โอกาสที่น่าไขว่คว้าจากอสังหาริมทรัพย์ที่มูลค่าต่ำเกินควร

หากพูดว่ามาถึงภาวะล่มสลายที่กำลังคืบคลานเข้ามาของภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในเอเชียนั้น นับว่าเป็นบทสรุปที่เกินจริงไปอย่างมาก เพราะบรรดาห้างสรรพสินค้ายังคงเป็นที่ต้องการ และปรับตัวตอบโจทย์กำลังซื้อจากของกลุ่มลูกค้าในประเทศได้เป็นอย่างดี

แต่ก็มีประเด็นที่ต้องเฝ้าจับตาเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับต่อกลุ่มอาคารสำนักงานให้เช่าในระยะยาว ที่การระบาดของ Covid-19 จะเป็นแรงกระเพื่อมให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการทำงานจากที่บ้าน (work from home) อาจจะสร้างความเคยชิน จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

ในขณะเดียวกัน จากการประเมินมูลค่าตลาดในปัจจุบันได้สร้างโอกาสสำหรับผู้ลงทุนในการเข้าถือครองสินทรัพย์ที่มีคุณภาพในราคาที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบหลายปี

การระบาดใหญ่ของ Covid-19 ทำให้เกิดการคาดการณ์ไปทั้งกลุ่มธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงานให้เช่ากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ด้วยมุมมองที่ว่าธุรกิจห้างสรรพสินค้าตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากกระแสอีคอมเมิร์ซที่แรงขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว และจะไม่สามารถอยู่รอดต่อไปด้วยหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็น

  • ข้อจำกัดเรื่องการเดินทางของผู้คน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19
  • มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมหรือ social distancing

ขณะในส่วนของกลุ่มอาคารสำนักงาน ได้เผชิญกับการรูปแบบที่เปลี่ยนไป การทำงานจากที่บ้าน หรือ work from home (WFH) กำลังกลายเป็นเรื่องปกติ และการตอบรับที่ดีของบรรดาลูกจ้างสำหรับการทำงานในรูปแบบนี้ ทำให้คาดว่าปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะเป็นแรงฉุดอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดเดาโดยไม่มีข้อมูลรองรับ ยกตัวอย่างจากปริมาณธุรกรรมที่ลดลงอย่างมาก ลดลงถึง 32% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ Jones Lang LaSalle (JLL)1

JLL ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มอาคารสำนักงาน กลุ่มค้าปลีก และโรงแรม ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ขณะที่กลุ่มโลจิสติกส์ยังคงมีความแข็งแกร่งมากที่สุด บริษัทวิจัยรายนี้ยังเก็บข้อมูลผลกระทบด้านมูลค่าที่ลดลงอย่างมากจากธุรกรรมล่าสุดภายในกลุ่มอาคารสำนักงาน จากตัวเลขส่วนลดราคาขาย 20–30% ในฮ่องกง และประมาณ 19% ในจีนในช่วงปี 2018–2019 ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1 : ปริมาณธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิก แยกตามประเทศและประเภทอสังหาริมทรัพย์

undervalues-real-estate-fig-1

แม้ว่าเอเชียจะรับมือกับภาวะการระบาดใหญ่ได้ดี แต่ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ในระดับสูงจนกดดันให้ผู้ลงทุนจำนวนมากหันเข้าสู่โหมด “wait and see” หรือการรอดูสถานการณ์ไปก่อน ด้วยเหตุนี้ ค่าเช่า มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ และอัตราการดูดซับของตลาดอาคารสำนักงานให้เช่าสุทธิ (net absorption) กลับปรับตัวลดลงในขณะที่มีพื้นที่ว่างเหลือเพิ่มขึ้น2 ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2 : ดัชนีค่าเช่าและมูลค่าในตลาดอสังหาริมทรัพย์กลุ่มค้าปลีกของเอเชียแปซิฟิก

undervalues-real-estate-fig-2

ภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในเอเชียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ Covid-19 อย่างไม่ต้องสงสัย และในความเป็นจริงราคาหุ้นในอุตสาหกรรมนี้ก็ทำผลงานย่ำแย่ที่สุดเมื่อเทียบกับจุดสูงสุดในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2020 ตามข้อมูลของ Goldman Sachs3

อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนดูเหมือนว่าจะประเมินราคาให้กับความถดถอยในระยะสั้น-กลาง เสมือนกับเป็นการชะลอตัวในระยะยาว

เราเชื่อว่าตลาดตอบสนองมากเกินไป และมีการตีมูลค่าให้อยู่ในระดับที่ต่ำเกินความเหมาะสมสำหรับการมองไปในระยะยาวในอสังหาริมทรัพย์บางกลุ่ม เช่น ห้างสรรพสินค้าซึ่งมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และตลาดอาคารสำนักงานที่มีสัญญาณของความแข็งแกร่งในระยะยาวแม้ว่าจะเผชิญกับกระแส WFH ก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการสนับสนุนของรัฐบาลอย่างเช่น การยกเว้นภาษีและค่าเช่ายังได้ช่วยบรรเทาผลกระทบในระยะสั้น แต่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นอยู่ในราคาปัจจุบัน

ห้างสรรพสินค้าที่ปรับตัวสำเร็จจะสามารถฝ่าวิกฤตไปได้

แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายข้อจำกัดมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศส่วนใหญ่ของเอเชีย แต่การเดินทางข้ามพรมแดนยังถูกควบคุมอย่างเข้มงวด มาตรการนี้เท่ากับเป็นการสกัดนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งเปรียบได้กับเส้นเลือดใหญ่ของห้างสรรพสินค้าหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะในฮ่องกง นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจดังกล่าวยังเผชิญกับอุปสรรคที่สำคัญกว่าเมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นๆ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ และส่วนใหญ่ก็มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นก่อนเกิดการแพร่ระบาด เช่นการแข่งขันจากอีคอมเมิร์ซและต้นทุนค่าเช่าที่สูง

อย่างไรก็ตาม การเหมารวมภาวะถดถอยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นของภาคอสังหาริมทรัพย์กลุ่มค้าปลีก ไม่ว่าจะเลวร้ายเพียงใด ถือว่าเป็นความผิดพลาดหากเทียบกับโอกาสในระยะยาว นอกจากนี้ เซ็กเตอร์ย่อยในกลุ่มค้าปลีกไม่ได้เน้นตลาดที่เหมือนกัน ห้างสรรพสินค้าที่สามารถเปลี่ยนจุดขายและพยายามดึงดูดลูกค้าในพื้นที่ และมอบประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากการช้อปปิ้งออนไลน์ มีโอกาสสูงที่จะฟันฝ่าวิกฤตไปได้สำเร็จ

เราเชื่อว่ามีสองกลุ่มย่อยที่น่าจะเห็นการเติบโตของค่าเช่าที่สูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ4 นั่นคือ

  • ห้างสรรพสินค้าชานเมืองที่เน้นสินค้าในชีวิตประจำวัน
  • ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมืองที่มีการจัดการที่ดี เพียบพร้อมด้วยร้านค้า ร้านอาหาร และกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนทำเลที่ตั้งอยู่บนจุดเชื่อมต่อระบบการขนส่งที่ดี

ตัวอย่างของกลุ่มย่อยประเภทแรกนั้นได้แก่ Hysan Place ของฮ่องกงและห้างสรรพสินค้าที่เป็นของ LINK REIT ซึ่งเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในเอเชีย อสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในพื้นที่เป็นหลัก โดยเลือกผสมสัดส่วนประเภทผู้เช่าที่ขายสินค้าหรือบริการที่จำเป็น ไม่หวือหวา หรือที่เรียกว่ามีลักษณะ "defensive” ยกตัวอย่างซุปเปอร์มาร์เก็ตและบริการต่างๆ เช่น ทันตแพทย์ ร้านทำผม และศูนย์กวดวิชา

