การเชื่อมต่อของแรงงานเอเชีย: การเคลื่อนย้ายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

การย้ายถิ่นเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคมาโดยตลอด ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติส่งผลดีต่อทั้งประเทศต้นทางและปลายทาง และถัดไปอีก 25 ปีข้างหน้าความเจริญรุ่งเรืองของเอเชียและความจำเป็นในการสร้างทุนมนุษย์นั้น จะยังคงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่นของแรงงานภายในภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้คนย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลหลายประการ จากรายงานของ McKinsey ปี 2015 พบว่ากว่า 90% ของแรงงานข้ามชาติจำนวน 247 ล้านคนทั่วโลก ย้ายถิ่นโดยความสมัครใจ ส่วนที่เหลือเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้ขอลี้ภัยด้วยเหตุผลต่างๆ สำหรับเหตุผลหลักของผู้เลือกที่จะย้ายถิ่นฐานนั้น รวมไปถึงโอกาสในการทำงาน ความเป็นไปได้ของรายได้ที่สูงขึ้น และอนาคตที่ดีกว่าสำหรับครอบครัว

ในช่วงปลายทศวรรษ 1960-1970 ความรุ่งโรจน์ของราคาน้ำมันนำไปสู่การเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียในเอเชียตะวันตก จากนั้นในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ความต้องการแรงงานอย่างมากในเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานอีกรอบ แนวโน้มเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไปในทศวรรษ 1990 และเริ่มคงที่หลังจากเกิดวิกฤตการเงินในเอเชีย ซึ่งอันที่จริงการย้ายถิ่นของแรงงานได้กลายเป็นลักษณะเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจในบางประเทศ

CSeries-3Labour_Graph3

แนวโน้มการย้ายถิ่นข้ามพรมแดน

การย้ายถิ่นของแรงงานภายในภูมิภาคยังคงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ โดย 33.4% ของผู้ย้ายถิ่นชาวเอเชียยังคงอยู่ภายในภูมิภาค และ 71.3% ของผู้ย้ายถิ่นทั้งหมดที่มายังเอเชีย มาจากประเทศในภูมิภาค ตามข้อมูลปี 2017 (รูปที่ 1) ถ้าหากดูภูมิภาคย่อย จะพบว่ามีความแตกต่างที่โดดเด่น

รูปที่ 1: การย้ายถิ่น เข้ามายังและออกไปจาก เอเขีย แยกตามภูมิภาค (ล้านคน)

CSeries-3Labour_Graph1

แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จากประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะอพยพไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของเอเชีย ส่วนแรงงานจากเอเชียใต้จะย้ายออกจากเอเชีย ในขณะที่แรงงานโอเชียเนียมักจะยังเป็นการย้ายอยู่ภายในภูมิภาคของตน (รูปที่ 2)

รูปที่ 2: การย้ายถิ่นจากเอเชีย แยกตามภูมิภาคย่อย (% ต่อประชากรที่ย้ายออกทั้งหมด)

CSeries-3Labour_Graph2

นอกเหนือจากเรื่องระยะทางแล้ว การเลือกจุดหมายปลายทางของแรงงานยังขึ้นอยู่กับระดับความสะดวกสบาย และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับภาษาและวัฒนธรรม จากข้อมูลของ Ari Pitoyo ซีไอโอของ Eastspring Indonesia ระบุว่ามาเลเซียยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับแรงงานที่มาจากอินโดนีเซีย ด้วยเหตุผลซึ่งน่าจะมาจากปัจจัยเหล่านั้น

แนวโน้มใหม่ๆ กำลังเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การหลั่งไหลของแรงงานข้ามชาติที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งแรงงานย้ายถิ่นรุ่นแรกส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้อยฝีมือที่กำลังมองหาแหล่งงานอื่นที่มีความสดใสมากกว่า นอกจากนี้ ประเทศที่เป็นแหล่งด้านแรงงานแห่งใหม่อย่างเช่นเวียดนาม กัมพูชา และพม่า ต่างเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ยังมีพัฒนาการที่สำคัญอีกประการก็คือการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนแรงงานหญิง

ความเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นยังช่วยให้แรงงานข้ามชาติสามารถติดต่อกับครอบครัวของพวกเขาได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดในวันหยุดพิเศษ และที่สำคัญกว่านั้น ยังมีความสะดวกในการส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว ความเชื่อมโยงระหว่างกันที่มากขึ้นมีแนวโน้มสร้างผลกระทบให้เกิดความมั่นคงของหลายครอบครัว ซึ่งอีกนัยหนึ่งอาจกลายเป็นแรงกดดันให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน เป็นการย้ายถิ่นด้วยเหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากเหตุผลอย่างที่เคยเป็นมา

CSeries-3Labour_Graph5

เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ร่วมกัน

เงินที่ถูกส่งกลับบ้านโดยแรงงานข้ามชาติ ถือเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา เงินไหลเข้าสู่เอเชียได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลจาก ADB ในปี 2017 แสดงให้เห็นว่าการส่งเงินกลับของแรงงานชาวเอเชียที่ยังอยู่ในภูมิภาคนั้น เป็นแหล่งเงินทุนไหลเข้าสูงสุดเป็นอันดับสองด้วยสัดส่วน 27.7% ขณะประเทศตะวันออกกลางครองอันดับสูงสุดด้วยสัดส่วน 30.9% ในขณะที่อเมริกาเหนือตามมาเป็นอันดับสามด้วยสัดส่วน 25.3%

