คว้าโอกาสจากการเติบโตของตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนในเอเชีย

ตลาดตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนของเอเชียเติบโตสอดคล้องไปกับกระแสโลก การออกตราสารเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 แม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะเผชิญความผันผวนก็ตาม เราคาดว่าตลาดจะยังเติบโตได้ต่อไปแม้จะมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความกังวลมากขึ้นต่อประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยกลุ่มตราสารที่กำลังขยายตัวนี้ได้นำเสนอโอกาสที่เปิดกว้างและมีความหลากหลายมากขึ้นสำหรับผู้ลงทุน

การระบาดของ Covid-19 ดึงความสนใจมุ่งไปยังประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในช่วงสองปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินไหลเข้าสู่การลงทุนที่มีความรับผิดชอบและสนับสนุนการออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (พันธบัตรและเงินปล่อยกู้) กองทุนตราสารหนี้ ESG ได้ดึงดูดกระแสเงินทุนไหลเข้าสูงกว่า 1.35 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 เพิ่มขึ้นจาก 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 ในขณะเดียวกัน การออกตราสารหนี้ยั่งยืนทั่วโลกทำสถิติใหม่ที่สูงกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว1

กระแสความสนใจนี้ดูเหมือนจะแผ่วลงในปี 2022 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้นสร้างความปั่นป่วนอย่างหนักในตลาดตราสารหนี้โลก โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ยอดการออกตราสารหนี้ยั่งยืนทั่วโลกลดลงเหลือ 645 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเกือบ 15% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2021 แม้ว่าการออกตราสารหนี้จะฟื้นตัวขึ้นได้ในไตรมาสที่สอง2

ภาพดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างดีสำหรับตลาดเกิดใหม่ (EM) และเอเชีย ดูรูปที่ 1 ตลาดเกิดใหม่และกลุ่ม frontier markets ได้มีการออกตราสารหนี้ยั่งยืนกว่า 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 เพิ่มขึ้นจาก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 และหากพิจารณาภายในกลุ่ม EM พบว่าจีนเป็นผู้ออกตราสารรายใหญ่ที่สุด โดยระดมทุนได้จำนวน 7.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 รองลงมาคือตุรกีและฟิลิปปินส์ แต่ในทางกลับกัน การออกตราสารของรัสเซียและอินเดียกลับลดลงอย่างมาก3

รูปที่ 1 : การออกตราสารหนี้ยั่งยืน (ESG) พบว่าจีนมียอดการออกตราสารที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งใน 1H22

asias-expanding-sustainable-bond-universe-presents-growing-opportunities-fig-1

เราคาดว่าตลาดตราสารหนี้ยั่งยืนของเอเชียจะเติบโตได้ต่อไปแม้อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงที่มากขึ้นของปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ และกระบวนการกำจัดคาร์บอน หรือ decarbonisation ที่อาจเกิดขึ้นในขนาดที่แตกต่างกันในระดับภูมิภาค

ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จะไม่ทำให้การเติบโตของเอเชียหยุดชะงัก

ความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งหากดูที่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่สถานการณ์ถึงจุดที่มีความตึงเครียดสูงสุดในปี 2019 ด้วยความกังวลว่าผู้ลงทุนในสหรัฐจะถูกกีดกันจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของจีน ก่อนมาถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครนซึ่งปะทุความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ให้กลายเป็นจุดสนใจอีกครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนก็จะยังย่ำแย่ลงอีกภายหลังเกิดเหตุการณ์รุกรานยูเครนของรัสเซีย

โลกไม่สามารถเพิกเฉยต่อจีนได้ในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่โลกที่คาร์บอนเหลือศูนย์ เนื่องจากจีนมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหนึ่งในสี่ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งโลก ความพยายามในการลดคาร์บอนของจีนจึงมีความสำคัญ ซึ่งแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่าก็คือการมีส่วนร่วม มากกว่าการหลีกเลี่ยง ดังนั้น เราจึงเชื่อว่ายังมีความต้องการของผู้ลงทุนสำหรับตราสารหนี้ยั่งยืนของจีนอยู่ต่อไป การออกตราสารของจีนมีแนวโน้มที่จะยังแข็งแกร่งเนื่องจากตลาดตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนนั้นยังคงเป็นแหล่งสำคัญในการจัดหาเงินทุนสำหรับจีนระหว่างการเดินสู่เป้าหมายความเป็นกลางสุทธิ (net neutrality) ข้อมูลในปี 2021 ระบุว่าการออกตราสารหนี้ยั่งยืนของจีนคิดเป็นสัดส่วน 65.2% ของการออกตราสารกลุ่มนี้ทั้งหมดในเอเชีย4

