ศตวรรษแห่งเอเชีย…แล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

ศตวรรษแห่งเอเชียดูเหมือนจะปรากฏขึ้นในอีกไม่นาน ถ้าหากภูมิภาคนี้สามารถรักษาโมเมนตัมการเติบโตไว้ได้ สานต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และจุดพลังคนกลุ่มมิลเลนเนียลที่ก้าวขึ้นมามีบทบาท อย่างไรก็ตาม เส้นทางจะไม่ราบรื่น การเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เอเชียจึงควรใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในภูมิภาคเพื่อการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่ง และที่สำคัญที่สุดคือการขยายความมีอิทธิพลระดับโลก

เอเชียถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนการเติบโตของโลกในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า เป็นศูนย์กลางที่ทรงอิทธิพลที่สุดเป็นอันดับสามของโลกไล่เรียงกันมากับอเมริกาและยุโรป เอเชียพลาดโอกาสเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุค 1950 ทำให้สัดส่วนจีดีพีของเอเชียเทียบกับจีดีพีโลกอยู่ที่ระดับต่ำเพียง 19% ตามข้อมูลงานวิจัยของ Angus Maddison (ดูรูปที่ 1) อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่นั้นเอเชียมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในการเกื้อหนุนเศรษฐกิจโลก ซึ่งงานวิจัยเดียวกันนี้ ยังคาดการณ์ด้วยว่าสัดส่วนจีดีพีของเอเชียเมื่อเทียบกับจีดีพีโลก จะสูงถึง 52% ภายในปี 20501

รูปที่ 1: สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเอเชียกำลังเพิ่มขึ้น2

CSeries-Asian-Century_Graph

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังเมกะเทรนด์นี้คืออะไร? กลุ่มชนชั้นกลางที่เกิดขึ้นใหม่เป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นทางพื้นฐานที่สำคัญ โดยตามการคาดการณ์ของ OECD ระบุว่าภายในปี 2020 เอเชียจะกลายเป็นที่อยู่ของประชากรชนชั้นกลางในจำนวนครึ่งหนึ่งของโลก (ดูรูปที่ 2) และภายในปี 2030 เอเชียจะมีสัดส่วนประชากรกลุ่มนี้อยู่ที่ 66% ของประชากรชนชั้นกลางทั่วโลกจำนวน 4.88 พันล้านคน ขณะที่ตัวเลขของยุโรปและอเมริกาเหนือจะลดลงเหลือเพียง 21% (ดูรูปที่ 2)

รูปที่ 2: การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรชนชั้นกลางในเอเชีย3

CSeries-Asian-Century_Graph

นอกเหนือจากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อำนาจการบริโภคของประชากรชนชั้นกลางในเอเชียจะเป็นพลังสำคัญที่ต้องคำนึงถึง งานวิจัยดังกล่าวคาดการณ์ว่าเอเชียจะมีสัดส่วนที่สูงกว่า 80% สำหรับตัวเลขอัตราการเติบโตของยอดการใช้จ่ายของชนชั้นกลางทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า และถ้าหากเกิดขึ้น เอเชียก็จะเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดและร่ำรวยที่สุดในโลกภายในปี 20304

นั่นคือ เส้นทางสู่ศตวรรษแห่งเอเชียไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า และการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางนั้นไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ต้อนรับวิวัฒนาการดิจิทัล

ความยั่งยืนของการเติบโตในเอเชียจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นอย่างมาก โดยมีกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นตัวชูโรง ข้อมูลคาดการณ์โดยสหประชาชาติ5ระบุว่าสัดส่วนประมาณ 61% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเอเชีย ซึ่งรวมถึงจำนวน 455 ล้านคนและ 413 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในอินเดียและจีนตามลำดับ นอกจากนี้ ภายในปี 2021 จีดีพีของเอเชียแปซิฟิกในสัดส่วนประมาณ 60% จะมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลตามข้อมูลในงานวิจัยที่จัดทำโดย IDC (International Data Corporation) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลดังกล่าวจะเพิ่มจีดีพีของเอเชียแปซิฟิกประมาณ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือเพิ่มอัตราการเติบโตขึ้นอีก 0.8% ภายในปี 2021 6

