ไขความกระจ่างเรื่องทฤษฎีการเงินสมัยใหม่

ทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ไม่ได้เป็นสิ่งน่าชื่นชมไปหมดทุกเรื่อง แต่การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินได้กลายมาเป็นกุญแจดอกสำคัญในการจัดการกับภาวะเงินฝืดที่อาจเป็นปัจจัยคุกคามต่อเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ความล้มเหลวของสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดภาวะร้อนแรงเกินไป และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากขาดตัวช่วยที่สำคัญในการดูดซับเม็ดเงินใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจก้อนใหญ่ ดังนั้น ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการผสมผสานมาตรการที่ดีที่สุดนั้น น่าจะเป็นรางวัลที่ดีที่สุดสำหรับผู้ลงทุนในตลาดหุ้น

หากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาถูกเก็บไว้ที่นั่นแล้วให้มาเล่นเกมกัน คนรวยที่สุดก็คงจะเป็นบรรณารักษ์นั่นเอง

-- วอร์เรน บัฟเฟตต์

 

ตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนติดลบจำนวน 12.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ1 – นับเป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วจริงในโลกปัจจุบัน ในระหว่างที่นักลงทุนต่างมองหาผลตอบแทนท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดขั้ว และแม้แต่กรีซเองก็ยังได้รับเงินจากการกู้ยืม (ดูรูปที่ 1) ซึ่งอาจเป็นไปได้อย่างมากว่ามูลค่าหนี้ที่ให้ผลตอบแทนติดลบกำลังเพิ่มขึ้นในทุกๆ นาที

รูปที่ 1. พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 เดือนของกรีซ (%)2

Making_Sense_of Modern_Fig1

ข้อจำกัดของการลดอัตราดอกเบี้ยและการขยายงบดุล

ด้วยความหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ ธนาคารกลางต่างใช้ประโยชน์จากงบดุลของตนเองด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในระบบ นอกเหนือไปจากการลดอัตราดอกเบี้ย โดยจากการวิเคราะห์ของ Union Investment3 พบว่าปริมาณพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนี หรือ Bunds ที่ซื้อขายโดยเสรี คาดว่าจะลดลงต่ำกว่า 70 พันล้านยูโรในปี 2024 จากที่มีสูงกว่า 600 พันล้านยูโรในปี 2014

ความพยายามของญี่ปุ่นในการต่อสู้กับภาวะเงินฝืดดำเนินมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990s ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีความชอบธรรมมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินที่ล้ำหน้ากว่าเดิม ซึ่งรวมถึงการขยายการซื้อพันธบัตรรัฐบาล มาเป็นหุ้นนำโดยโครงการซื้อ Exchange-Traded Fund (ETF) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2010 แม้ธนาคารกลางจะถือกองทุน ETF มากกว่าสามในสี่ของประเทศ แต่มูลค่าหุ้นญี่ปุ่นยังไปไหนไม่ได้ไกลนัก ดูจากอัตราส่วนราคาต่อกำไรคาดการณ์ (P/E) ของ Topix ที่อยู่ระหว่าง 11 ถึง 15 เท่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา (ดูรูปที่ 2)

รูปที่ 2 . สถานะความเป็นเจ้าของหุ้นของ BoJ และการประเมินมูลค่าหุ้นของญี่ปุ่น4

Making_Sense_of Modern_Fig2

ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการผ่อนคลายทางการเงินแบบดั้งเดิม – ว่าจะสามารถต่อสู้กับภาวะขาลงของเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง มาตรการซื้อสินทรัพย์ และวิธีการให้แนวทางแก่ตลาด และถึงเวลาหรือยังที่จะต้องพิจารณาเครื่องมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ?

