มุมมองตลาดปี 2022

นิยามใหม่เศรษฐกิจจีน

การเติบโตของเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลงเนื่องจากผู้กำหนดนโยบายได้วางกรอบการทำงานที่มีจุดมุ่งหมายให้บรรลุสังคมแห่งความเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น เป้าหมายของการทำให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกันนั้นยังได้นำเสนอโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุน ถึงแม้จะมีความไม่แน่นอนของนโยบายภายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่แนวโน้มการผงาดขึ้นมามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและมีผลต่อตลาดมากขึ้นในระยะยาวของจีนยังคงให้ความเชื่อมั่นว่าจะมีการจัดสรรพอร์ตที่เป็นกลุ่มของจีนโดยเฉพาะ

ในช่วงเวลาที่จัดทำบทความนี้1 เศรษฐกิจจีนอยู่ระหว่างการฟื้นตัวภายหลังได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการคุมเข้มด้านกฎระเบียบในบางอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต การศึกษาเอกชน และอสังหาริมทรัพย์ การปฏิรูปครั้งใหญ่ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน (common prosperity policy) ด้วยจุดมุ่งหมายต้องการให้เกิด "ความเท่าเทียมและเสมอภาค" ที่ดียิ่งขึ้น

สู่ความมั่งคั่งร่วมกัน

ความมั่งคั่งร่วมกันได้กลายเป็นนโยบายที่ขึ้นมามีความสำคัญนับตั้งแต่ถูกผลักดันโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 หากย้อนไปในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของ COVID เมื่อช่วงต้นปี 2020 ธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลเข้าสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาสินทรัพย์รวมทั้งตลาดหุ้นและตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวขึ้นอย่างมากจนส่งผลให้สถานการณ์ความไม่เท่าเทียมกันในจีนแย่ลง กรอบความมั่งคั่งร่วมกันจึงเกิดขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายในการเพิ่ม

"ความเท่าเทียมและเสมอภาค" ที่ดีกว่าเดิม โดยมุ่งขยายจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลางและยกระดับมาตรฐานการครองชีพของกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย และนอกจากการคุมเข้มด้านกฎระเบียบในบางอุตสาหกรรมแล้ว ยังอาจมีการใช้มาตรการเก็บภาษีเข้ามาช่วยในเรื่องการกระจายรายได้อีกด้วย

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่มากขึ้นในจีน

2022 Market Outlook-Chinas income inequality has widened

เราคาดว่านโยบายความมั่งคั่งร่วมกันจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มธุรกิจการดูแลสุขภาพ กลุ่มสินค้าผู้บริโภค และกลุ่มเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานและยารักษาโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การขยายตัวของรูปแบบการจัดซื้อยาแบบรวมศูนย์อาจช่วยเพิ่มแรงกดดันให้ราคายาถูกลง ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคนั้นอาจถูกกระตุ้นเมื่อมีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ของการจัดเก็บภาษีด้านการบริโภคที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าระดับพรีเมี่ยม อย่างเช่น ไป๋จิ่ว (เหล้าจีน)

แม้ว่าจีนจะใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในบางภาคส่วนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่เราเชื่อว่าผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักถึงโอกาสที่ถูกแบ่งออกเป็นขอบเขตย่อยด้วยเทคโนโลยี และจะช่วยสนับสนุนระดับความก้าวหน้าของประเทศต่อไป ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตได้ขจัดความไม่เท่าเทียมกันด้านข้อมูลและช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมทางการเงินได้เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน ปัญญาประดิษฐ์และการใช้หุ่นยนต์ที่เพิ่มขึ้นในภาคการผลิตก็ได้ช่วยลดต้นทุนในขณะที่เพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิต สิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และแม้แต่ในรถยนต์พลังงานใหม่ เทคโนโลยีก็ยังมีบทบาทสำคัญในการลดต้นทุนของระบบพลังงานใหม่ ในขณะที่ทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้มีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น

ปรับสมดุลการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน

การใช้มาตรการคุมเข้มด้านกฎระเบียบในปี 2021 ได้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีน และฉุดให้ราคาหุ้นร่วงลง ภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคิดเป็น 15% ของ GDP จีน ก็ประสบปัญหาเช่นกันเมื่อผู้ประกอบการต่างดิ้นรนหาทางเข้าถึงสินเชื่อในขณะที่ยอดขายบ้านและเม็ดเงินลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลง และถ้าหากรวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเข้าไปด้วย เช่น ยอดขายเฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ตัวเลขนี้ก็อาจมีสัดส่วนถึงเกือบ 25% สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้การเติบโตของ GDP จีนในปี 2022 ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดและลงมาเข้าใกล้ระดับ 5% ในขณะเดียวกัน ราคาสินค้าผู้ผลิตที่วัดโดยดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะขึ้นแตะจุดสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ในขณะที่ราคาผู้บริโภคยังคงทรงตัวในกรอบ 1.5-2% ด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการควบคุมราคาและดีมานด์ที่แผ่วลง

ผลจากสภาวะการชะลอตัวทำให้ผู้กำหนดนโยบายของจีนอาจผ่อนคลายนโยบายด้วยการปรับลดอัตราการดำรงเงินสำรองหรือ Reserve Requirement Ratio (RRR) การอัดฉีดสภาพคล่องหรือการสนับสนุนด้านสินเชื่อที่มีเป้าหมายเฉพาะ นอกจากนี้ รัฐบาลยังอาจเร่งการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย รัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะคงจุดยืนเดิมที่ว่า “บ้านมีไว้สำหรับผู้คนอยู่อาศัยและไม่ใช่เพื่อการเก็งกำไร” แต่การผ่อนคลายบางส่วนในภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การรื้อโควตาสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็ไม่อาจถูกตัดออกไปจากการพิจารณาด้วยเช่นกัน

GDP จีนที่เติบโตช้าลงคาดว่าจะมีผลกระทบค่อนข้างจำกัดต่อตลาดของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศมีขนาดใหญ่ การชะลอตัวของจีนส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงผลกระทบได้ในประเทศต่างๆ ที่ส่งออกสินค้าไปยังจีนแผ่นดินใหญ่หรือพึ่งพาการไหลเข้าของเงินทุนจากจีน ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีจีนเป็นแหล่งเป้าหมายส่งออกที่สำคัญ ในขณะเดียวกัน ออสเตรเลีย ชิลี และแอฟริกาใต้ ก็ถือเป็นอีกกลุ่มที่ส่งออกสินค้าจำนวนมากไปยังจีนด้วย นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากจีนไปยังอเมริกาใต้และแอฟริกาก็อาจลดลงด้วยเช่นกัน แม้ว่าการชะลอตัวของจีนอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกิดใหม่และเศรษฐกิจเอเชีย แต่เราเชื่อว่าแรงฉุดต่อเศรษฐกิจสามารถชดเชยได้ด้วยการอัดฉีดกระตุ้นโดยภาคการคลัง ทั้งนี้ เมื่อชั่งดูความสมดุลจากผลที่เกิดขึ้นก็พบว่าการเติบโตที่ช้าลงของจีนจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทั่วโลก แต่ไม่น่าจะทำให้การฟื้นตัวของทั่วโลกต้องหยุดชะงัก

นัยยะต่อการลงทุน

แม้ล่าสุดจะมีอาการสะดุดที่เกิดขึ้นในระหว่างเส้นทางการเติบโตของจีน แต่การที่จีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและมีผลอย่างมากต่อตลาดในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ (EMs) มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในทศวรรษหน้า ซึ่งด้วยสภาพแวดล้อมดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าจะมีการจัดสรรพอร์ตที่เป็นกลุ่มของจีนโดยเฉพาะ

หุ้นจีน – ภายใต้กรอบนโยบายความมั่งคั่งร่วมกัน การขยายกลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางจะช่วยยกระดับการบริโภคและเอื้อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทต่างๆ ที่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่น millennials กลุ่ม Gen Z และครอบครัวคนรุ่นใหม่ บริษัทเทคโนโลยีในกลุ่มฮาร์ดแวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และพลังงานใหม่ ก็น่าจะทำผลงานได้ดีด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ บริษัทด้านการดูแลสุขภาพในประเทศที่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูงและต้นทุนต่ำก็อาจเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน ภาคการศึกษาและอสังหาริมทรัพย์ไม่น่าจะได้อานิสงส์ เนื่องจากรัฐบาลพยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้บริโภค

