เงินปันผลอาจช่วยคุ้มกันจากภาวะตลาดที่กำลังร่วงลง

การแห่ขายอย่างตื่นตระหนกส่งผลกระทบไปยังเกือบทุกกลุ่มสินทรัพย์ตลอดช่วงระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์มานี้ ความผันผวนของตลาดมีโอกาสดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องของขนาดความรุนแรงและระยะเวลาการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งท่ามกลางความไม่แน่นอนเหล่านี้ พอร์ตการลงทุนที่โน้มเอียงไปยังบรรดาบริษัทที่แข็งแกร่ง มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดี อาจช่วยฟันฝ่าและรอดพ้นจากพายุลูกนี้ไปได้

เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลง เกราะป้องกันที่เกิดจากเงินปันผลนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ลงทุนที่หลีกหนีความเสี่ยงและมักจะส่งผลให้ความผันผวนลดลง ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2008 ดัชนี MSCI AC Asia Pacific ไม่รวมญี่ปุ่น ปรับตัวลง 45% เช่นเดียวกับดัชนีหลักทรัพย์ปันผลสูงที่ลดลง 37% แต่ในทันทีที่ความเชื่อมั่นกลับมาฟื้นตัว ดัชนีหลักทรัพย์ปันผลสูงก็ได้รับอานิสงส์จากตลาดที่วิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน และปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แรงกว่า ดูรูปที่ 1 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นภูมิภาคที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงที่สุด และการนำเงินปันผลกลับมาลงทุนใหม่ (dividend reinvestment) ก็ทำให้เกิดผลงานที่ดีในระยะยาว

รูปที่ 1 : ดัชนีหลักทรัพย์ปันผลสูงในเอเชีย ปรับตัวลดลงน้อยในช่วงวิกฤติปี 2018 และเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงที่เกิดการฟื้นตัว1

dividends-may-help-insulate-chart-01

การมุ่งเน้นที่เงินปันผลได้ช่วยสร้างเกราะป้องกันในพอร์ตการลงทุน ด้วยเหตุผลที่ผู้ลงทุนจะยังคงได้รับกระแสรายได้ในระหว่างที่กำลังรอให้ตลาดฟื้นตัว ตลาดเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น ณ ระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ ดูรูปที่ 2 แต่ไม่ใช่ว่าทุกกลุ่มจะนำเสนอมูลค่าที่ดีและจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการคัดสรรบริษัทที่จ่ายเงินปันผลดี และมีอัตราผลตอบแทนสนับสนุนที่ยั่งยืนสูงสุด

รูปที่ 2 : อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น มีความน่าสนใจ2

dividends-may-help-insulate-chart-02

คำถามยังคงมีอยู่ว่า บริษัทในเอเชียจะยังคงจ่ายเงินปันผลที่ดีอยู่หรือไม่ในช่วงขาลง เหมือนเช่นในช่วงของการเทขายในระยะหลังด้วยสาเหตุจาก COVID-19

ภาคธุรกิจในเอเชียมีพลังความสามารถด้านการเงินหรือไม่?

การที่ผลประกอบการร่วงลงอย่างรวดเร็วมีแนวโน้มที่จะกดดันความสามารถในการจ่ายปันผลของภาคธุรกิจในเอเชีย อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นหลายแห่งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำและ EBITDA อยู่ในระดับที่ดี (รายได้ก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา) สามารถครอบคลุมการจ่ายชำระดอกเบี้ย และมีเงินสดเพียงพอในงบดุล เพื่อครอบคลุมหนี้สินระยะสั้น สิ่งเหล่านี้คือกุญแจสำคัญภายใต้สภาพแวดล้อมแห่งความท้าทาย

การปรับลดเงินปันผลมักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าการปรับลดผลประกอบการ โดยในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย เงินปันผลถูกตัดทอนลง แต่ไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อการลดลงของผลประกอบการ หลังจากนั้น อัตราการจ่ายปันผลก็กลับมาพุ่งขึ้นเมื่อบรรดาบริษัทต่างพยายามรักษาการจ่ายปันผล ในทางกลับกัน เมื่อผลประกอบการออกมาทะยานขึ้นหลังจากเดือนพฤษภาคม ปี 2003 เงินปันผลก็ไม่ได้เคลื่อนไหวไปในลักษณะที่สอดคล้องกัน ดูรูปที่ 3 บทสรุป: หุ้นที่จ่ายปันผลโดยทั่วไปจะให้ความมั่นคงที่มากขึ้น แต่ผู้ลงทุนยังต้องระมัดระวังความเสี่ยงขาลง เงินปันผลอาจถูกตัดออกได้อีกหากบริษัทต่างๆ ต้องการกันเงินสดไว้เพื่อดำเนินกิจการ