ปัจจัยกดดันทางการเมืองนำมาสู่มาตรการกระตุ้นทางการคลัง

แรงจุดประกายเมื่อเร็วๆ นี้คือ ความเห็นชอบทางการเมืองที่ถาโถมเข้ามาเพื่อมุ่งให้เกิดการกระตุ้นทางการคลัง หวังเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างที่นางคริสติน ลาการ์ด ได้กล่าวต่อรัฐสภายุโรป (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสรรหาเพื่อเป็นประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB)) เรียกร้องให้รัฐบาลยุโรปซึ่งมีสถานะขาดดุลทางการคลังในระดับต่ำ ให้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ5

คำถามที่ตามมาเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนสำหรับนำไปใช้จ่ายในจำนวนมาก ได้นำไปสู่การอภิปรายเรื่องทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ (Modern Monetary Theory: MMT) เกิดขึ้นเป็นสำนักทางความคิดใหม่ในหมู่นักเศรษฐศาสตร์และผู้กำหนดนโยบาย

ผู้เสนอ MMT เชื่อว่าประเทศอธิปไตยที่สามารถชำระหนี้ด้วยสกุลเงินของตนเองจะสามารถเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านงบประมาณทางการคลัง นั่นคือ – รัฐบาลเหล่านี้สามารถผ่อนคลายนโยบายการคลังได้จนกว่าระดับเงินเฟ้อที่คาดการณ์จะถึงระดับเป้าหมาย

สเตฟานี เคลตัน ในฐานะเป็นผู้นำในการเสนอ MMT แนะนำว่า “เราควรสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องงบประมาณ”6 ดังนั้น ข้อจำกัดที่สำคัญก็คือการขาดแคลนทรัพยากรที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจในการดูดซับเม็ดเงินก้อนใหญ่ที่เกิดจากโครงการใช้จ่ายอันจะนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อ

แต่ในทางกลับกัน โมเดลดังกล่าวเห็นได้ชัดในญี่ปุ่นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลใช้งบประมาณการคลังที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่องเพื่อชดเชยการออมภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระดับหนี้ภาครัฐจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 240% ของจีดีพีในปี 2019 แต่การเติบโตของ GDP และอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของ BoJ มาอย่างต่อเนื่อง (ดูรูปที่ 3)

รูปที่ 3. ฐานะการคลังเกินดุล/ขาดดุลของญี่ปุ่น (% ต่อจีดีพี) เทียบกับแนวโน้มการเติบโตและเงินเฟ้อ7

Making_Sense_of Modern_Fig3

ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยแต่มีความสำคัญระหว่างแนวนโยบายทางการคลังของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับ MMT ก็คือข้อเสนอของ MMT ในการรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ศูนย์เปอร์เซ็นต์ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำหรือเป็นศูนย์ทำให้ภาครัฐยังมีโอกาสที่จะใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเพิ่มอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีอย่างมาก การกระทำนี้ยังมีผลในการโยกรายได้จากผู้ให้กู้ไปยังผู้กู้ เป็นกระบวนการที่หวังว่าจะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ ซึ่งในปีหลังๆ ได้นำมาสู่การเพิ่มขึ้นของประชานิยม

ในขณะที่ MMT อาจจะมีข้อดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจกำลังเข้าใกล้ภาวะกับดักสภาพคล่อง แต่ยังคงยากที่จะเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยไม่มีสำคัญเมื่อเศรษฐกิจกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และเป็นเรื่องที่ยิ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ที่นโยบายการเงินและการคลังจะมีความยั่งยืนต่อไปได้ในระยะยาวโดยไม่ทำให้เกิดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ นอกจากนั้น แม้ MMT จะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ แต่ข้อจำกัดที่สำคัญก็คือการขาดทรัพยากรที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจเพื่อดูดซับเม็ดเงินการใช้จ่ายก้อนใหญ่

