เปิดกลยุทธ์รับโฉมใหม่ “ซัพพลายเชนในเอเชีย”

ห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนทั่วโลกจะถูกกระจายสู่ทางเลือกที่หลากหลายมากกว่าเดิม เมื่อบรรดาบริษัทต่างแสวงหาความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ภายใต้แรงกดดันจากกระแสชาตินิยมที่เพิ่มเข้ามาและปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ที่เข้มข้น การย้ายฐานออกจากประเทศจีนจะไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายหรือใช้ต้นทุนน้อย แม้ว่าภูมิภาคอื่นๆ ของเอเชียจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ข้อได้เปรียบที่สำคัญของเอเชียในทุกวันนี้ก็คือ ต้นทุนที่แแข่งขันได้ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้กับจีน และการเติบโตในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เอเชียยังคงสร้างข้อได้เปรียบเหล่านี้ต่อไป แต่ปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ และเรื่องของระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากขึ้นเพื่อให้ทั้งภูมิภาคมีบทบาทสำคัญต่อไปในห่วงโซ่อุปทานแห่งอนาคต

การเกิดภาวะหยุดชะงักด้านซัพพลายในสินค้าทุกอย่าง นับตั้งแต่พาสต้าไปจนถึงมาสก์ปิดหน้า และโทรศัพท์ 5G หมายความว่าการระบาดของ COVID-19 ได้เร่งให้เกิดการคิดใหม่ว่าบริษัทควรปรับเปลี่ยนแผนการจัดวางซัพพลายเชนทั่วโลกอย่างไร แม้ว่าปัจจัยด้านต้นทุนและคุณภาพจะเป็นประเด็นการพิจารณาที่สำคัญมาแต่อดีต แต่ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานก็จะกลายมามีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

การสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานนั้นเป็นเรื่องของการกระจายความเสี่ยง มากกว่าจะเป็นเรื่องของการปรับให้เข้าถึงผู้คนในแต่ละพื้นที่ ภาวะการหยุดชะงักของซัพพลายเชนจึงไม่ได้จำกัดผลอยู่เฉพาะแค่เพียงในบางประเทศ ยกตัวอย่างเช่นการหยุดชะงักที่เกิดจากพายุเฮอริเคนเออร์ม่าในสหรัฐอเมริกา และพายุมาเรียในเปอร์โตริโก (ในปี 2017) ได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายหลายพันล้านดอลลาร์ด้วยเช่นกัน

จีน – ยังเป็นโรงงานของโลกอยู่หรือไม่?

“จีน” มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก ซึ่งข้อมูลจากทีมวิเคราะห์ของ Eastspring ที่ประจำสำนักงานเซี่ยงไฮ้ระบุว่าความได้เปรียบในการแข่งขันของจีน ไม่ได้พึ่งพิงแค่ต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่า และประสิทธิภาพที่สูง แต่กว่าหลายทศวรรษมานี้จีนได้สร้างระบบนิเวศด้านห่วงโซ่อุปทานได้อย่างครอบคลุม ซึ่งช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และการประสานงาน ทำให้การผลิตมีต้นทุนต่ำกว่าประเทศอื่นๆ มีการประเมินว่าคนงานชาวจีนหนึ่งคนสามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเท่ากับสินค้าที่ผลิตจากคนงานสี่คนจากประเทศในอาเซียนรวมกัน1.

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ในปัจจุบันประเทศจีนจะมีมูลค่าเพิ่มในผลผลิตของโลกคิดเป็นสัดส่วนถึงหนึ่งในสี่ ดูรูปที่ 1 เมื่อเร็วๆ นี้ Tim Cook ซีอีโอของ Apple ได้กล่าวในการประชุมทางโทรศัพท์กับบรรดานักวิเคราะห์ว่า ความรวดเร็วในการฟื้นตัวของซัพพลายเชนของจีนภายหลังเกิดภาวะหยุดชะงักจาก COVID-19 นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความทนทานและความแข็งแกร่ง ในปัจจุบัน Apple ยังคงพึ่งพาจีนในการประกอบสินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับผลิตภัณฑ์ที่สำคัญหลายอย่าง แม้ว่าเวียดนาม ไต้หวัน อินเดีย และสหรัฐอเมริกาจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

