ก่อหนี้เพื่อเติบโต… ตราบที่ยังไหว

บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในสหรัฐมียอดหนี้รวมกันคิดเป็นมูลค่า 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (47% ของ GDP) ณ สิ้นปี 2018 เพิ่มขึ้น 70% นับตั้งแต่ปี 2008 ด้วยแรงสนับสนุนจากนโยบายแบบผ่อนคลาย ตลาดมีความกังวลต่อแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาแย่ลง เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นแบบ inverted yield curve และความไม่แน่นอนของสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

เราเชื่อว่าสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในปีหน้า หากไม่มีปัจจัยลบรุนแรงจากภายนอก เช่น การยกระดับของสงครามการค้า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน เป็นต้น นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย รวมทั้งนโยบายการคลัง (ที่เข้ามามีบทบาท) น่าจะยืดวัฎจักรเศรษฐกิจออกไปได้อย่างน้อยจนถึงปี 2021

ระดับการก่อหนี้ภาคเอกชนอยู่ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น

การประเมินความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะกลางนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจที่ได้ก่อตัวขึ้น จากการมองไปยังภาคส่วนต่างๆ เรามีความกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินได้ก่อภาระหนี้อย่างมีนัยยะนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลก ด้วยการใช้ประโยชน์จากต้นทุนทางการเงินที่ต่ำและสภาพคล่องที่มีอยู่มาก นอกจากนี้ ในช่วงที่ความต้องการใช้จ่ายด้านทุน (capex) มีอยู่น้อย ภาคธุรกิจได้ใช้เงินสดเหล่านี้เพื่อไปซื้อหุ้นคืน จ่ายเงินปันผล และการควบรวมกิจการ (M&A)

บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตตราสารในระดับ Investment Grade (IG) และระดับที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง หรือ High Yield (HY) ได้มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทในระดับ IG และ HY ของสหรัฐได้เพิ่มขึ้นแตะจุดสูงสุดเมื่อต้นทศวรรษ 2000s โดยบริษัทในระดับ HY ได้มีการปรับลดระดับหนี้ลงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ในขณะที่บริษัทในระดับ IG กลับเพิ่มภาระหนี้สินของตนต่อไป แม้จะมีการก่อหนี้ที่สูงขึ้น แต่ตลาดสินเชื่อของสหรัฐยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจตลอดช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจ ภายใต้สภาวะที่มีการบีบแคบลงของสเปรดสินเชื่อและผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล ภาวะการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น (Higher Leverage) ถูกมองข้ามแม้เป็นสิ่งจูงใจในภาวะต้นทุนดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับที่ดี

รูปที่ 1: หนี้ภาคเอกชนของสหรัฐ เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ GDP มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์1

leverage facilitates Fig 1

รูปที่ 2: อัตราส่วนการก่อหนี้ (Leverage ratios) ของบริษัทในระดับ HY มีแนวโน้มชะลอตัว ขณะบริษัทในระดับ IG ยังเพิ่มขึ้น2

leverage facilitates Fig 2

หน่วยงานจัดอันดับเครดิตได้ตอบสนองต่อระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้นด้วยการปรับลดอันดับเครดิต โดยเกือบ 50% ของดัชนี US IG ในขณะนี้ประกอบด้วยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ BBB (ซึ่งเป็นอันดับเหนือกว่า Junk Bonds อยู่หนึ่งอันดับ) จากที่เคยอยู่ที่ 35% เมื่อปี 2008 หรืออีกนัยหนึ่ง คุณภาพเครดิตโดยรวมของดัชนี IG ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และยังฉุดให้ผลตอบแทนลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือช่วยชดเชยนักลงทุนได้น้อยลงสำหรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น (ดูรูปที่ 3) ในทางตรงกันข้าม คุณภาพของดัชนี HY ได้ยกระดับขึ้นในเวลาเดียวกัน โดยมากกว่า 50% ของดัชนีประกอบด้วยบริษัทที่ได้อันดับ BB- (ต่ำกว่า Investment Grade อยู่หนึ่งอันดับ)

