ตอบโจทย์ความต้องการเพื่อเติบโตและสร้างรายได้ด้วยอสังหาริมทรัพย์เอเชีย

ปริมาณการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ที่ 1.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 และถ้าหากมองในระดับภูมิภาคจะพบว่าเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุด ด้วยมูลค่าที่คิดเป็นสัดส่วน 50% ของยอดรวมทั้งหมด1 ส่วนตัวเลขของปี 2019 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์และยังอาจจะเพิ่มขึ้นได้อีก โดยการที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำต่อไป ทำให้กระแสการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นนั้นจะยังคงผลักดันเงินทุนสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐได้สะท้อนผ่านมายังธนาคารกลางทั่วโลกในปี 2019 ซึ่งหลายแห่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้และยังคงพร้อมที่จะลดดอกเบี้ยได้อีกหากจำเป็น ตอกย้ำกระแสการผ่อนคลายทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เพิ่มความมุ่งมั่นในการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลยุทธ์ทางเลือกอย่างเช่น private equity, โครงสร้างพื้นฐาน และอสังหาริมทรัพย์ ดูเหมือนจะเป็นภาคส่วนที่ได้รับประโยชน์ แนวโน้มระหว่างปี 2020 และ 2025 คาดว่าสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นได้ถึงเกือบสองเท่า นั่นคือจาก 192 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเป็น 382 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับอัตราการเติบโตแบบทบต้นเฉลี่ยที่ 13.9%2

ผู้ลงทุนที่สนใจอสังหาริมทรัพย์อาจเลือกที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางกายภาพหรือลงทุนผ่านหุ้นและ/หรือตราสารหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ตัวเลือกอย่างหลังนั้นดูเป็นสิ่งน่าดึงดูดมากกว่า เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก เป็นโอกาสในการกระจายความเสี่ยง มีความสะดวกในการซื้อขาย และตอบโจทย์เรื่องสภาพคล่อง ยิ่งกว่านั้น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านตลาดการเงินยังเปิดโอกาสการเข้าถึงทางด้านภูมิศาสตร์ที่กว้างมากขึ้น เป็นโอกาสที่จะได้รับความหลากหลายมากกว่าจะตีกรอบอยู่แค่ในประเทศหรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง และรับโอกาสการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียในขอบเขตที่กว้างมากขึ้น

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดหุ้นเอเชียได้สร้างข้อโต้แย้งอันน่าสนใจเกี่ยวกับศักยภาพการลงทุนในภูมิภาค เอเชียอาจผงาดขึ้นเป็นตลาดหุ้นระดับภูมิภาคในอันดับต้นๆ ได้ภายในปี 20273 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalisation) ของเอเชียอาจเพิ่มขึ้นถึงสองเท่ามาอยู่ที่ 56 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแซงหน้าสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ของเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น อาจเพิ่มขึ้นแตะ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับขนาดตลาดตราสารหนี้ของญี่ปุ่น

เก็บเกี่ยวปันผลจากอสังหาริมทรัพย์เอเชีย

ปัจจัยหลักๆ ส่วนหนึ่งที่ผลักดันความต้องการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขนาดประชากร ลักษณะโครงสร้างประชากร อัตราความเป็นเมือง (urbanisation rate) และนโยบายรัฐบาล ซึ่งเอเชียดูเหมือนจะอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบจากการมีคุณสมบัติเหล่านี้

ภูมิภาคซึ่งเป็นที่อยู่ของประชากรราว 60% ของโลก4 มีขนาดเศรษฐกิจที่กำลังจะขึ้นมามีสัดส่วนถึง 50% ของ จีดีพีโลกในปี 20405 นอกจากนี้ เอเชียกำลังเผชิญปรากฏการณ์การขยายตัวอย่างรวดเร็วของความเป็นเมือง โดยภายในปี 2030 จะมีประชากรอย่างน้อย 56% ที่อยู่ในสังคมเมือง6 และแม้ว่าเอเชียมีแนวโน้มด้านประชากรที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ข่าวดีก็คือประชากรกว่า 60% ของอาเซียนมีอายุต่ำกว่า 35 ปี7