รูปที่ 3 : เงินปันผลมีความผันผวนน้อยกว่าผลประกอบการ3

dividends-may-help-insulate-chart-03

ในบางครั้งอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงอาจบ่งชี้ถึงการเป็นกับดักด้านมูลค่า (value trap) – เพราะผลตอบแทนจากเงินปันผลอาจสูงเนื่องจากราคาหุ้นที่ถูกกดดัน การที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและความผันผวนสูง ผู้ลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนจะมองไปยังหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง อย่างไรก็ตาม การไล่ล่าผลตอบแทนด้วยการมองแต่ตัวเลขผลตอบแทน หรือการคัดกรองผลตอบแทนด้วยเพียงวิธีง่ายๆ อาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าสู่ภาวะกับดักผลตอบแทนเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุดนั้นจะเป็นหุ้นที่มีคุณลักษณะด้านคุณภาพที่ด้อยกว่า – ซึ่งนี่เป็นสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน การเจาะลึกลงไปเน้นในเรื่องของผลประกอบการและความแข็งแกร่งของงบดุลของบริษัทต่างๆ ในเอเชียนั้น ถือเป็นความจำเป็นในขณะนี้เมื่อต้องเผชิญกับกระแสการปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการ

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทต่างๆ จะสามารถรักษาระดับเงินปันผลของตัวเองไว้ได้ในช่วงที่เกิดขาลงเป็นระยะเวลานาน?

การประเมินความยั่งยืนของเงินปันผล

มีตัวชี้วัดจำนวนมากที่ผู้ลงทุนสามารถใช้เพื่อพิจารณาความยั่งยืนของเงินปันผล สิ่งสำคัญประการแรกคือการดูว่าบริษัทมีการเติบโตของผลประกอบการที่ยั่งยืนหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทมีกระแสรายได้อย่างสม่ำเสมอจากการดำเนินงานที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ บริษัทด้านสาธารณูปโภคและการสื่อสารโทรคมนาคม จึงมักถูกอ้างถึงเป็นตัวอย่างที่ดี และสิ่งนี้เกิดขึ้นในเอเชียด้วยเช่นกัน

ประการที่สอง ความแข็งแกร่งและความมั่นคงของงบดุลเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ลงทุนควรตั้งคำถามว่าสินทรัพย์ระยะสั้นของ บริษัทนั้นสามารถชำระหนี้สินในระยะสั้นได้หรือไม่ หรือ บริษัทมีหนี้สินส่วนเกินเมื่อเทียบกับส่วนของทุนหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่จ่ายเงินปันผลมักจะถือครองเงินสดสูงและมีระดับหนี้ต่ำ และ / หรือ การใช้จ่ายเพื่อลงทุน (Capex) อยู่ในระดับต่ำ

ประการที่สามเกิดขึ้นถัดจากสิ่งนี้ : โดยทั่วไป บริษัทต้องมีกระแสเงินสดอิสระ (free cash flow) ที่แข็งแกร่งซึ่งสามารถรองรับการจ่ายเงินปันผลได้ นั่นหมายความว่าบริษัทมีความสามารถสร้างยอดขายในแบบปกติ สร้างกระแสเงินสดเข้าสู่ธนาคารและไม่ต้องพึ่งพาสินทรัพย์ส่วนอื่นๆ ในงบดุล เช่น 'สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้' จากการมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง หรือการเลื่อนกำหนดเวลาชำระเงิน ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากต่อกระแสเงินสด นอกจากนี้ บริษัทที่มีความยืดหยุ่นในการเลื่อนความต้องการใช้จ่ายเพื่อลงทุนก็อาจช่วยสนับสนุนในเรื่องการจ่ายปันผลด้วย

ประการที่สี่ คือการตรวจสอบประวัติเงินปันผลของบริษัทย้อนหลัง และดูว่ามีประวัติการปรับลดเงินปันผลหรือไม่ ผู้ลงทุนควรใช้ความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งในการตรวจสอบว่าทำไมบริษัทจึงถูกบังคับให้ทำการปรับลดเงินปันผล มีเพียงสถานการณ์ที่รุนแรงเท่านั้นที่จะทำให้บริษัทต้องลดการจ่ายเงินปันผลลง เพราะนั่นจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังตลาดว่าบริษัทมีสถานะการเงินที่อ่อนแอลง ในบางกรณีอาจสรุปได้จากการกระทำของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาที่เกิดการเทขายหุ้นและในช่วงที่เป็นขาลง