ด้วยความที่มีโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมและกระบวนการทางธุรกิจที่เคยปฏิบัติกันมาแบบรุ่นเก่า ประเทศในเอเชียมีระดับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ง่ายกว่าหากเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ยกตัวอย่างงานวิจัยด้านวิชาการจากหลายๆ ประเทศ ต่างแสดงให้เห็นว่าความรวดเร็วในการรับนวัตกรรมของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นั้น รวดเร็วกว่าสหรัฐอเมริกาอย่างเห็นได้ชัด7

ด่านแรกของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลในเอเชียคือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี AI ซึ่งก่อนหน้านี้ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดจากการตั้งโปรแกรมไว้เท่านั้น แต่ในขณะนี้การเดินหน้าสู่ Industry 4.0 คอมพิวเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลใหม่ได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อทำงานประเภทที่ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์เฉพาะ จากปกติที่ต้องใช้ความสามารถของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้รวมถึงการระบุลายมือ และแม้กระทั่งเข้าใจเรื่องการใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะผิดปกติ

เทคโนโลยี AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างมากหากควบคุมในวิธีที่ถูกต้อง เพราะสามารถทำให้ผู้คนเปลี่ยนจากงานที่ต้องใช้แรงงาน เขยิบไปมุ่งเน้นในงานที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยความคิดนี้เอง ประเทศในเอเชียจึงพยายามพัฒนา AI มากขึ้น ข้อมูลจาก IDC ระบุว่าการใช้จ่ายเพื่อระบบ AI ในเอเชีย จะเพิ่มขึ้นเป็น 15.06 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2022 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 50% ในช่วงปี 2018-2022 สูงกว่าอัตราการเติบโตทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 38% ขึ้นมาเป็น 79.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ8

การศึกษา: จากดิจิทัลมาสู่ AI

ความรู้เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดเมื่อพูดถึงวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี AI มีบางประเทศในเอเชียไม่รีรอที่จะเริ่มต้นวิธีการเรียนการสอนที่ชาญฉลาดด้วย AI ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังมีความสงสัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด

ด้วยอัลกอริทึมของ AI ทำให้ครูสามารถติดตามผลงานของนักเรียนหลายร้อยคนได้อย่างง่ายดาย ตรวจสอบได้ว่ามีแนวคิดใดที่สร้างอุปสรรคให้แก่นักเรียนแต่ละคน และสามารถจัดอุปกรณ์การเรียนและหลักสูตรให้เหมาะสมกับแต่ละคน เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อภารกิจเหล่านี้ถูกดำเนินการโดยอัลกอริทึม ครูจึงมีเวลามากขึ้นในการไปมุ่งเน้นด้านความคิดสร้างสรรค์สำหรับงานของตน

ในขณะที่ตลาดสหรัฐมีงานวิจัยที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยี AI แต่จีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชากรผู้ต้องการแสวงหาความรู้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนด้านการเรียนการสอนที่ใช้ AI ในจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก นักเรียนหลายหมื่นคนใช้ระบบที่ AI อยู่เบื้องหลังเพื่อการเรียนรู้ มีการดำเนินการผ่านหลักสูตรการสอนแบบพิเศษนอกห้องเรียน อย่างเช่นกรณีของ Squirrel's หรือที่ทำผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลเช่น 17ZuoYe (Sunny Education) หรือแม้แต่ในห้องเรียนแบบปกติ ดังนั้น จึงถือเป็นการปิดช่องว่างความแบ่งแยกระหว่างเขตเมืองและพื้นที่อันห่างไกล ตัวอย่างเช่น 17ZuoYe ที่เชื่อมนักเรียน 51.7 ล้านคนและครู 2.5 ล้านคน ครอบคลุมโรงเรียน 140,000 แห่งในทั่วทั้ง 363 เมืองของประเทศจีน9

สำหรับในภูมิภาคอื่นๆ ของเอเชีย มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์และมาเลเซียได้เริ่มทำการทดลองด้วยอัลกอริธึมที่มีความสามารถในการคาดการณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนออกจากระบบการศึกษา10อย่างไรก็ตาม เอเชียยังมีหนทางอีกยาวไกลก่อนที่การเรียนการสอนด้วย AI จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากหลายประเทศยังไม่มั่นใจที่จะอนุญาตให้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบครอบคลุมครบทุกด้าน ซึ่งอัลกอริธึมของ AI จะสามารถติดตามผลงานของนักเรียนได้

