สรุปสภาวะตลาด ประจำเดือนสิงหาคม

เดือนสิงหาคมเป็นอีกเดือนที่น่าสนใจ เนื่องจากสินทรัพย์เกือบทุกประเภทปรับตัวขึ้นในช่วงเดือนนี้ โดยเฉพาะกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรับตัวขึ้นได้ดี โดยดัชนีหุ้นโลก (MSCI ACWI Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.97% ขณะที่ดัชนีความผันผวนของดัชนีหุ้น S&P500 (VIX Index) ในเดือนสิงหาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 22.9% ซึ่งลดลงจากค่าเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมที่ระดับ 26.8% สะท้อนถึงความกังวลที่ลดลงของผู้ลงทุน ขณะเดียวกันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลง (ราคาขึ้น) ส่วนสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหลังสัญญาทองคำตลาด COMEX ทำจุดสูงสุดที่ 2,069.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อช่วงต้นเดือน ซึ่งตลอดทั้งเดือนนั้นทองคำปรับตัวขึ้นประมาณ 0.39%

ภาพการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทั่วโลกในช่วงเดือนสิงหาคมยังคงเป็นไปในลักษณะของการซื้อขายเชิง Sentiment (บรรยากาศการลงทุน) เป็นหลัก จากหลายปัจจัยที่เกิดขึ้น เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ประกาศปรับใช้นโยบาย “เงินเฟ้อเฉลี่ย” ถือเป็นการหนุนให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลคงตัวในระดับต่ำไปอีกสักระยะ ส่วนวัคซีนป้องกันCOVID-19 ที่รัสเซียได้ประกาศจดทะเบียนวัคซีนป้องกัน COVID-19 (สปุตนิก-5) ต่อจากจีน (แต่วัคซีนจากจีนนั้นได้รับการอนุมัติให้ใช้ในทหารเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนทั่วโลกจำนวน 36 ตัวที่ได้มีการทำการทดลองในมนุษย์แล้ว รวมถึงประเด็นเรื่องข้อพิพาทสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานโดยรวมด้านเศรษฐกิจและด้านผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในเดือนสิงหาคมก็ถือว่าค่อนข้างดี ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวยังคงสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลกที่ดีขึ้นต่อเนื่อ

sep_article_graph_01

ในช่วงเดือนสิงหาคมบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ทั่วโลกเริ่มประกาศผลกำไรไตรมาส 2 มากันเกือบครบแล้ว S&P500 ได้มีการประกาศผลกำไรในไตรมาสที่ 2 ออกมาแล้วประมาณกว่า 300 บริษัท หรือคิดเป็นประมาณ 60% ซึ่งส่วนใหญ่ผลออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดย earning surprise ออกมาดีกว่าคาดประมาณ 22%

ขณะที่ของไทยการประกาศผลกำไรในไตรมาสที่ 2 ออกมาแล้วเพียง 13 บริษัท หรือ คิดเป็นประมาณ 2% ของจำนวนหุ้นใน SET Index ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดย Earning Surprise ออกมาไม่ค่อยดีกว่าคาดการณ์ไว้ประมาณ 22% ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ประกาศผลกำไรออกมาแย่กว่าที่คาด

sep_article_graph_02

ตราสารทุน

ประเด็นข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่เข้ามากดดันตลาดหุ้นอยู่เป็นระยะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทรัมป์ต้องเร่งดึงคะแนนความนิยมของตัวเองให้กลับขึ้นมาก่อนวันเลือกตั้งวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ หลังจากความนิยมของทรัมป์ลดลงเนื่องจากการควบคุมและแก้ไขปัญหาเรื่อง COVID-19 ที่ไม่ค่อยดีนัก ในช่วงเดือนสิงหาคม สหรัฐฯได้ยกเลิกสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และยุติการยกเว้นภาษีเงินได้จากการเดินเรือระหว่างประเทศที่เคยทำไว้กับฮ่องกง ออกคำสั่งแบนแอปพลิเคชั่น TikTok และ Wechat จนทำให้ทั้งสองออกมาฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯให้ยกเลิกคำสั่งแบนของทรัมป์, ประกาศกฎใหม่เพื่อจำกัดหัวเว่ยจากการเข้าถึงชิปที่ผลิตโดยบริษัทต่างชาติที่ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐ อย่างไรก็ดี รัฐบาลจีนยังคงเลือกที่จะไม่ตอบโต้และยืนยันที่จะเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ และพร้อมปกป้องคุ้มครองบริษัทต่างชาติในจีน นอกจากนี้แล้ว ช่วงปลายเดือนที่ผ่านยังมีปัจจัยบวกจากการที่สหรัฐฯและจีนได้มีการทบทวนข้อตกลงการค้าเฟสแรก ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเดินหน้าผลักดันการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก

sep_article_graph_03

ตลาดหุ้นสหรัฐฯช่วงเดือนสิงหาคมโดยรวมปรับตัวขึ้นได้ดี S&P500 7.01% Dow Jones 7.57% Nasdaq 9.59% แม้ราคาจะแกว่งตัวบ้างจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีน หรือการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงสูงอยู่ แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงได้รับการหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อทั้งภาคการผลิตและบริการ, ยอดค้าปลีกและยอดขายบ้านใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และตัวเลขผลกำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาด และคาดการณ์กำไรของบริษัทช่วง 12 เดือนข้างหน้าถูกปรับขึ้น อีกทั้ง เนื่องจากการเจรจาก่อนหน้านี้ของพรรคเดโมแครตกับทำเนียบขาวเพื่อออกกฎหมายแพ็กเกจเยียวยา COVID-19 รอบใหม่ล้มเหลว ทรัมป์จึงได้ลงนามคำสั่งพิเศษแจกเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อสัปดาห์ให้กับคนว่างงาน รวมถึงการละเว้นภาษีสำหรับชาวอเมริกันที่มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 ดอลลาร์ต่อปี การต่อเวลาการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้เพื่อการเล่าเรียนของนักศึกษาอเมริกัน และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่าที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี คาดว่าแพ็กเกจเยียวยา COVID-19 รอบใหม่ของสหรัฐฯกำลังจะมาในเร็วๆนี้

ขณะที่ในฝั่งยุโรป Euro Stoxx 600 ปรับตัวขึ้น 2.86% แม้ตัวเศรษฐกิจและผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะประกาศออกมาดี ตลาดหุ้นยุโรปยังเผชิญแรงขายทำกำไรจากการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ในหลายประเทศ ทำให้ต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น รัฐบาลอังกฤษนำฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โมนาโค มอลตา หมู่เกาะเติร์กและเคคอส ออกจากรายชื่อประเทศที่พลเมืองไม่ต้องทำการกักตัวเมื่อเดินทางเข้ามาในอังกฤษ (Travel Corridors) โดยต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เป็นต้น การเจรจา Brexit ที่ยังไม่มีความคืบหน้า รวมถึงการที่ไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่จากทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB) และรัฐบาลของแต่ละประเทศ

ในฝั่งของจีนนั้น ปัจจัยกดดันยังคงหนีไม่พ้นประเด็นความขัดแย้งกับสหรัฐฯที่เข้ามาเป็นระยะ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีนที่ตกเป็นเป้าของสหรัฐฯ ยกตัวอย่างเช่นหุ้น Tencent ที่ปรับตัวลงจากข่าวการแบน WeChat เป็นต้น อย่างไรก็ดี มองว่าปัจจัยดังกล่าวเป็นผลกระทบต่อการลงทุนในเชิง Sentiment (บรรยากาศการลงทุน) เป็นหลัก เนื่องจากรายได้หลักของบริษัทที่เป็น Internet Company จีนมาจากภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยบวกช่วงเดือนสิงหาคมต่อหุ้นจีนก็คือ การที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดเงินสดเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อรักษาสภาพคล่องในตลาด โดยเดือนสิงหาคมตลาดหุ้นจีน MSCI China Index 5.60%