รูปที่ 1 : มูลค่าเพิ่มของผลผลิต คิดเป็น % ของการผลิตทั่วโลก2

positioning-for-the-changes-chart-01

ทางเลือกในเอเชีย

การแสวงหาแหล่งผลิตที่กระจายออกไปมากขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับภาวะความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เข้มข้น และกระแสชาตินิยมที่ทวีความรุนแรง อาจบีบบังคับให้บางบริษัทย้ายซัพพลายเชนของตนออกไปจากประเทศจีน ซึ่งหากเกิดขึ้น ก็มีประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่พร้อมยื่นข้อเสนอในการเป็นแหล่งผลิตที่มีศักยภาพ งานวิเคราะห์ล่าสุดโดย BofA ชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน เมื่อมีหลายๆ บริษัทที่มองว่าประเทศในภูมิภาคแถบนี้เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพนอกจากจีน ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2: ทางเลือกที่ต้องการของบริษัทต่างๆ ในการโยกย้ายแหล่งผลิต3

positioning-for-the-changes-chart-02

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือ Institute of International Finance เชื่อว่าประเทศที่มีระดับความเข้มข้นของการผลิตที่ใกล้เคียงในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน จะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบสำหรับการผลิตในแบบเดียวกับจีน รูปที่ 3 แสดงถึงการกระจุกตัวของมูลค่าเพิ่มหรือสัดส่วนที่มาจากการผลิตภายในประเทศ ต่อการส่งออกทั้งหมดในอุตสาหกรรมต่างๆ ของแต่ละประเทศ4

รูปที่ 3: ระดับความเข้มข้นของมูลค่าเพิ่มของบางประเทศในเอเชีย เปรียบเทียบรายการสินค้าที่สำคัญ5

positioning-for-the-changes-chart-03

เวียดนามและอินเดียอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบสำหรับการแข่งขันในตลาดส่งออกสิ่งทอ โดยในความเป็นจริงการส่งออกสิ่งทอของเวียดนามเพิ่มขึ้น 10% ในปี 2019 ในช่วงที่เกิดข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน6 อย่างไรก็ตาม นอกจากสิ่งทอแล้วอินเดียอาจกลายมามีความสำคัญมากขึ้นต่อการผลิตสินค้าที่ต้องใช้แรงงานมาก อย่างเช่นการประกอบ iPhone ขณะที่เวียดนามก็พร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สำคัญของ Apple เช่น AirPods และ Apple Watch

แม้ข้อมูลจากรูปที่ 3 จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันของอินโดนีเซียและมาเลเซียในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระดับล่าง แต่ “Lilian See” หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ของ Eastspring ประจำสำนักงานมาเลเซียได้ชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่าง โดยยกตัวอย่างโรงงานล่าสุดของ Lam Research และ Smith + Nephew ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถของมาเลเซียในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของตน

Lam Research บริษัทจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ออกแบบและผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor processing equipment) เมื่อเร็วๆ นี้ได้ตั้งฐานการผลิตที่ปีนัง เพิ่มเติมจากโรงงานผลิตที่มีอยู่ทั่วโลกซึ่งรวมถึงสหรัฐ เกาหลีใต้ และออสเตรีย7 ในขณะเดียวกัน Smith + Nephew ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นนำของโลกสัญชาติอังกฤษ คาดว่าจะสามารถผลิตสินค้าล็อตแรกจากโรงงานในปีนังได้ในปี 20208 โดยในความเห็นของ Lilian มองว่าความสามารถของมาเลเซียในการตอบสนองความต้องการสินค้าที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดอย่างเช่นอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ ได้สะท้อนถึงถึงศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งและมีคุณภาพสูง

ในขณะเดียวกัน เกาหลีและไต้หวันดูเหมือนจะเป็นเพียงสองประเทศที่สามารถแข่งขันได้ในสินค้าที่มีกระบวนการผลิตขั้นสูง ไต้หวันอาจกลายเป็นแหล่งสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีระดับโลก โดยล่าสุดมีการลงทุนของ Google และ Apple ในไต้หวันที่สร้างศูนย์ข้อมูล การรวมระบบ (system integration) เทคโนโลยีใหม่ในการแสดงผล (new display technology) ชิปเซ็ตและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบออพติคอล ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับจุดแข็งของซัพพลายเชนด้านอาหาร ก็ดูเหมือนจะมีคู่แข่งน้อยกลุ่มธุรกิจนี้

