มุมมองตลาดปี 2022

จับความเคลื่อนไหวของการกลับคืนสู่สภาวะปกติ

ปี 2022 มีแนวโน้มที่จะถูกตราเป็น 'ปีแห่งการกลับคืนสู่สภาวะปกติ' เหมือนกับที่เกิดขึ้นในปี 2004 และ 2010 ซึ่งเป็นช่วงที่นโยบายการเงินและการคลังมีระดับการผ่อนคลายที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกลดน้อยลง มีคาดการณ์ว่าผู้กำหนดนโยบายจะเข้มงวดในการดำเนินมาตรการต่างๆ มากขึ้นหลังจากใช้มาตรการผ่อนคลายอย่างมากเพื่อให้ความช่วยเหลือในช่วงวิกฤต COVID มานานสองปี แต่โมเมนตัมการเติบโตที่ชะลอตัวท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้มีความเป็นไปได้ว่าจะสร้างแรงกดดันต่อธนาคารกลาง โอกาสของการเกิดข้อผิดพลาดด้านนโยบายและการเปลี่ยนแปลงในแง่การรับรู้ของตลาดจึงเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าติดตาม

หลังจากเผชิญกับการหดตัวลงอย่างรวดเร็วในปี 2020 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้กลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปี 2021 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายและการปูพรมฉีดวัคซีน แม้ว่าการฟื้นตัวจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นระดับที่ค่อนข้างดูอ่อนแรงและยังคงไม่สม่ำเสมอ ภาวะหยุดชะงักอย่างต่อเนื่องอันเกิดจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Delta และการปรากฏขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาเพิ่มความกังวล ตลอดจนปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและอัตราเงินเฟ้อ

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย

เราคาดว่าการคุมเข้มทางนโยบายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดระดับการอัดฉีดหรือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยล้วนส่งผลต่อการเติบโตทั่วโลกเพียงเล็กน้อยแค่ราวครึ่งเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวในรอบกลางวัฏจักร ดังนั้นในภาพใหญ่ตัวเลขอัตราการเติบโตจึงน่าจะยังอยู่ในแดนบวก เราคาดว่าภาคบริการจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการเติบโตในรอบถัดไปและค่อยๆ ดูดซับกำลังส่วนเกินในภาคการผลิต ขณะที่ยารักษา COVID จากทั้ง Merck และ Pfizer ได้ถูกเพิ่มเข้ามาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนและปะทุให้เกิด “การกลับมาเปิดภาคการค้า” อีกครั้ง

ในสภาวะเช่นนี้ ตลาดหุ้นอาจเห็นการหดตัวลงได้บ้าง นำมาสู่การรีเซ็ตของตลาดในระดับ 5-10% อย่างที่เราเคยเห็นในปี 2004 และ 2010 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดพยายามวิเคราะห์หาแนวโน้มเงินเฟ้อและรอบการใช้นโยบายแบบคุมเข้ม ทั้งนี้ มูลค่าหุ้นที่ค่อนข้างแพงกลายเป็นเงื่อนไขที่มีน้ำหนักมากขึ้นสำหรับการเทขายหุ้นออกในตลาด

อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาของตลาดได้สะท้อนถึงความความหวังว่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงภายหลังจากปี 2023 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)1 แต่ในระยะใกล้ ผู้กำหนดนโยบายมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนท่าทีไปในทางที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงก็คือธนาคารกลางอาจตอบสนองอย่างรุนแรงต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อด้วยนโยบายในลักษณะที่คุมเข้มมากกว่าเดิม

