เหตุผลที่ Covid ทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยงที่หลากหลายเพิ่มขึ้น

Joanna Ong ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนของ Eastspring ประจำสำนักงานสิงคโปร์ได้ให้เหตุผลว่าทำไมการกระจายความเสี่ยง จึงยังเป็นประโยชน์เพียงอย่างเดียวที่แถมมากับการลงทุน และอธิบายว่า ทำไม coronavirus ถึงส่งผลต่อวิธีคิดของผู้ลงทุนเกี่ยวกับสภาพคล่อง สินทรัพย์ปลอดภัย และการสร้างรายได้

คำถาม: การกระจายความเสี่ยงถูกมองว่าเป็นประโยชน์เพียงอย่างเดียวที่แถมมากับการลงทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดฯตกอยู่ภายใต้สภาวะความตึงเครียด การกระจายความเสี่ยงจึงดูเหมือนว่าไม่ได้ให้ผลลัพธ์ดังเช่นสิ่งที่ควรเป็น คุณมองเรื่องนี้อย่างไร?

สิ่งที่เกิดขึ้นแตกต่างออกไปนี้มีความเชื่อมโยงกับเรื่องของเวลา ภาวะเคลื่อนไหวของตลาดและประเภทสินทรัพย์อาจมุ่งไปในทิศทางเดียวกันได้ในระยะสั้นโดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดฯอยู่ในสภาวะความตึงเครียดสูง เราได้เห็นสิ่งนี้ในระหว่างที่ตลาดฯปรับฐานเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการสภาพคล่องเพิ่มขึ้นและความกลัวของผู้ลงทุนที่มากขึ้น จนส่งผลให้เกิดแรงเทขายในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในระยะกลางและระยะยาว ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทสินทรัพย์ต่างๆ ควรกลับมาสู่ภาวะเป็นปกติอีกครั้ง ซึ่งจะสะท้อนถึงประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่นเรายังคงสังเกตเห็นความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐกับหุ้นของสหรัฐด้วยค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1 และ 3 ปี ที่ -0.49 และ -0.39 ตามลำดับ 1

ที่ผ่านมาในอดีต ข้อดีจากการกระจายความเสี่ยงสามารถเห็นได้จากอัตราผลตอบแทนที่ปรับค่าความเสี่ยง (risk adjusted returns) จากพอร์ตการลงทุนพันธบัตรและหุ้น มีแนวโน้มที่สูงกว่าพอร์ตการลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ดูรูปที่ 1 ผลตอบแทนมักจะดีขึ้นเมื่อระยะเวลาการลงทุนขยายออกไป ดังนั้นในขณะที่ผู้ลงทุนมักให้ความสำคัญกับการกระจายสินทรัพย์ พวกเขายังจำเป็นต้องมีขอบเขตระยะเวลาให้เป็นการลงทุนในระยะกลางเป็นอย่างน้อยเพื่อจะได้รับอานิสงส์จากการกระจายความเสี่ยงมาแบบฟรีๆ ! นอกจากนี้ คุณยังสามารถเห็นได้ว่าพอร์ตการลงทุนที่กระจายไปในสินทรัพย์ที่หลากหลายมีเส้นทางที่ราบรื่นกว่าในระยะยาว เมื่อเปรียบเทียบกับพอร์ตการลงทุนที่มีแต่หุ้นเพียงอย่างเดียว ดูรูปที่ 2

รูปที่ 1: อัตราผลตอบแทนที่ปรับค่าความเสี่ยง เปรียบเทียบระหว่างพอร์ตการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงและแบบลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว

why-covid-calls-for-more-diversification-not-less-chart-01

รูปที่ 2: การเติบโตของเงินทุนมูลค่า 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลา 20 ปี

why-covid-calls-for-more-diversification-not-less-chart-02

คำถาม : เหตุการณ์สภาพคล่องที่หดหายในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้ ทำให้การพิจารณาเรื่องสภาพคล่องในขั้นตอนการสร้างพอร์ตการลงทุนมีความสำคัญมากขึ้นหรือไม่? สิ่งนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจในการจัดสรรสินทรัพย์ของคุณอย่างไร?

ใช่ค่ะ จากประสบการณ์ในเดือนมีนาคมซึ่งพบว่าแม้กระทั่งการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ลงทุนจึงได้คิดอย่างจริงจังว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถขายสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนเพื่อสร้างสภาพคล่องได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีเหตุจำเป็น

เราใช้เครื่องมือประเภทดัชนี เช่น Exchange Traded Funds (ETF) และดัชนีฟิวเจอร์สในพอร์ตการลงทุนของเราที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือด้านสภาพคล่องที่ดี จะเห็นได้ว่าเมื่อสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ลดลงในเดือนมีนาคม ปริมาณการซื้อขายของ ETF ก็พุ่งสูงขึ้น ข้อมูลของ Blackrock ระบุว่านับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ปริมาณการซื้อขายของ iShares iBoxx $ High Yield Corporate Bond ETF (HYG) สูงกว่าปริมาณการซื้อขายรวมกันของพันธบัตรที่ถือครองสูงสุดใน 5 อันดับแรกถึง 25 เท่า ดังนั้นผู้จัดการกองทุนที่ใช้ ETF เป็นเครื่องมือดูแลสภาพคล่องจะสามารถตอบสนองความต้องการในการไถ่ถอนของลูกค้าได้โดยไม่กระทบต่อสถานะการถือครองพันธบัตรหลักของตนแต่อย่างใด

คำถาม: เราจำเป็นต้องมองสินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิมให้แตกต่างออกไปในโลกหลังยุค covid หรือไม่? ผู้ลงทุนจะสามารถลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้อย่างไร?

