ความเชื่อมโยงทางการเงินในเอเชีย: โอกาสรออยู่ข้างหน้า

พอร์ตโฟลิโอที่รวบรวมสินทรัพย์ของเอเชียคิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า 20% ของการถือครองแบบข้ามพรมแดนทั้งหมดในเอเชีย ในขณะที่การรวมกลุ่มทางการเงินในเอเชียได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ถูกจำกัดด้วยการพัฒนาที่แตกต่างกันของภาคการเงินในภูมิภาค ในขณะที่เอเชียแสวงหาความเชื่อมโยงทางการเงินที่มากขึ้นและประโยชน์ที่จะได้รับ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการประสานด้านนโยบายและกรอบการเฝ้าระวังที่เข้มแข็ง

งานวิจัยระบุว่าการรวมกลุ่มทางการเงินขึ้นอยู่กับเรื่องการค้าและระยะทาง1 การเคลื่อนย้ายเงินทุนและบริการทางการเงินระหว่างประเทศควรมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศต่างๆ มีการค้าขายและอยู่ใกล้กันมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นแล้ว สิ่งเหล่านี้ในเอเชียกลับยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่นัก

จุดอ่อน

การรวมกลุ่มทางการเงินในเอเชียนั้นมีความก้าวหน้าน้อยกว่าระดับการรวมกลุ่มทางการค้า ในขณะที่ปริมาณการค้าในสัดส่วนที่มากกว่า 50% ในเอเชียเกิดขึ้นในภูมิภาค2 การลงทุนภายในภูมิภาคกลับมีสัดส่วนเพียง 20% ของการลงทุนแบบพอร์ตโฟลิโอในช่วงระหว่างปี 2003 ถึง 2016 และ 32% ของสินเชื่อรวม3 ในทางกลับกัน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นมาก โดยการลงทุนในภูมิภาคคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของการลงทุนโดยตรงจากเอเชียในช่วงเวลาเดียวกัน

การรวมกลุ่มทางการเงินของภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะมีหลายมาตรการริเริ่มที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการเงินมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) มีจุดประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการลงทุนเสรี เปิดกว้าง โปร่งใส และครบวงจร สำหรับนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศทั่วทั้งกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ส่วนมาตรการริเริ่มอื่นๆ รวมถึง การเชื่อมโยงกระดานซื้อขายหลักทรัพย์อาเซียน (ASEAN Trading Link) การประชุมตลาดทุนอาเซียน (ACMF) มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (ABMI) และมาตรการริเริ่มกองทุนพันธบัตรเอเชีย

การถือครองสินทรัพย์ข้ามพรมแดนของเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 17.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2017 โดยมีสัดส่วนการลงทุนภายในภูมิภาคที่สูงขึ้น ทั้งในส่วนของพันธบัตร เงินฝากธนาคาร และ FDI เมื่อเทียบกับปี 2012 ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1. สินทรัพย์ข้ามพรมแดน - เอเชีย4

cseries-4finance_graph1

ในขณะที่สัดส่วนของสินทรัพย์ที่ถือโดยประเทศในภูมิภาคของเอเชียเพิ่มขึ้น สินทรัพย์ที่ถือโดยประเทศนอกภูมิภาคยังคิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดสำหรับสินทรัพย์ประเภทที่ถือข้ามพรมแดน สัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคคิดเป็นเพียง 18% ของการไหลเข้ามาลงทุนในตราสารทุน และ 16% ของการไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ในปี 2017 โดยการลงทุนภายในภูมิภาคส่วนใหญ่มาจากฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของการลงทุนประเภทพอร์ตโฟลิโอทั้งในหุ้นและพันธบัตรภายในภูมิภาค การลงทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่มุ่งไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย แม้ว่าจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ภายในภูมิภาคนั้นรวมถึงสิงคโปร์และเกาหลีใต้ในปี 2017

ทำไมคนเอเชียถึงไม่ลงทุนในเอเชียมากกว่านี้?

การที่เอเชียถือครองสินทรัพย์นอกภูมิภาคที่ค่อนข้างมาก มีสาเหตุมาจากการเกินดุลในระดับสูงตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และการสะสมสินทรัพย์สหรัฐ5 ซึ่งการที่เอเชียไม่ค่อยสนใจการลงทุนประเภทพอร์ตโฟลิโอภายในภูมิภาคนั้น มีความเชื่อมโยงกับระดับการพัฒนาที่ต่ำของตลาดการเงินบางแห่งในเอเชียด้วย ในขณะเดียวกัน ปัจจุบันญี่ปุ่นและจีนเป็นตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งในเอเชีย โดยจีนนั้นมีระดับการเข้าถึงได้น้อยกว่า ตลาดทุนเพิ่งจะเปิดกว้างเมื่อเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ถึงกระนั้นความโปร่งใสขององค์กรธุรกิจที่ค่อนข้างต่ำ และข้อจำกัดในเรื่องเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่มีอยู่ เป็นอุปสรรคขัดขวางชาวเอเชียบางส่วนไม่ให้ลงทุนในประเทศจีนได้มากนักจนถึงปัจจุบัน