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของกลุ่มย่อยอสังหาริมทรัพย์ประเภทหลังก็คือห้างสรรพสินค้า Funan ในสิงคโปร์ ซึ่งได้ผสมผสานการค้าปลีกเข้ากับประสบการณ์ เช่น การมีช่องทางปั่นจักรยานในร่ม ที่ปีนหน้าผาจำลอง สนามฟุตซอล โรงภาพยนตร์ที่ให้ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality | VR) และ “เมืองแห่งสวน” (garden city) ที่กินได้ และอื่นๆ5 ห้างสรรพสินค้ายังถูกเรียกว่าเป็น “phygital mall” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างกายภาพ (physical) และดิจิทัล (digital) ด้วยเทคโนโลยีที่ผสมผสานเข้ากับการออกแบบ

ตัวอย่างเช่นผู้มาใช้ศูนย์อาหารสามารถสั่งออเดอร์ผ่าน Facebook Messenger ในขณะที่หน้าจออัจฉริยะ (interactive billboards) ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูรายการสินค้าต่างๆ และเพิ่มรายการลงใน wish list6 หรือสิ่งที่ต้องการซื้อของตัวเองได้

โมเดลธุรกิจใหม่เพื่อรองรับความแข็งแกร่งในระยะยาวของร้านค้าปลีก

โมเดลธุรกิจใหม่ๆ กำลังเกิดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าห้างสรรพสินค้าจะยังคงอยู่ในตลาดต่อไป ในลักษณะที่เข้ามาเสริม มากกว่าที่จะเข้ามาแข่งขันกับอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างเช่นยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba และ JD กำลังขยายไปสู่รูปแบบ "การส่งมอบสินค้าในทุกช่องทาง" (omnichannel delivery) ซึ่งทั้งคู่กำลังเปิดร้านค้าที่มีหน้าร้านเพื่อเสริมแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ของตน7

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ Fillogic ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ห้างสรรพสินค้าสามารถเปลี่ยนพื้นที่ค้าปลีกที่ไม่ได้ก่อให้เกิดยอดขายให้กลายเป็นศูนย์สนับสนุนธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อน ในปัจจุบันมีผู้ค้าปลีกในสัดส่วน 60% ในห้างสรรพสินค้าได้ดำเนินการตามคำสั่งซื้อที่มาจากอีคอมเมิร์ซแล้ว แต่ดำเนินการในลักษณะคล้ายกับโรงงาน ซึ่งแพลตฟอร์มอย่าง Fillogic จะช่วยให้ร้านค้าทำงานได้เป็น ecosystem อย่างมีบูรณาการ เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ในด้านต่างๆ ของห้างสรรพสินค้าอย่างสูงสุด,sup>8 แม้ว่าโมเดลนี้จะเพิ่งเปิดตัวไปในสหรัฐไม่นาน แต่เราเชื่อว่าจะเป็นรูปแบบของธุรกิจที่มีแนวโน้มเข้าสู่เอเชียในอีกไม่ช้า

สุดท้ายนี้ เป็นเรื่องที่คุ้มค่าถ้าจะพิจารณาถึงบทบาทของห้างสรรพสินค้าในเอเชีย ห้างจะไม่เป็นเพียงแหล่งหาซื้อสินค้าในแบบเดียวกับที่สามารถค้นหาได้ทั่วไปบนโลกออนไลน์ แต่ยังมีประโยชน์ทางสังคมที่สำคัญด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องนึกถึงบ้านที่มีขนาดเล็กและอยู่กันอย่างแออัดซึ่งมักเห็นได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้

