ส่องอนาคตหุ้นจีน ในวันที่รัฐบาลจีนคุมเข้ม

นับตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนเริ่มเผชิญกับความผันผวนจากปัจจัยที่เข้ามากระทบในหลายด้านทั้งเรื่องของนโยบายการเงินที่ทางธนาคารกลางจีนเริ่มลดสภาพคล่องในการอัดฉีดเข้าสู่ระบบ ปัจจัยทางด้านต่างประเทศประเด็น Tech War ที่ทางสหรัฐฯพยายามเบรคจีนด้วยการเพิ่มรายชื่อการแบนบริษัทเทคโนโลยีจากจีน

ทำไมตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรง

สิ่งที่เป็นปัจจัยและกระทบต่อ Sentiment ต่อตลาดหุ้นจีนมากที่สุด ณ เวลานี้ คือการควบคุมและการออกกฎระเบียบจากทางการจีน (Regulatory Risk) ซึ่งในปีนี้หลายบริษัทได้รับผลกระทบจากการออกกฎระเบียบจากทางการจีน ทั้งด้านการผูกขาดทางการค้า ด้านกฎเกณฑ์การทำธุรกิจ และด้านการควบคุมการนำข้อมูลผู้บริโภคไปใช้

เริ่มตั้งแต่ Ant บริษัทในเครือ Alibaba ถูกเบรคจากทางการจีนเพียงไม่กี่วันก่อน IPO เพื่อให้ทาง Ant ทำตามกฎระเบียบด้านธุรกิจสถาบันการเงินเหมือนสถาบันการเงินอื่นรวมถึงประเด็นการผูกขาด ถัดมาเป็น Didi ผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในจีน ถูกถอดจาก Store ในการดาวน์โหลด App Store และ Google Play เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ ล่าสุดมีประเด็นเรื่องการให้ทาง Didi เพิกถอนการจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ , Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากจีน ถูกทางการจีนปรับเงิน และยกเลิกการผูกขาดในลิขสิทธิ์เพลง

ล่าสุดคือ กลุ่ม Education Tech Stocks หรือ กลุ่มติวเตอร์ออนไลน์ถูกทางการจีนเริ่มตั้งแต่จำกัดชั่วโมงการเรียน และล่าสุดถูกจัดให้เป็นองค์ไม่แสวงหากำไร ส่งผลให้หุ้นกลุ่มดังกล่าวปรับตัวลงไปประมาณ 90% จากจุดสูงสุด ซึ่งประเด็นนี้เองกำลังสร้างความกังวลให้นักลงทุนว่ามามีการขยายการควบคุมไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นด้วยหรือไม่

chinasituationspecialreport_graph_01

ผลกระทบต่อดัชนีหลักของจีน

ผลกระทบจากการควบคุมจากทางการจีนจะพบว่าดัชนีที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ Hang Seng Tech ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีน และหลายบริษัทที่อยู่ Hang Seng Tech ถูกนับรวมอยู่ในดัชนี H-Shares และ MSCI China ส่งผลให้ 3 ดัชนีนี้ปรับตัวลงแรง ซึ่งโดนผลกระทบจากเรื่องการกำกับดูแลจากทางการจีนที่ออกกฎระเบียบควบคุมในด้านต่างๆ และประเด็น Tech War ที่ถูกกดดันจากทางสหรัฐฯที่พยายามสกัดกั้นเทคโนโลยีจากทางจีน

ขณะที่ดัชนี CSI300 ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับการเงินและการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศของจีนยังคงเติบโต ภาคการผลิตยังคงเดินหน้าการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่ม Industrials, Materials และ Energy ช่วยประคองดัชนี CSI300 เอาไว้ได้บางส่วนทำให้ดัชนีนี้ปรับตัวลงน้อยกว่า

โดยที่ดัชนี Star50 ที่เป็นดัชนีที่เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางดัชนีหลัก เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กผลกระทบจากเรื่องกฎระเบียบด้านการผูกขาดน้อย ในทางตรงกันข้ามบริษัทเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนและการส่งเสริมจากทางภาครัฐจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 ที่เน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนา และ โดยมากบริษัทเหล่านี้มีรายได้หลักอยู่ในประเทศจีนส่งให้ประเด็นจาก Tech War ที่ถูกกดดันจากทางสหรัฐฯไม่ได้มีผลต่อบริษัทในดัชนีเหล่านี้มากนัก จึงส่งผลให้ดัชนีนี้ปรับตัวขึ้นได้ดี

chinasituationspecialreport_graph_02

ดังนั้น การเข้าลงทุนในช่วงนี้จึงต้องพิจารณาถึงเรื่องปัจจัยพื้นฐานและประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าและโอกาสรวมถึงจังหวะในการลงทุนในดัชนีต่างๆของจีนต่อจากนี้ที่ยังมีความเสี่ยงในหลากหลายด้าน