อย่างไรก็ตาม สงครามรัสเซีย - ยูเครนได้ตอกย้ำความสำคัญของความเสี่ยงด้าน ESG ในส่วนของความเป็นอิสระ โดย Eastspring ได้รวบรวมทั้งข้อมูลระหว่างประเทศและระดับประเทศในการประเมิน ESG ในส่วนนี้ และกำหนดน้ำหนักเพิ่มเติมให้กับปัจจัยด้านการกำกับดูแลเนื่องจากข้อมูลดังกล่าวส่งผลอย่างไม่เท่าเทียมกันต่อนโยบายและความพยายามด้าน ESG โดยรวมของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ในขณะที่เราให้คะแนนและจัดอันดับความเป็นอิสระตามความเสี่ยง ESG เรายังพิจารณาด้วยว่าประเทศต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายด้าน ESG ซึ่งส่งผลอย่างมีนัยสำคัญได้อย่างไร

แผนกำจัดคาร์บอนของเอเชียยังไม่เปลี่ยน

การมุ่งเน้นมากขึ้นในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานภายหลังสงครามรัสเซีย-ยูเครน น่าจะช่วยเร่งความพยายามในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทางเลือกและพลังงานที่สะอาดกว่า อย่างไรก็ตาม สงครามก็อาจทำให้เส้นทางสู่ net zero ของยุโรปไม่เป็นไปตามแผนในระยะเวลาอันใกล้นี้ ขณะที่แผนการกำจัดคาร์บอนของเอเชียจะยังคงไม่ถูกกระทบ

แผนการมุ่งสู่ net-zero ของยุโรปได้รวมถึงการเปลี่ยนจากพลังงานถ่านหินมาเป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ขาดแคลนซัพพลายได้เพิ่มราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปขึ้นถึงเกือบ 600% ในช่วงปลายปี 2021 และสถานการณ์ก็ยิ่งทวีความรุนแรงเมื่อเกิดภาวะซัพพลายหยุดชะงักจากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนในปี 2022

ด้วยเหตุนี้ การหยุดเดินเครื่องตามแผนสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินในยุโรปจึงทำได้ช้าลง มีรายงานว่าไอร์แลนด์และโปแลนด์ได้เพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้น ส่วนสหราชอาณาจักรกลับมาเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงเก่า ขณะรัฐบาลอาจชะลอการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เหลืออยู่ สำหรับฝั่งเยอรมนี รัฐบาลได้ผ่านกฎหมายฉุกเฉินในการเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เคยปิดตัวลงให้กลับมาผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง

เอเชียพึ่งพารัสเซียน้อยลงในการเป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้น ภาวะหยุดชะงักด้านซัพพลายจึงคาดว่าจะมีผลกระทบอย่างจำกัดต่อความพยายามในการมุ่งสู่ net zero ของเอเชีย และที่สำคัญ หลายประเทศในเอเชียก็ได้ยืนยันท่าทีที่มุ่งมั่นอีกครั้งในการเดินสู่เป้าหมาย net zero ในที่ประชุม COP26 ขณะที่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศหรือที่เรียกว่า National Determined Contribution (NDCs) ก็น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นก่อนการประชุม COP27 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2022

จากการคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อเอเชียรุนแรงที่สุด5 ได้นำมาสู่การรับรู้ถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นจากการมีกลยุทธ์การเติบโตที่ยั่งยืนและต้นทุนที่เกิดจากการไม่คำนึงถึงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การระดมทุนขนาดใหญ่เป็นวิธีที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีความจำเป็นเพื่อมาใช้ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการจัดหาเงินทุนส่วนใหญ่นั้นก็จะมาจากตลาดตราสารหนี้ในรูปแบบของตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หากดูทั่วเอเชีย เราได้เห็นรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายได้ร่วมกันผลักดันและกระตุ้นการเติบโตของตลาดที่เป็นแหล่งเงินทุนแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอาณาเขตของตน ความพยายามเหล่านี้เกิดผลลัพธ์อย่างชัดเจนเมื่อดูจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของการออกตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืน หรือ Green, Social and Sustainability (GSS) bonds ในเอเชียในช่วงสองปีที่ผ่านมาท่ามกลางอุปสรรคในภาพกว้าง (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น ความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่ตกต่ำ และสภาพคล่องทางการเงินที่ตึงตัว)