ไม่ว่าผู้ที่ชื่นชอบ WFH จะพูดอย่างไร …แต่สำนักงานก็ยังคงอยู่

แม้จะมีเหตุที่ต้องสะดุดไปบ้าง แต่บริษัทส่วนใหญ่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม WFH ได้ สิ่งนี้ทำให้หลายคนเชื่อว่าการทำงานจากระยะไกลนั้นจะดีกว่าเสมอเมื่อเทียบกับการนั่งอยู่ที่สำนักงานและคิดว่าจะยังคงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นต่อไปแม้จะสิ้นสุดภาวะการระบาดไปแล้ว

แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะพอใจกับการปฏิวัติรูปแบบเช่นนี้ การสื่อสารเชื่อมต่อผ่านระบบโทรคมนาคมตลอดเวลา ทำให้วันทำงานยืดขยายยาวออกไป มีนัดประชุมเข้ามาเพิ่มเติม มีอีเมลมากขึ้น และเส้นแบ่งที่จางลงที่แยกระหว่างเรื่องงานกับเวลาส่วนตัว9 นอกจากนี้ ในเอเชียยังพบข้อจำกัดด้านพื้นที่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วซึ่งมีส่วนสำคัญเช่นกัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวขยาย) ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งรบกวนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ข้อดีบางประการของการมีสำนักงานก็ไม่สามารถถูกทดแทนได้ อย่างเช่นความสามารถในการทำงานร่วมกันในแบบแทบจะทันที ดังที่ Knight Frank ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง แต่จะไม่มีวันแทนที่พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ได้”10

เรื่องนี้อาจทำให้คิดว่าวัฒนธรรมสำนักงานจะเปลี่ยนกลับมาเป็นแบบเดิมเหมือนก่อนที่จะมีการแพร่ระบาด แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานมีแนวโน้มที่จะลดความหนาแน่นลงเนื่องจากมาตรการกีดกันทางสังคมที่เข้มงวดขึ้น (ไม่มีวัคซีนระดับโลกใดๆ ที่สามารถฉีดให้กับประชากรได้อย่างทั่วถึง)

โมเดลแบบไฮบริดที่พนักงานสามารถเลือกได้ว่าต้องการทำงานจากที่ใดๆ และมีสำนักงานเพื่อทำหน้าที่เป็น "ศูนย์กลางเพื่อทำงานร่วมกัน" อาจเป็นที่นิยมมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทต่างๆ อาจพิจารณาทำเลที่ตั้งสำนักงานที่เหมาะสม อยู่ใกล้กับโซนที่อยู่อาศัยมากกว่าจะเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมือง เพื่อเป็นศูนย์กลางและการประชุมของทีมงาน

บริษัทเทคโนโลยีเป็นแรงผลักดันความต้องการพื้นที่สำนักงาน (อย่างคาดไม่ถึง)

เมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยน นายจ้างผลักดันให้ทำงานจากที่บ้าน บรรดาบริษัทเทคโนโลยีสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งดูเหมือนจะทำให้คิดไปได้ว่าบริษัทเหล่านี้จะเป็นบริษัทที่พร้อมสร้างปรากฏการณ์ WFH ไปอย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจจากข้อมูลชี้ให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้กลับเป็นบริษัทที่เข้ามาช่วยกระตุ้นความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในปัจจุบัน

ในรายงานประจำไตรมาส 2 ปี 2020 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก11 ซึ่งจัดทำโดย CBRE ระบุว่าดีมานด์ด้านเทคโนโลยียังคงแข็งแกร่ง มุมมองดังกล่าวยังสะท้อนมาจากฝั่ง JLL12 ซึ่งให้ข้อมูลว่าข้อตกลงการเช่าที่ใหญ่ที่สุดที่เซ็นสัญญาในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เป็นดีลของ Bytedance ขณะที่ Alibaba ก็เข้าไปถือหุ้นในสัดส่วน 50% ของ AXA Tower ในสิงคโปร์ด้วยราคา 840 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤษภาคม13

