เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย: สร้างความรุ่งโรจน์

ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเม็ดเงินจำนวน 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีไปจนถึงปี 2030 เพื่อรักษาโมเมนตัมการเติบโต การขยายชุมชนเมืองที่เพิ่มขึ้น โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลง และความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น ล้วนเป็นกระแสหลักที่จะผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อไปในเอเชีย ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียจะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมาย

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า จะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โอกาสในการจ้างงานและมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานจึงถือเป็นปัญหาคอขวดสำหรับการเติบโต เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนในการขนส่ง ลดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาด และมีผลให้ปริมาณการค้าลดลง

ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 1997-98 ประเทศที่ทุ่มลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างมาก เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วกว่า สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่าความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของเอเชียกำลังเผชิญกับโลกที่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้

สถานการณ์ปัจจุบัน

คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานมีความแตกต่างกันอย่างมากในเอเชีย ตามรายงานความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกประจำปี 2018 เน้นให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้ที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ยกเว้นในบางพื้นที่ที่สามารถชูได้ว่าเป็นมาตรฐานระดับโลก

อย่างไรก็ตาม มีความคืบหน้าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา; ประเทศเกิดใหม่ในเอเชียได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้นในทุกภาคส่วน มากกว่าภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างปี 2001 ถึง 2010 เครือข่ายถนนของประเทศเกิดใหม่ในเอเชียเติบโตในอัตราที่รวดเร็วกว่าเศรษฐกิจของ OECD ในแต่ละปี โดยในทำนองเดียวกัน ความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อประชากร มีการเติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลานี้ แม้ว่าจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีเทคโนโลยีสูง ซึ่งจากข้อมูลของ Michelle Qi ซีไอโอของ Eastspring China ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของจีน อย่างเช่น 5G รถไฟความเร็วสูง การขนส่งระบบรางในเขตเมือง บิ๊กดาต้าเซ็นเตอร์ สถานีชาร์จ EV และระบบปัญญาประดิษฐ์ คาดว่าจะทำให้เกิดการเติบโตที่แข็งแกร่ง และสร้างผลกระทบที่กระจายออกสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ

อุปสรรคสำคัญที่มีต่อความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วนั่นคือเรื่องการเงิน แหล่งสนับสนุนด้านการเงินมาจากรัฐบาลในสัดส่วน 90% ของค่าใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย เมื่อเทียบกับ 70% ในตลาดเกิดใหม่และ 40% ทั่วโลก แต่เนื่องจากความต้องการในเอเชียที่เพิ่มขึ้น สัดส่วนแหล่งเงินทุนที่ได้รับจากรัฐบาลเช่นนี้จะไม่มีความไม่ยั่งยืน ดังนั้น จึงต้องพยายามผลักดันให้เกิดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันทำให้ได้ตามเงื่อนไขการกู้ยืมเงิน

วิธีการหนึ่งในการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมคือ การใช้แนวทางการรวมตัวในระดับภูมิภาค โดยประเทศเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ให้ผลประโยชน์ร่วมกัน การรวมตัวในระดับภูมิภาคได้กลายเป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่มีประโยชน์แก่สถาบันระดับโลกและระดับภูมิภาคหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม การจัดหาเงินทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคนั้น มาพร้อมกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เอกชนหลายรายต้องชะลอการตัดสินใจ และถึงแม้ในท้ายที่สุดโครงการเหล่านี้จะได้รับเงินทุนจากการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนแล้ว แต่ก็ยังมีความต้องการการค้ำประกันจากรัฐบาลในบางรูปแบบอยู่ดี

CSeries-2Infrastructure_Graph2

มาตรการริเริ่มระดับภูมิภาคที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ด้วยความช่วยเหลือจากหลายหน่วยงานในลักษณะพหุภาคี เอเชียได้ผลักดันบางโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระดับภูมิภาคย่อย อย่างเช่นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เป็นหนึ่งในมาตรการริเริ่มที่สำคัญอันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ทางหลวงสายเอเชีย เส้นทางรถไฟสายเอเชีย และการให้บริการท่าเรือที่เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่นๆ การเชื่อมต่อทางกายภาพแบบบูรณาการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนกระบวนการผลิตในห่วงโซ่อุปทานทั่วทั้งภูมิภาค

มีมาตรการริเริ่มระดับภูมิภาคอื่นๆ อีกมากที่มุ่งสร้างเส้นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยดำเนินการผ่านโครงสร้างพื้นฐานแบบที่เห็นได้ชัด อย่างเช่นในภูมิภาคอาเซียน มี 4 โครงการระดับภูมิภาค ครอบคลุมตั้งแต่โครงการระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เครือข่ายทางหลวง และโครงการรถไฟเชื่อมสิงคโปร์ - คุนหมิง โดยเมืองคุนหมิง ประเทศจีน กำลังถูกขนานนามว่าเป็นศูนย์กลางการขนส่งและคมนาคม เนื่องจากมีการก่อสร้างเครือข่ายแบบล้ำสมัยเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

