เจาะลึกกลยุทธ์ลงทุน Q2 คว้าโอกาสลงทุนในวิกฤต

Our Key Takeaways

  • อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคธนาคารทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยได้อีกไม่มาก
  • การคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศของจีนที่เร็วกว่าคาดกลายเป็นปัจจัยหนุนหลักให้กับกลุ่มประเทศเอเชีย
  • เราคาดว่าเฟดจะสิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งปีแรก ก่อนที่ครึ่งปีหลังมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง
  • เรามีมุมมองเชิงบวกต่อตราสารหนี้ ยกเว้นในกลุ่มของ High Yield ที่มีมุมมองเป็นกลาง
  • เรามีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่ม Growth/Tech มากขึ้นเนื่องจากเฟดอยู่ในช่วงท้ายของการขึ้นดอกเบี้ย
  • ในฝั่งของทองคำเรามีมุมมองเป็นกลาง ขณะที่ในส่วนของน้ำมันมีมุมมองเชิงลบต่อเนื่องจากไตรมาส 1/23

What to Watch ประเด็นที่ต้องจับตาในไตรมาส 2/23

ความเสี่ยงหลักในไตรมาส 2/23 ยังคงเป็นประเด็นเดิมมาจากไตรมาส 1/23 คือ เรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารหลักทั่วโลก ขณะที่ปัจจัยที่เข้ามาเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมคือปัญหาในภาคธนาคารที่เกิดขึ้นทั้งในสหรัฐฯและยุโรป โดยความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทำให้ภาวะการเงินตึงตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจฉุดให้เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯชะลอตัวลงจนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อีกทั้งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ตลาดเริ่มมองว่าเฟดจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีกไม่เยอะแล้ว โดยตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสูงสุดที่ 5.25% รวมถึงมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่เฟดเองก็เปลี่ยนท่าทีเช่นกันโดยได้คงอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ในปีนี้ไว้ที่ 5.1% จาก Dot Plot ล่าสุดที่เพิ่งปล่อยออกมา แต่สิ่งที่เฟดเห็นต่างกับตลาดคือเฟดออกมาระบุว่ายังไม่คิดเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

insights-into-investment-strategy-Q2-img-1

นอกจากประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ปัญหาความวุ่นวายในภาคธนาคารยังทำให้นักลงทุนกังวลเรื่องของ recession มากขึ้นอีกครั้ง โดยนักลงทุนแห่เข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จนส่งผลให้เกิด inverted Yield Curve ติดลบสูงที่สุดตั้งแต่วิกฤติ Dot-Com Bubble ในปี 2000 นอกจากนี้ผู้ฝากเงินเองก็กังวลปัญหาแบงก์ล้มจากกรณีของ SVB และ Signature Bank จะลามเป็นวงกว้าง ส่งผลให้เร่งถอนเงินจากธนาคารขนาดเล็กและนำเงินไปลงทุนในกองทุนตลาดเงินหรือ Monet Market สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย

insights-into-investment-strategy-Q2-img-2

ดังนั้นแล้วในเมื่อตลาดเริ่มมองว่าเฟดกำลังเข้าใกล้ช่วงท้ายของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลังเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลให้หุ้นในกลุ่ม Value ที่มีความอ่อนไหวต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น Financial และ Energy เริ่มได้รับผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่หุ้นในกลุ่ม Growth ซึ่งรับข่าวการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมาตั้งแต่ปีที่แล้วเริ่มกลับมาทำผลงานได้ดีในปีนี้ โดยในไตรมาส 2/23 นี้เรายังคงคาดว่าหุ้นกลุ่ม Growth จะยังคง Outperform หุ้นกลุ่ม Value ต่อไป

insights-into-investment-strategy-Q2-img-3

U.S. Equity

หุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นหลังตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงต่อเนื่อง นอกจากนั้นเงินพื้นฐานในภาคบริการซึ่งเป็นส่วนกดดันสำคัญในปี 22 เริ่มชะลอความร้อนแรงลง อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสนใจในคือ Core Services Less Housing ยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนว่าการต่อสู่กับภาวะเงินเฟ้อยังไม่จบ และเฟดจะยังคงต้องใช้นโยบายการเงินตึงตัวต่อไปอีกซักระยะ ในทางกลับกันนักลงทุนในตลาดกลับคาดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยเนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงเกินไป และปัญหาความวุ่นวายในภาคธนาคาร จนทำให้เฟดต้องกลับทิศเป็นลดดอกเบี้ยลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2023 อย่างไรก็ดีด้วยตัวเลขในภาคบริการและภาคแรงงานที่แข็งแกร่ง ทำให้เรามีมุมมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเข้าสู่ mild recession มากกว่า จึงเป็นโอกาสในการทยอยสะสม โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่ม Growth ที่รับรู้ปัจจัยลบไปค่อนข้างมากแล้ว

insights-into-investment-strategy-Q2-img-4
insights-into-investment-strategy-Q2-img-5