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และเพื่อการค้าปลีก ไปจนถึงอุตสาหกรรม การแพทย์ และธุรกิจบริการ ในขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นเป็นเมืองใหญ่หลายๆ แห่งในเอเชีย ทั้งในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และที่อื่นๆ จะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนความต้องการอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า

เมืองในเอเชียหลายแห่งยังมุ่งเดินหน้าแปรสภาพเป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งโดยทั่วไปหมายความถึงเมืองที่ใช้ทรัพยากรอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูล (รวมถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์) เพื่อเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกำลังสร้างความต้องการใหม่ๆ ให้กับอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารสีเขียวและประหยัดพลังงาน และโครงข่ายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ (smart grids) อันที่จริงโครงการเมืองอัจฉริยะกำลังได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นในหลายๆ แห่ง ยกตัวอย่างเช่นในปี 2018 ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้จัดตั้งเครือข่ายสมาร์ทซิตี้ซึ่งประกอบด้วย 26 เมืองนำร่อง อยู่ใน 10 ประเทศ เพื่อรับมือกับความท้าทายของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง เมืองในเอเชียหลายแห่งยังมีข้อได้เปรียบในการสร้างเมืองอัจฉริยะตั้งแต่จุดเริ่มต้น ซึ่งแตกต่างจากเมืองที่พัฒนาแล้วในโลกตะวันตกซึ่งต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ดั้งเดิม

ทางเลือกในการกระจายลงทุนที่มีอยู่มากมาย

เมื่อพิจารณาการขยายตัวของจำนวนประชากรในภูมิภาคและอัตราความเป็นเมือง ภูมิภาคเอเชียได้เสนอโอกาสการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และตราสารหนี้ที่มากมายและหลากหลาย อันประกอบด้วยหุ้นของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (“REITs”) พันธบัตรอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยจากข้อมูลทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น พบว่ามีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนวน 1,117 รายและเป็น REITs ที่จดทะเบียนอีก 194 แห่ง

โดยเฉพาะ REITs นั้น ได้รับความนิยมจากทั้งนักลงทุนและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนอกจากคุณสมบัติในเรื่องการกระจายไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายแล้ว (ดูรูปที่ 1) แต่อัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงของ REITs และเงินปันผลที่สม่ำเสมอยังดึงดูดนักลงทุนรายย่อยอีกด้วย ในขณะเดียวกัน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กำลังจะกลายเป็น REITs แห่งอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามลักษณะการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียหลายแห่งมีเจ้าของเพียงรายเดียวหรือกลุ่มเดียวและไม่สามารถซื้อขาดได้ สิ่งนี้ยังไม่รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งกองทรัสต์ที่จ่ายกระแสเงินสดออกมาอย่างน้อย 90% ของกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นในรูปแบบของเงินปันผลจะได้รับการยกเว้นภาษี

ความนิยมในกอง REITs ยังส่งผลให้เกิดการควบรวมและซื้อกิจการ (“M&A”) ที่แข็งแกร่ง เหตุผลในการเป็นหลักทรัพย์ขนาดใหญ่จะทำให้เข้าไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) และพอร์ตการลงทุนทั่วโลกได้ง่ายขึ้น และสามารถระดมทุนเพื่อรองรับการขยายตัวและรับมือกับสภาวะการแข่งขัน เช่นการควบรวมกิจการในสิงคโปร์นั้นได้ทำให้เกิดกอง REITs กองใหม่ๆ ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ส่วนที่อื่นๆ ก็มีการเปิดตัว REITs เช่นกัน อย่างที่อินเดียก็มี REITs ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกในปี 2019 เช่นเดียวกับจีนและฟิลิปปินส์ที่กำลังดำเนินการในแบบเดียวกันในปี 2020 ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในปัจจุบันของ REITs ในเอเชียนั้นอยู่ที่ 383 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีส่วนที่เป็น REITs จากญี่ปุ่นในมูลค่า 148 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ8

