โอกาสลงทุนตราสารหนี้เอกชนของจีนในตลาด Onshore ที่เติบโตเร็ว

ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ของจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีตราสารหนี้เอกชนในตลาด Offshore ที่มีการเติบโตโดดเด่น ในขณะที่ตราสารหนี้ในตลาด Onshoreนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสนใจ ตราสารหนี้เอกชนในตลาด Onshore นั้นมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดซึ่งเรามองเห็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่กำลังมองหาโอกาสกระจายความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน

ขนาดของตลาดตราสารหนี้เติบโตขึ้นจาก 20,669.4 พันล้านหยวน (3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2010 มาอยู่ที่สูงกว่า 114,310.5 พันล้านหยวน (17.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ เดือนธันวาคม 2020 ซึ่งสูงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาถึงห้าเท่า ทั้งนี้ ตราสารหนี้ของหน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่นและตราสารหนี้เอกชน เป็นสองกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 22% และ 20% ของทั้งตลาด ตามมาด้วยพันธบัตรรัฐบาลกลางที่มีสัดส่วน 18% และตราสารหนี้ภาคธนาคารเพื่อนโยบายรัฐ (policy bank bonds) ที่มีสัดส่วน 16% ดูรูปที่ 1

ถัดลงมาจากภาพรวมตลาดดังกล่าว จะพบว่าขนาดของตลาดตราสารหนี้ Onshore นั้นอยู่ที่ประมาณ 42.8 ล้านล้านหยวน ซึ่งประกอบด้วยตราสารที่ออกโดยภาคเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจำนวน 22.9 ล้านล้านหยวน และออกโดยสถาบันการเงินจำนวน 19.9 ล้านล้านหยวน โดยมีรัฐวิสาหกิจ (State owned enterprises : SOEs) และหน่วยงานจัดหาเงินทุนของหน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่น (Local government financing vehicles: LGFVs) เป็นภาคส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในการออกตราสาร

รูปที่ 1: องค์ประกอบของตลาดตราสารหนี้จีน

china-s-fast-growing-onshore-corporate-bonds-offer-opportunities-Fig 1

มาตรการปฏิรูปช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ Onshore

ตราสารหนี้เอกชนในตลาด Onshore ของจีนนั้นมีพัฒนาการค่อนข้างน้อยจนถึงปี 2010 เนื่องจากบริษัทจีนส่วนใหญ่ต่างพึ่งพาการกู้ยืมจากภาคธนาคารเป็นช่องทางหลักในการระดมทุน แต่หลังจากนั้นก็ได้มีมาตรการปฏิรูปและเปิดตลาดการเงิน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ออกนโยบายต่างๆ เพื่อลดการพึ่งพาระบบธนาคารของภาคส่วนต่างๆ ในเศรษฐกิจ

ในปี 2015 คณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีนได้ผ่อนคลายข้อกำหนดเพื่ออนุญาตให้ บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถออกพันธบัตรได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์ก่อนหน้านั้นที่มีเพียงบริษัทจดทะเบียนที่สามารถเข้าร่วมในตลาดตราสารหนี้ ความคืบหน้าดังกล่าวได้นำมาสู่การเพิ่มขึ้นของการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในการจัดหาแหล่งเงินทุนออกจากภาคธนาคาร โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2020 อัตราส่วนของตราสารหนี้คงค้างต่อยอดเงินกู้อยู่ที่ 13.3% เมื่อเทียบกับ 6.8% ณ สิ้นปี 2010

นอกจากนี้ กฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนจากนอกภาคธนาคารหรือ Shadow Banking ยังได้ส่งผลต่อความต้องการของบริษัทในการเข้ามาระดมเงินทุนผ่านตลาดตราสารหนี้อีกด้วย ผลก็คือตราสารหนี้เอกชนได้กลายมาเป็นภาคส่วนที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของตลาดตราสารหนี้ Onshore ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

การเข้ามามีส่วนร่วมของต่างชาติในตราสารหนี้เอกชนแบบ Onshore ยังทำได้จำกัด

เม็ดเงินไหลเข้าจากต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา การถือครองตราสารหนี้ในประเทศของจีนโดยผู้ลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 765 พันล้านหยวน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2015 มาอยู่ที่ 3,012 พันล้านหยวน ณ สิ้นเดือนกันยายน 20201 แต่การถือครองของต่างชาติที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นอยู่ในรูปของพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคธนาคารเพื่อนโยบายรัฐ (Policy Bank bonds)

การมีส่วนร่วมในตลาดตราสารหนี้เอกชนยังคงทำได้จำกัดเนื่องจากความท้าทายที่มีอยู่ต่างๆ เริ่มด้วยอุปสรรคด้านภาษาที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการวิเคราะห์พื้นฐานด้านเครดิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาด ยิ่งไปกว่านั้นระบบการจัดอันดับทางเครดิตที่ไม่สอดคล้องกันและการที่ไม่มีสถาบันจัดอันดับเครดิตระหว่างประเทศในจีนก็ทำให้ยากในการเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ใช้ในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว

ในปัจจุบัน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศจีนทั้ง 9 แห่งและอันดับเครดิตในตลาด Onshore มักโน้มเอียงไปยังด้านสูงสุดของอันดับเครดิตจนส่งผลให้เกิดการขาดความแตกต่างด้านเครดิต ทั้งนี้ สัดส่วน 89.3% ของตราสารหนี้ได้รับการจัดอันดับเครดิตในขั้น AA และสูงกว่า โดยในตัวเลขนี้มี 65.3% ที่มีอันดับเครดิตขั้น AAA อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าสถาบันจัดอันดับเครดิตระดับโลกกำลังเข้าสู่ตลาดนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้รับใบอนุญาตการจัดอันดับเครดิตในปี 2020 และได้เปิดตัวการจัดอันดับเครดิตตราสาร Onshore ขึ้นเป็นครั้งแรก

การเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนตั้งแต่ปี 2016 และความไม่แน่นอนในกระบวนการภายหลังเกิดการผิดนัดชำระหนี้ยังถือเป็นอุปสรรคขัดขวางความสนใจจากต่างชาติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้สภาพคล่องของตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีน้อย (แม้ว่าจะดีขึ้น) เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลจีนและ policy bank bonds ก็ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นจากการหมุนเวียนของตราสารในตลาดที่ลดลงและส่วนต่างระหว่างราคา bid - ask ที่กว้างขึ้น การซื้อขายตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดรองมักจะเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจส่วนกลางหรือ SOEs ขนาดใหญ่ รวมทั้ง SOE/LGFVs ในระดับท้องถิ่นหรือจังหวัด ในขณะที่การซื้อขายตราสารที่ออกโดยบริษัทเอกชนนั้นพบได้น้อยกว่าเนื่องจากผู้ลงทุนมักจะถือจนครบกำหนดอายุตราสาร

ความกังวลเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ในตลาด Onshore ที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่?

จากปัจจัยความท้าทายทั้งหมดดังกล่าว ประเด็นที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ในตลาด Onshore ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทในประเทศเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2014 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นพบว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่จำนวน 184 รายในปี 2019 และ 224 รายในปี 2020 ส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้อยู่ที่ 0.75% และ 1.04% ตามลำดับ ดูรูปที่ 2 อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการอันหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับตลาดตราสารหนี้ที่พึ่งพิงกลไกตลาด เช่นเดียวกับที่ตลาดหุ้นของประเทศพัฒนาแล้วได้เผชิญมาตลอดหลายปีก่อนหน้านี้ ตลาดตราสารหนี้ที่อนุญาตให้ผู้ออกตราสารที่มีปัญหาสามารถผิดนัดชำระหนี้ได้เป็นการย้ำถึงความจำเป็นในการบริหารจัดการแบบเชิงรุกที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละประเทศและความสามารถในการวิเคราะห์สถานะด้านเครดิต

นับจากนี้ไปเราคาดว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจจะทรงตัวได้ในระดับที่สมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับตลาดแห่งอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยองค์ประกอบทั้งการสนับสนุนด้านนโยบาย การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง และโครงสร้างผู้ลงทุนที่เอื้อประโยชน์มากขึ้น

รูปที่ 2: การผิดนัดชำระหนี้ในตลาด Onshore ของจีน

china-s-fast-growing-onshore-corporate-bonds-offer-opportunities-Fig 1

ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับหนทางคลี่คลายปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เป็นอีกหนึ่งข้อกังวลสำหรับผู้ลงทุน ไม่ว่าจะในแง่ของการบังคับใช้กฎหมาย ระยะเวลา และอื่นๆ เนื่องจากประวัติย้อนหลังของการผิดนัดชำระหนี้มีเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ รูปที่ 3 แสดงถึงข้อมูลสถานะการคลี่คลายปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารในตลาด Onshore จำนวน 121 รายนับตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งอาจให้แง่คิดบางประการ

รูปที่ 3: จำนวนการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ในตลาด Onshore แยกตามสถานะการเจรจาหนี้ (ปี 2014 ถึงเดือนพ.ย. 2020)

china-s-fast-growing-onshore-corporate-bonds-offer-opportunities-Fig 1

ทำไมเราถึงมองบวกต่อตราสารหนี้ในตลาด Onshore

แรงจูงใจหลักที่ให้ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนของจีนนั้นก็คือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวลงแต่ยังถือว่าอยู่ในทิศทางขาขึ้นที่แข็งแกร่งและมีแนวโน้มที่ดีในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า จีนเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจหลักเพียงไม่กี่ประเทศที่ดำเนินนโยบายการเงินแบบปกติ ไม่ได้ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบขนานใหญ่ใดๆ เป็นผลให้จีนยังคงสามารถรักษาอัตราดอกเบี้ยที่เป็นบวกไว้ได้และมีเส้นอัตราผลตอบแทนที่ค่าความลาดชันเป็นบวก ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ในระยะยาวลักษณะทางเศรษฐกิจเช่นนี้จะช่วยสร้างแรงจูงใจเชิงบวกให้กับหน่วยงานทางเศรษฐกิจและรักษาความสามารถในการแข่งขันของสินทรัพย์สกุลเงินหยวนในเวทีโลกได้ต่อไป