ในส่วนของไทยนั้น ศบศ. ได้อนุมัติ 4 เรื่องหลัก ได้แก่ มาตรการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว ขยายสิทธิ์ “เราเที่ยวด้วยกัน” จากคนละ 5 คืน เป็น 10 คืน และเพิ่มสนับสนุนค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินจาก 1,000 บาทต่อคน เป็น 2,000 บาทต่อคน มาตรการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ล่าสุด ครม. เห็นชอบปรับปรุงรายละเอียดมาตรการเราเที่ยวด้วยกันจากเดิม 5 คืนต่อคน เป็น 10 คืนต่อคน และขยายการสนับสนุนตั๋วเครื่องบินในการเดินทางจาก 1,000 บาทต่อคน เป็น 2,000 บาทต่อคน ส่วนมาตรการอื่น ๆ ต้องติดตามกันต่อไป ส่วนปัจจัยกดดันตลาดช่วงเดือนสิงหาคมได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 2 หดตัวหนักถึง -12.2%, ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ และตัวเลขผลกำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งภาพรวมผลกำไร -45% yoy ผลตอบแทนSET Index จึงปรับตัวลดลงประมาณ 1.35%

sep_article_graph_04

ตราสารหนี้

ตลาดตราสารหนี้โดยรวมของสหรัฐฯ Yield ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย (ราคาลดลง) ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชนกลุ่มคุณภาพดี (Investment Grade) รวมถึงกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง (High Yield) อีกทั้ง เมื่อพิจารณาความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (ส่วนต่างระหว่าง Yield 10 ปีเทียบกับ Yield 2 ปี) จะพบว่าชันขึ้นพอสมควร เนื่องจากการที่ FED ประกาศจะใช้นโยบายเงินเฟ้อเฉลี่ยแทนการยึดเป้าที่ 2% ซึ่งนโยบายดังกล่าวอาจทำให้เส้นผลตอบแทนพันธบัตรตัวสั้นยังอยู่ในระดับต่ำจากการที่ FED อาจยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เอกชนสหรัฐฯที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ต่ำกว่า BBB นั้นเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) ปรับแคบลง เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่าง MBS, CMBS และ ABS โดยเหตุผลหลักจาก Market Sentiment เชิงบวกมากขึ้น (ตลาด Risk-on) ซึ่งก็เป็นผลมาจากข่าวดีเรื่องความคืบหน้าของวัคซีน และการที่ FED ประกาศจะปรับใช้นโยบายเงินเฟ้อเฉลี่ย รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวที่ประกาศออกมาดี

ภาวะตราสารหนี้ของไทยช่วงเดือนสิงหาคมมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันสูงขึ้นกว่าช่วงเดือนกรกฎาคมเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น (ราคาปรับตัวลดลง) อีกทั้งความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (ส่วนต่างระหว่าง Yield 10 ปีเทียบกับ Yield 2 ปี) ก็ชันขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก FED ประกาศใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ย ในแง่ของตราสารหนี้ภาคเอกชน แม้โดยรวมแล้วอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น (ราคาลดลง) เช่นเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาล แต่หากพิจารณาส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เอกชนเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) จะพบกว่ากลุ่มที่มีคุณภาพสูงอย่าง AAA มีส่วนต่างที่แคบลง ขณะที่ตัวอื่น ๆ ค่อนข้างทรงตัว ตรงนี้สะท้อนมุมมองของผู้ลงทุนที่เริ่มกล้ารับความเสี่ยงมากขึ้น แต่ยังคงลงทุนแบบระมัดระวังมากอยู่ เพื่อ Wait & See ความคืบหน้าของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ COVID-19 ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ทาง ธปท. เผยว่าภาพรวมเศรษฐกิจเดือนรายเดือนปรับตัวดีขึ้นกว่าคาดการณ์ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แต่หากมองไประยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เดิม คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประมาณ 8 ล้านคน ปัจจุบันปรับลดลงเหลือเพียง 6.7 ล้านคน

sep_article_graph_05

สินทรัพย์ทางเลือก

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยรวมทั่วโลกปรับตัวขึ้น Global REIT +1.57% ขณะที่ REIT ไทยปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย (SETPREIT Index) 0.15% ส่วนเหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ REIT บางตัวประกาศไม่จ่ายปันผล โดยเฉพาะในกลุ่ม Retail และโรงแรม กลุ่มออฟฟิศที่คาดว่า Supply จะเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า กลุ่ม Retail ที่มีการเจรจาสัญญาการเช่าใหม่ รวมถึงปัจจัย COVID-19 ทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่กลุ่ม Industrials ยังคงทรงตัวได้

