Highlight of the week

  • เจเน็ต เยลเลน มองสหรัฐฯเสี่ยงต่อเศรษฐกิจถดถอยน้อยลง โดยชี้ว่าการชะลอตัวของการใช้จ่ายผู้บริโภคในช่วงหลายเดือนหลัง คือต้นทุนที่รัฐบาลต้องจ่ายจากความพยายามควบคุมเงินเฟ้อเท่านั้น
  • สหรัฐฯ กระชับสัมพันธ์อินเดียโดยทำข้อตกลงร่วมกันด้านกลาโหมและการค้าระหว่างสองประเทศ รวมทั้งอนุญาตให้กองทัพเรืออเมริกาสามารถใช้งานอู่อินเดียได้
  • Berkshire Hathaway เพิ่มถือหุ้นญี่ปุ่นในกลุ่มค้าขาย 5 แห่งใหญ่ โดยถือหุ้นเฉลี่ยบริษัทละ 8.5% ประกอบไปด้วย Itochu, Marubeni, Mitsubishi, Mitsui และ Sumitomo โดยวอร์เรน บัฟเฟตต์ พึ่งเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวในเดือน เม.ย.
  • จีนปรับลดดอกเบี้ย LPR อายุ 1ปี และ 5ปี ลงอย่างละ 0.1% ต่อเนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยหลักอย่าง MLF และ 7-Day Repo ในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นสัญญาณจากรัฐบาลซึ่งกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและต้องการเพิ่มการกระตุ้นให้มากกว่าเดิม

ภาพรวมการลงทุนในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ดัชนี Fear & Greed Index ปิดที่ระดับ 74 จุดในโซน Greed จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 82 จุดในโซน Extreme Greed โดยตลาดหุ้นทั่วโลกถูกกดดันจากความกังวลดอกเบี้ยขาขึ้นจากทั้งในสหรัฐฯและกลุ่มประเทศยุโรป ในฝั่งของสหรัฐฯนักลงทุนกังวลหลังการรายงานภาวะเศรษฐกิจของผู้ว่าฯเฟดนายเจอโรม พาวเวล ต่อสภาคองเกรสยังคงตอกย้ำเป้าหมายที่จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดีในรายละเอียดของถ้อยแถลงกลับไม่ได้มีประเด็นเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นายพาวเวลแถลงหลังการประชุม FOMC ประจำเดือน มิ.ย. มากนัก อีกทั้งตัวเลข PMI ที่ประกาศออกมาในสัปดาห์ยังคงบ่งชี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในฝั่งยุโรปถูกกดดันจากที่ธนาคารกลางหลายประเทศโดยเฉพาะ BoE ของอังกฤษปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ด้านตลาดหุ้นจีนถูกกดดันจาก Sentiment แม้รัฐบาลปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงก็ตาม โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลปรับลดดอกเบี้ยน้อยไปและยังไม่มีความชัดเจนด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ สัปดาห์นี้ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ของกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่น เงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ และตัวเลข PMI ของจีน

ตลาดหุ้นโลก

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มแสดงภาพความอ่อนตัว และความกังวลต่อกลุ่มธนาคารที่คาดว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคอีกระยะหนึ่ง จะเป็นปัจจัยที่กดดันธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงที่เหลือของปี โดยเราคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% และมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ Mild Recession ขณะที่ตลาดหุ้นกลุ่มเติบโต (Growth) จะเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวได้ดีในช่วงดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศ ทำให้เรามีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นกลุ่ม Growth เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้แนะนำรอจังหวะตลาดหุ้นย่อตัวก่อนสะสมหุ้น Growth โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ซึ่งเราคาดว่าจะฟื้นตัวได้แข็งแรงในช่วงที่เหลือของปีจากที่ดอกเบี้ยเริ่มเปลี่ยนทิศ แนะนำ TMB-ES-GCG, TMBUSBLUECHIP และ ES-USTECH ทั้งนี้สำหรับนักลงทุนที่ยังกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง แนะนำลงทุนหุ้นสไตล์ blended เพื่อช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลง เช่น ES-GDIV ซึ่งเป็นกลุ่มปันผลสูงและเป็นที่ต้องการในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ตลาดหุ้นจีน

