มุมมองตลาดปี 2022

เอเชีย | ตลาดที่ถูกประเมินมูลค่าต่ำเกินควร

ในขณะที่จีนเริ่มต้นเดินหน้าตามโมเดลการเติบโตใหม่ ก็มีคาดการณ์ว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียจะฟื้นตัวขึ้นได้หลังเผชิญภาวะหยุดชะงักอันเป็นผลของการระบาดใหญ่ด้วยเงื่อนเวลาที่แตกต่างกัน ดีมานด์ที่ฟื้นตัวทั่วโลกช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเช่นเดียวกัน COVID ก็ได้เปลี่ยนกลไกในการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจเอเชียด้วย หลายประเทศต้องปรับตัวและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็วเพื่อรักษาความแข็งแกร่งและให้อยู่ในตลาดได้ต่อไป เป็นผลให้เกิดแรงขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังผลักดันการขยายตัวของภูมิภาคในระยะถัดไป

การกลับมาระบาดซ้ำของ COVID หลายระลอกและมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อการเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม มีคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีการเติบโตสูงที่สุดในโลกในปี 2022 และ 2023 ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย และธนาคารกลางเอเชียส่วนใหญ่ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะคงนโยบายไว้ต่อไปตามเดิมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน ซึ่งภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวเราได้ชู 3 ภาคส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนใหม่ๆ และปรับเปลี่ยนกลไกผลักดันการเติบโตของภูมิภาค

ขับเคลื่อนสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล

การระบาดใหญ่ได้เผยถึงความสำคัญของเศรษฐกิจแบบออนไลน์ และการเร่งใช้ช่องทางดิจิทัลในเกือบทุกเซ็กเตอร์ นับตั้งแต่อีคอมเมิร์ซ ภาคธนาคาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ ไปจนถึงโลจิสติกส์และดาต้าเซ็นเตอร์ กระบวนการแปลงสู่ดิจิทัลหรือ Digitalisation ยังได้ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ซึ่งมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 400 ล้านคนในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

สำหรับการเพิ่มสัดส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลใน GDP ของประเทศเอเชียนั้น ขณะนี้กำลังมีการเปิดตัวผังโครงสร้างหรือพิมพ์เขียวการเติบโตใหม่ อย่างที่อินโดนีเซียก็ได้ประกาศแผนงานดิจิทัลของประเทศหรือ Digital Indonesia Roadmap (2021-2024) ส่วนประเทศไทยกำลังดำเนินการเปลี่ยนสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเปลี่ยนกลไกขับเคลื่อนการเติบโตจากอุตสาหกรรมหนักไปสู่นวัตกรรม ทั้งนี้ การลงทุนในบล็อกเชน คลาวด์ และความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กำลังได้รับการส่งเสริมด้วยสิทธิพิเศษทางภาษี

ในมาเลเซีย ได้มีการจัดสรรงบประมาณ 70 พันล้านริงกิตเพื่อการลงทุนด้านดิจิทัลภายในปี 2025 ในขณะที่สิงคโปร์ก็กำลังจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับการจัดซื้อเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ญี่ปุ่นก็ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนดิจิทัลมากขึ้น โดยในเดือนกันยายน 2021 ได้มีการเปิดตัว Digital Agency ซึ่งมีรัฐบาลเป็นแกนนำในการเร่งกระบวนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจการภาครัฐ

นอกเหนือจากการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลแล้ว ภูมิทัศน์ของการจ้างงานก็เปลี่ยนไปด้วย แพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ๆ ผุดขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของแรงงานที่เรียกว่า gig workers ซึ่งหลายคนตกงานจากการระบาดใหญ่ แพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถรักษาต้นทุนให้ต่ำไว้ได้ด้วยการจ้างพนักงานตามความต้องการ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสในการทำงานให้แก่แรงงานอิสระหรือ gig workers เหล่านี้ มาเลเซียระบุว่าภาคเศรษฐกิจในส่วน gig economy นี้เป็นแหล่งการเติบโตใหม่ที่มีศักยภาพ ซึ่งได้รวมเข้าไว้อยู่ในแผนพัฒนา 12 ปี หรือ the 12th Malaysia Plan (2021-2025)

