การเงินของภูมิภาคเอเชีย : พร้อมเผชิญความท้าทาย

ธนาคารต่างๆ ในเอเชียกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้นในตอนนี้เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลกที่เกิดขึ้นในปี 2008 (Global Financial Crisis : GFC) แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังวิกฤติ Covid-19 ที่ยิ่งใช้เวลานานขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดการควบรวมกิจการกันมากขึ้น หลายประเด็นที่น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร และระดับความก้าวหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยกุญแจสู่ความสำเร็จนั้นจะอยู่ที่ความแข็งแกร่งของกระบวนการดำเนินงานและสถานะทางการเงิน

Covid-19 สร้างความเสียหายต่อหลายธุรกิจและเศรษฐกิจของหลายประเทศ ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นได้อย่างช้าๆ นั้นก็มีบางเซ็กเตอร์ที่ยังได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างภาคการเงินที่ถูกเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความกังวลที่มากขึ้นว่าสภาวะแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การเงิน ความเสี่ยงของตลาดเงินในสกุลเงินดอลลาร์ที่อยู่ภายใต้ความกดดัน ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกได้ประสานความร่วมมือกับธนาคารกลางสหรัฐในทันทีเพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเงินดอลลาร์เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

การจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่ความสามารถของระบบธนาคารทั่วโลกในการต้านทานภาวะความตึงเครียดที่ดำเนินอยู่เป็นเวลานาน หน่วยงานของแต่ละประเทศได้เดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ อย่างเช่นการเลื่อนการชำระหนี้ การผ่อนปรนหลักเกณฑ์ด้านทรัพย์สินรอการขาย (NPA) และการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อสนับสนุนสถาบันการเงินและรักษาสภาพคล่องในระบบการเงินให้เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งนั้นหมายความว่าแต่ละธนาคารเองยังต้องตรวจสอบคุณภาพสินทรัพย์ของตนโดยใช้มาตรฐานการกำกับดูแลที่มีอยู่และสร้างฐานเงินทุนสำรองให้เพียงพออยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าตัวชี้วัดที่เป็นการเตือนถึงวิกฤตการณ์ทางการเงินและการเกิดความเสี่ยงเชิงระบบหรือ systemic risk จะถูกนำมาใช้และสามารถจัดการแก้ไขได้ในทันที

บททดสอบความเปราะบางของธนาคารในเอเชีย

ภาคธนาคารทั่วโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญมาตั้งแต่ปี 2008 ในช่วง GFC ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารในเอเชียส่วนใหญ่ได้สะสมเงินกองทุนสำรองสภาพคล่อง รวมทั้งลดภาระหนี้

ดังนั้น ก่อนเกิดวิกฤติในปัจจุบัน Standard & Poor’s จึงมีมุมมองในระดับมีเสถียรภาพ (stable) สำหรับระบบธนาคารใน 19 ประเทศ จากทั้งหมด 20 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) อยู่สูงกว่า 11% ทั่วทั้งภูมิภาค ดังแสดงในรูปที่ 1 ซึ่งจากกฎเกณฑ์ธนาคารระหว่างประเทศ Basel III นั้นระบุว่าธนาคารจะต้องรักษาอัตราส่วน Tier 1 ขั้นต่ำไว้ที่ 10.5% ของสินทรัพย์ที่ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงและมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ปรับน้ำหนักตามความเสี่ยงอย่างน้อย 12.5% ในขณะเดียวกัน NPAs ก็มีแนวโน้มที่ลดลงสำหรับธนาคารที่แข็งแกร่งทั่วโลก โดยมีธนาคารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแสดงความโดดเด่นด้วยสัดส่วน NPAs ที่อยู่ในระดับต่ำ ดูรูปที่ 2

รูปที่ 1 : อัตราส่วนเงินกองทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2007

asian-financials-bracing-for-challenges-Fig1

รูปที่ 2 : ทรัพย์สินรอการขาย (Non performing assets) แสดงแนวโน้มที่ลดลง

asian-financials-bracing-for-challenges-Fig2

มุมมองดังกล่าวยังสอดคล้องกันกับความเห็นของทีมการลงทุนของ Eastspring ในหลายประเทศทั่วภูมิภาค ทีมวิจัยของ Eastspring ประจำสำนักงานเซี่ยงไฮ้ คาดว่าจะมีแรงกดดันเพียงเล็กน้อยต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในจีนซึ่งมาจากสินเชื่อด้อยคุณภาพ (non-performing loans : NPLs) โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เนื่องจากภาวะล็อกดาวน์ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อรายได้ภาคในครัวเรือน อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเปิดใหม่และผู้คนกลับมาทำงานได้อีกครั้ง สถาบันการเงินจึงน่าจะเห็นยอดการผิดนัดชำระหนี้ / หนี้ที่เกินกำหนด ทยอยปรับตัวลงทีละน้อย

