มองขีดความสามารถของอาเซียน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาว

ตลาดอาเซียนไม่สามารถรอดพ้นจากผลกระทบอันน่าหวาดกลัวของภาวะการระบาดครั้งใหญ่ ด้วยปัจจัยเชิงโครงสร้างและการพึ่งพาภาคการค้าโลกที่เข้ามาเพิ่มแรงกดดันให้กับตลาดกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเรามองลึกลงไปในหัวข้อข่าวที่มีแต่จะสร้างความหดหู่ ก็จะเห็นได้ชัดว่าเมฆหมอกแห่ง COVID-19 กำลังบดบังศักยภาพในระยะยาวของประเทศกลุ่มอาเซียน

ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ ยกเว้นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ประสบความสำเร็จอย่างมากในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส1 แต่สภาวะเศรษฐกิจกลับเป็นอีกเรื่องราวที่แตกต่างออกไป ดูจากตัวเลข GDP ในไตรมาสสอง เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แสดงถึงอัตราการลดลงต่อปีเป็นตัวเลขสองหลักในทุกตลาด โดยประเทศที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดคือมาเลเซีย จาก GDP ที่หดตัวลง 17.1%2 ขณะประเทศเพื่อนบ้านก็ตามมาไม่ไกล อย่างสิงคโปร์ที่มี GDP ลดลง 13.2% ไทย 12.2% และฟิลิปปินส์ 16.5%345

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความผิดแผกแตกต่างออกไป ซึ่งได้แก่อินโดนีเซียและเวียดนาม อินโดนีเซียนั้นมี GDP ในไตรมาสสอง หดตัวลงเพียง 5.32% ในขณะที่เวียดนามกลับยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขอัตราการขยายตัวเป็นบวกที่ 0.36%67 อย่างไรก็ตาม ภาพรวมที่สะท้อนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆ กลับดูมืดมน ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดการคาดการณ์ GDP รวมทั้งปี 2020 ของภูมิภาคลงอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดคาดว่า GDP รวมทั้งภูมิภาคจะหดตัวลง 3.8%8

รูปที่ 1: อัตราการขยายตัวของ GDP (เปอร์เซ็นต์ต่อปี)

focus-on-asean-s-longer-term-potential-chart-01

แนวโน้มดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นในตลาดหุ้น โดยตลาดภูมิภาคสามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้บางส่วนหลังจากลดลงไปแตะระดับต่ำสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดโลก แต่ขอบเขตการฟื้นตัวของตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับแสดงถึงผลงานที่รั้งท้ายตลาดอื่นๆ อย่างเช่น จีน ไต้หวัน และเกาหลี

รูปที่ 2 : อัตราผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (Year-to-date returns) ในรูปสกุลเงินท้องถิ่น

focus-on-asean-s-longer-term-potential-chart-02

ทำไมอาเซียนจึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง?

ความพยายามที่จะชี้ชัดลงไปในแต่ละประเด็นในส่วนที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ภาวะการระบาดครั้งใหญ่ได้ส่งผลกระทบฉุดอาเซียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และนี่คือหลายๆ ปัจจัยที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง

  • การรับมือกับภาวะการระบาดที่มีประสิทธิภาพน้อย - อาเซียนมีมาตรการควบคุมภาวะการระบาดที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียเหนือ
  • การพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก - หลายๆ ประเทศอย่างเช่นไทย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และสิงคโปร์ ต่างพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมากซึ่งในขณะนี้อยู่ในภาวะชะงักงัน9
  • ขาดการเปิดรับต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยี - อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นภาคส่วนที่สามารถทำผลงานได้แข็งแกร่งที่สุดของปี ซึ่งนอกจากสิงคโปร์แล้ว ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีระดับการเปิดรับต่ออุตสาหกรรมนี้น้อยมาก
  • มีระดับการพึ่งพาภาคการเงินสูง - ภูมิภาคนี้มีความเชื่อมโยงกับภาคการเงินอย่างมากซึ่งเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ด้วยลักษณะของธุรกิจที่มีความข้องเกี่ยวต่อภาวะเศรษฐกิจและวัฏจักรสินเชื่อ
  • สภาพคล่องที่ต่ำกว่า - ในปีนี้จะเห็นว่าหุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องและมีอัตราการเติบโตสูงสามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในตลาดอาเซียน

จากประเด็นทั้งหมดนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดูย่ำแย่สำหรับตลาดอาเซียน - อย่างน้อยก็ในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นคืออุปสรรคในระยะสั้นดังกล่าวจะขยายขอบเขตความอ่อนแอไปสู่มุมมองระยะกลางหรือแม้กระทั่งในระยะยาวหรือไม่

เราคิดว่าไม่ และเรายังได้เห็นสัญญาณของการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดย ADB ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ของภูมิภาคเอเชียในปี 2021 อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้ลง ทั้งนี้ ADB คาดว่า GDP เอเชียจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 5.5% ในปี 2021

อาเซียนอยู่ในสถานะได้เปรียบในการเข้ามาเป็นกลุ่มประเทศ “บวกหนึ่ง” (plus one)

ภาวะการระบาดครั้งใหญ่ได้บีบบังคับให้บรรดาบริษัทต่างๆ ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งเพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัว ซึ่งอาจอธิบายให้เห็นภาพอย่างสั้นๆ ก็คือการโยกย้ายจากการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่เป็นแบบ "just in time" ซึ่งมีประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ ไปสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับท้องถิ่นในแบบ "just in case" ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การกระจายความเสี่ยงออกจากประเทศจีนและยอมรับกลยุทธ์ “China Plus One”

มีความชัดเจนว่าจีนสามารถกลับมาดำเนินการผลิตต่อได้อย่างรวดเร็วภายหลังผ่านวิกฤต COVID-19 และการที่มีข้อได้เปรียบอื่นๆ เช่นตลาดในประเทศที่มีขนาดใหญ่ โครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี และระบบนิเวศของซัพพลายเชน เป็นการสะท้อนว่าโรงงานที่ผลิตอยู่แต่เดิมจะไม่รีบโยกย้ายฐานการผลิตออกจากจีน อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มของการขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นนอกประเทศจีนเนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนที่กำลังดำเนินอยู่ ปัจจัยเรื่องทำเลที่ตั้ง โครงสร้างประชากรที่เอื้อ และการปรับปรุงด้านความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดได้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มอาเซียนนั้นอยู่ในสถานะได้เปรียบในการเป็นกลุ่มประเทศ "plus one"

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการกระจายความเสี่ยงด้านการค้า “มีแนวโน้มที่จะเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจกลุ่มอาเซียนในระยะเวลาข้างหน้า”10 ในขณะเดียวกัน บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก McKinsey ได้อธิบายว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับเป็น “ทางเลือกกลุ่มแรก” สำหรับประเทศจีนในการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นและระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากการปูรากฐานสำหรับการเติบโตในอนาคต11

มีอีกสองปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนพลังความสามารถของภูมิภาคด้วยเช่นกัน นั่นคือ การผสานรวมภายในภูมิภาคที่แข็งแกร่งมากขึ้น และกระบวนการแปลงระบบงานเป็นดิจิทัล (digitalisation) ที่เกิดขึ้นรวดเร็วกว่าเดิม

การผสานรวมภายในภูมิภาคที่แข็งแกร่งมากขึ้นจะช่วยกระตุ้นการเติบโต

ผู้กำหนดนโยบายในอาเซียนต่างตระหนักดีว่าในปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้นที่ต้องยกระดับการผนึกรวมกันอย่างแนบแน่นภายในภูมิภาค และยังคงยอมรับแนวทางเศรษฐกิจแบบเปิดกว้างและอิงตามกฎเกณฑ์ ตลอดจนสร้างห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้มีความแข็งแกร่งและมีบูรณาการมากยิ่งขึ้น ในความเป็นจริง กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายประเทศนี้กำลังพยายามยกระดับความร่วมมือ มุ่งให้เป็นกลุ่มประเทศแบบที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ได้มากขึ้นจากภาคการค้าของโลกที่กระจายความเสี่ยงออกไป