ความท้าทายยังคงอยู่

เมื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยียังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความท้าทายอื่นๆ ที่ต้องถูกนำมาพิจารณาด้วย โดยที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือความตึงเครียดทางการค้าที่มีอย่างต่อเนื่องระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นเหล่านี้อาจเร่งสร้างโอกาสใหม่ๆ ช่วยพลิกโฉมบทบาทของเอเชียในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น :

  • การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยประชากรที่มีจำนวนมากในเอเชีย ความถี่ในการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ขยายตัวของชุมชนเมืองที่มีความท้าทายในบางครั้ง ทำให้ภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากเอเชียจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายใต้ข้อตกลงปารีสภายในปี 2030 และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศในภูมิภาคจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมและความร่วมมือกันในการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต-เอเชียคืบหน้าไปด้วยดีสำหรับเรื่องนี้ โดยในปี 2016 จีนและอินเดียมีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกรวมกันว่า STEM จำนวน 4.7 ล้านคน และ 2.6 ล้านคน ตามลำดับ ในขณะที่สหรัฐมีเพียง 568,000 คน (ดูรูปที่ 3)

รูปที่ 3: ผู้สำเร็จการศึกษาล่าสุดในกลุ่มวิชา STEM11

CSeries-Asian-Century_Graph3

มองหาการเชื่อมต่อ สู่ความมีอิทธิพลระดับโลก

ในการที่จะทำให้ภูมิภาคมีภูมิคุ้มกันต่อความท้าทายภายนอกและเสริมระดับความพอเพียงให้แก่ตนเอง เอเชียควรยกระดับความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนสามารถแสวงหาพันธมิตรกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ในเอเชีย เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ค้นหาการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งขึ้นในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ :

หากเอเชียสามารถฟันฝ่าอุปสรรคท้าทายระยะสั้นเหล่านี้ได้ และบรรลุการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งมากขึ้น ก็คงไม่น่าแปลกหากทั้งภูมิภาคจะขึ้นมามีความโดดเด่นได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

ในปัจจุบัน เราจะยังคงเห็นการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ที่มุ่งสู่เอเชีย โดยจากงานวิจัยของ PwC ระบุว่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะสูงถึง 16.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 และจะเติบโตเป็น 29.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025 (ดูรูปที่ 4)

รูปที่ 4: สินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก (ล้านล้านเหรียญสหรัฐ)12

CSeries-Asian-Century_Graph4

การจัดสรรเงินทุนมายังเอเชียมากขึ้น ประกอบกับการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะไม่เพียงแต่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง อย่างเช่นการให้บริการทางการเงินโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งสามารถเปิดรับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี จึงมีความจำเป็นในเรื่องประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเพื่อเดินหน้าต่อในภูมิทัศน์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงและจับสัญญาณแห่งโอกาสเหล่านี้

Sources:
1 Asia 2050: Realising the Asian Century, citing Maddison (1700-1950) (2007); Centennial Group International estimates (1951-2050) (2011). Data for 1750-1790 are PPP and data for 1991-2050 are in market prices.
2 Asia 2050: Realising the Asian Century, Ibid.
3 OECD Development Centre: The Emerging Middle Class in Developing Countries by Homi Kharas, January 2010. Working Paper No. 285.
4 Forbes, The Largest And Wealthiest Population Segment In The World Is Not In The United States By 2030. Where Is It? 17 July 2019.
5 United Nations World Population Prospects 2019: Population by Age Groups – Both Sexes (2020).
6 International Data Corporation (IDC): Unlocking the Economic Impact of Digital Transformation in Asia Pacific (sponsored by Microsoft) November 2018, IDC #AP40434316
7 Takada, Hirokazu, and Dipak Jain. “Cross-National Analysis of Diffusion of Consumer Durable Goods in Pacific Rim Countries.” Journal of Marketing, vol. 55, no. 2, 1991, pp. 48–54. JSOR, www.jstor.org/stable/1252237.
8 IDC Asia Pacific excluding Japan, 21 May 2019. IDC Worldwide Semi-annual Artificial Intelligence Systems Spending Guide, March 2019.
9 Company website uzenter.17zuoye.com, data as at 6 September 2019.
10 McKinsey Global Institute. Artificial Intelligence and Southeast Asia’s Future. Discussion Paper, September 2017.
11 World Economic Forum. The Human Capital Report 2016. Page 21. Citing data from Human Capital Index 2016 and UNESCO.
12 Asset & Wealth Management 2025, January 2019, citing PwC analysis, and past data based on OECD, World Bank, FSB, Credit Suisse, SWF Institute.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.