ความเสี่ยงในกรณีต่างๆ ถูกครอบคลุมได้ด้วยการสำรองเงินทุนที่เพียงพอในระบบ โดยธนาคารกลางจีน (The People’s Bank of China) ได้ดำเนินการอัดฉีดสภาพคล่องที่เพียงพอและปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ และที่สำคัญกว่านั้นรัฐบาลก็ได้มีการควบคุมการก่อหนี้ตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อลดความเสี่ยงเชิงระบบ

ข้อมูลจาก Eastspring ประจำสำนักงานอินโดนีเซีย ระบุว่าอุตสาหกรรมธนาคารของอินโดนีเซียนั้นมีโครงสร้างเงินทุนที่ดีและผู้กำหนดนโยบายได้ดำเนินการทดสอบแบบ stress test จากผลของ Covid-19 ซึ่งในภาพรวมพบว่าเงินทุนส่วนเกินหรือที่สำรองไว้ของธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบ (systemically important banks : SIBs) อยู่ในระดับที่เพียงพอและสามารถทนทานต่อ NPLs ของทั้งอุตสาหกรรมที่สูงเกินกว่า 7%

นอกจากนี้ ธนาคารอินโดนีเซียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยังไม่ได้ประกาศปรับลดจ่ายเงินปันผล ขณะหน่วยงานกำกับดูแลเองก็ไม่ได้ออกคำแนะนำใดๆ ที่ให้ลดการจ่ายเงินปันผลอีกด้วย เหตุผลนั้นมาจากสถานะด้านเงินทุนที่แข็งแกร่งของ SIBs แต่อย่างไรก็ตาม มีธนาคารขนาดเล็กและมีความเสี่ยงสูงบางแห่งที่มีอัตราส่วนเงินทุนอ่อนแออยู่แต่เดิมแล้วและมี NPLs ที่สูง อาจแย่ลงมาอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์การสำรองเงินทุนขั้นต่ำและถูกบังคับให้ปรับโครงสร้างหรือเพิ่มทุน

Lilian See หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ Eastspring ประจำสำนักงานมาเลเซีย กล่าวว่าธนาคารของมาเลเซียมีแนวโน้มที่จะเห็น NPAs ค่อยๆ เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากมาตรการของธนาคารกลาง (Bank Negara) ที่อนุญาตให้ธนาคารต่างๆ ปล่อยให้มีการหยุดพักการชำระหนี้โดยอัตโนมัติสำหรับบุคคลธรรมดาและกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ส่วนกิจการขนาดใหญ่นั้นก็ยังสามารถที่จะยื่นขอธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับเปลี่ยนกำหนดระยะเวลาการกู้ยืม โดยในปัจจุบันผลการทำ stress tests นั้นชี้ว่าระดับเงินทุนและเงินปันผลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

แม้ว่าจะมีผลการประเมินดังกล่าว แต่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือกลับเตือนว่าการชะลอตัวเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือทางเครดิตของธุรกิจต่างๆ การผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ NPAs ของภาคธนาคารพุ่งสูง นำมาสู่การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือและฉุดให้สภาวะการเงินตึงตัวอีกรอบ

อย่างไรก็ดี Standard and Poor’s ได้ตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของคุณภาพสินทรัพย์ของภาคธนาคารในปี 2020 ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการตอบสนองของนโยบายรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล ในขณะที่ Moody’s นั้นเชื่อว่ารัฐบาลในเอเชียน่าจะให้การสนับสนุนบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ ธนาคารที่มีความสำคัญในเชิงระบบ เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบแบบลูกโซ่ในภาคการเงิน