ตัวอย่างหนึ่งก็คือโครงการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน หรือ ASEAN-Wide Self Certification (AWSC)12 ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2020 โครงการดังกล่าวช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถประกาศแหล่งที่มาของการส่งออกของตนได้ด้วยตนเองแทนที่จะต้องผ่านกระบวนการทางระบบราชการที่ใช้เวลานาน มีคาดการณ์ว่าโครงการนี้จะช่วยลดอุปสรรคของการค้าในแต่ละประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการผนึกรวมและความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน และหากมองเป็นภาพใหญ่ในระดับโลก ก็จะมีข้อตกลงทางการค้าเช่น ข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก หรือ Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) และ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ซึ่งอยู่ในแผนดำเนินการด้วยเช่นกัน

ข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในการผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจมากขึ้นและหนุนการเติบโต อย่างไรก็ตาม มีอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่คอยช่วยผลักดันอยู่อย่างเงียบๆ ซึ่งสามารถกระตุ้นการเติบโตของภูมิภาคได้เช่นกัน นั่นคือกระบวนการแปลงระบบงานเป็นดิจิทัล (digitalisation)

“Digitalisation” ที่รวดเร็วขึ้นช่วยขับเคลื่อนการค้าข้ามพรมแดน

ก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่ อาเซียนมี “ช่องว่างทางดิจิทัล” (digital gaps) อยู่มากพอควร ซึ่ง OECD ให้ข้อมูลว่าการใช้อินเทอร์เน็ตในหมู่ประเทศสมาชิกนั้นอยู่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ใน OECD13 รัฐบาลเอเชียได้เร่งดำเนินการเพื่อลดความแตกต่างทางดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเร็วๆ นี้สิงคโปร์ได้ลงนามใน "ข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัล" (digital economy pacts) กับออสเตรเลีย ชิลี เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการด้านการค้าเป็นดิจิทัลและอำนวยความสะดวกในส่วนของการค้าข้ามพรมแดนที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ส่วนจีนก็ได้มีการวางแผนไว้แล้วว่าจะลงทุนกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างศูนย์กลางการค้าดิจิทัล จีน – อาเซียน (China-ASEAN Digital Trade Centre) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัลให้มากขึ้น

ภาวะการระบาดใหญ่ได้ผลักดันยุทธศาสตร์ดิจิทัลของอาเซียนอย่างรวดเร็ว นั่นคือจาก “สิ่งที่มีไว้ก็ดี” เปลี่ยนมาเป็น “สิ่งที่ต้องมี” ขณะธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันยุคสมัย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะปราศจากความเสี่ยง ผลการศึกษาของ McKinsey พบว่าบริษัทที่อยู่ในกลุ่มผู้นำ 10% แรก สามารถครอบครองรายได้ทางดิจิทัลในสัดส่วน 60% ถึง 95% ของภาคธุรกิจโดยรวม14 การที่ธุรกิจ SMEs ของอาเซียน ซึ่งครอบคลุมถึงกว่า 88% ของวิสาหกิจทั้งหมด เป็นแหล่งการจ้างงานอยู่กว่าครึ่งหนึ่งของการจ้างงานทั้งหมดและมีสัดส่วนมากกว่า 30% ของ GDP ดังนั้น ปรากฏการณ์ช่องว่างทางดิจิทัลที่กว้างมากขึ้นของบรรดา SMEs จึงนับเป็นเรื่องอันตรายต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม หากช่องว่างเริ่มแคบลงนั่นอาจแปลความหมายได้ถึงการมีรายได้เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึง GDP งานศึกษาของ Google, Temasek และ Bain & Company ประเมินขนาดเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ต (Internet economy) ของอาเซียนอยู่ที่ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 202516

ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อเศรษฐกิจอาเซียน

ด้วยแนวโน้มทั่วโลกที่ยังมีเมฆหมอกปกคลุม เราเชื่อว่าปัจจัยภายในของแต่ละประเทศ (เช่น หนี้ โครงสร้างประชากร และการปฏิรูป) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการสร้างความแตกต่างของแนวโน้มการเติบโตเชิงโครงสร้างสำหรับเศรษฐกิจอาเซียนในระยะกลาง

ตัวอย่างเช่น มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่ใช้ไม่ได้ผลแต่กลับสามารถลดความเสี่ยงจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก มีการเติบโตเชิงโครงสร้างที่ค่อนข้างสูงและการผ่อนคลายทางนโยบายที่ส่งสัญญาณว่าประเทศเหล่านี้จะสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ที่ลดลงและโครงสร้างประชากรที่เอื้อ ได้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคที่น้อยลงจากการลดระดับการก่อหนี้และการเดินสวนกระแสโลกาภิวัฒน์ (deglobalisation)

สำหรับประเทศสิงคโปร์ แม้จะมีกลุ่มประชากรสูงวัยจำนวนมากและเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออก แต่ผลงานที่ดีของสิงคโปร์ในช่วงที่ผ่านมาจากการออกมาตรการกระตุ้นการเติบโตและการมุ่งเน้นไปยังการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (digital transformation) ในปัจจุบัน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีแนวโน้มที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านประชากร ขณะเวียดนามก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์รายสำคัญของกลยุทธ์ “China Plus One” ส่วนมาเลเซียและไทยกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งอาจขัดขวางความคืบหน้าของมาตรการปฏิรูปที่จำเป็น นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากก็จะส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจด้วย

จากมุมมองต่อการฟื้นตัวที่แตกต่างระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น ข้อมูลเชิงลึกในระดับพื้นฐานและการประเมินมูลค่าตลาดที่อยู่ในระดับต่ำจึงนับเป็นสิ่งสำคัญต่อการค้นพบและไขว่คว้าประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น

รู้ว่าสิ่งสำคัญอยู่ตรงไหน

มีความชัดเจนว่าแนวโน้มผลประกอบการและเศรษฐกิจจะยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะการระบาดครั้งใหญ่ต่อไปในระยะสั้นจนถึงระยะกลาง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานในระยะยาวของภูมิภาคยังคงไม่เปลี่ยน ดังนั้นการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (price-to-book valuation) จึงอาจมีประโยชน์มากกว่าในขณะนี้ และภายใต้การประเมินมูลค่าในแบบดังกล่าวก็จะพบว่าตลาดอาเซียนส่วนใหญ่ซื้อขายอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี ทำให้เป็นโอกาสสำหรับผู้ลงทุนที่มองสถานการณ์ได้อย่างลึกซึ้งและเฉียบคม

รูปที่ 3 : อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี เปรียบเทียบในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

focus-on-asean-s-longer-term-potential-chart-03

ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์มีมูลค่าหุ้นที่ยังคงน่าดึงดูดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค แม้เศรษฐกิจแบบเปิดของสิงคโปร์ยังคงมีความเสี่ยงต่อปัจจัยภายนอก แต่เราเชื่อว่าประเทศนี้ยังคงเป็นศูนย์กลางที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตภายในเอเชียและได้รับประโยชน์จากการเป็นแหล่งปลอดภัยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานะการคลังที่ดี ทุนสำรองอยู่ในระดับสูง และสกุลเงินที่มั่นคง ในมุมมองของเราต่อตลาดหุ้นสิงคโปร์ เราได้ให้น้ำหนักที่มากกว่าปกติ (overweight) สำหรับหุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภคที่จำเป็น (Consumer Staples) ภายในพอร์ตการลงทุน