มีการตั้งคำถามมากขึ้นถึงประสิทธิภาพของการใช้พันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกเพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน เนื่องจากค่าความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างพันธบัตรและหุ้นภายหลังวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ซึ่งการผ่อนคลายเชิงปริมาณส่งผลดีต่อสินทรัพย์ทั้งสองประเภท แต่ในขณะเดียวกัน การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 200 ปีนั้น จึงทำให้ความน่าสนใจในการใช้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตก็ลดลงด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ทั้งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี และทองคำให้อัตราผลตอบแทนที่แข็งแกร่งอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 จากการที่เพิ่มขึ้นมา 9% และ 17% ตามลำดับ แม้ว่าจะขาดทุนในเดือนมีนาคมจากผลของ coronavirus และการปรับฐานลงอย่างรวดเร็วของตลาดที่สร้างแรงขายหว่านไปทั่วแบบไม่เลือกสินทรัพย์

ในช่วงเวลาปกตินั้น เราเชื่อว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะสามารถช่วยปกป้องการลดลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าหรืออยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งที่ผ่านมาการที่ทั้งพันธบัตรและหุ้นจะปรับตัวลงพร้อมกันเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก โดยมีเพียงสามครั้งเท่านั้นนับตั้งแต่ปี 1926 ที่พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐ และตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐที่อยู่ในอันดับ Investment Grade และ S&P 500 จะให้อัตราผลตอบแทนที่ติดลบในปีเดียวกัน นั่นคือปี 1931, 1969 และ 2018 ดูรูปที่ 3

รูปที่ 3: อัตราผลตอบแทนต่อปีของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐที่อยู่ในอันดับ Investment Grade และ S&P 500

why-covid-calls-for-more-diversification-not-less-chart-03

ในขณะเดียวกัน แม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะทรงตัวเกือบตลอดทั้งปี 2000 แต่อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงกลับลดลงตามการคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ดูรูปที่ 4 ด้วยเหตุนี้การถือครองทองคำที่ขาดทุนอยู่จึงไม่ใช่อุปสรรคต่อผู้ลงทุนอีกต่อไป และช่วยเสริมสถานะของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

รูปที่ 4 : เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี และทองคำ

why-covid-calls-for-more-diversification-not-less-chart-04

แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและทองคำจะมีบทบาทที่แตกต่างกันในการใช้ป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน แต่เราเชื่อว่าวิธีการกระจายความเสี่ยงด้วยการผสมหลายสินทรัพย์ (diversified multi-asset approach) พร้อมด้วยกลยุทธ์ที่ครอบคลุมแบบมีชั้นเชิงจะสามารถช่วยลดความผันผวนระยะกลางของพอร์ตการลงทุนต่อไปได้อีกนาน

คำถาม: การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีอยู่ที่ 0.7%2 และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำในหลายๆ ประเทศ คุณจะค้นหาแหล่งสร้างรายได้ที่น่าสนใจได้จากที่ไหน?

เราชอบพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงของสหรัฐ (US High Yield bonds) ซึ่งในปัจจุบันให้อัตราผลตอบแทนสูงเกินกว่า 6% เรียกว่า สูงเกินกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอยู่มากพอควร โดยในเดือนมีนาคม 2020 ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศว่าจะดำเนินมาตรการขยายงบดุลอย่างไม่มีกำหนดเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐที่อยู่ในอันดับ Investment Grade และพันธบัตรผลตอบแทนสูงของสหรัฐ ดังนั้น US High Yield bonds นี้จึงน่าจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนด้านสภาพคล่องของเฟดและเป็นแหล่งสร้างกระแสรายได้ที่ดีด้วย หากสังเกตถึงความมุ่งมั่นของเฟดเมื่อเร็วๆ นี้สำหรับความอดทนในการรับมืออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเปลี่ยนไปใช้นโยบายเป้าหมายค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ (average inflation targeting) ซึ่งเปรียบเสมือนกับการตั้งกำแพงให้สูงขึ้นเพื่อให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตเป็นเรื่องที่ยากขึ้น สิ่งนี้จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อตลาดพันธบัตร ในขณะเดียวกัน ปัจจัยสนับสนุนด้านพื้นฐานในสหรัฐก็ดูเหมือนจะดีขึ้นแม้ว่าอัตราการฟื้นตัวอาจแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ โดยในช่วงที่จัดทำบทความนี้ มีเครื่องชี้ประเภท high frequency บางตัว เช่น แนวโน้มการเดินทางของผู้คน (การขับขี่) ได้เพิ่มขึ้นมาสูงกว่าระดับในช่วงก่อนเกิดวิกฤต covid ในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจก็ออกมาสูงเกินความคาดหมายด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ภาวะการติดเชื้อรายใหม่ระลอกสองยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่การที่เฟดยังคงดำเนินมาตรการสนับสนุนตลาดพันธบัตรของสหรัฐในระยะยาวได้สร้างความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปต่อผู้ลงทุน บริษัทที่มีคุณภาพต่ำอาจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ซึ่งเหตุการณ์นี้จะสร้างอุปสรรคต่อกระบวนการการทำลายอย่างสร้างสรรค์ (creative destruction) ที่ช่วยพลิกโฉมเศรษฐกิจและตลาดทุน ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องมีแนวทางในเชิงรุกและรอบคอบมากขึ้นเมื่อเข้าลงทุนในตลาดพันธบัตรผลตอบแทนสูงของสหรัฐในอนาคต