Europe Equity

ยุโรปรอดวิกฤติพลังงานมาได้ด้วยดี ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาดในไตรมาส 1/23 นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนเข้ามาเพิ่มเติมหลังจากจีนเปิดประเทศเร็วกว่าคาดเนื่องจากยุโรปเป็น 1 ในเป้าหมายหลักของนักท่องเที่ยวจีน ทำให้ในปีนี้ยุโรปมีโอกาสรอดพ้นการเกิด recession อย่างไรก็ตามปัจจัยกดดันหลักยังคงมาจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง กดดันให้ ECB ยังคงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกซักพัก นอกจากนี้ sentiment ของตลาดหุ้นยุโรปยังคงค่อนข้างอ่อนไหวต่อประเด็นที่เกิดขึ้นในถาคธนาคาร โดยเฉพาะหลังเกิดปัญหาของ Credit Suisse อย่างไรก็ตามทีมกลยุทธ์มองว่าปัญหาในภาคธนาคารไม่น่าลุกลามเป็นวิกฤติเนื่องธนาคารยุโรปมี CET1 Ratio อยู่ในระดับสูง ดังนั้นเราแนะนำให้ Neutral ในหุ้นยุโรป

insights-into-investment-strategy-Q2-img-6
insights-into-investment-strategy-Q2-img-7

Japan Equity

เราคงมุมมอง Slightly Underweight กับตลาดหุ้นญี่ปุ่นโดยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องกำลังทำให้ผู้ว่า BoJ คนใหม่เผชิญกับโจทย์ที่ยากมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเองยังคงฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง โดยภาคการบริโภคยังคงอ่อนแอและมีโอกาสได้รับผลกระทบต่อจากราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกของญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มอ่อนแอเช่นกันเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิตของญี่ปุ่นอีกทางนึงด้วย อย่างไรก็ดีตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังได้แรงหนุนเข้ามาบ้างหลังการเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบส่งผลบวกต่อภาคการท่องเที่ยวและการบริการ ประกอบกับคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนยังคงแข็งแกร่งและระดับราคาไม่สูงมากนัก ทำให้หุ้นญี่ปุ่นยังพอยืนอยู่ได้ในปีนี้

insights-into-investment-strategy-Q2-img-8
insights-into-investment-strategy-Q2-img-9

Asia & Emerging Equity

ตลาดหุ้นฝั่งเอเชียมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง หลังการตัดสินใจเร่งขึ้นดอกเบี้ยของหลายประเทศช่วยกดดันเงินเฟ้อให้ปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่ในด้านเศรษฐกิจแม้จะชะลอตัวลงตามนโยบายการเงินที่เข้มงวด แต่การเริ่มชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯจะช่วยทำให้ประเทศในกลุ่มเอเชียไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยไล่ตามสหรัฐฯจนมากเกินไป ขณะเดียวกันการผ่อนคลายมาตรการ Covid-Zero และการเปิดประเทศของจีนซึ่งเร็วกว่าคาดตั้งแต่ต้นปี 23 จะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ส่งเสริมการบริโภคทั้งภายในประเทศจีนและคู่ค้าสำคัญอย่างกลุ่มประเทศเอเชีย

insights-into-investment-strategy-Q2-img-10

เรามีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นจีนมากที่สุดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศของจีน ในขณะที่ระดับราคาของอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเราชอบฝั่งจีน A-shares ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากด้านการบริโภค รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากนโยบายการเงินและการคลังจากทีมบริหารชุดใหม่ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ใช้ปัญหาในปีนี้ ทำให้ PBoC ยังคงสามารถใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ต่อไป นอกจากนี้จีนยังมีแนวโน้มสนับสนุนกลุ่ม Semiconductors และ EV อีกด้วยในปีนี้ ทำให้หุ้นใน 2 กลุ่มนี้กลับมามีความน่าสนใจ

insights-into-investment-strategy-Q2-img-11

ในฝั่งของตลาดหุ้น Emerging Market เรายังมีมุมมองเป็นกลางเนื่องจากเริ่มเห็นแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดูดีขึ้น ประกอบกับระดับราคาอยู่ในระดัยที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นอยู่ในไตรมาส 2 ประกอบกับหลายๆประเทศในกลุ่มมีสถานะทางการเงินการคลังเปาะบาง และมีโอกาสได้รับผลกระทบหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

insights-into-investment-strategy-Q2-img-12
insights-into-investment-strategy-Q2-img-13