รายงานของ ADB ฉบับเดียวกันนี้ยังได้ชูประเทศที่เป็นผู้รับเงินในสามอันดับแรกของการไหลเข้าเหล่านี้ นั่นคือ อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และฟิลิปปินส์ ทั้งสามประเทศมีสัดส่วนของเงินที่ส่งไปยังเอเชียประมาณ 60.8% ความสำคัญของการส่งเงินเหล่านี้ไม่สามารถมองข้ามไปได้ ยกตัวอย่างเช่นในฟิลิปปินส์ที่มีการไหลเข้าของเงินโอนคิดเป็น 10.5% ของ GDP ส่วนประเทศเวียดนามคิดเป็น 6.3%

จากเรื่องเงินโอน มาดูที่การศึกษาของ McKinsey ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าจะมีทักษะสูงหรือต่ำ ต่างช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศที่เป็นผู้รับแรงงาน ขณะที่มีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาตนเองด้วย แรงงานข้ามชาติยังสามารถอุดช่องว่างปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และทดแทนอัตราการเกิดซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการเติบโตของจำนวนประชากรของหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศที่มีประชากรจำนวนมากที่มีเยาวชนกำลังมองหางาน ซึ่งหากหางานทำไม่ได้ก็อาจก่อให้เกิดความไม่สงบและนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆ

CSeries-3Labour_Graph4

คืบหน้า แม้ว่าจะช้า

เพื่อปลดล็อคให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ประเทศที่เป็นผู้รับแรงงานจะต้องมีนโยบายด้านการย้ายถิ่นอย่างเป็นทางการ ด้วยการพิจารณาเรื่องสวัสดิการโดยรวมของแรงงานข้ามชาติ ไม่เพียงแต่เรื่องการจ้างงานเท่านั้น นโยบายการย้ายถิ่นจำนวนมากยังคงเข้มงวดอยู่กับเรื่องโควต้าจำนวนแรงงานข้ามชาติ และข้อกำหนดที่เกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติ

ในเอเชีย มีการดำเนินนโยบายความร่วมมือระดับภูมิภาค โดย Colombo process เริ่มต้นในปี 2003 จากความร่วมมือของ 10 ประเทศ เป็นกระบวนการให้คำปรึกษาระดับภูมิภาคที่ให้คำแนะนำสำหรับการจัดการด้านการจ้างงานในต่างประเทศ จากนั้นเกิด Abu Dhabi Dialogue ขึ้นในปี 2008 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มประเทศที่อยู่ใน Colombo Process และที่อยู่ใน Gulf Cooperation Council โดยทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับการแสดงความคิดเห็นและจัดกิจกรรม ช่วยในการพัฒนากรอบการทำงานเพื่อจัดการในเรื่องสัญญาชั่วคราวสำหรับแรงงานเคลื่อนย้ายทั่วเอเชีย

ในขณะที่ประเทศกลุ่มอาเซียนได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปเพื่อเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น ผ่านการทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) แต่การทำความตกลงเหล่านี้ครอบคลุมเฉพาะบางสายอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น (เช่น วิศวกรรม การพยาบาล สถาปัตยกรรม ยา ฯลฯ ) จากการศึกษาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศพบว่า MRAs ที่มีอยู่นั้น ครอบคลุมเพียง 1.5% ของกำลังแรงงานทั่วทั้งภูมิภาค ในขณะที่แรงงานเคลื่อนย้ายภายในอาเซียน ในสัดส่วนประมาณ 87% มีแนวโน้มที่จะเป็นแรงงานที่มีทักษะต่ำ เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีการดำเนินการมากนักเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่า ซึ่งมีศักยภาพส่งผลต่อการพัฒนาสูงที่สุด ด้าน Doreen Choo ซีไอโอของ Eastspring Malaysia กล่าวว่าประมาณหนึ่งในสามของแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะต่ำในมาเลเซีย ได้รับการว่าจ้างอยู่ในภาคการผลิต ในขณะที่ภาคเกษตรดูดซับแรงงานส่วนนี้ไปประมาณหนึ่งในสี่

เมื่อมองไปข้างหน้า การคาดการณ์การเติบโตของรายได้และความแตกต่างทางด้านประชากรของเอเชีย จะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง ประเทศในเอเชียตะวันออกจะต้องการผู้คนจำนวน 275 ล้านคนที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 64 ปีในปี 2030 เพื่อรักษาสัดส่วนของประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาจเพิ่มขึ้นต่อไปได้ หากประเทศในเอเชียดำเนินการปรับปรุงข้อมูลตลาดแรงงาน และขยายขอบเขตของ MRAs ไปสู่แรงงานที่มีทักษะต่ำกว่า

Sources:
1 McKinsey Global Institute: People On The Move, Dec 2016
2 Asian Development Bank (ADB): Asian Economic Integration Report, Oct 2018
3 RSIS Commentary from S. Rajaratnam School of International Studies: Managing Labour Mobility – Stronger ASEAN Integration, Mar 2018
4 https://www.economist.com/node/21716584/comments?sort=1#sort-comments

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.