เนื่องจากสัดส่วนหุ้นจีนที่อยู่ในดัชนี MSCI Emerging Markets คาดว่าจะแตะ 50% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงสู่ตลาดกลุ่ม EMs อื่นๆ ที่หลากหลายมากขึ้นอาจใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์ Emerging Markets ex China เราเชื่อว่าหุ้นที่มักถูกมองข้ามใน EMs อื่นๆ ยังนำเสนอโอกาสที่น่าสนใจอย่างมากและโอกาสของราคาหุ้นในฝั่งขาขึ้นสำหรับผู้ลงทุนหุ้นคุณค่าหรือ value investors

ตราสารหนี้แบบ offshore ของจีน – ตลาดตราสารหนี้เสี่ยงสูงในเอเชียเผชิญกับความผันผวนมากพอควรในปี 2021 เนื่องจากสภาพคล่องที่หดหายแบบไม่คาดคิดในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ซึ่งความผันผวนยังส่งผลกระทบไปถึงผู้ออกตราสารในระดับ investment grade ที่มีความแข็งแกร่งอีกด้วย

เราเชื่อว่าความรวดเร็วและขอบเขตของการเทขายในตลาดนั้นไม่สอดคล้องกับอัตราส่วนชี้ภาระหนี้หรือ leverage ratios ที่ดีขึ้นของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 เมื่อบริษัทกลุ่มนี้ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลที่เรียกว่า three red-line framework เราคาดว่าการปรับปรุงนโยบายเพิ่มเติมจะดำเนินการเพื่อช่วยบรรเทาอุปสรรคด้านสภาพคล่อง และกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวอาจถึงจุดต่ำสุดได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามนั้นก็คือการที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถเข้าถึงตลาดตราสารหนี้แบบ onshore ได้อีกครั้ง ผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างอันเกิดจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ร่วงลงอย่างหนัก รัฐบาลจีนจึงน่าจะหาทางป้องกันผลที่ลุกลามออกไป ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการเทขายของตลาดเป็นการตอบสนองที่มากเกินไป และเชื่อว่าเป็นการนำเสนอจุดเข้าซื้อที่น่าดึงดูดสำหรับตราสารหนี้เอกชนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่สามารถรับมือกับสภาวะตลาดที่ท้าทายในปัจจุบันได้

ในระยะยาว เราคาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะแข็งแกร่งขึ้นจากการที่ภาคบริษัทมีงบดุลที่เข้มแข็งและมีวินัยทางการเงินมากขึ้น กองทุนที่เปิดรับความเสี่ยงต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนอย่างมีนัยยะแต่มีประวัติที่ดีในการหลบหลีกสภาวะการผิดนัดชำระหนี้อาจอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบในการได้รับประโยชน์เมื่อภาคธุรกิจฟื้นตัว

ตราสารหนี้ แบบ onshore ของจีน - ในสภาพแวดล้อมที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ การผ่อนคลายทางการเงินและการสนับสนุนทางนโยบายน่าจะช่วยสนับสนุนตลาดตราสารหนี้แบบ onshore ของจีน

สภาวะการระดมทุนโดยผ่านหน่วยงานจัดหาเงินทุนของหน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่น (Local Government Funding Vehicles | LGFVs) และรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprises | SOEs) ซึ่งเป็นผู้ออกตราสารหลักในตลาดตราสารหนี้แบบ onshore มีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 เนื่องจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นต่างพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเชิงระบบในภาคการเงิน เราคาดว่าจุดยืนทางนโยบายนี้จะดำเนินต่อไปในปี 2022 แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแออาจส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของรัฐบาลท้องถิ่น เราไม่คาดว่าจะเกิดการผิดนัดชำระหนี้เป็นจำนวนมากสำหรับกลุ่มนี้ แต่ก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อข่าวด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจาก LGFV ที่มีภาระทางการเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งการแยกแยะความแตกต่างทางเครดิตและการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานโดยละเอียดยังคงเป็นกุญแจสำคัญ

ผู้จัดทำบทความ :

Andrew Cormie, Director, Global Emerging Markets and Regional Asia Equities, Eastspring Singapore
Boon Peng Ooi, Head of Eastspring Portfolio Strategies, Eastspring Singapore
Michelle Qi, Head of Equities, Eastspring China
Wai Mei Leong, Portfolio Manager, Fixed Income, Eastspring Singapore
William Xin, Head of Fixed Income, Eastspring China

Sources:
1 As at 19 November 2021.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.