ในช่วงนี้เราไม่คิดว่าจะได้เห็นความเคลื่อนไหวที่จะสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ลงทุนตราสารหนี้มากนัก ซึ่งผู้ลงทุนได้เตรียมความพร้อมสำหรับนโยบายที่จะถูกปรับกลับสู่สภาวะปกติมาตั้งแต่ปลายปี 2020 ตรงกันข้ามกับปี 2013 ที่ได้มีการประกาศนโยบายแบบผิดคาดจนส่งผลให้เกิดความโกลาหลอย่างที่ได้เห็นมาแล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือในปัจจุบันตลาดเกิดใหม่ (EMs) อยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งมากกว่า โดยประเทศต่างๆ เช่น อินเดียและอินโดนีเซียต่างแสดงดุลการชำระเงินที่อยู่ในสถานะเกินดุล แทนที่จะขาดดุล และตราสารหนี้ของตลาดกลุ่ม EMs ในภาพรวมก็ได้นำเสนอโอกาสในการรับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อดูคู่กับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หากเทียบกับสถานการณ์ในปี 2013

เงินเฟ้อเป็นประเด็นถกเถียงที่อาจสร้างปัญหา

การรับรู้ของตลาดเกี่ยวกับความเสี่ยงจากเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นหลักสำหรับผู้ลงทุนที่มองไปข้างหน้า ในขณะที่เราเชื่อว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในปัจจุบันมีอยู่หลายด้าน ซึ่งได้แก่ข้อจำกัดด้านซัพพลายเชนและซัพพลายที่ตึงตัวในตลาดพลังงาน โดยทั้งสองปัจจัยมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายลงภายหลังจากปลดมาตรการล็อกดาวน์ แต่ก็มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบที่จะส่งผลเป็นวงกว้างเมื่อเข้ามาถึงเงินเฟ้อในรูปค่าจ้าง ทั้งนี้ มีความเสี่ยงว่าเฟดจะดำเนินมาตรการตามหลังเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การคุมเข้มทางนโยบายในเชิงรุกมากขึ้น การวางแผนเดินทางฝ่าความเสี่ยงดังกล่าวจึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่โดดเด่น

การคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

2022-market-outlook-inflation-expectations-are-rising

ในส่วนสินค้าโภคภัณฑ์ เราคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับวัฏจักรในรอบปกติที่กินเวลานานนับทศวรรษ แรงกดดันด้านราคาจะเกิดขึ้นเมื่อซัพพลายลดลงตามหลังดีมานด์ โดยสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะยังคงดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าเราจะได้เห็นซัพพลายกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หากดูในเอเชีย ความอ่อนไหวต่ออัตราเงินเฟ้อของเศรษฐกิจภูมิภาคที่มีต่อราคาพลังงานที่สูงขึ้นนั้น ค่อนข้างมีน้อยในอดีตเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะราคาสินค้าที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง การที่มีข้อตกลงในการกำหนดราคาค่าไฟฟ้า และระยะเวลาในการปรับราคาที่ล่าช้า

แม้ว่าเอเชียจะเป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ธนาคารกลางของเอเชียที่ผ่านมาก็เคยมองข้ามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์นี้ โดยมองว่าเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวที่มาสกัดการเติบโต มากกว่าที่จะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องยาวนานต่อค่าจ้างหรือราคาที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เอเชียยังประสบปัญหาการว่างงานหรือการทำงานต่ำกว่าศักยภาพมาตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2008 ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงสองปีที่ผ่านมาของมาตรการคุมเข้มในการเดินทางของผู้คนยังได้ทำให้สภาวะส่วนเกินในตลาดแรงงานของเอเชียย่ำแย่ลงไปอีก และด้วยเหตุนี้ก็จะจำกัดผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ให้ขยายออกไปสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าทั่วไป

นัยยะต่อการลงทุน

หุ้น– เรายังคงมุมมอง Bullish ต่อหุ้นในระดับปานกลางซึ่งเป็นไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ณ จุดที่เราอยู่ การเติบโตอาจมีระดับสูงขึ้นได้อย่างน่าแปลกใจอีกครั้งและสนับสนุนหุ้นขาขึ้น แต่เรายังถือว่าอยู่ห่างไกลจากมุมมอง Bullish อย่างที่เคยมีความเห็นตรงกันทั้งตลาดเมื่อปี 2020 การที่มูลค่าหุ้นแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เรากำลังมองหาโอกาสในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น เราคาดว่าสภาพแวดล้อมของตลาดจะผันผวนมากขึ้น ปัญหาด้านความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานที่กำลังดำเนินอยู่จะมีผลกระทบต่องบรายจ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงเริ่มมีมุมมอง Bullish ต่อเซ็กเตอร์อย่างเช่นวัสดุและอุตสาหกรรมในระยะกลาง