เราเห็นแนวโน้มเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนในระยะยาวจากการเปิดประเทศในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แม้การฟื้นตัวในระยะสั้นอาจไม่รวดเร็วอย่างที่นักลงทุนคาดการณ์ แต่เราเห็นแนวโน้มการนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้อย่างรวดเร็วของภาครัฐซึ่งแสดงถึงความตั้งใจในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้เติบโตตามเป้าหมายในปีนี้ ขณะที่การปฏิรูปนโยบายด้าน Common Prosperity ที่เรากังกลไม่ได้ส่งสัญญาณก้าวร้าวอย่างที่คิด นอกจากนั้นเริ่มเห็นการปรับคาดการณ์กำไรเพิ่มขึ้นสำหรับหุ้นขนาดใหญ่ประกอบกับ Valuation ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ แนะนำเริ่มทยอยสะสมหุ้นจีนโดยเน้นไปที่หุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่ม Onshore ซึ่งได้ประโยชน์โดยตรงหากเศรษฐกิจฟื้นตัวและมีความอ่อนไหวกับการเมืองระหว่างประเทศน้อยกว่าได้แก่ TMB-ES-China-A รวมไปถึงกลุ่ม Thematic ที่ได้ประโยชน์จากการบริโภคของชาวจีนอย่าง TMB-ES-CHILL ซึ่งหลายบริษัทที่ลงทุนเคยมีรายได้จากประเทศจีนราว 40-50% ก่อนเกิดโควิด-19 เป็นกลุ่มที่สามารถสะสมเพื่อเสริมพอร์ตในช่วงนี้

ตลาดหุ้นยุโรป

ตลาดหุ้นยุโรปเริ่มดูดีมากขึ้นหลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มชะลอตัวลง ส่งผลให้ ECB เริ่มลดความร้อนแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุด อย่างไรก็ตามด้วยการที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงยังคงเป็นแรงกดดันให้ ECB ยังคงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอีกซักระยะ ประกอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคธนาคารยังคงปกคลุมความเชื่อมั่นนักลงทุนอยู่ แม้ว่า Valuation จะค่อนข้างถูกในขณะนี้ เราแนะนำให้ wait&see ตลาดหุ้นยุโรปไปก่อน

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 1981 ส่งผลให้ BoJ มีโอกาสเข้มงวดนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยประคองทั้งค่าเงินและสถานะการคลังของประเทศ ทำให้การอ่อนค่าของค่าเงินเยนที่เคยหนุนหุ้นกลุ่มส่งออกของญี่ปุ่นและต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำกำลังจะหายไปในไม่ช้า ประกอบกับการเปลี่ยนผู้ว่าฯ BoJ คนใหม่ซึ่งหนุนการดำเนินนโยบายการเงินแบบตรงไปตรงมา ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวอาจกลายเป็นแรงสนับสนุนการเข้มงวดนโยบายการเงินในไม่ช้า ทำให้ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ต้องติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด แนะนำขายทำกำไรในระยะสั้น

ตลาดหุ้นอินเดีย

เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ธนาคารกลางรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทำให้อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 6% ประกอบกับรัฐบาลมีการออกมาตรการต่างๆเพื่อควบคุมเงินเฟ้อเช่นกัน อย่างไรก็ตาม valuation ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆในเอเชีย ประกอบกับมีโอกาสมีเงินทุนจะไหลออกมากขึ้นเนื่องจากขาดดุลการค้าต่อเนื่องและทำให้ค่าเงินอ่อนตัว แนะนำคงสัดส่วนกองทุน TMBINDAE

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ตลาดหุ้นถูกกดดันจากการที่รัฐบาลเข้าปราบปรามการทุจริตและการปั่นหุ้นรวมทั้งผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แนะนำคงสัดส่วนสำหรับนักลงทุนระยะสั้น อย่างไรก็ดีการแทรกแซงของรัฐบาลและการเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีในระยะกลาง-ยาว ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวจากโควิด-19 อย่างแข็งแกร่งในเกือบทุกมิติ รวมถึง valuation ที่น่าสนใจในระดับ -2SD สำหรับนักลงทุนระยะยาวแนะนำใช้โอกาสที่ตลาดปรับฐานเพื่อสะสมกองทุน TMB-ES-VIETNAM

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs ไทยและสิงคโปร์

มีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากรัฐบาลทั้งสองประเทศลดความเข้มงวดของนโยบายป้องกันโควิดลงอย่างมาก พร้อมทั้งพยายามเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม REITs ไทยยังคงถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งเราคาดว่าแบงก์ชาติยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยไปที่ 2.25-2.5% อยู่บ้าง หากสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรง ขณะที่ REITs สิงคโปร์ ถูกกดดันด้วยการเข้มงวดนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทั้งนี้แม้อัตราเงินเฟ้อของทั้งสองประเทศเริ่มชะลอตัว แต่ Dividend Yield Gap ปรับตัวลดลงบางส่วนชดเชยกัน แต่ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจเทียบกับ REITs ของประเทศอื่นๆ แนะนำถือครอง TMBPIPF, T-PropInfraFlex