รูปที่ 1: ตลาด REITs ในเอเชียที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างหลากหลาย99

Match-Growth-Fig1

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในเศรษฐกิจและกลุ่มประชากรกำลังเปลี่ยนวิธีที่เราใช้ชีวิต ทำงาน เล่น และอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ และในทำนองเดียวกัน บรรดาดิสรัปเตอร์อย่างอีคอมเมิร์ซ โค-เวิร์คกิ้งสเปซ 5G และบริการแชร์รถสำหรับเดินทาง กำลังเปลี่ยนภูมิศาสตร์ด้านการลงทุนด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่และนำเสนอโอกาสการลงทุนครั้งใหม่ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเหล่านี้กำลังสร้างความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ คลังสินค้า พื้นที่ทำงานแบบยืดหยุ่น บ้านพักเพื่อการเกษียณ และโกดังเก็บของแบบบริการตนเอง (self-storage) ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อย กลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะดังกล่าวจะยังคงดึงดูดผู้ลงทุนให้เข้าถึงโอกาสอันมีความพิเศษเหล่านี้

ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นส่วนสำคัญของตลาดตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์ในเอเชีย โดยเฉพาะตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งโดยรวมแล้วอสังหาริมทรัพย์คิดเป็นสัดส่วน 15% อยู่ใน JP Morgan Asian Credit Index (JACI) และ 42% ใน JACI high yield index ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้มีผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีน ตลาดตราสารหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของเอเชียยังคงเติบโตทั้งขนาดและผู้ออกตราสาร เป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุน (ดูรูปที่ 2) ระดับผลตอบแทนโดยรวมของกลุ่มยังค่อนข้างน่าสนใจเมื่อเทียบกับตลาดตราสารหนี้เอเชียในภาพรวม

รูปที่ 2: ตลาดตราสารหนี้เอเชียที่กำลังเติบโต10

Match-Growth-Fig2

การผสมผสานหลายสินทรัพย์ช่วยให้คว้าโอกาสอันยอดเยี่ยมและลดความผันผวน

ด้วยตัวเลือกการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีมากมายในเอเชีย ผู้ลงทุนจะสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างไร? วิธีที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพก็คือการใช้วิธีจัดสรรแบบผสมหลายสินทรัพย์ (multi asset allocation) ซึ่งจับโอกาสได้ทั้งเรื่องการเติบโตและกระแสรายได้ สินทรัพย์ประเภทหุ้นได้ปูทางสำหรับการเติบโตและการเพิ่มค่าของเงินทุน ในขณะที่ตราสารหนี้ให้คุณสมบัติเรื่องความปลอดภัยและกระแสรายได้

นอกจากนี้ ยังเห็นได้ชัดว่าผลตอบแทนจากภาคส่วนนี้มีความน่าสนใจมากกว่าเมื่อเทียบกับภาพรวมของชั้นสินทรัพย์ประเภทหุ้นและตราสารหนี้ (ดูรูปที่ 3) ขณะส่วนผสมที่ดีของการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังสามารถสร้างกระแสรายได้ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอด้วย

รูปที่ 3: อสังหาริมทรัพย์เอเชียให้กระแสรายได้ที่ค่อนข้างสูงกว่า11

Match-Growth-Fig3

เมื่อมีการกำหนดส่วนผสมในการจัดสรรสินทรัพย์แล้ว การกระจายลงทุนเพิ่มเติมจะช่วยลดการกระจุกตัวหรือความเสี่ยงเฉพาะได้ การจัดสรรสินทรัพย์ที่เหมาะสมโดยไม่ได้มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอ (หรือในทางกลับกัน) ยังอาจทำให้เกิดการขาดทุนได้ ดังนั้นตัวเลือกการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มย่อยต่างๆ ของภาคอสังหาริมทรัพย์จึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องการกระจายความเสี่ยง