ในขณะที่ความแตกต่างทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตได้ช่วยสร้างระบบนิเวศทางการค้าที่สมบูรณ์และเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน (คลิกลิงก์เพื่อไปยังบทความด้านการค้า) แต่สิ่งนี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลเดียวกันสำหรับเรื่องการรวมกลุ่มทางการเงิน แม้ว่าตลาดทุนของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจะเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่บางแห่งกลับยังมีขนาดเล็กและมีสภาพคล่องต่ำ ต้นทุนการทำธุรกรรมสูง และฐานนักลงทุนที่แคบ ยกตัวอย่างเช่น ฮ่องกงมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทจดทะเบียนในประเทศอยู่ที่ 1052% ของ GDP ในปี 2018 ขณะตัวเลขของเวียดนามอยู่แค่เพียง 54%

ถ้าดูสัดส่วนของสินเชื่อในประเทศที่ปล่อยให้แก่ภาคเอกชน อีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาทางการเงิน ตัวเลขนี้ของอินโดนีเซียอยู่ที่ 39% ของ GDP ในปี 2561 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 129% ในขณะเดียวกัน ภาคการเงินของเอเชียก็มีการกระจุกตัวสูงอยู่ในภาคธนาคาร ตัวอย่างเช่นประเทศไทยที่มีสัดส่วนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร อยู่แค่เพียง 49% ของ GDP เมื่อเทียบกับ 154% ในสหรัฐอเมริกา6

เนื่องจากภาคการเงินในเอเชียบางประเทศมีระดับการพัฒนาที่ยังน้อย ทำให้ไม่มีความพร้อมทั้งเรื่องของเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย การพัฒนาที่ทำได้ซับซ้อนมากขึ้น และตลาดการเงินที่มีความลึก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเหลือผู้ออมเงินภายในภูมิภาคในการกระจายความเสี่ยงและป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับการพัฒนาที่น้อยเกินไปของภาคการเงินในบางตลาดของเอเชียโดยเปรียบเทียบ ทำให้แทบไม่มีบทบาทสำคัญในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

มุ่งไปข้างหน้า

การรวมกลุ่มทางการเงินช่วยให้เกิดการพัฒนาภาคการเงิน ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น และลดต้นทุน นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาคได้มากขึ้นเช่นกัน ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่สามารถช่วยให้ฝ่ายต่างๆ ป้องกันความเสี่ยงของตน โดยตลาดทุนที่มีความลึก มีสภาพคล่อง และมีประสิทธิภาพ ยังช่วยให้ภูมิภาคนี้ดำเนินการส่งผ่านเงินออมไปสู่การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และกระจายแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ

การรวมกลุ่มทางการเงินที่แนบแน่นกว่าเดิมจะเกิดขึ้นในช่วงที่เอเชียกำลังเผชิญกับหลายมาตรการริเริ่มและตลาดการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่าง Ngo The Trieu ซึ่งเป็นซีอีโอและซีไอโอของ Eastspring Vietnam เชื่อว่าการยอมรับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการระดับโลกและความคืบหน้าทางด้านการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (SOE) ของเวียดนาม จะทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามน่าสนใจยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุนในภูมิภาคและนักลงทุนระดับโลก

เนื่องจากเอเชียมีความเชื่อมโยงทางการเงินที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดจากความไม่มั่นคงทางการเงินและผลกระทบแบบลูกโซ่ วัฏจักรธุรกิจในเอเชียอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจส่งผลกระจายไปอย่างรวดเร็ว จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งที่อยู่รอบข้าง ดังนั้น เอเชียจึงต้องมีการประสานกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องกฎระเบียบ กรอบการเฝ้าระวังและการจัดการวิกฤตในอนาคต

Sources:
1 Portes and Rey 2005; Aviat and Coeurdacier 2007
2 Asia’s future is now. McKinsey Global Institute. 2019
3 Coordinated Portfolio Investment Survey (IMF), SDC Platinum, fDi Markets, and Direction of Trade Statistics (IMF).
4 *data for 2016. FDI = Foreign direct investment. Notes: FDI assets refer to outward FDI holdings. Bank assets refer to bank claims of Asian economies. Asia includes ADB regional members for which data are available. Sources: ADB Calculations using data from Bank for International Settlements. Locational Banking Statistics. https://www.bis.org/statistics/bankstats.htm (accessed August 2018). International Monetary Fund. Coordinated Portfolio Investment Survey. http://data.imf.org/CPIS (accessed September 2018) and International Monetary Fund. Coordinated Direct Investment Survey. http://data.imf.org/CDIS (accessed February 2018).
5 Financial Integration in East Asia and Pacific: Regional and Interregional Linkages. Ruth Llovet Montanes. Sergio L. Schmukler. May 2018.
6 World Bank. 2016 figures.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.