นอกเหนือจากความสามารถในด้านการผลิตแล้ว ข้อพิจารณาที่สำคัญในด้านอื่นๆ ยังรวมถึงความง่ายในการทำธุรกิจ นโยบายของรัฐบาล คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานและแรงงาน ในรายงานความสามารถทางการแข่งขันทั่วโลกประจำปี 2019 แสดงให้เห็นว่าประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ติดอยู่ในอันดับ 50% แรก จากจำนวนทั้งหมด 141 ประเทศ โดยมีหลายประเทศที่ติดอยู่ใน 30 อันดับแรก ดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 : ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันโลก (การจัดอันดับประจำปี 2019 จากจำนวนทั้งหมด 141 ประเทศ)9

positioning-for-the-changes-chart-04

หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ของ Eastspring ประจำสำนักงานเวียดนามเชื่อว่าความได้เปรียบของเวียดนามอยู่ที่กำลังแรงงานที่มีค่อนข้างมากและอายุยังน้อย ค่าแรงที่สามารถแข่งขันได้ เสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายสนับสนุนต่างๆ เขาคาดว่าแนวโน้มการเคลื่อนย้ายการผลิตออกจากประเทศจีนนั้นจะดำเนินต่อไป หลังจากที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนทวีความรุนแรงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TMBAM - Eastspring เชื่อว่าแผนของประเทศไทยในการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ และสนามบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย EEC นั้นมีเป้าหมายฟื้นการเติบโตให้แก่พื้นที่แถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตด้านอุตสาหกรรมของประเทศตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ดร.สมจินต์มองว่า EEC เป็นฐานการผลิตที่มีศักยภาพสำหรับบริษัทที่ต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทาน

หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ

ซัพพลายเชนที่กระจายออกไปอาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่ต้องการกระจายความเสี่ยงออกจากจีน นวัตกรรมด้านหุ่นยนต์หรือโรโบติกส์และระบบอัตโนมัติ จะมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยลดค่าใช้จ่ายในขณะที่บริษัททำการขยับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานไปยังประเทศที่มีค่าแรงสูงขึ้น ปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence จะช่วยให้กระบวนการง่ายขึ้น (และคุ้มค่ามากขึ้น) ในการโยกย้ายการผลิต ตรวจสอบซัพพลายเชน ดำเนินการผลิตแบบอัตโนมัติ (การผลิตที่ไม่ต้องการแรงงานมนุษย์ หรือที่เรียกว่า lights out manufacturing )

ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ หรือ Robot Industries Association (RIA) ระบุว่าระบบหุ่นยนต์แบบมาตรฐานในตลอดระยะเวลา 15 ปี ช่วยประหยัดเงินได้ ประมาณ 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายเริ่มแรกที่ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐบวกกับต้นทุนการดำเนินงานที่ 187,000 ดอลลาร์สหรัฐ

BofA คาดการณ์ว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งในฐานการผลิตทั่วโลกอาจสูงแตะระดับ 5 ล้านหน่วยภายในปี 2025 เพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2019 เนื่องจากหุ่นยนต์มีราคาไม่แพง มีความยืดหยุ่น และสามารถควบคุมการทำงานได้เอง

เทรนด์นี้ จะส่งผลดีต่อประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดของโลก ในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นผู้ใช้งานระบบหุ่นยนต์รายใหญ่ที่สุด แต่จากการวิจัยพบว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ชีววิทยาศาสตร์ (life sciences) อิเล็กทรอนิกส์ และโลจิสติกส์ จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงนับจากนี้ ในขณะเดียวกัน เซมิคอนดักเตอร์เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่อยู่เบื้องหลังพลังการประมวลผลสิ่งต่างๆ ของเราทุกวันนี้ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของเอเชียและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคจึงมีโอกาสได้รับผลบวกจากการนำเอาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงานมากขึ้นในอนาคต ภูมิภาคเอเชียนั้นเป็นที่ตั้งของบริษัทประกอบเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำที่อยู่ในประเทศจีน เช่นเดียวกับบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ซึ่งตั้งในไต้หวันและเกาหลี

สภาพภูมิอากาศ… บททดสอบ และความท้าทาย

ผู้บริโภคทั่วโลกทุกวันนี้ ต่างให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (sustainable products) มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ขั้นตอนการเข้าถึงการตรวจสอบแหล่งที่มาจากบริษัทต่างๆ และกระบวนการผลิตสินค้าในหลายประเด็นซึ่งจะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความไม่แน่นอนของวัตถุดิบทั้งเรื่องคุณภาพในอนาคต และการควบคุมคุณภาพ ตลอดจนมาตรฐานสวัสดิการของแรงงาน