ตราสารหนี้ในตลาด Onshore ของจีนยังนำเสนอมูลค่าที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับตราสารประเภทเดียวกันในตลาด Offshore ดัชนีตราสารหนี้เอกชนระดับ AAA ของจีน (อายุ 5 ปี) มีอัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุหรือ yield to maturity อยู่ที่ 3.8% ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทน 2.6% ของตราสารหนี้ระดับ investment grade ในตลาดออฟชอร์ ส่วนต่างนี้กว้างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2020 เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มคุมเข้มสภาวะการเงินในตลาด Onshore ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจ หรือ SOEs ที่มีอันดับเครดิตระหว่างประเทศตั้งแต่ A- ขึ้นไป มีส่วนต่างระหว่างพันธบัตรในรูปเงินหยวน (RMB) และในรูปเงินดอลลาร์ (USD) ที่อาจสูงถึง 200bp ซึ่งนี่ยังไม่รวมต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงและส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ตราสารหนี้ของ SOEs ที่มีคุณภาพสูงเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการแสวงหาผลตอบแทนที่ดีขึ้น ดูรูปที่ 4 และเมื่อผลกระทบของการปรับนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติค่อยๆ เลือนหายไป ในที่สุดแล้วอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มหรือค่าพรีเมียมของตราสารหนี้ Onshore อาจลดลงมาอยู่ใกล้เคียงกับระดับในอดีต นั่นหมายถึงผลตอบแทนที่ดีขึ้นสำหรับผู้ลงทุนตราสารหนี้ในตลาด Onshore

รูปที่ 4: อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในตลาด Onshore ของจีน (%)

china-s-fast-growing-onshore-corporate-bonds-offer-opportunities-Fig 1

ผู้ลงทุนที่มีความสามารถในการคัดเลือกตราสารหนี้จะได้รับประโยชน์

ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งเกิดขึ้นแม้แต่ในรายของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในเกณฑ์ดี เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และได้ท้าทายสมมติฐานของผู้ลงทุนเกี่ยวกับ “การรับประกันแฝง” ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติของทางการจีนที่คอยให้ความช่วยเหลือบริษัทที่ประสบปัญหา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตราสารหนี้เหล่านี้จะส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อมั่นของตลาด แต่การล้มละลายและการผิดนัดชำระหนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่มีความแข็งแกร่งและสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติหากสถานการณ์การแพร่ระบาดในวงกว้างถูกควบคุมไว้ได้ กระแสการผิดนัดชำระหนี้ของพันธบัตร SOE ระลอกล่าสุดยังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของทางการในการจัดการกับบริษัทที่มีปัญหาหรือที่เรียกว่า "zombie enterprises " ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปด้าน Supply ของจีน โดยมาตรการลดการก่อหนี้ในเชิงโครงสร้างยังคงเป็นทิศทางนโยบายที่สำคัญ ในความเป็นจริงแล้วการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของหน่วยงานกำกับดูแลที่มุ่งพัฒนาตลาดการเงินที่มีความก้าวหน้า

การผิดนัดชำระหนี้ในตลาด Onshore ที่เพิ่มขึ้นล่าสุดและการคุมเข้มสภาพคล่องในตลาด Onshore ในจีนได้สร้างความผันผวน ซึ่งแนวโน้มนี้ทำให้ผู้ลงทุนหันกลับมาสนใจการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและกระบวนการคัดเลือกตราสารหนี้ เรามองว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นโอกาสสำหรับผู้ลงทุนระยะยาวที่มีความสามารถในการคัดเลือกตราสาร โดยภาวะความแตกต่างทางเครดิตที่เพิ่มขึ้นได้เริ่มสะท้อนให้เห็นในราคาตราสารหนี้บ้างแล้ว

ดังที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นที่น่าสังเกตว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การผิดนัดชำระหนี้ได้ก่อให้เกิดความกังวลและอาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่ในท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลจีนมีเจตจำนงทางการเมืองและความสามารถในการกำหนดนโยบายเพื่อดึงตลาดกลับเข้าสู่สภาวะปกติและมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งหากพิจารณาจากประสบการณ์ก่อนหน้านี้ก็จะเห็นถึงความสามารถของรัฐบาลในการควบคุมความเสี่ยงเชิงระบบและการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในภาพรวม

Sources:
1 Goldman Sachs

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.