chinasituationspecialreport_graph_03

ในอดีตจำนวนวันที่ใช้ระยะเวลาในการปรับฐานลงมามากกว่า 20% โดยส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาประมาณ 200 ยกเว้นช่วงโควิด-19 ที่ใช้ระยะเวลาเพียง 48 วันทำการ และสิ่งที่น่าสนใจคือการปรับฐานในรอบนี้ลงมาใกล้เคียงกับระดับปี 2018 ที่ MSCI China ปรับฐานลงมา -33% และใช้เวลา 197 ทำการในช่วงปรับฐาน ซึ่งหลังจากปี 2018 ดัชนีหลักของจีนปรับตัวขึ้นค่อนข้างดี จนมาได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 เริ่มพักฐานในช่วงนี้ ซึ่งประเด็นที่เราต้องนำมาพิจารณาเพิ่มเติมนอกจากระดับราคาก็คือเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการคาดการณ์การเติบโตของยอดขายกำไรในอนาคต ซึ่งจะเป็นตัวที่สนับสนุนการลงทุนในระยะกลางถึงยาวในการพิจารณาถึงโอกาส ความเสี่ยง และความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งจะพบว่าการคาดการณ์การเติบโตของยอดขายและกำไรในปี 2022 ยังคงมีแนวโน้มที่น่าสนใจ

chinasituationspecialreport_graph_04
chinasituationspecialreport_graph_05

กลยุทธ์การลงทุน

ในส่วนของการลงทุน TMBCOF นั้นอาจจะยังต้อง Wait & See สำหรับนักลงทุนระยะสั้น เพื่อรอความชัดเจนของผลกระทบ รวมถึงจำนวนบริษัท/อุตสาหกรรมอื่นที่อาจถูกกระทบจากการออกกฎระเบียบจากทางการจีนเพิ่มในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ทางทีมผู้จัดการกองทุนจาก UBS มีสัดส่วนของการลงทุนใน Education Tech Stocks อย่าง TAL เพียงแค่ 1.6% สำหรับนักลงทุนระยะกลางถึงยาวอาจใช้โอกาสในการปรับฐานที่ระดับ-30% (ปัจจุบัน -27%)ในการเข้าทยอยลงทุน เนื่องจากระดับ Valuation ปัจจุบันมี Forward PE เพียง 15x ซึ่งเท่ากับในช่วง มิถุนายนปีที่แล้วและยังถูกกว่าระดับ Forward PE สูงสุดของปีนี้ที่ 19x ขณะที่รายได้และกำไรยังคงมีการเติบโตในระดับที่น่าสนใจ

สำหรับกองทุน TMB – ES China A -Active ปัจจุบันไม่ได้มีการลงทุนในกลุ่มของ Education Tech Stocks กองทุนนี้เน้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค,กลุ่มการแพทย์,และกลุ่มการเงิน ขณะที่กลุ่มเทคโนโลยีมีไม่ถึง 5%แต่ยังมีความเสี่ยงเรื่องของกฎหมายป้องกันการผูกขาด และกองทุนหลักปรับฐานมาแล้วประมาณ -25% จากจุดสูงสุดซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2018 ที่ปรับฐานลงมา-30% ซึ่งสำหรับนักลงทุนระยะสั้นแนะนำ wait&see เพื่อรอดูความชัดเจนจากนโยบายทางการจีน และยังมีความเสี่ยงเรื่องการกระจุกตัวการลงทุน

กองทุน TMB-ES -Startech ที่เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนล้อไปกับดัชนี Star50 ซึ่งดัชนีนี้กำลังจะทำสถิติจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่มีการซื้อขายในช่วงเดือน กรกฎาคม 2020 เป็นกองทุนที่มีความแตกต่างจาก 2 กองทุนข้างต้นซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นด้านการวิจัยและพัฒนาได้รับการสนับสนุนจากทางการจีน และเป็นบริษัทขนาดกลางถึงขนาดเล็กที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากกฎหมายป้องกันกการผูกขาด แต่ด้วยลักษณะความเป็นบริษัทกลาง-เล็กและเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี จึงแนะนำสัดส่วนไม่เกิน 10% ของพอร์ตการลงทุน

จะเห็นว่าการลงทุนในจีนนั้นความเสี่ยงหนึ่งที่เลี่ยงได้ยากคือ ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบจากทางภาครัฐที่ค่อนข้างมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินธุรกิจ หากในสหรัฐฯมีคำพูดที่ว่า Don’t Fight the FED หรืออย่าอยู่ตรงข้ามกับธนาคารกลางสหรัฐฯ การลงทุนในจีนก็คงต้องพูดว่า Don’t Fight the CCP (Chinese Communist Party) หรืออย่าสู้กับพรรคอมมิวนิสต์จีน อย่างไรก็ตามทุกวิกฤติมีโอกาสซ่อนอยู่ การจัดการความเรียบร้อยต่างๆนั้นเป็นการจัดการที่ทางการจีนมุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขันได้ในระยะยาว เพื่อให้โอกาสบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเติบโตได้และจะเกิดเสถียรภาพกับการลงทุนและการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะยาว รวมถึงทำให้การลงทุนในจีนเป็นจุดหมายของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.