การที่บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีสามารถทำผลงานได้เหนือกว่าบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในช่วงที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่จะหมายความว่าบริษัทเหล่านี้มีความสามารถทางการเงินในการบรรลุข้อตกลงดังที่กล่าวมา

แต่ด้วยนโยบายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องของบริษัทเทคโนโลยีในเรื่องที่ตั้งสำนักงานนั้นเป็นการบ่งชี้ว่าสำนักงานจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงานของเราเสมอ ดังที่อดีตหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ Google ได้กล่าวกับ Wall Street Journal เพียงประโยคสั้นๆ เกี่ยวกับ WFH แบบถาวรว่า “สิ่งนี้จะไม่ยั่งยืน”14 อย่างไรก็ตาม ความจริงข้อนี้กลับไม่ได้สะท้อนอยู่ในมูลค่าตลาดในปัจจุบัน

การประเมินมูลค่าตลาดในปัจจุบันแตกต่างไปจากภาพจริงในระยะยาว

ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในตลาดได้สร้างโอกาสให้แก่ผู้ลงทุนที่รู้เท่าทัน - นั่นคือบทเรียนที่ได้รับจากวิกฤตการเงินโลกปี 2008 ซึ่งเหมือนกับที่ได้กล่าวมาแล้ว เราเชื่อว่าตลาดประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ภาคการค้าปลีกและสำนักงานในด้านลบมากเกินไป

แม้ว่าเราจะมุ่งเน้นให้น้ำหนักกับมุมมองในระยะยาวสำหรับกลุ่มห้างสรรพสินค้าและสำนักงานให้เช่า แต่เราเชื่อว่ามีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านบวกในระยะสั้นจนถึงระยะกลาง เนื่องจากผู้ลงทุนกลับเข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในเอเชียอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น JLL รายงานว่ามี "กระสุนหรือดินปืนพร้อมใช้” (dry powder) ซึ่งใช้เปรียบเปรยกับเงินทุนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐที่รอนำไปใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก15 ความไม่แน่นอนที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องทำให้กระแสเงินทุนเหล่านี้หยุดชะงักชั่วคราว แต่เมื่อเงินทุนค่อยๆ ไหลเข้ามาในเอเชียเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงราคาในระยะสั้น

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักก็คือแม้จะมีแรงกดดันในเรื่องค่าเช่าและมูลค่า แต่อสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจ ในบางกรณีพบว่าแรงกดดันต่อค่าเช่าไม่รุนแรงมากเท่ากับการหดตัวของผลประกอบการ และในขณะที่สภาพแวดล้อมของการให้ผลตอบแทนแบบ “ต่ำลงต่อไปเรื่อยๆ” เป็นระยะเวลายาวนานขึ้น แต่อัตราผลตอบแทนของอสังหาริมทรัพย์ก็ยังคงน่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น UBS16 ประเมินผลตอบแทนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์และ REITs ในฮ่องกงและสิงคโปร์ว่าจะต่ำกว่า 5% และคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 5.5% และสูงกว่าในช่วงหลายปีที่กำลังจะมาถึง

นอกเหนือจากอัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูดแล้ว ยังเห็นได้ถึงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดที่มีความสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมากประกอบกับสภาพคล่องของธนาคารกลางที่ล้นระบบ ก็น่าจะเป็นสิ่งสนับสนุนราคาสินทรัพย์ต่อไปจนเข้าสู่ปี 2021

ในขณะที่ตลาดประเมินมูลค่ากลุ่มค้าปลีกและสำนักงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ในเอเชียได้สร้างโอกาสในการเข้าซื้อ แต่ยังจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง นั่นเพราะจะไม่มีความสอดคล้องกันในเรื่องผลงานและการฟื้นตัว แม้จะจำกัดอยู่ภายใน sector และเพียงบางประเทศก็ตาม ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นว่าต้องมีการวิเคราะห์ที่ละเอียดรอบคอบเพื่อค้นหาโอกาสเหล่านี้

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.