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ระบุว่ายอดการสูญเสียด้านประสิทธิภาพจากการหยุดชะงักและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับความร้อน อาจเพิ่มขึ้นเกินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ขณะดัชนีความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศโลกประจำปี 2020 (Global Climate Risk Index 2020) ที่จัดทำโดย Germanwatch ซึ่งเป็นการวัดขนาดและความเปราะบางของประเทศต่างๆ ต่อสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงสุดขั้ว ได้จัดอันดับให้ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม อยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมากที่สุด

ในขณะเดียวกัน เอเชียก็ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศอื่นๆ อย่างเรื่องการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแผนเชิงรุกในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนสำหรับการผลิตไฟฟ้าขึ้นเป็น 20% ภายในปี 2040 โดยที่ประเทศเวียดนามนั้น ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนขึ้นเป็น 25% ภายในปี 2030

ซัพพลายเชน…แห่งอนาคต

ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกจะมีการกระจายสู่ความหลากหลายมากขึ้น แม้ว่าจังหวะและเวลาของการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม สินค้าจำเป็นที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นในสังคม อย่างเช่นยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งย้ายมาผลิตใกล้กับตลาด ผู้ใช้บริโภคมากขึ้น ประเทศต่างๆ อาจมองหาสินค้าเทคโนโลยีบางรายการ ที่สามารถช่วงชิงความเป็นผู้นำตลาดเชิงกลยุทธ์ได้

ต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการเคลื่อนย้ายห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงค่าเสื่อมราคาที่สูงขึ้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสร้างโรงงานใหม่ ประกอบกับต้นทุนค่าแรงงานที่สูงขึ้นก่อนที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ได้อย่างเต็มที่นั้น จึงเป็นไปได้ว่าทั้งบรรดาบริษัท และผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้รับภาระ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้อาจมีผลกระทบต่อผลกำไรและเงินเฟ้อในระยะยาว

จีนเป็นตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ดังนั้น ความปรารถนาที่จะ “อยู่ใกล้ชิดกับลูกค้า” อาจช่วยรักษาสายการผลิตในเอเชียไว้ และเมื่อเอเชียมีรายได้ที่กำลังไต่ระดับสูงขึ้น บริษัทต่างๆ ก็ยังได้สร้างห่วงโซ่อุปทานให้จำกัดอยู่ภายในภูมิภาคเพียงเพื่อให้สามารถรองรับตลาดเอเชีย11 ในขณะเดียวกัน การกระจายตัวของห่วงโซ่อุปทานอาจไม่ได้ทำให้จีนต้องสูญเสียสิ่งใดไป - จีนนั้นกำลังขยับขึ้นบนห่วงโซ่คุณค่าและเปลี่ยนเศรษฐกิจของตนให้ไปเน้นยังภาคบริการมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันข้อได้เปรียบที่สำคัญของเอเชียคือ ต้นทุนที่แข่งขันได้, ความใกล้ชิดกับจีน และการเติบโตของภูมิภาค การที่เอเชียจะเดินหน้าสร้างข้อได้เปรียบเหล่านี้ต่อไป จึงมีความจำเป็นคำนึงถึงเรื่องสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติให้มากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาบทบาทที่สำคัญในซัพพลายเชนต่อไปในอนาคต

บทความนี้เป็นปฐมบทจากทั้งหมด 6 บทความใน Asian Expert Series ของเรา ซึ่งได้ทำการสำรวจอนาคตของเอเชียในยุคหลัง COVID

Sources:
1 United Nations. Population Database World Bank.
2 United Nations.
3 BofA Global Research.
4 China Views. Supply Chains in China. Institute of International Finance. October 2019.
5 WIOD, UNCTAD, IIF. The darker the colour, the higher the local production intensity for the indicated industry in the corresponding country.
6 Haver. Institute of International Finance. Data includes Jan – August 2019.
7 https://www.penangcatcentre.my/lam-research-to-invest-rm1bil-on-plant-expansion-in-penang/
8 https://themalaysianreserve.com/2020/04/08/british-companies-eye-regional-hub-in-malaysia/
9 Global Competitiveness Report 2019. World Economic Forum.
10 The Industrial Robot Market - 2019. Interact Analysis
11 Asia’s future is now. McKinsey Global Institute. 2019.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.