ในฟิลิปปินส์ เรามุ่งเน้นไปยังหุ้นกลุ่มขนาดกลาง (mid-caps) ที่มีมูลค่าน่าดึงดูดและโอกาสที่อยู่นอกเหนือดัชนี benchmark ขณะหุ้นขนาดใหญ่ (large-caps) มีมูลค่าหุ้นที่แพง เรามีความมั่นใจต่อแนวโน้มในระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรที่เอื้อของประเทศและปัจจัยพื้นฐานทางมหภาคที่แข็งแกร่ง ประกอบกับการที่ฟิลิปปินส์ยังมีโอกาสออกมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการผ่อนคลายทางการเงิน

สภาวะหยุดชะงักจากการระบาดครั้งใหญ่คาดว่าจะดำเนินต่อไปในอีกหลายไตรมาสข้างหน้าและกระทบต่อผลประกอบการในระยะสั้น แต่นั่นก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตเชิงโครงสร้างในระยะยาวของอินโดนีเซีย การที่สัดส่วนหนี้สาธารณะอินโดนีเซียยังอยู่ระดับต่ำและมีอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รุนแรง ทำให้ยังมีโอกาสสำหรับการดำเนินมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการผ่อนคลายทางการเงิน เราให้มุมมอง overweight ต่อหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

สำหรับมาเลเซีย มีบางภาคส่วนของตลาดที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของไวรัสโคโรนา อย่างเช่นผู้ผลิตถุงมือ ซึ่งได้เห็นมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นมาอยู่เหนือข้อมูลในอดีต อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะฟื้นตัวได้ดีเนื่องจากตลาดแรงงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีเสถียรภาพ ส่งผลให้เรามีมุมมองเป็น overweight ต่อหุ้นในกลุ่มสินค้าผู้บริโภคที่ไม่จำเป็น (Consumer Discretionary sector)

Sources:
1 https://www.worldometers.info/coronavirus/#countries
2 https://asia.nikkei.com/Economy/Malaysia-GDP-plunges-record-17.1-in-Q2-under-pandemic-pressure
3 https://www.reuters.com/article/thailand-economy-gdp/thai-q2-gdp-shrinks-12-2-y-y-weakest-in-22-years-idUSB7N2DZ008
4 https://www.cnbc.com/2020/08/11/singapore-releases-second-quarter-2020-gdp-economic-data.html
5 https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/08/06/philippines-gdp-shrank-165-in-q2-enters-technical-recession
6 https://www.thejakartapost.com/news/2020/08/05/indonesias-gdp-contracts-deeper-than-expected-at-5-32-in-q2.html
7 https://asia.nikkei.com/Economy/Vietnam-Q2-GDP-growth-slows-to-0.36-due-to-pandemic
8 https://www.adb.org/sites/default/files/publication/635666/ado2020-update.pdf
9 https://knoema.com/atlas/topics/Tourism/Travel-and-Tourism-Total-Contribution-to-GDP/Contribution-of-travel-and-tourism-to-GDP-percent-of-GDP
10 https://www.moodys.com/research/Moodys-Global-supply-chain-shifts-will-have-mixed-credit-implications--PBC_1242716
11 https://www.mckinsey.com/featured-insights/asia-pacific/reimagining-emerging-asean-in-the-wake-of-covid-19
12 https://www.customs.gov.sg/businesses/certificates-of-origin/awsc
13 https://www.oecd.org/going-digital/southeast-asia-connecting-SMEs.pdf
14 https://www.mckinsey.com/business-functions/organization/our-insights/unlocking-success-in-digital-transformations
15 https://asean.org/asean-economic-community/sectoral-bodies-under-the-purview-of-aem/micro-small-and-medium-enterprises/overview/
16 https://www.blog.google/documents/47/SEA_Internet_Economy_Report_2019.pdf

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.