รูปที่ 3: คุณภาพของดัชนี US IG ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ปี 20083

leverage facilitates Fig 3

ในขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยต่ำเป็นเหตุผลที่ดูฟังขึ้นสำหรับการก่อหนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็นับเป็นเกราะป้องกันหากความสามารถในการทำกำไรยังอยู่ในระดับที่มั่นคง อัตรากำไรของบริษัทในสหรัฐได้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในวัฏจักรเศรษฐกิจรอบนี้ ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถรองรับการเป็นหนี้ได้มากขึ้น หากอัตรากำไรแคบลงและความสามารถในการทำกำไรลดลง อัตราส่วนที่แสดงความสามารถชำระดอกเบี้ยและอัตราส่วนหนี้สินสุทธิ / EBITDA จะดูแย่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ก่อหนี้มากขึ้นก็ตาม (เป็นแนวคิดที่เรียกว่า passive releveraging) ภาวะเช่นนี้จะนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตลงอีก และมีความเสี่ยงเกิดสิ่งที่เรียกว่า "เทวดาตกสวรรค์" สำหรับบริษัทเอกชนที่หลุดออกจากระดับ IG ลงไปสู่ HY กองทุนตราสารเครดิตอาจต้องเผชิญกับภาวะการไถ่ถอนและยอดขาดทุนจาก mark-to-market ซึ่งอาจมีเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลที่อ้างอิงจากบทความล่าสุดของ Moody's ระบุว่าความเสี่ยงจากการปรับลดอับดับเครดิตนั้นไม่เฉพาะเจาะจงแค่สหรัฐอเมริกา แต่คุณภาพของดัชนี IG ทั่วโลกก็มีแนวโน้มที่ลดลงด้วยเช่นกัน4

รูปที่ 4: อัตรากำไรสุทธิของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในสหรัฐอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์5

leverage facilitates Fig 4

ปัญหาอยู่ที่สินเชื่อประเภท Leveraged Loans ไม่ใช่พันธบัตร

จากยอดหนี้รวมมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่เป็นหนี้ของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในตัวเลขนี้มีจำนวน 5.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่ประกอบด้วยตราสารหนี้เอกชน (ทั้ง IG และ HY) ในปัจจุบันบริษัทต่างๆ ได้ทดแทนการออกพันธบัตรด้วยการไปกู้ธนาคาร ดูจากข้อมูลเงินกู้ยืมธนาคารในไตรมาสแรก 2019 เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 20% จากปีก่อน เมื่อเทียบกับการออกตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น 2.6% โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออก Leveraged Loans ที่พบว่าตัวเลขพุ่งสูงขึ้น ด้วยสาเหตุสนับสนุนหลักมาจากสภาพคล่องส่วนเกินและต้นทุนการกู้ยืมที่อยู่ในระดับต่ำ คำว่า Leveraged Loan นั้นก็คือเงินกู้หรือสินเชื่อที่ปล่อยให้กับบริษัทที่มี Leverage Ratio สูง และมีอันดับทางเครดิตที่อ่อนแอ เงินกู้ประเภทนี้มาในลำดับชั้นหนี้ที่มีความสำคัญในการชำระคืนที่สูงกว่าตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสำหรับธนาคารในสหรัฐ

มีหลากหลายแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับตลาด Leveraged Loan :