อุปสรรคในการทำกำไรยังคงมีอยู่

สิ่งที่น่ากลัวจากยอดการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาอย่างเดียวที่ธนาคารเผชิญ แต่ผลจากอัตราดอกเบี้ยต่ำนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ GFC ยังคงบีบส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (net interest rate margins) ของธนาคารอย่างต่อเนื่อง การที่ต้องเผชิญกับวิกฤติขั้นรุนแรงยิ่งกว่าในเวลานี้ทำให้ธนาคารกลางต้องหันมาใช้นโยบายในแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ และด้วยการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกนาน ทำให้กำไรของภาคธนาคารจะยิ่งถูกกดดันในช่วงปีต่อๆ ไป

ข้อมูลจาก TMBAM - Eastspring ระบุว่าธนาคารของไทยมีความเสี่ยงที่ผลการดำเนินงานจะลดลง เช่น ปริมาณสินเชื่อที่ลดลง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารของไทยยังถือว่ามีสถานะที่แข็งแกร่งกว่าช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 1997 (Asian financial crisis : AFC) ยกตัวอย่างเช่นสัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือ NPL coverage ratio ในปัจจุบันที่อยู่สูงกว่า 1.4 เท่า ในขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 92.6% ณ สิ้นปี 2019 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 134.8% ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ AFC

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบให้แก่สถาบันการเงิน ด้วยการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่ใช้ในการช่วยเหลือสถาบันการเงินในยามที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จาก 0.46% ของฐานเงินฝากมาอยู่ที่ 0.23% มาตรการดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทยและให้สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ภาคธุรกิจและครัวเรือนต่อไป

ในทำนองเดียวกัน ธนาคารกลางอินเดียก็ได้กำหนดมาตรการเพื่อสนับสนุนระบบธนาคารของประเทศ ธนาคารในอินเดียต่างเผชิญกับช่วงเวลาที่ท้าทาย โดยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์เสื่อมถอยลงและมีกำไรตกต่ำซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ Covid-19 การระบาดใหญ่ทั่วโลกจะยิ่งเพิ่มความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งหลายคนคาดว่าจะเห็นการลดลงอย่างมากของธุรกรรมและการเบิกจ่ายอันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับ NPLs ที่เพิ่มขึ้น

ความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง อาจส่งผลต่อแนวทางของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทำให้ภาคเศรษฐกิจในการได้รับเครดิตสินเชื่อ โดยผลกระทบที่รุนแรงที่สุดนั้นจะเกิดขึ้นกับธนาคารขนาดเล็กในระดับภูมิภาคซึ่งมุ่งเน้นสินเชื่อและเงินฝากภายในประเทศ ธนาคารที่มีต้นทุนเงินฝากใกล้ศูนย์และไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก และธนาคารที่มีสินเชื่อธุรกิจที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบยืดหยุ่น ธนาคารในกลุ่มดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่จะเห็นการควบรวมกิจการเกิดขึ้น

“เทคโนโลยี” รองรับความยืดหยุ่น บริการทางการเงิน

ภาวะการระบาดใหญ่ครั้งนี้ หนึ่งในฟีเจอร์ที่สำคัญ และโดดเด่นก็ คือความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินประเภทอื่นๆ การเผชิญกับภาวะล็อกดาวน์ทำให้ธนาคารหลายแห่งต้องให้ความสำคัญ คือ รูปแบบการทำงานที่พนักงานสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นจากที่บ้านและให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาวิกฤตแม้แต่กลุ่มลูกค้าที่ยังไม่คุ้นชินกับเทคโนโลยี ก็ยังถูกสถานการณ์บีบให้หันมาใช้บริการธนาคารดิจิทัลได้เพียงชั่วข้ามคืน

ธนาคารที่มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันนั้น ได้แก่สถาบันการเงินที่ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีในการช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่ให้มีความคุ้นเคยกับบริการใหม่ๆ มีการติดตั้งระบบที่ช่วยตรวจสอบการฟอกเงินและการฉ้อโกง และเช่นเดียวกัน ในยุคที่มีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ผู้ชนะก็คือธนาคารที่ลงทุนไปอย่างมากในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และมีการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การรับรองความถูกต้องแบบ multi-factor authentication การใช้งานแอปพลิเคชันที่มีความปลอดภัย และไบโอเมตริกซ์ ตัวอย่างเช่นสถาบันการเงินไทยได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อประเมินเครดิตของลูกค้า โดยผู้ที่มีประวัติการชำระเงินที่ดีมาอย่างต่อเนื่องจะสามารถได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