ในแต่ละกลุ่มย่อยของภาคอสังหาริมทรัพย์ถูกกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน : กลุ่มอาคารสำนักงานได้รับผลกระทบจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและวัฏจักรการปรับปรุงสัญญาเช่าในระยะยาว ในขณะที่ภาคการบริการต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวและการปรับราคาอยู่บ่อยๆ ลักษณะความยืดหยุ่นในการจัดสรรแต่ละประเภทสินทรัพย์เช่นนี้ถือเป็นขั้นตอนสำหรับการสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอมากยิ่งขึ้นและมีโอกาสสูงที่จะได้ผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจในระยะยาว (ดูรูปที่ 4)

รูปที่ 4: การจัดสรรสินทรัพย์ที่ดีมีโอกาสสูงที่จะได้ผลลัพธ์น่าพอใจ12

Match-Growth-Fig4

ความนิยมเพิ่มขึ้น แต่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญ

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน ข้อมูลล่าสุดระบุว่ากลุ่มบุคคลที่มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth Individuals: HNWI) กำลังจัดสรรเงินลงทุนไปยังอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยในปี 2018 HNWIs ในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น จัดสรรเงินลงทุนในสัดส่วน 20% เพื่อถือครองอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเทียบกับ 18.7% ในปี 2017 ขณะที่ในส่วนอื่นๆ ของโลก มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 17.5% เมื่อเทียบกับ 14.5% ในปี 201713

โดยสรุป ภาคอสังหาริมทรัพย์เอเชียได้นำเสนอโอกาสการลงทุนที่น่าดึงดูด มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และให้โอกาสการลงทุนใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนจะต้องมีการคัดเลือก กระจายความเสี่ยงไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคส่วนย่อยต่างๆ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด นอกจากนี้ ความรอบรู้ในตลาดเฉพาะภูมิภาคหรือเฉพาะประเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลสามารถส่งผลกระทบต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น มารับมือกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติด้านความหลากหลายในการกระจายสินทรัพย์ มีความเชี่ยวชาญ และตรงกับความต้องการของคุณในเรื่องการเติบโตและสร้างรายได้

Sources:
1 Global Investment Atlas 2019 by Cushman and Wakefield
2 Asset & Wealth Management 2025, The Asian Awakening, January 2019 by Pricewaterhouse Coopers
3 Morgan Stanley Institute for Sustainable Investing February 2015 report
4 Refers to Asia Pacific, https://www.worldometers.info/world-population/asia-population
5 McKinsey Global Institute : Asia’s future is now, July 2019
6 World Urbanisation Prospects, The 2018 Revision – Department of Economic and Social Affairs, United Nations
7 https://www.businesstimes.com.sg/hub/asean-singapore-2018
8 Bloomberg, as of 30 Nov 2019
9 Bloomberg, as of 30 Sep 2019
10 JPMorgan, Eastspring Investments, 29 November 2019
11 Thomson Reuters Datastream, 29 November 2019. Asia Real Estate Bonds and Asia Bonds represented by JP Morgan indices, Asia Pacific ex Japan REITs represented by MSCI Asia Pacific ex Japan REIT Index, Asia ex Japan Real Estate Equities represented by MSCI AC Asia Pacific ex Japan Real Estate Index, Asia Pacific ex Japan Equities represented by MSCI AC Asia Pacific ex Japan Index
12 Eastspring Investments, data extracted from Morningstar, 30 September 2019. The composite index is made up of is 50% MSCI Asia Pacific Real Estate Index and 50% JACI High Yield index
13 Capgemini Financial Services Analysis 2018 Capgemini Global HNW Insights Survey 2017

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.