ไขว่คว้าโอกาสที่เกิดขึ้น

เรามองหาโอกาสในการเพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ GSS เข้าสู่พอร์ตการลงทุนของเราในขณะที่กลุ่มสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ยังคงแผ่ขยายออกไป ซึ่งหากเทียบกับสองปีที่แล้ว เราได้เห็นการออกตราสารหนี้ GSS จากเซ็กเตอร์และประเทศที่มีความหลากหลายมากขึ้น เมื่อผู้ออกตราสารได้ล่วงรู้ถึงเป้าหมายเฉพาะที่สามารถใช้เงินจากการระดมทุนตามกลุ่มประเภทที่ถูกจัดแบ่งและแตกหมวดหมู่ออกไป

ในเอเชีย มีตลาดที่ประกอบด้วยผู้ออกตราสารหนี้ GSS คุณภาพสูง (อันดับ A ขึ้นไป) จากญี่ปุ่น เกาหลี และบางส่วนจากประเทศจีน แม้ว่าความเสี่ยงแวดล้อมจะดูแย่ลงในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาท่ามกลางสภาพคล่องที่ตึงตัว แต่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารเหล่านี้กลับไม่ได้กว้างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตราสารมีสถานะในการเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยปกป้องพอร์ตเพิ่มมากขึ้น

ภาคการเงินจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางนำเงินทุนไปสู่กิจกรรมที่ยั่งยืน ดูรูปที่ 2 ธนาคารหลายแห่งที่ดำเนินงานในเอเชียได้จัดทำกรอบและกลยุทธ์ด้านการเงินแบบยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้คำมั่นและเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับกิจกรรมยั่งยืน การออกตราสารหนี้ที่ถูกระบุชัดว่าเป็น GSS bonds จะช่วยสนับสนุนความพยายามดังกล่าว และเราคาดว่าจะได้เห็นผู้ออกตราสารในภาคการเงินมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก จึงมีบทบาทสำคัญจากกลุ่มอุตสาหกรรมนี้และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน เราได้เห็น REITs และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ทำการออกตราสารหนี้โดยนำเงินที่ได้ไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อาคารต่างๆ สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปที่ 2 : กิจการด้านสาธารณูปโภคและการเงิน มีสัดส่วนในการออกตราสารยั่งยืนโดยรวมสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013

asias-expanding-sustainable-bond-universe-presents-growing-opportunities-fig-2

ผู้กำหนดนโยบายในเอเชียยังคงพัฒนา ecosystem ของตลาดตราสารหนี้ยั่งยืนภายในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง การวิจัยชี้ให้เห็นว่าข้อกำหนดด้านการเปิดเผยข้อมูลที่เข้มข้นขึ้น การเริ่มใช้ระบบการรับรองจากภายนอก และการขยายหมวดหมู่ของเป้าหมายในการระดมทุน สามารถช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลและลดต้นทุนด้านเงินทุนสำหรับผู้ออกตราสารยั่งยืนที่มีความน่าเชื่อถือ6 ในเวลาเดียวกัน ผลการศึกษาก็ได้แสดงให้เห็นว่ามีบ่อยครั้งที่ผู้ออกตราสารหนี้จ่ายอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่า เนื่องจากความโปร่งใสของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนั้นถูกตอบรับโดยผู้ลงทุนที่มีศักยภาพ สิ่งนี้น่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการออกตราสารรอบใหม่และทำให้ตลาดพัฒนาในมิติที่มีความลึกมากขึ้น7 ซึ่งนำมาสู่โอกาสที่มีมากขึ้นและการกระจายความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ลงทุน

Sources:
1 Sustainable Debt Monitor. Institute of International Finance. January 2022.
2 Sustainable Debt Monitor. Institute of International Finance. January 2022.
3 Sustainable Debt Monitor. Institute of International Finance. July 2022.
4 Sustainable Debt Monitor. Institute of International Finance. July 2022.
5 ASEAN + China, Hong Kong, Japan and South Korea. Asia Bond Monitor. March 2022.
6 Asia Bond Monitor. March 2022.
7 Asia Bond Monitor. March 2022.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.