สำหรับสิงคโปร์ ประเทศที่ดำเนินตามแนวทาง smart nation มีธนาคารในประเทศที่ได้ลงทุนกับกลยุทธ์เปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีขึ้นในการรับบริการและลดปัญหาต่างๆ ที่เคยเผชิญ ในขณะเดียวกันได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังเพื่อให้มีความรวดเร็วมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในท้ายที่สุดสถาบันการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังปูรากฐานเพื่อให้เกิดการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นอีก ไม่เพียงแต่ในเรื่องของความแข็งแกร่งด้านการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความแข็งแกร่งทางการเงินด้วย

อนาคตที่มุ่งสู่ Open Banking

ตามรายงาน Fintech and Digital Banking1 การคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีสถาบันการเงินรายใหม่อีกกว่า 100 แห่งภายในปี 2025 มาจากการเปิดเสรีในตลาดและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคาร โดย Open banking มีความเป็นไปได้ว่าจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันและนวัตกรรมทางดิจิทัลที่มากขึ้นในธุรกิจธนาคาร โดยมีธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) เป็นหนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลรายแรกๆ ที่ย้อนกลับไปในปี 2016 ได้วางแนวทางไว้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เฟซด้านการเขียนแอปพลิเคชันเพื่อให้ธนาคารสามารถแบ่งปันชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ FinTech และบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารต่างๆ โดยพัฒนาการล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงด้วยระบบดิจิทัลในภาคการเงินของสิงคโปร์นั้นก็คือการให้ใบอนุญาตดิจิทัลแบงกิ้งซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2020

จากข้อมูลของทีมตลาดหุ้น Eastspring ประจำสำนักงานสิงคโปร์ ระบุว่าข้อได้เปรียบที่สำคัญของธนาคารที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ในสิงคโปร์คือฐานเงินฝากต้นทุนต่ำที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน (ซึ่งอาจยืนอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกนาน) และประสบการณ์ในการประเมินเครดิต ธนาคารดิจิทัลที่กำลังจะเข้ามาใหม่ในตลาดจะสามารถใช้ประโยชน์จากแบรนด์ / แอปในปัจจุบันของตัวเองเพื่อจับกลุ่มลูกค้า แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะมีความท้าทายที่มากขึ้นในการเปลี่ยนลูกค้าให้หันมาใช้ธนาคารดิจิทัลรายใหม่เพื่อเป็นบัญชีหลักแทนที่จะเป็นเพียงบัญชีรองที่มีเงินฝากน้อยกว่า ส่วนในมุมของการประเมินทางเครดิตนั้น บริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารหรือ non-banks จะสร้างความได้เปรียบด้วยการนำข้อมูลทางเลือกมาทำความเข้าใจลูกค้ากลุ่มเฉพาะได้ดีกว่า (เช่น Grab ที่ให้บริการเรียกยานพาหนะ / ฟู้ดเดลิเวอรี่)

เรื่องดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้คนที่มีต่อตัวผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในรายงาน Future of Banking Consumer Survey  ของ McKinsey's2 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อมั่นใน บริษัทที่เป็น BigTech เพื่อใช้จัดการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินของพวกเขา แนวโน้มด้านดิจิทัลของภูมิภาคนี้อยู่ในทิศทางที่ดี โดยในปัจจุบันมีเพียงสัดส่วน 30% ของลูกค้าธนาคารในเอเชียแปซิฟิกที่ใช้ช่องทางดิจิทัล นอกจากนี้ การนำเสนอบริการต่างๆ จากคู่แข่งที่ไม่ใช่ธนาคารยังสามารถขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้ใช้บริการธนาคารและกลุ่มที่ใช้บริการอยู่น้อย ซึ่งจะเป็นการปิดช่องว่างในเรื่องการเข้าถึงบริการทางการเงินและ (หวังว่าจะช่วย) ปิดช่องว่างในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้อีกด้วย

บทความนี้เป็นบทความที่ 5 จากทั้งหมด 6 บทความใน Asian Expert Series ของเรา ซึ่งเป็นการสำรวจอนาคตของเอเชียในยุคหลังวิกฤติ Covid

Sources:
1 Backbase, a company that offers digital banking platform, and the International Data Corp. (IDC)
2 July 2019

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.