ส่องอนาคตอาเซียนในยุคหลังการระบาดใหญ่

อนาคตของอาเซียนในยุคหลังการระบาดใหญ่จะถูกกำหนดโดยภาคการค้าที่ขยายตัวและการผนึกรวมกลุ่มที่แนบแน่นมากขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานการผลิตระดับโลก และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหรือ digitalisation ความเคลื่อนไหวในตลาดจะได้รับแรงผลักดันจากกระแสดิสรัปชันซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ และการมุ่งเน้นด้านความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา การระบาดระลอกล่าสุดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาเซียนด้วยระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ทำให้หลายประเทศต้องบังคับใช้มาตรการคุมเข้มครั้งใหม่ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ ADB จึงได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของภูมิภาคในปี 2021 จาก 4.4% ลงเหลือ 4.0% ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนระยะสั้นที่มีต่ออาเซียนได้กลับกลายมาเป็นเชิงลบ แต่อย่างไรก็ตาม ความหดหู่อันเกิดจากภาวะการระบาดใหญ่นี้ไม่ควรดึงให้เกิดการเบี่ยงเบนออกจากปัจจัยพื้นฐานในระยะยาวของภูมิภาคซึ่งยังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงและมีความน่าสนใจ

สิบประเทศของอาเซียนนับเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจ ด้วยขนาดของ GDP รวมกันสูงถึง 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ1 ทำให้อาเซียนขึ้นเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลกในปัจจุบัน ภูมิภาคนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นตลาดแบบ single market ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกภายในปี 20302 รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คืออาเซียนมีโครงสร้างประชากรที่เอื้อ จำนวนประชากรทั้งหมดของอาเซียนอยู่ที่ราว 660 ล้านคน3 ทำให้เป็นตลาดที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากจีนและอินเดีย ที่สำคัญกว่านั้นคืออายุเฉลี่ยของประชากรในภูมิภาคคาดว่าจะอยู่ที่ 35 ปีในปี 2040 เมื่อเทียบกับอายุเฉลี่ย 47 ปีในจีน และ 50 ปีในญี่ปุ่น4 จากการที่อาเซียนมีประชากรวัยทำงานเพิ่มมากขึ้น

เครื่องชี้ด้านเศรษฐกิจมหภาคยังช่วยสนับสนุน

ADB คาดการณ์ว่าการเติบโตของภูมิภาคจะฟื้นตัวขึ้นเป็น 5.2% ในปี 2022 ภายใต้สมมติฐานอัตราการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากการเติบโตแล้ว ปัจจัยทางมหภาคอื่นๆ ทั่วทั้งภูมิภาคก็ดูเหมือนจะช่วยเกื้อหนุนด้วย ตัวอย่างเช่น อัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ได้สร้างความกังวล โดยทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มลดลง ดูรูปที่ 1 การฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในส่วนของราคาผู้บริโภคที่กระทบในวงกว้าง การคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายของธนาคารกลางในอาเซียน ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าผู้กำหนดนโยบายจะยังคงจุดยืนนโยบายแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ธนาคารกลางในบางประเทศที่ยังมีช่องว่างให้สามารถปรับดอกเบี้ยลงได้อีกหากมีความจำเป็น

รูปที่ 1 : อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล

looking-at-asean-s-post-pandemic-future-fig1

อีกหนึ่งเครื่องชี้ที่ถูกติดตามอย่างใกล้ชิดนั่นคือสถานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งตัวเลขก็ดูแข็งแกร่งเช่นกัน หากพิจารณาเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN-5 (สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) พบว่าทุกประเทศยกเว้นอินโดนีเซียต่างมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นบวกเมื่อคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ต่อ GDP ดูรูปที่ 2 ในขณะเดียวกัน การขาดดุลทางการคลังกำลังลดลงมาจากระดับสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2020 แต่ยังไม่น่าลดลงมาถึงระดับก่อนเกิดการระบาดภายในเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากรัฐบาลของหลายประเทศได้ให้คำมั่นว่าจะอัดฉีดเงินมากขึ้นในปี 2021 เพื่อรับมือกับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจาก COVID-19 ดูรูปที่ 3