ทองคำ (COMEX) ปรับตัวขึ้น 0.39% ในสิงหาคม หลังทำจุดสูงสุดใหม่ หรือ All Time High ที่ 2,069.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อช่วงต้นเดือนได้ไม่นาน ราคาทองคำก็ปรับตัวลดลงกว่า 90 ดอลลาร์ภายในวันเดียวจากข่าวรัสเซียประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 ก่อนที่จะทรงตัวจนถึงสิ้นเดือนโดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ได้ปัจจัยบวกเท่าไรนักในเรื่องของ COVID-19 และวัคซีน อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่ทรงตัวได้หลังอ่อนตัวต่อเนื่องมาหลายเดือนก่อนหน้านี้

เดือนสิงหาคมราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น โดยสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวขึ้น 5.81% ขึ้นมาปิดที่ $40.27 ถึงแม้ว่าการประชุมกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตรหรือโอเปคพลัส เตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์หากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังคงยืดเยื้อต่อไป ราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเอเชียจากที่ประเทศต่าง ๆ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์มากขึ้น สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ลดลงติดต่อกันหลายสัปดาห์ รวมถึงบริษัทน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกที่ต้องระงับการผลิตชั่วคราวเนื่องจากเฮอร์ริเคนมาร์โคและพายุโซนร้อนลอรา

sep_article_graph_06

มุมมองการลงทุนสำหรับเดือนกันยายน

ในเดือนกันยายนเป็นอีกหนึ่งเดือนที่น่าสนใจ เนื่องจากยังคงมีหลายปัจจัยที่น่าจับตา เช่น ข่าวความคืบหน้าเรื่องวัคซีนต้าน COVID-19 ที่เห็นจากช่วงที่ผ่านมาแล้วว่า ตลาดการเงินนั้นมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทั้งเชิงบวกและลบค่อนข้างมาก ประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องจับตาดังนี้

1) การโต้วาที (Presidential Debate) ระหว่างทรัมป์และไบเดนเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้น 3 ครั้ง ได้แก่วันที่ 29 กันยายน, 15 และ 22 ตุลาคม

2) การประชุมของธนาคารกลางสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น FED, ECB, BOJ, BOE รวมถึงการประชุม กนง. ของไทย โดยของ Fed (FOMC) ณ วันที่ 15-16 กันยายน ที่คาดว่า FED จะเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายเงินเฟ้อใหม่ อีกทั้งเผยกลยุทธ์ที่จะใช้ดันเงินเฟ้อตามเป้า คาดว่า FED อาจมีการปรับเปลี่ยน Forward Guidance และโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ

3) ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆในแต่ละสัปดาห์ เช่น ตัวเลขผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อฝ่ายการผลิตและบริการ (PMI), ความเชื่อมั่นผู้บริโภค, อัตราการว่างการ และยอดการขายบ้านใหม่ เป็นต้น

คำแนะนำการลงทุน

ประเทศจีนยังคงเป็นประเทศแรกๆที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ดีหลังจากที่จัดการกับการแพร่ระบาด COVID-19 ในขณะที่หุ้นโลกและสหรัฐฯ สามารถทยอยสะสมได้เมื่อมีการย่อตัว ส่วนหุ้นกลุ่มเติบโต เช่น กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสื่อสาร กลุ่มสุขภาพ และกลุ่มอีคอมเมิร์ซ ยังมองว่ายังเติบโตต่อได้ และในกลุ่มตราสารหนี้ ให้น้ำหนักตราสารหนี้เอกชนในระดับ Investment Grade มากกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่กลุ่ม Yield Play ไม่ว่าจะเป็น REITs/Infrastructure มองว่าควรมีอยู่ในพอร์ตในภาวะดอกเบี้ยต่ำ และสินทรัพย์ปลอดภัยควรมีอยู่ในพอร์ตไม่เกิน 10-15% เพื่อกระจายความเสี่ยงเนื่องจากราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.