อย่างไรก็ตาม การเร่งกระบวนการแปลงสู่ดิจิทัลได้เพิ่มความเสี่ยงของปรากฏการณ์ digital divide หรือความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากดิจิทัล เนื่องจากการไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ประเภท smart device ทั้งหลายของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งได้สร้างข้อจำกัดตั้งแต่เรื่องของการศึกษาที่มีคุณภาพ บริการสุขภาพ การจ้างงาน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดังนั้น ความท้าทายก็คือการทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลมีประโยชน์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

ผลกระทบของภาคดิจิทัลต่อ GDP เอเชียจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

2022-market-outlook-digital-sectors-impact-on-asian-gdp-to-rise-significantly

ยกระดับความสามารถในการผลิต

กิจกรรมในภาคส่งออกที่นำโดยอุตสาหกรรมการผลิตจะยังคงเป็นผู้นำการฟื้นตัวของการเติบโตของภูมิภาค โดยหนึ่งในบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการระบาดใหญ่ครั้งนี้ก็คือความจำเป็นที่ผู้ผลิตต้องกระจายการลงทุนออกไปและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เหมาะกับยุคแห่งอนาคต ผู้ผลิตในภูมิภาคกำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงผลผลิตและประสิทธิภาพ และพยายามมองหาวิธีการใช้ช่องทางของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อกระจายความเสี่ยงออกจากจีน

สภาพแวดล้อมที่เอื้อทางนโยบาย การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และความพยายามของบริษัททั่วโลกในการกระจายแหล่งที่ตั้งของซัพพลายเออร์ กำลังช่วยฟื้นภาคการส่งออกและเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในหลายเซ็กเตอร์ของอินเดีย ขณะที่ในเวียดนาม กลุ่มที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการกระจายห่วงโซ่อุปทานนี้ก็คืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขับเคลื่อนโดยภาคการส่งออก

กลุ่มอาเซียนมีเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนใหม่ๆ โดยกำลังปรับปรุงรายชื่ออุตสาหกรรมที่เคยจำกัดการลงทุน เพิ่มความสะดวกในการทำธุรกิจ ออกมาตรการลดภาษี สร้างแรงจูงใจจากภาคการคลังเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ/เขตอุตสาหกรรม และเร่งการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเปิดตัวกฎหมายกระตุ้นการสร้างงานในอินโดนีเซียที่เรียกว่า Omnibus Jobs Creation Law ถือเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนบรรยากาศทางธุรกิจที่ดีขึ้นเพื่อดึงดูด FDI และสร้างตลาดแรงงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ส่วนที่ประเทศไทย รัฐบาลกำลังพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor เพื่อเป็นจุดหมายปลายทางของภาคอุตสาหกรรม มุ่งดึงดูดการลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์อัจฉริยะ ทั้งนี้ ความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกำลังถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบูรณาการกับภาคการค้าและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เปลี่ยนสู่การลงทุนที่ยั่งยืน

ภาวะการระบาดใหญ่ยังกดดันให้รัฐบาลในเอเชียให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งช่วยกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ เช่น พลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตัวอย่างเช่น อินโดนีเซียพยายามใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรประเภทโลหะที่มีอยู่มากเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น แบตเตอรี่ EV และ EV และดึงศักยภาพเพื่อขึ้นเป็นผู้เล่นรายสำคัญในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่โลก

ส่วนที่มาเลเซีย อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนซึ่งหยุดชะงักจากภาวะการระบาดใหญ่กำลังได้รับการพลิกฟื้น รัฐบาลจัดประมูลโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 GW มูลค่า 4 พันล้านริงกิต ขณะสถาบันทางการเงินที่มีขนาดใหญ่ของมาเลเซียบางแห่งก็ได้ทยอยถอนตัวออกจากธุรกิจถ่านหินในขณะที่การลงทุนแบบชาริอะฮ์กำลังนำหลักการ ESG มาใช้อย่างรวดเร็ว การเปิดตัวดัชนี FTSE4Good Bursa Malaysia Shariah Index เมื่อเร็วๆ นี้นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการตอบสนองความต้องการของผู้คนที่มีต่อการลงทุนยั่งยืนและสอดคล้องกับหลักชะรีอะห์