Fixed Income

เรายังคงชื่นชอบกลุ่มตราสารหนี้อยู่หลังจากที่ตลาดรับข่าวการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางไปมากแล้ว ขณะเดียวกันเฟดก็กำลังเข้าสู่ช่วงท้ายของรอบการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ตลาดอาจเริ่มมองข้ามไปช่วงถัดไปที่อาจเกิดเศรษฐกิจชะลอตัวและทำให้ธนาคารกลางต้องหันกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลังส่งผลให้ Yield ปรับตัวลง อย่างไรก็ตามความเสี่ยงหลักของตราสารหนี้ยังอยู่ที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่หากมากกว่าที่คาดอาจทำให้การผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นเข้ามาชดเชยปัจจัยบวกจากการลดดอกเบี้ย ทั้งนี้เรามองว่ามีเพียงตราสารหนี้ในกลุ่ม High Yield ที่ยังต้องติดตามทิศทางเศรษฐกิจในช่วงต้นปีและมีมุมมองเป็นกลาง

insights-into-investment-strategy-Q2-img-14

REITs

REITs ถูกกดดันน้อยลงจากการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกเช่นกัน ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างเงินปันผลและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Dividend Yield Gap, DYG) หยุดการแคบลง ทำให้ REITs เริ่มกลับมามีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามกลุ่ม REITs ในฝั่งประเทศพัฒนาแล้วยังมี DYG ค่อนข้างแคบจึงยังไม่น่าสนใจมากนัก ในทางกลับกัน REITs เอเชียได้รับแรงหนุนจากการเปิดประเทศและการปรับขึ้นค่าเช่าตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้อัตราเงินปันผลมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต ประกอบกับส่วนต่างของ DYG ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงหลักของ REITs ในปีนี้คือภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจเติบโตชะลอตัวลงซึ่งจะกระทบต่อค่าเช่า และอัตราการเช่าได้ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่ในฝั่งของเอเชียยังได้เปรียบกว่าเนื่องเศรษฐกิจยังเติบโตได้ดีอยู่ในปีนี้ ทำให้เรามีมุมมองเป็นกลางต่อกลุ่ม REITs

insights-into-investment-strategy-Q2-img-16
insights-into-investment-strategy-Q2-img-17

Gold

ราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังกังวลปัญหาในภาคธนาคาร และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งขขึ้นมายืนเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ซึ่งเป็นระดับที่เข้าใกล้ All Time High ขณะที่อีกปัจจัยหนุนคือดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงหลังจากเฟดใกล้สิ้นสุดรอบการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามปัจจัยกดดันราคาทองคำยังคงมาจากการที่ real yield เป็นบวกทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเหมือนกันมีความน่าสนใจมากกว่า ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯเริ่มชะลอตัวลงเช่นกันส่งผลให้แรงหนุนของทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อเริ่มอ่อนแรงลง ทำให้เรามีมุมมองเป็นกลางต่อทองคำ แต่สำหรับนักลงทุนที่มีการลงทุนทองคำในสัดส่วนสูง แนะนำทยอยขายทำกำไรบางส่วน เนื่องจากอาจเผชิญแรงเทขายได้หากตลาดคลายความกังวลจากปัญหาในภาคธนาคาร

insights-into-investment-strategy-Q2-img-18
insights-into-investment-strategy-Q2-img-19

Oil

เรายังมีมุมมองเป็นลบต่อราคาน้ำมันต่อเนื่องจากไตรมาส 1/23 จากความต้องการการใช้น้ำมันทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากที่เศรษฐกิจโลกเติบโตชะลอตัวลง ขณะที่ในด้านอุปทานน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูงหลังจากสหรัฐฯยังคงเพิ่มกำลังการผลิตและนำน้ำมันจากคลังสำรองออกมาใช้งาน แม้ว่าล่าสุดทาง OPEC+ จะปรับลดกำลังการผลิตลงแบบกะทันหันก็ตาม จนทำให้ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้นมาเหนือ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้ง ทั้งนี้เราคาดว่าปริมาณการผลิตที่ลดลงจริงๆจะไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันจากจีนก็ฟื้นตัวค่อนข้างช้าหลังเปิดเมืองเนื่องจากจีนไปซื้อน้ำมันในราคา discount จากรัสเซียโดยตรง ดังนั้นโดยสรุปแล้วแม้ว่าราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นอีกครั้งจากการลดกำลังการผลิต แต่เรามองว่าเป็นแค่ปัจจัยระยะสั้นเท่านั้น ขณะที่ในระยะยาวแล้ว demand ยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอต่อเนื่อง

insights-into-investment-strategy-Q2-img-20
insights-into-investment-strategy-Q2-img-21

Recommendation

insights-into-investment-strategy-Q2-img-22

Model Portfolio

insights-into-investment-strategy-Q2-img-23
insights-into-investment-strategy-Q2-img-24
insights-into-investment-strategy-Q2-img-25
This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.