  • ตลาดในภาพใหญ่: มูลค่าตลาดในปัจจุบันของ Leveraged Loan นั้นอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 10% ของมูลค่ารวมตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐ) ตัวเลขดังกล่าวมีขนาดใหญ่พอๆ กับตลาด High Yield ของสหรัฐเลยทีเดียว
  • การถือครองโดยผู้จัดการสินทรัพย์ในรูปแบบของ Securitized Products: ⦁ การถือครองโดยผู้จัดการสินทรัพย์ในรูปแบบของ Securitized Products : มากกว่าครึ่งหนึ่งของ Leveraged Loans ถูกนำมารวมกันเป็น Collateral Loan Obligations (CLOs) โดยธนาคารต่างๆ และขายให้กับผู้จัดการสินทรัพย์ที่แสวงหาวิธีการเพิ่มผลตอบแทน มูลค่ารวมของ CLOs ในตลาดสหรัฐฯ อยู่ที่ราว 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ถูกถือครองโดยกองทุนรวมสินเชื่อ (Loan Mutual Funds) กองทุนประกัน และกองทุนบำเหน็จบำนาญทั่วโลก ความต้องการ CLOs อยู่ในระดับแข็งแกร่งในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ขณะสินทรัพย์ประเภทนี้ได้ถูกทำให้มีลักษณะของความเป็นสถาบันมากยิ่งขึ้นในยุคของการเติบโตของกองทุนรวมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องสินเชื่อ แม้ว่าจะมีสภาพคล่องที่น้อยกว่าพันธบัตรประเภท High Yield ถ้าพิจารณามูลค่าสินทรัพย์รวมที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUMs) ของกองทุนรวมสินเชื่อ / ETFs พบว่าเติบโตถึง 10 เท่าตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ขึ้นมาอยู่ที่ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 20186 ลักษณะประการหนึ่งของ CLO ที่ลดโอกาสการเกิดภาวะนักลงทุนถอนตัว ก็คือการกำหนดเงื่อนไขด้านเวลา ซึ่งปกติมีระยะเวลา 2 ปีนับจากการออกตราสารโดยไม่อนุญาตให้ทำการไถ่ถอนก่อนกำหนด คุณลักษณะของ CLOs นั้นแตกต่างจาก CDOs ที่มีการกระจุกตัวในระบบการเงิน แต่ CLOs มีความเป็นเจ้าของที่กระจายตัวมากกว่า บางคนอาจจะยืนยันว่าด้วยตลาดที่มีการกระจายความเสี่ยงและเรื่องเทคโนโลยี จะช่วยในการคัดกรองข้อมูล ลดความน่าจะเป็นของผลกระทบแบบลูกโซ่ เราคิดว่าสิ่งนี้จะไม่สำคัญเมื่อคุณตกอยู่ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสภาพคล่องและนำไปสู่ภาวะสินเชื่อที่ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ โดยส่วนตัวแล้วเราเชื่อว่าความเสี่ยงในการลุกลามจะไม่สูงเท่ากับเหตุการณ์ CDO ในช่วงวิกฤตการเงินโลก
  • ผู้กู้ยืมที่มีคุณภาพต่ำ: จากข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐระบุว่า กว่า 40% ของสินเชื่อใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2019 จัดสรรไปให้กับบริษัทที่มีจำนวนหนี้เกินกว่า 6 เท่า ปัจจัยลบจากภายนอกใดๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลกำไรของผู้กู้เหล่านี้อาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้ การไถ่ถอนกองทุน และยอดขาดทุนจาก mark-to-market ซึ่งอันที่จริงแล้วเกือบ 35% ของบริษัทในดัชนี Russell 2000 ต่างรายงานอัตราการเติบโตของผลกำไรที่ติดลบในไตรมาสล่าสุด
  • สัญญาคุ้มครองที่หละหลวม: มีสัดส่วนเกือบ 80% ของ Leveraged Loans ที่ออกมาตั้งแต่วิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis: GFP) มีสัญญาให้ความคุ้มครองนักลงทุนที่ลดน้อยลง และความสามารถในการบรรเทาภาวะการขาดทุนที่ต่ำลง เมื่อเทียบกับสัดส่วน 30% ในปี 20077 นั่นแปลว่าหากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินต่อไปและผู้กู้เกิดผิดนัดชำระหนี้ ผู้ลงทุนและธนาคารจะได้รับความคุ้มครองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การไถ่ถอนกองทุนและทำให้ภาคการเงินอยู่ในภาวะตึงตัว

ทำไมตลาดจึงพอใจ หากความเสี่ยงสูง?

ผู้ลงทุน CLO และเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นและตลาด CLO นั่นเพราะต้นทุนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากและความสามารถในการครอบคลุมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยได้ปรับตัวดีขึ้น การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อ ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจไม่เร่งรีบในการชำระคืนหนี้แม้ว่ากำไรจะอ่อนแอลงเพียงเล็กน้อยในมุมของนักลงทุน ความจริงที่ว่าอัตราส่วนความสามารถในการครอบคลุมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยนั้นอยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นสิ่งที่ขัดกับฉากหลังที่อัตรากำไรอยู่ในระดับสูงของรอบวัฏจักร เราเชื่อว่าสถานการณ์นี้ซ่อนความเสี่ยงไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าหากผลกำไรออกมาร่วงลงอย่างหนักท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจถดถอย จะไม่มีกำลังเพียงพอที่จะป้องกันเหตุผิดนัดชำระหนี้ได้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่กำไรจะลดลง มากกว่าโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่แล้วจะลดต่ำลงไปอีก และแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง แต่ส่วนต่างหรือสเปรดของสินเชื่ออาจพุ่งขึ้นอย่างมาก มากกว่าผลจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่เข้ามาช่วยชดเชย

ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อเร็วๆ นี้ของประธานเฟด Jerome Powell เขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าระดับหนี้ภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นไม่ได้แสดงถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินในตอนนี้ แต่หากเศรษฐกิจอ่อนตัวลง “บริษัทที่มีหนี้สินมากเกินไปอาจเผชิญกับความตึงเครียดที่รุนแรง” เฟดให้ข้อมูลว่าระบบธนาคารมีสถานะทางด้านทุนที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลก ดังนั้นผลกระทบจึงอาจมีขนาดที่เล็กลง เรามองว่าสิ่งนี้เป็นปัจจัยบรรเทาที่อาจป้องกันไม่ให้เกิดภาวะถดถอยซ้ำอีกครั้งในแบบที่รุนแรงพอๆ กับช่วงวิกฤตการเงินโลก แต่ก็ยังมีความสามารถในการลบล้างส่วนทุนของภาคธนาคารได้อย่างมีนัยยะ สำหรับมุมมองที่มีต่อ CLOs นั้น เฟดสรุปไว้ในรายงานเสถียรภาพทางการเงินฉบับเดือนพฤษภาคม ซึ่งระบุว่า “เป็นเรื่องยากที่จะรู้อย่างแน่ชัดว่าโครงสร้าง CLO และนักลงทุนทุกวันนี้จะเป็นอย่างไรในช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดที่ยาวนาน” Powell ได้เน้นความสำคัญของการทำการศึกษา วิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่มีต่อตลาด CLO

นัยยะต่อการลงทุน

ความไม่สมดุลและความเสี่ยงของหนี้ภาคธุรกิจในสหรัฐอเมริกาและตลาด Leveraged Loan นั้น เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการจัดสรรเงินทุนให้แก่ตลาดสินเชื่อ ในขณะที่ตราสารหนี้เอกชนนับเป็นการลงทุนที่ดีในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ได้อยู่ในภาวะถดถอย เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล การจัดการความเสี่ยงอย่างระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้มั่นใจว่าภาวะความผันผวนยังคงมีจำกัด เราคาดว่าการเติบโตของสหรัฐและทั่วโลกจะชะลอตัวลง แต่ด้วยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

หากเป็นเช่นกรณีนี้ การลงทุนในตราสารระดับ HY ของสหรัฐจะยังคงน่าดึงดูด แต่ต้องระมัดระวังเรื่องระดับหนี้ที่สูงของตราสารระดับ IG และความเสี่ยง “เทวดาตกสวรรค์” หากการเติบโตชะลอลง อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium) ของตราสารระดับ IG ยังมีมูลค่าที่ต่ำเกินควร ซึ่งเราจะติดตามต่อไปถึงความน่าจะเป็นในการเกิดเศรษฐกิจถดถอยว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ และโอกาสที่อัตรากำไรจะถูกบีบอัดให้แคบลงอีก นอกจากนี้ เราจะยังติดตามแนวโน้มอัตราการผิดนัดชำระหนี้ และการไถ่ถอนกองทุนที่เกี่ยวเนื่องกับ Leveraged Loans รวมทั้ง CLOs

Sources:
1 Refinitiv Datastream, Q1 2019
2 Morgan Stanley Research, Bloomberg Finance LP, FTSE Fixed Income LLC. EBITDA is Earnings before Interest, Tax, Depreciation and Amortisation
3 Morgan Stanley Research, FTSE Fixed Income
4 https://www.moodysanalytics.com/-/media/article/2019/dealing-with-fallen-angel-risk.pdf
5 Datastream indices from Refinitiv Datastream, Sep 2019
6 https://blogs.imf.org/2018/11/15/sounding-the-alarm-on-leveraged-lending/
7 https://blogs.imf.org/2018/11/15/sounding-the-alarm-on-leveraged-lending/

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.