ในสิงคโปร์ มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อป้องกันชายฝั่งและน้ำท่วมหรือ Coastal & Flood Protection Fund เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่วนที่เกาหลีใต้ แผนงานโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจไฮโดรเจนของประเทศได้กระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ประกาศแผนการลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่า 43 ล้านล้านวอนภายในปี 2030 ขณะเดียวกันในญี่ปุ่น รัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งได้เริ่มกำหนดเป้าหมายการลดคาร์บอนแบบเฉพาะเจาะจง การผลักดันสู่สังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงน่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจญี่ปุ่นบนเวทีโลก

นัยยะต่อการลงทุน

แม้ว่าแนวโน้มของประเทศในเอเชียอาจดำเนินไปได้ในหลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีสัญญาณเชิงบวกที่มาจากภาคเอกชน โดยบริษัทมากกว่าสองในสามในภูมิภาคที่เปิดเผยผลประกอบการออกมาเป็นกำไรในไตรมาส 3 ปี 2021 อย่างน่าประหลาดใจ ซึ่งการที่เศรษฐกิจภูมิภาคฟื้น ผลประกอบการก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ จากปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตดังที่กล่าวข้างต้น หลายอุตสาหกรรมจึงอาจได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐ

สำหรับในตอนนี้ เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมที่จะมีผลประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสร้างผลตอบแทนได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่ง มีดังนี้ :

ภาคธนาคารจะได้ประโยชน์จากความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนใหม่ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยธนาคารที่ได้มีการตั้งสำรองที่แข็งแกร่งภายใต้สถานการณ์ COVID และมีเงินทุนที่เพียงพอก็จะอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบและสามารถเห็นตัวเลขสินเชื่อที่ขยายตัวในขณะที่ต้นทุนเงินฝากยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะธนาคารที่คาดว่าเศรษฐกิจจะมีความมั่นคงมากขึ้น (การฟื้นตัวของ GDP ที่แข็งแกร่ง ราคาบ้านที่สูงขึ้น ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ฯลฯ) ก็อาจเลือกที่จะปรับลดอัตราส่วนเงินกองทุนโดยผ่านการจ่ายเงินปันผลพิเศษหรือการซื้อหุ้นคืน

การลงทุนด้านเทคโนโลยีจะยังคงแข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นที่ fintech กลุ่ม healthtech และ edtech เราเห็นศักยภาพการลงทุนที่ดีในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซอฟต์แวร์ อีคอมเมิร์ซ และอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรม EV และ cloud computing ซึ่งมีความต้องการเซมิคอนดักเตอร์และส่วนประกอบที่มีสมรรถนะสูง เราเห็นอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงมาก โดยเฉพาะในไต้หวัน และสำหรับการลงทุนอย่างยั่งยืน เราเห็นคุณค่าของบางบริษัทที่เป็นผู้ผลิต EV และซัพพลายเออร์บางรายซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมต้นน้ำ

สุดท้ายนี้ การที่จะมีมาตรการบางอย่างเกิดขึ้นในลักษณะที่สวนทางกับกระแสโลกาภิวัตน์ หรือการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเฉพาะภายในภูมิภาค เนื่องจากประเทศต่างๆ และภาคธุรกิจแสวงหาซัพพลายเชนที่มีความมั่นคงมากขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าหุ้นขนาดเล็กหรือ small caps

จะได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตกลับเข้าประเทศและการเปลี่ยนเพื่อให้เข้าถึงตลาดภายในประเทศมากขึ้น ขณะที่หุ้นขนาดเล็กเองก็นับว่ามีความน่าสนใจมากกว่าในแง่ของมูลค่าอีกด้วย

ผู้จัดทำบทความ :

Bryan Yeong, Portfolio Manager, Eastspring Singapore
Dean Cashman, Portfolio Manager, Eastspring Singapore
Doreen Choo, Head of Investments, Eastspring Malaysia
John Tsai, Head of Growth Equities, Eastspring Singapore
Liew Kong Qian, Head of Investments, Eastspring Indonesia
Ngo The Trieu, Chief Executive Officer, Eastspring Vietnam
Yingyong Chiaravutthi, Chief Investment Officer, Thanachartfund Eastspring Thailand

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.