รูปที่ 2 : ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่มีสถานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง

revenge-of-the-old-economy-fig-1

รูปที่ 3 : การขาดดุลทางการคลังกำลังลดลงจากจุดสูงสุด

revenge-of-the-old-economy-fig-1

การฟื้นตัวในขณะนี้ได้รับแรงหนุนจากภาคการค้า

การมีทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดได้เปรียบด้านยุทธศาสตร์ของภูมิภาคทำให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการผลิตและการไหลเวียนของสินค้าที่สำคัญของโลก ด้วยเหตุนี้การฟื้นตัวของการค้าโลกจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจึงได้กลายมาเป็นแรงหนุนส่งที่สำคัญให้แก่ภูมิภาค ข้อมูลของกลุ่มประเทศ ASEAN-5 ชี้ว่าภาคส่งออกได้ฟื้นตัวและกลับสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 ดูรูปที่ 4 นอกจากนี้ ความต้องการที่แข็งแกร่งมากขึ้นจากฝั่งสหรัฐก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกที่สำคัญ เนื่องจากสหรัฐถือเป็นแหล่งตลาดส่งออกสำคัญด้วยสัดส่วนที่สูงกว่า 12% ของการส่งออกสินค้าโดยรวม

รูปที่ 4 : ยอดส่งออกของกลุ่มประเทศ ASEAN-5 ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

looking-at-asean-s-post-pandemic-future-fig1

ในขณะเดียวกัน ภาคการผลิตของอาเซียนก็ส่งสัญญาณค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมิถุนายนนับตั้งแต่เข้าสู่ภาวะหดตัวเมื่อตอนต้นปี5 ก่อนชะลอตัวลงอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมเนื่องจากมาตรการป้องกัน COVID-19 ซึ่งเข้มงวดมากขึ้นในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อมาตรการเหล่านี้ถูกผ่อนคลายลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ควรขยับขึ้นเข้าสู่โซนที่แสดงการขยายตัว ภาคการผลิตคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญ ซึ่งแต่ละประเทศในอาเซียนนับว่ามีความโดดเด่นในแบบของตนเอง นี่จึงเป็นการนำเสนอโอกาสการลงทุนที่หลากหลาย ในทำนองเดียวกัน การบริโภคภายในประเทศซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อ GDP ในตลาดอาเซียนหลายๆ แห่ง ก็มีแนวโน้มที่จะแสดงถึงความโดดเด่นในทันทีเมื่อมีการกลับมาเปิดประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ

ในระยะยาว มีอยู่สามปัจจัยที่เราคิดว่าน่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภูมิภาค ซึ่งได้แก่ การผนึกรวมกลุ่มภายในภูมิภาคที่แนบแน่นมากขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และการมุ่งเน้นด้านความยั่งยืนมากขึ้น

การผนึกรวมกลุ่มภายในภูมิภาคช่วยกระตุ้นการเติบโต

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้กระตุ้นให้อาเซียนผลักดันเป้าหมายการรวมกลุ่มซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นและความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น แรงผลักดันให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้าที่เข้มแข็งมากขึ้นนั้นถือว่าเป็นความโชคดีที่ไม่มีอุปสรรคเนื่องจากประเทศต่างๆ หันมาใช้ช่องทางการเจรจาแบบออนไลน์แม้ว่าการระบาดจะลุกลามหนักขึ้นก็ตาม ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA เช่น ข้อตกลงการค้าขนาดใหญ่อย่างความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ได้มีการลงนามหลังจากมีการเจรจานานถึงแปดปีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 โดย RCEP ถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากเป็นการนำรวม FTA ที่มีอยู่ระหว่างอาเซียนกับคู่ค้าในปัจจุบัน และจะเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากขนาดรวมของ GDP และยังมีขนาดใหญ่กว่าความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP นอกจากนั้น ยังใหญ่กว่าสหภาพยุโรป และใหญ่กว่ากลุ่มการค้า MERCOSUR ในอเมริกาใต้ รวมทั้งข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก-แคนาดา อีกด้วย

นอกจากนี้ ความพยายามในการลดการพึ่งพาระบบห่วงโซ่อุปทานของจีนคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของประเทศสมาชิกอาเซียนและโอกาสในการสร้างงาน บรรษัทข้ามชาติมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตระดับภูมิภาคซึ่งสามารถหลอมรวมเข้ากับระบบห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคของอาเซียนได้โดยง่าย อาเซียนถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการโยกย้ายฐานการผลิตที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งอันเนื่องมาจาก 1) ค่าแรงในภาคการผลิตที่ต่ำในบางประเทศสมาชิก 2) ทำเลของอาเซียนที่อยู่ใกล้กับจีนที่ซึ่งห่วงโซ่อุปทานจำนวนมากจะยังคงอยู่ 3) ความมุ่งมั่นของอาเซียนในการผงาดขึ้นเป็น single market และฐานการผลิต และ 4) RCEP จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของการค้าโลก6

การเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเพื่อเร่งการผนึกแนบแน่นของกลุ่ม

การใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้คนสามารถเข้าถึงสินค้า อาหาร การดูแลสุขภาพ การศึกษา และความบันเทิงได้เพียงแค่คลิกเดียว การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงนี้ซึ่งถูกเร่งให้เกิดขึ้นโดยวิกฤต COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่อทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถคว้าโอกาสในยุคแห่งความเฟื่องฟูทางดิจิทัลนี้

มาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งในช่วง COVID-19 ได้จุดประกายให้เกิดพฤติกรรมออนไลน์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่ออีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากและกลายเป็นเสาหลักที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุดภายใต้เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตหรือ internet economy ของอาเซียน ในความเป็นจริง ประเทศในอาเซียนกำลังหารือกันเกี่ยวกับความตกลงอาเซียนที่เป็นไปได้ทางด้านอีคอมเมิร์ซเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ด้านการค้าและลดการกีดกันในการเข้าสู่ตลาด ประโยชน์ที่ตามมาจะขยายรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่น คลังกระจายสินค้าและศูนย์ข้อมูล เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์บนเส้นทางดิจิทัลที่เป็นไปอย่างราบรื่น

เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตจะยังคงมีความแข็งแกร่ง โดย 94% ของผู้บริโภครายใหม่ที่ใช้บริการดิจิทัลตามผลสำรวจมีความตั้งใจที่จะใช้งานในรูปแบบดิจิทัลต่อไปในยุคหลังการระบาด การลงทุนด้านเทคโนโลยีจะยังคงแข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นที่ fintech, healthtech และ edtech เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนคาดว่าจะมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 หรือเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าจาก 1 แสนล้านดอลลาร์ในปี 20207

โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนกลายเป็นประเด็นสำคัญ

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญต่อการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างชัดเจนในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ โทรคมนาคม และโลจิสติกส์ ซึ่งรัฐบาลอาเซียนต่างพยายามที่จะแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่นั่นก็ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องปรับปรุงและเพิ่มความสามารถ รายงานของธนาคารพัฒนาเอเชียระบุว่าอาเซียนจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินลงทุน 210,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีเพื่อให้ทันกับเป้าหมายการพัฒนาของภูมิภาคและความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศทั่วอาเซียนต่างเพิ่มลำดับความสำคัญในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น พลังงานทดแทน โลจิสติกส์และการขนส่ง สาธารณสุข และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล อาเซียนมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางของโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวหรือ green infrastructure โดยในส่วนของการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศภายใต้ข้อตกลงปารีส อาเซียนจะต้องเพิ่มเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันที่มีสัดส่วน 27% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ขึ้นเป็น 52% ภายในปี 2030 ซึ่งหมายความว่าจะมีต้นทุนเพิ่มเติมอีก 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ8 ทั้งนี้ มีความต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากสำหรับการดำเนินการและเติมเต็มในส่วนของเงินทุนภาครัฐที่มีไม่เพียงพอ

โอกาสสำหรับผู้ลงทุนที่มองการณ์ไกล

COVID-19 ได้สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจอาเซียนและผลประกอบการภาคธุรกิจในระยะเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานระยะยาวของภูมิภาคยังคงไม่เปลี่ยน นอกจากนี้ มีหลายบริษัทที่พร้อมได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของอาเซียนในยุคหลังการระบาดใหญ่ ผู้ลงทุนอาจต้องดำเนินการพิจารณาในเรื่องการประเมินมูลค่าแบบราคาต่อมูลค่าทางบัญชีในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ซึ่งภายใต้พื้นฐานดังกล่าวจะทำให้พบว่ามีหลายเซ็กเตอร์ที่โดยส่วนใหญ่ดูว่ามีมูลค่าที่น่าสนใจแล้ว

รูปที่ 5 : อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (รายเซ็กเตอร์) เทียบกับกรอบการเคลื่อนไหวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

looking-at-asean-s-post-pandemic-future-fig1

Sources:
1 Eastspring Investments (Singapore), CEIC, UN DESA, Morgan Stanley Research. Latest full year 2020 data
2 https://www.enterprisesg.gov.sg/overseas-markets/asia-pacific/asean/overview
3 https://www.statista.com/statistics/796222/total-population-of-the-asean-countries/
4 https://www.uobgroup.com/web-resources/uobgroup/pdf/research/ASEAN-Focus_II_3q19.pdf
5 IHS Markiteconomics
6 https://www.freiheit.org/sites/default/files/import/2020-12/24820-api2020finalv5.pdf
7 https://nextbn.ggvc.com/wp-content/uploads/2020/11/e-Conomy_SEA_2020_Report.pdf
8 Infrastructure Leading Southeast Asia’s Economic Recovery – Deloitte and Infrastructure Asia Report, 2020

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.