CSeries-2Infrastructure_Graph1

มาตรการริเริ่ม “Belt and Road Initiative” หรือ BRI ของประเทศจีน เปิดตัวเมื่อปี 2013 มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อทางบกและทางทะเล รวมทั้งการค้าภายในภูมิภาค ด้วยการเชื่อม 65 ประเทศ ครอบคลุมกว่า 60% ของประชากรโลก และคิดเป็น 30% ของจีดีพีโลก โดยในขณะนี้ มีเส้นทางการเดินเรือ 1 เส้นทาง และการขนส่งทางบกอีก 3 เส้นทาง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ทำไมมีความสำคัญ

มาตรการริเริ่มระดับภูมิภาคหลายมาตรการช่วยสร้างผลกระทบด้านบวก อย่างกรณี BRI เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วอาจร่นระยะเวลาเดินทางบนเส้นทางที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจได้ 12% สามารถเพิ่มการค้าได้ระหว่าง 2.7% และ 9.7% เพิ่มรายได้ซึ่งอาจสูงถึง 3.4% และยกระดับผู้คนจำนวน 7.6 ล้านคนออกจากความยากจนข้นแค้น

ในทำนองเดียวกัน โครงข่ายพลังงานหมุนเวียนในเอเชียอาจจะได้เห็นเครือข่ายด้านพลังงานของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และรัสเซียเชื่อมโยงกันผ่านทางมองโกเลีย เพื่อเข้าถึงแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่มีมหาศาล ซึ่งการสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ เชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานของตนเอง ภูมิภาคที่มีความสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะสามารถดึงดูดการลงทุนที่มีความจำเป็นมาก เพื่อเพิ่มผลผลิตในประเทศและส่งออกส่วนที่เหลือออกสู่ภายนอก ความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ยังนับว่าเป็นประโยชน์สำหรับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลของเอเชียด้วย

นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานข้ามพรมแดนที่เชื่อมต่อกันจะช่วยผลักดันการท่องเที่ยว รวมถึงจำนวนสนามบิน จำนวนเส้นทางการบิน ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีงานวิจัยที่ประเมินไว้ว่าการเพิ่มขึ้น 10% ของจำนวนเส้นทาง ทั้งในประเทศต้นทางหรือปลายทาง จะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 7.4%

หนทางอีกยาวไกล

ความต้องการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียมีความสำคัญ โดยปัจจุบันมีชาวเอเชียมากกว่า 400 ล้านคนที่อาศัยอยู่โดยไม่มีไฟฟ้า มี 300 ล้านคนที่ไม่มีน้ำดื่มที่ปลอดภัย และอีกกว่า 1.5 พันล้านคนที่ไม่มีสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน ยิ่งไปกว่านั้นศักยภาพอันมหาศาลของภูมิภาคนี้ยังคงไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากมีพื้นที่หลายแห่งในเอเชียที่ยังคงโดดเดี่ยวทั้งในทางเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์

โครงสร้างพื้นฐานยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนข้อตกลงทางการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั่นคือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ระหว่างอาเซียน และจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งจะมีการลงนามในอีกไม่ช้านี้ ข้อตกลงทางการค้านี้ไม่เพียงแต่จะเชื่อมโยงประชากรราวครึ่งหนึ่งของโลก และหนึ่งในสี่ของการส่งออกเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการลงทุนและช่วยให้ประเทศเกิดใหม่ในเอเชียสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น

ในระยะยาว การได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเรื่องขนาดและความหลากหลายของเอเชียจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างตลาดซึ่งมีสินค้าและบริการ ข้อมูล และผู้คนที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันไปมาได้อย่างอิสระ ดังนั้น การสร้างถนน ทางรถไฟ สะพาน สถานีพลังงาน และท่อส่งทั่วทั้งเอเชีย จึงนับเป็นภารกิจสำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบายของภูมิภาคแห่งนี้

Sources:
1 https://www.channelnewsasia.com/news/singapore/new-government-agency-launched-to-facilitate-regional-10855162
2 World Economic Forum, 2018
3 Asian Development Bank: Meeting Asia’s Infrastructure Needs, 2017.
4 https://www.straitstimes.com/business/economy/public- private-partnership-needed-to-address-infrastructure-financing-challenges.
5 Russ and Foscari, 2010
6 Reshaping the future world economy, HSBC 2017.
7 https://www.worldbank.org/en/ topic/regional-integration/brief/belt-and-road-initiative.
8 Asian Infrastructure Investment Bank : Bridging Borders – Infrastructure to Connect Asia and Beyond, 2019
9 https://www.adb.org/news/ppps-can-help-fill-asias-infrastructure-gap-report.
10 https://www.thestar.com.my/news/regional/2019/06/23/what-is-the-rcep- and-could-it-be-signed-this-year

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.