นอกจากพันธบัตรผลตอบแทนสูงของสหรัฐแล้ว เรายังพบว่าเงินปันผลเป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้ที่น่าสนใจ โดยในขณะนี้หุ้นเอเชียได้นำเสนออัตราผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ยอยู่ที่ 5%3หุ้นปันผลปรับฐานลงมาในปีนี้เนื่องจากบรรดาบริษัทต่างๆ มีการปรับลดการจ่ายเงินปันผลเพื่อรักษาระดับเงินทุนท่ามกลางสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่ท้าทาย อย่างไรก็ตาม บริษัทเหล่านี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดส่วนต่างราคาหุ้นเมื่อความกังวลต่อ covid จางหายไป การรีเซ็ตแนวทางจ่ายเงินปันผลแบบใหม่อาจส่งผลให้รายได้ในส่วนนี้มีความยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต

ทีม equity income ของเราดำเนินการอย่างต่อเนื่องที่จะจำแนกความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ระงับการจ่ายปันผลเพียงชั่วคราว และบริษัทที่ไม่น่าจะสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลได้เท่ากับระดับก่อนเกิดวิกฤต covid การระบาดครั้งใหญ่นี้ยังทำให้เราต้องหันกลับมาคิดทบทวนใหม่เกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านรายได้ อัตราดอกเบี้ยต่ำและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นทำให้ทีมงานต้องปรับเปลี่ยนออกจากหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงในแบบที่เคยเห็น อย่างเช่น ธนาคารของออสเตรเลียและจีน ไปสู่หุ้นที่มุ่งเน้นผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังพบว่าผลตอบแทนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากมูลค่าหุ้นที่ถูกลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะเช่นนี้ทำให้มีทั้งผู้ชนะและผู้แพ้อันเป็นผลพวงจากการระบาดครั้งใหญ่ ดังนั้น กระบวนการคัดเลือกหุ้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

คำถาม: ผลกระทบของ coronavirus ที่มีต่อตลาดและเศรษฐกิจได้เปลี่ยนวิธีการตัดสินใจในการจัดสรรสินทรัพย์ของคุณหรือไม่?

ผลกระทบของ coronavirus ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก ตลอดจนความรวดเร็วและความรุนแรงของการเทขายในตลาดนั้นมีความแตกต่างกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังแต่ละวิกฤตที่แตกต่างกัน แต่พฤติกรรมของวัฏจักรมักจะสอดคล้องกัน พฤติกรรมที่เห็นได้เป็นปกตินี้เป็นสิ่งที่กระบวนการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ของทีม Investment Solutions พยายามเฝ้าติดตามและระบุรูปแบบ แนวทางการรักษาสมดุลระหว่างตัวชี้วัดต่างๆ ซึ่งใช้สัญญาณที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการป้อนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้ช่วยให้เราใช้ความเข้มงวดและประสบการณ์ในกระบวนการตัดสินใจ ทำให้เราเดินฝ่าแต่ละวัฏจักรด้วยความเป็นกลางและมีวินัย ความผันผวนของตลาดในปีนี้ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการมีแนวทางที่มีโครงสร้าง เป็นแนวทางที่พิสูจน์ได้ด้วยหลักฐาน เรามีความเชื่อมั่นมากขึ้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินข้อมูลประเภท high frequency data ในเชิงคุณภาพที่มีความคล่องตัวและใช้งานได้เพื่อประเมินภูมิทัศน์ในยุคหลังวิกฤต covid

Sources:
1 Ned Davis Research, Inc. August 2020. Rolling correlation of monthly returns of the Barclays Long Term Treasury Bond Total Return Index and the S&P 500 from Dec 1927 to July 2020. Ibbotson data prior to 1973. Shaded peiods represent recessions.
2 Bloomberg. As of 18 August 2020.
3 Bloomberg. MSCI AC Asia Pacific ex Japan High Dividend Yield Index.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.