทนที่ลดลงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนปัจจัยความผันผวนต่ำ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ของเรายังแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ความผันผวนต่ำนี้มีความอ่อนไหวมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงในความผันผวนของตลาด มากกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทน

ดัชนี VIX (ตัวชี้วัดของตลาดสำหรับความคาดหวังของผู้ลงทุนในเรื่องความผันผวน) ในปัจจุบันอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดของปี 2019 แม้ว่าจะพุ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลายครั้งในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ เราคาดว่าตลาดจะได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจมหภาค เหตุการณ์ทางการเมือง และกระแสข่าวในปี 2020 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบมากกว่าความเคลื่อนไหวของเฟด (หรือธนาคารกลางอื่นๆ ) สำหรับปัจจัยความผันผวนต่ำ

4. เราเห็นการหมุนเวียนอย่างชัดเจนระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในปี 2018 และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ปัจจัยเรื่องมูลค่าทำให้เกิดการฟื้นตัวช่วงสั้นๆ ผู้ลงทุนสามารถเดินฝ่าสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ได้อย่างไร?

มีการสลับเปลี่ยนหมุนเวียนอย่างรวดเร็วสำหรับปัจจัยด้านโมเมนตัมและมูลค่าในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งการเคลื่อนไหวที่เด่นชัดที่สุดในตลาดสหรัฐถูกครอบงำโดยกลุ่มธุรกิจและเหตุผลเฉพาะหุ้น

MSCI USA Momentum ทำผลงานได้แย่กว่าดัชนีตลาดหลัก -3.0% ในเดือนกันยายน ส่วนใหญ่เนื่องจากการให้น้ำหนักที่มากในหุ้นเทคโนโลยีและให้น้ำหนักน้อยในกลุ่มธนาคาร

ด้วยเหตุนี้ ดัชนี MSCI USA Enhanced Value มีผลงานที่เหนือกว่าดัชนีตลาดหลัก +1.8% จากน้ำหนักที่ให้น้อยในหุ้นเติบโตและโมเมนตัม

ในทางที่คล้ายคลึงกัน แม้ว่าสองปัจจัยนี้จะเปลี่ยนแปลงแบบไม่เห็นเด่นชัดนัก ในเดือนตุลาคม 2019 จากตัวขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน จากนั้นน้ำหนักที่น้อยของโมเมนตัมในหุ้นด้านการดูแลสุขภาพและหุ้นธนาคาร ได้ฉุดผลงานอ่อนแอ แม้ว่าการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะช่วยลดผลกระทบ ดัชนี Enhanced Value ได้รับประโยชน์จากสถานะที่ให้น้ำหนักมากในหุ้นเซมิคอนดักเตอร์และการดูแลสุขภาพ

การสลับเปลี่ยนหมุนเวียนอย่างมากเหล่านี้ ได้เน้นถึงความพยายามในการจับจังหวะเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับประโยชน์จากปัจจัยระยะสั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทาย เราเชื่อว่าผู้ลงทุนมีสถานะดีขึ้นในการรักษาระดับการเปิดรับปัจจัยที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว นี่คือปรัชญาพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังกลยุทธ์หุ้นแบบผสมผสานหลายปัจจัยของเรา หรือ Multi Factor Equity strategy

5. จีนยังคงเป็นจุดสนใจหลักของผู้ลงทุน อะไรคือ ข้อดีของการเข้าถึงตลาดหุ้นจีนผ่านแนวทางเชิงปริมาณ?

ตลาดหุ้น A share ของจีน ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนทั่วโลก เนื่องจากการควบคุมและข้อจำกัดด้านกฏเกณฑ์ที่ถูกผ่อนคลาย และน้ำหนักของตลาดหุ้น A share ของจีนที่เพิ่มขึ้นในดัชนีมาตรฐานระดับภูมิภาคและระดับโลก

ตลาดหุ้น A share ของจีนเหมาะสำหรับกลยุทธ์เชิงปริมาณ เนื่องจากขนาดที่พอเหมาะ ความกว้างอย่างมีนัยยะ (เช่นหุ้นจำนวนมากในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่หลากหลาย) และความลึก ตลอดจนต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการมีส่วนร่วมของผู้ลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก แสดงว่าตลาดมีความไร้ประสิทธิภาพที่กลยุทธ์เชิงปริมาณโดยทั่วไปมักมองหาโอกาส

มีความแตกต่างอยู่บ้างของตลาดจีนที่จำเป็นต้องถูกรับรู้และนำมาพิจารณา อย่างเช่นอิทธิพลของผู้ลงทุนรายย่อยในประเทศซึ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนที่สูงขึ้น และรูปแบบการกลับตัวที่แข็งแกร่งของการซื้อขาย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยโดยทั่วไปจำนวนมากที่ถูกใช้โดยกลยุทธ์เชิงปริมาณในตลาดอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมากในตลาดหุ้น A share ของจีน รวมถึงปัจจัยความผันผวนต่ำ

6. กระบวนการลงทุนของคุณมีการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างไร?

กลยุทธ์เชิงปริมาณของเราได้รับการออกแบบมาเป็นกลยุทธ์ระยะยาว และสิ่งที่เรามุ่งเน้นก็คือ การได้รับปัจจัยเหล่านั้นซึ่งการวิจัยของเราระบุว่าเป็นการได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งในระยะสั้นตลาดอาจได้รับแรงหนุนชั่วคราวจากปัจจัยและเหตุการณ์อื่นๆ รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำและร่วงลงอย่างต่อเนื่อง และความกังวลต่อการเติบโตทั่วโลก กลยุทธ์ของเรามุ่งเน้นที่จะเข้าใจธรรมชาติของปัจจัยเหล่านี้และมองหาวิธีลดผลกระทบด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนที่มีความหลากหลายและควบคุมการเปิดรับแหล่งที่มาของความเสี่ยงที่ไม่ได้ตั้งใจ

นอกจากนี้ กลยุทธ์ของเรายังรวมองค์ประกอบของการถ่วงน้ำหนักแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เข้ารวมกับปัจจัยที่เราใช้สำหรับแต่ละตลาด ปัจจัยที่เราใช้ในการสร้างความแตกต่าง หรือ alpha นั้น มีแนวโน้มที่จะสร้างผลงานได้ดีเป็นส่วนใหญ่ในตลาด หรือดีกว่าทั้งหมด แต่พฤติกรรมและขนาดของผลงานในแต่ละตลาดและในแต่ละหมวดหมู่จะแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เกาหลีซึ่งเป็นตลาดที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเรื่องมูลค่ามากกว่าในอดีต ในขณะที่ปัจจัยต่างๆ เช่นความเชื่อมั่นและโมเมนตัมสามารถทำผลงานอย่างแข็งแกร่งในมาเลเซีย เราพยายามที่จะตระหนักถึงความแตกต่างเหล่านี้ทั่วทุกตลาด และการเปลี่ยนแปลงของผลงานของปัจจัยต่างๆ ที่มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา

Sources:
1 Bloomberg. MSCI. As of October 2019.
2 MSCI. Eastspring Investments. November 2019.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.