หนทางข้างหน้า

ในขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและอาจเกิดภาวะถดถอย ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่มีจำกัด ทั้งนโยบายการเงินและการคลังจำเป็นที่ต้องทำงานไปควบคู่กันเพื่อยืดวัฏจักรเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ธนาคารกลางของตลาดพัฒนาแล้วที่สำคัญจำเป็นต้องเตรียมชุดเครื่องมือในการใช้ตอบสนองเมื่อเกิดภาวะชะลอตัวครั้งถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในครั้งนี้แต่ละธนาคารกลางอาจไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะเงินฝืดในช่วงเวลาอันตึงเครียด ข่าวดีก็คืออาจมีหลายเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงทศวรรษที่ 1930-40s เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายไว้ใช้อ้างอิงในการกำหนดนโยบายเพื่อตอบสนอง เมื่อ เรย์ ดาลิโอ สำรวจความหลากหลายของ “นโยบายการเงิน 3”8 เขาได้ย้ำถึงความจำเป็นที่นโยบายดังกล่าวจะต้องมุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้จ่าย มากกว่าที่จะเป็นนักลงทุน / นักออม เขายังได้เน้นถึงองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างถูกต้อง นั่นคือการออกแบบระบบเพื่อให้การตัดสินใจอยู่ในมือของคนฉลาด ไม่ใช่มาจากแรงจูงใจทางการเมือง พร้อมกับใช้บุคลากรที่มีทักษะสูง รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีคุมเข้มทางนโยบายเมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยยุติลง มิฉะนั้นแล้วเศรษฐกิจอาจอยู่ในภาวะร้อนแรงและหนุนให้เงินเฟ้อสูงขึ้น

ในวันนี้ เมื่อการขาดความเชื่อมั่นเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตในอนาคต จึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ตอบสนองต่อแต่ละสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ แม้ว่าอาจเป็นเพียงการยืดวัฎจักรเศรษฐกิจให้นานออกไป มีสิ่งที่น่าสนใจมาจากคำแนะนำของอดีตนักเศรษฐศาสตร์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นายโอลิเวียร์ บล็องชาร์ด ที่ระบุว่าแรงทวีคูณทางการคลัง (fiscal multipliers) นั้นมีขนาดใหญ่กว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับศูนย์เปอร์เซนต์หรือใกล้เคียงศูนย์ ซึ่งหมายความว่าผู้กำหนดนโยบายอาจทำได้มากกว่าหากดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการคลัง9!

ในขณะที่การถกเถียงเกี่ยวกับ MMT ยังคงดำเนินต่อไป ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการผสมผสานทางนโยบายที่เหมาะสมนั้น ไม่เพียงแต่จะช่วยลดแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด แต่ยังเป็นการให้รางวัลแก่ผู้ลงทุนในตลาดหุ้น มากกว่าตลาดพันธบัตรในปีที่กำลังจะมาถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น (Equity Risk Premiums: ERP) ที่เราพบได้ในตลาดส่วนใหญ่ ณ ปัจจุบัน (ดูรูปที่ 4)

รูปที่ 4. อัตราผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น (Equity Risk Premium)10

Making_Sense_of Modern_Fig4

ข้อมูลดังกล่าวทำให้จุดสนใจอยู่ที่เยอรมนี – ตลาดที่มี ERP สูงที่สุดและเป็นประเทศ G7 เพียงประเทศเดียวที่มีงบประมาณเกินดุลมาตั้งแต่ปี 2012 และการที่เยอรมนีมีอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีต่ำกว่า 65% นั้นสะท้อนว่าประเทศมีความยืดหยุ่นทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจของตน แต่คำถามก็คือแล้วจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่?

Sources:
1 J.P. Morgan (as of 9th October) Negative Yield Index Monitor
2 Refinitiv Datastream. 14 October 2019.
3 Financial Times: Why Germany’s bond market is increasingly hard to trade https://www.ft.com/content/da406fe8-ca8b-11e9-a1f4-3669401ba76f
4 Refinitiv Datastream. 22 October 2019
5 Lagarde calls on European governments to launch fiscal stimulus https://www.ft.com/content/0ff70e24-cef8-11e9-99a4-b5ded7a7fe3f
6 Everything You Thought You Knew About Economics May Be Wrong https://theglobepost.com/2019/03/28/stephanie-kelton-mmt/
7 Refinitiv Datastream. 22 October 2019
8 It’s Time to Look More Carefully at “Monetary Policy 3 (MP3)” and “Modern Monetary Theory (MMT)”https://www.linkedin.com/pulse/its-time-look-more-carefully-monetary-policy-3-mp3-modern-ray-dalio
9 Public Debt: Fiscal and Welfare Costs in a Time of Low Interest Rates Olivier Blanchard https://www.piie.com/system/files/documents/pb19-2.pdf
10 Refinitiv Datastream. September 2019.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.