ทองคำ

เรายังมีมุมมองเป็นกลางกับทองคำแม้ว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากทองคำมีทั้งปัจจัยหนุน เช่น สถานการณ์สงคราม และโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอย และปัจจัยกดดัน เช่น real yield กลับขึ้นเป็นบวก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ

น้ำมัน

เรามีมุมมองเป็นลบกับน้ำมันมากขึ้นหลังเศรษฐกิจทั่วโลกส่งสัญญาณถดถอยอย่างชัดเจนและกดดันความต้องการใช้น้ำมัน แม้ว่าทาง OPEC+ จะประกาศลดกำลังการผลิตเพื่อตรึงราคาแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผล ขณะที่การเปิดประเทศของจีนที่อาจทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันกลับเข้ามาก็ยังไม่ได้มีแรงหนุนที่ชัดเจนมากนัก

คำเตือน

  • ข้อมูล คำแนะนำบทวิเคราะห์ และการแสดงความเห็นต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และให้ความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้นโดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นการชักชวนหรือชี้นำให้ซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่างๆ ตามที่ระบุหรือถูกกล่าวถึงไว้ในเอกสารฉบับนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ทีมงานไม่อาจยืนยันและรับรองความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นได้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ทีมงานไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายในรายได้ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการนำ ข้อมูล ข้อความ ความเห็น และ/หรือบทสรุปต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ
  • ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ บลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ดังนั้น บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เอกสารควรใช้คู่กับหนังสือชี้ชวน
  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
  • แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสขาดทุนได้ การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน

Interesting reads

Know more
มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่  24 28 มิ.ย.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 24 28 มิ.ย.67

24 มิ.ย.

PMI สหรัฐฯร้อนแรงต่อเนื่อง ดัชนี PMI สหรัฐฯประจำเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการ ...

มุมมองการลงทุน ประจำเดือนมิถุนายน

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุน ประจำเดือนมิถุนายน

21 มิ.ย.

เราเชื่อว่าโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อไป ในขณะที่การใช ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 17 – 21 มิ.ย.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 17 – 21 มิ.ย.67

17 มิ.ย.

นักลงทุนมองข้าม Fed Dot plot ลดดอกเบี้ยเหลือ 1 ครั้ง การประชุม FOMC ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 27 - 31 พ.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 27 - 31 พ.ค.67

27 พ.ค.

รัฐบาลจีนเตรียมพร้อมที่จะเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่สูงถึง 25% เนื่อง ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ 
ประจำวันที่ 20 - 24 พ.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 20 - 24 พ.ค.67

20 พ.ค.

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหดตัวในไตรมาสแรกเนื่องจากผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ ลดการใช้จ่ายลง โดย ...

2Q24 Outlook: ปรับสมดุลสร้างผลตอบแทนระยะสั้นให้สอดรับกับความเสี่ยงระยะยาว

in insights

ตราสารทุน

2Q24 Outlook: ปรับสมดุลสร้างผลตอบแทนระยะสั้นให้สอดรับกับความเสี่ยงระยะยาว

13 พ.ค.

หากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงดำเนินต่อไปด้วยดี ก็ไม่น่าจะมีผลต่อการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย ...

พลังขับเคลื่อนระลอกใหม่ ที่กำลังพลิกโฉมห่วงโซ่อุปทาน: โอกาสสำหรับผู้ลงทุน

in insights

พลังขับเคลื่อนระลอกใหม่ ที่กำลังพลิกโฉมห่วงโซ่อุปทาน: โอกาสสำหรับผู้ลงทุน

09 พ.ค. | Bill Maldonado

การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง 150 คนในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย พบว่าก ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 7 – 10 พ.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 7 – 10 พ.ค. 67

07 พ.ค.

การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯอ่อนแอกว่าคาด โดยเพิ่มขึ้น 1.75 แสนตำแหน่งต่ำกว่าคาดท ...

มุมมองการลงทุนประจำเดือนเมษายน

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนประจำเดือนเมษายน

02 พ.ค.

ทีม multi asset ของ Eastspring คาดว่าการเติบโตทั่วโลกในปี 2024 จะชะลอตัวลง โดยมีความเส ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 29 เม.ย. - 3 พ.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 29 เม.ย. - 3 พ.ค. 67

29 เม.ย.

GDP สหรัฐฯ 1Q/24 ชะลอตัวเหลือ 1.6% ดัชนี GDP สหรัฐฯ ประจำไตรมาสแรกของปีเติบโตช้ากว่าที ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.