มุมมองการลงทุนของทีม Asian Equity Income

ทีม Asian Equity Income ของ Eastspring มองไปในระยะยาวสำหรับสถานะการถือครองหุ้นของเรา และมองว่าภาวะหยุดชะงักในปัจจุบันเป็นโอกาสในการซื้อ เรายังคงเชื่อว่าธุรกิจที่เราเป็นเจ้าของนั้นมีความทนทานและจะสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าตลอดช่วงวัฏจักร เราดำเนินการซื้อหุ้นแต่ละตัวด้วยการมีส่วนเผื่อความปลอดภัย (margin of safety) และระมัดระวังไม่จ่ายแพงจนเกินไป สร้างแบบจำลองของแต่ละหุ้นภายใต้สถานการณ์กระทิง หมี และกรณีฐาน (bull / bear / base case scenario)

เราเชื่อว่าการเป็นเจ้าของบริษัทที่จ่ายเงินปันผลได้อย่างมั่นคงและเพิ่มขึ้นนั้น เป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าจะให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูด และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการที่มีหุ้นบางประเภทตัดสินให้ตัวเองกลายมาเป็นผู้จ่ายปันผลที่ดีด้วย หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค หรือกลุ่มการสื่อสารโทรคมนาคม ต่างมีกระแสรายรับเงินสดที่มั่นคง เป็นบริษัทที่มีธุรกิจแข็งแกร่ง มีประวัติการจ่ายเงินปันผลมาอย่างยาวนานและมีการใช้จ่ายเพื่อลงทุนที่สามารถคาดการณ์ได้ (อย่างสมเหตุสมผล)

เช่นเดียวกันกับธนาคารและบริษัทประกันที่มีแนวโน้มสร้างกระแสรายได้ค่อนข้างมั่นคง ทำให้การจ่ายเงินปันผลเป็นไปอย่างสม่ำเสมอแม้จะไม่ได้สร้างความประทับใจได้อยู่ตลอด ในขณะที่หุ้นอสังหาริมทรัพย์ก็ยังมีรายได้ที่สม่ำเสมอจากผู้เช่า โดยในบางกรณีอาจเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจหากเทียบกับสิ่งที่เคยรับรู้ นั่นคือการที่หุ้นในธุรกิจที่เคลื่อนไหวไปตามวัฏจักร อย่างเช่นเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ได้เปิดโอกาสอย่างมากให้แก่ผู้ลงทุนได้เก็บเกี่ยวอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่อยู่ในระดับสูง

เมื่ออัตราผลตอบแทนต่ำและกำลังอยู่ในทิศทางที่ลดลง – ส่งผลให้พันธบัตรมีราคาแพง – ผู้ลงทุนในบางครั้งจึงได้เข้าซื้อหุ้นที่มีลักษณะของความแข็งแกร่ง อันเปรียบเสมือนกับการเป็น "ตัวแทน" ของการได้ครอบครองพันธบัตร ด้วยความที่มีคุณลักษณะด้านความมั่นคง เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น กลุ่มการดูแลรักษาสุขภาพ และสาธารณูปโภค เราให้น้ำหนักที่น้อยลงในเรื่องการประเมินมูลค่าสำหรับหุ้นในกลุ่มเหล่านี้ แต่มีความตระหนักว่ากลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวตามวัฏจักรน้อยและรักษาระดับการถือครองในพอร์ตโฟลิโอเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการกระจายความเสี่ยง

ท่ามกลางสภาวะการเทขายในตลาด เราได้รับประโยชน์จากจุดเข้าซื้อด้วยราคาที่ดีกว่าในการปรับพอร์ตโฟลิโอสู่บริษัทที่เป็นผู้จ่ายเงินปันผลคุณภาพสูง งบดุลที่แข็งแกร่งและมีความสามารถในการคุ้มกันได้ โดยกลุ่มพลังงาน การเงิน และบริการสื่อสาร มีอัตราผลตอบแทนที่สูงและได้รับแรงสนับสนุนจากเรื่องมูลค่าหุ้น ซึ่งเราได้ให้น้ำหนักเป็น overweight นอกจากนี้ เรายังมีความเชื่อมั่นในระยะยาวสำหรับบางบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ 5G เซมิคอนดักเตอร์ ผู้บริโภค และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเรายังคงมองหาโอกาสทางด้านบวกด้วยการมุ่งเน้นไปยังปัจจัยพื้นฐานที่สร้างความได้เปรียบ

ในขณะที่สภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน เรามุ่งมั่นที่จะส่งมอบผลงานที่มั่นคงด้วยกลุ่มบริษัทที่จ่ายปันผลดีในพอร์ตการลงทุนของเราท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาด

Sources:
1 MSCI AC Asia Pacific excluding Japan indices from Refinitiv Datastream, as at 17 Mar 2020
2 Refinitiv Datastream, Eastspring Investments as at 29 Feb 2020
3 Morgan Stanley Research, data as at 31 Dec 2019

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.