เราคาดว่าตลาดกลุ่ม EMs จะทำผลงานได้ดีกว่าตลาดพัฒนาแล้วเนื่องจากมูลค่าหุ้นที่แพงในสหรัฐและวัฏจักรการดำเนินนโยบายแบบคุมเข้มที่เกิดเร็วขึ้น มุมมองต่อ EMs ให้ความคาดหวังน้อยต่อการกลับมาเปิดภาคการค้าของตลาดในกลุ่มนี้อีกครั้ง เนื่องจากจีนยังคงยึดนโยบายปราศจาก COVID อย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีมุมมองที่ดีมากขึ้นต่อการมีเสถียรภาพทางนโยบาย หากพิจารณาภายในกลุ่ม EMs เราคาดว่าจะเห็นโอกาสที่น่าสนใจอยู่พอสมควรที่จะปรากฏโดดเด่น โดยสิ่งหนึ่งที่เรากำลังจับตาอย่างใกล้ชิดก็คือเทคโนโลยีของจีนกับของสหรัฐ จากการที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายมาโดยตลอดในช่วงหกถึงเก้าเดือนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ หุ้นคุณค่าหรือ Value stocks ยังถูกคาดว่าจะทำผลงานได้ดีในปีหน้าท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นช้าและมีช่องว่างเพื่อให้ไล่ตาม อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการไล่ตามนี้อาจขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตลาดเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

ตราสารหนี้ – ในขณะที่เรายังคงมุมมอง Bullish ต่อหุ้น แต่เราก็เห็นคุณค่าในตราสารหนี้ด้วยเช่นกัน ถ้าดูมุมมองระยะยาวต่อตลาดสหรัฐ เป็นไปในทิศทางบวกต่อตราสารหนี้เสี่ยงสูงของสหรัฐ เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ในระดับ Investment grade และถ้าหากพิจารณาถึงแนวโน้มเงินเฟ้อในเอเชีย เรากลับไม่ค่อยกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งนอกจากประเทศเกาหลีใต้และสิงคโปร์แล้ว เราเห็นความต้องการที่จำกัดในการใช้นโยบายแบบคุมเข้มก่อนหน้าเฟด ขณะธนาคารกลางต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม โดยในประเทศไทยและอินโดนีเซีย สภาวะเช่นนี้ได้นำเสนอโอกาสในการซื้อขายเชิงกลยุทธ์สำหรับพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินในประเทศเอเชียโดยพิจารณาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างและการเปลี่ยนแปลงของตลาดตราสารหนี้ภายในภูมิภาค นอกจากนี้ เรายังคาดว่าแนวโน้มการเติบโตในเอเชียที่ดีขึ้นในปี 2022 จะช่วยดึงดูดเงินทุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่งมากขึ้นสำหรับสกุลเงินเอเชียที่จะแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับตราสารหนี้เอกชนของเอเชีย ตราสารหนี้เสี่ยงสูงได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้อย่างต่อเนื่องในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน แต่ยังได้นำเสนอโอกาสการลงทุนที่ดีด้วยเช่นกัน มีความจำเป็นที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการคัดเลือกตราสารเพื่อให้ได้ค่าอัลฟ่าจากภาคส่วนนี้ ในขณะเดียวกัน ความต้องการตราสารหนี้เสี่ยงสูงของเอเชียยังถือว่าแข็งแกร่ง เราเชื่อว่าการคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปัจจุบันจะยังคงเป็นแรงสนับสนุนสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ต่อไป ตราสารหนี้เอกชนของเอเชียจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากกระแสการแสวงหาผลตอบแทนทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้จัดทำบทความ :

Guan Yi Low, Head of Fixed Income, Eastspring Singapore
Kelvin Blacklock, Head of Eastspring Portfolio Advisors, Eastspring Singapore

Sources:
1 As at 19 November 2021.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.